การป้องกันและบรรเทาภัยจากอุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม


การป้องกันและบรรเทาภัยจากอุทกภัย  วาตภัย และโคลนถล่ม

1.  บทนำ

           ประเทศไทยเผชิญกับอุทกภัย  วาตภัย และโคลนถล่มเป็นประจำทุกปี เนื่องมาจากสาเหตุทางด้านภูมิศาสตร์

ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นคาบสมุทร ทำให้ได้รับผลกระทบจากพายุต่างๆ  ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเกิดความสูญเสียทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ภารกิจในการป้องกันและบรรเทาภัยจากอุทกภัย  วาตภัย และโคลนถล่ม  จึงต้องมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอ

2.  วัตถุประสงค์

         2.1 เป็นแนวทางในการเตรียมการป้องกันและการประสานการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทั้งหน่วยปฏิบัติการหลักและหน่วยร่วมปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถสามารถดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิด

อุทกภัย  วาตภัย และโคลนถล่มได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

           2.2 เป็นการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้ให้พร้อมต่อการปฏิบัติงานในระยะก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย  และภายหลังที่ภัยได้ผ่านพ้นไปแล้ว

3.  ขั้นตอนการปฏิบัติ

           3.1  ขั้นตอนก่อนเกิดภัย

                       3.1.1  จัดทำและปรับปรุงข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยจากอุทกภัย วาตภัย  และโคลนถล่ม รวมทั้งข้อมูลพื้นที่ปลอดภัยเพื่อรองรับการอพยพโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรธรณี  กรมชลประทาน  กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช  กรมพัฒนาที่ดิน กรมทรัพยากรน้ำ  กรมโยธาธิการและผังเมือง  จังหวัด อำเภอ  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เป็นต้น

                       3.1.2  จัดทำแผนเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย  และโคลนถล่ม โดยมีการบูรณาการแผนร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ  ภาคเอกชน  มูลนิธิ และองค์กรการกุศล  โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ได้แก่  กรมชลประทาน  กรมพัฒนาที่ดิน กรมทรัพยากรธรณี  กรมทรัพยากรน้ำ  กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  กรมโยธาธิการและผังเมือง จังหวัด  อำเภอ  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

                       3.1.3  จัดเตรียมกำลังคน  วัสดุ  อุปกรณ์ เครื่องมือ  เครื่องใช้ รวมทั้งจัดชุดเฝ้าระวังและชุดเคลื่อนที่เร็ว

ให้พร้อมปฏิบัติการได้ทันทีเมื่อมีภัยเกิดขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 

กรมชลประทาน  กรมทางหลวง  กรมทางหลวงชนบท กรมการปกครอง  กรมอนามัย  การประปาส่วนภูมิภาค 

การประปานครหลวง  กรุงเทพมหานคร  หน่วยทหาร ตำรวจ  สภากาชาดไทย  มูลนิธิ  และองค์กรการกุศล เป็นต้น

                       3.1.4  การฝึกซ้อมแผนในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย วาตภัย  และโคลนถล่ม  โดยจังหวัด  อำเภอ       

และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บูรณาการฝึกร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                       3.1.5  การแจ้งเตือนภัย โดยจัดระบบการรายงานข่าวพยากรณ์อากาศ  คำเตือน การพยากรณ์ระดับน้ำฝน  ระดับน้ำท่า ปริมาณการไหลของน้ำ  โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  กรมอุตุนิยมวิทยา  กรมชลประทาน

กรมทรัพยากรน้ำ  กรมทรัพยากรธรณี กรมประชาสัมพันธ์  กรมพัฒนาที่ดิน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย   จังหวัด อำเภอ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และกองทัพเรือ โดยให้มีการรายงานข้อมูลที่จำเป็น  คือ

                                   1)  ข่าวอากาศและคำเตือน  มีการคาดหมายกำลังลม ปริมาณฝน  และพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิด

อุทกภัย  วาตภัย  และโคลนถล่ม

                                   2)  ระดับน้ำ  มีข้อมูลของระดับน้ำทะเล ระดับน้ำในแม่น้ำ  ระดับสูงสุดและต่ำสุด  บริเวณ

ที่คาดว่าจะเกิดน้ำท่วม

                       3.1.6  ติดตั้งระบบอุปกรณ์เตือนภัย เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน  ในพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมจัดตั้งอาสาสมัครแจ้งเตือนภัยเป็นผู้บันทึกข้อมูลน้ำฝน และเฝ้าระวังภัยในช่วงวิกฤติตลอดเวลา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กรมชลประทาน กรมทรัพยากรธรณี  กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 

และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                      3.1.7 จัดหาพื้นที่รองรับน้ำและกักเก็บน้ำบนพื้นที่ต้นน้ำลำธารและขุดลอกคูคลอง แหล่งน้ำสาธารณะเพื่อการระบายน้ำ  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  กรมชลประทาน  กรมทรัพยากรน้ำ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                       3.1.8  การประชาสัมพันธ์ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการประชาสัมพันธ์ข่าวการพยากรณ์อากาศและระดับน้ำ เพื่อกระจายข่าวสารไปยังส่วนราชการและประชาชน  ได้แก่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

กรมการปกครอง  กรมประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่

ทุกระดับ  เพื่อประโยชน์ในการป้องกันภัยเป็นการล่วงหน้า

                       3.1.9  ให้กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ กระทรวง  กรม  ส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ

หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการป้องกันและบรรเทาภัยจากอุทกภัย วาตภัย  และโคลนถล่ม  เตรียมการดังนี้

                                   1)  ความรับผิดชอบด้านประชาชน กองอำนวยการป้องกันฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่  แจ้งเตือน

ภัยประชาชน  ชาวเรือ  ผู้อาศัยชายฝั่งทะเล ริมแม่น้ำ  พื้นที่เสี่ยงต่อวาตภัย และพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำป่าไหลหลาก ทราบ ให้ระมัดระวังอันตราย รวมทั้งเตรียมพื้นที่และวิธีการอพยพประชาชน และส่วนราชการไว้ให้สามารถสั่งปฏิบัติการอพยพได้ทันที

                                   2)  ความรับผิดชอบด้านเครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น  สถานที่ ให้กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ และส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจต่างๆ เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้  สถานที่  ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการป้องกันภัย  เช่นเรือท้องแบน รถยนต์บรรทุก  เครื่องสูบน้ำ  เครื่องจักรกล เครื่องมือเครื่องใช้ในการกู้ภัย  กระสอบทราย เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม  ยารักษาโรค  ข้าวสาร อาหารแห้ง  น้ำดื่ม เพื่อเตรียมไว้นำไปใช้ในกรณีที่เกิดภัย

                                   3) หาวิธีการป้องกันทุกด้านเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากอุทกภัย วาตภัย  และโคลนถล่ม ตามโครงการที่ได้ดำเนินการตามปกติ และโครงการพิเศษของทางราชการ

           3.2  ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดภัย

                       3.2.1  กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนอำเภอ กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเทศบาล

กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเมืองพัทยา กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนกรุงเทพมหานคร และราชการบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่ปฏิบัติตามแผนนี้ เมื่อได้รับแจ้งเหตุว่าเกิดอุทกภัย  วาตภัย หรือโคลนถล่มขึ้น

ในพื้นที่ของตนเองแล้ว ให้ดำเนินการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเร่งด่วน  ดังนี้

                                   1)  การช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้ถือว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญเป็นลำดับแรก

                                   2)  การเคลื่อนย้ายทรัพย์สินของประชาชน และทรัพย์สินของทางราชการไปไว้ในพื้นที่ปลอดภัย

                                   3)  จัดส่งเครื่องอุปโภค  บริโภค  น้ำดื่ม ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ  เข้าไปยังพื้นที่เกิดเหตุ

โดยเร่งด่วน

                                   4)  กรณีที่เกินขีดความสามารถ ให้ขอรับการสนับสนุนไปยังกองอำนวยการป้องกันภัย

ฝ่ายพลเรือนชั้นเหนือขึ้นไป หรือกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ใกล้เคียง

                                   5) กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนที่ได้รับการร้องขอการสนับสนุน ให้ส่ง

ความช่วยเหลือด้านต่างๆ  เช่น  กำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องมือเครื่องใช้  วัสดุอุปกรณ์ เครื่องอุปโภคบริโภค  เวชภัณฑ์

ยารักษาโรค  ไปยังพื้นที่ที่เกิดเหตุได้โดยตรง

                                   6) สำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือตามขีดความสามารถของตน

                                   7)  จัดระบบการรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในบริเวณพื้นที่อพยพ  และให้การสงเคราะห์ราษฎร ซึ่งอาจใช้กำลังประชาชนสนับสนุนการปฏิบัติงานตามความเหมาะสม

                                   8)  การรายงานความเสียหายและความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้ดำเนินการเป็นระยะ ไปยังกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัด พร้อมกับกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักร เพื่อให้หน่วยเหนือได้ทราบข้อมูลอย่างเป็นปัจจุบันจนกว่าเหตุการณ์จะยุติ

                       3.2.2  กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัด ให้เข้าควบคุมสถานการณ์เมื่อเกิดอุทกภัย 

วาตภัย  หรือโคลนถล่มในพื้นที่จังหวัด หากเกินขีดความสามารถของหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ ให้จัดส่งเจ้าหน้าที่  วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้  ให้การสนับสนุนไปยังพื้นที่เกิดเหตุ และรายงานให้กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

แห่งราชอาณาจักรทราบ

                       3.2.3  สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลความเสียหายและการช่วยเหลือเป็นระยะ เพื่อประโยชน์ในการสั่งการ  อำนวยการ ของกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งราชอาณาจักร และมีหน้าที่ในการประสานงานกับหน่วยงานในส่วนกลาง เพื่อขอรับการสนับสนุนเครื่องมือ  เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์  กำลังเจ้าหน้าที่ต่างๆ ที่จำเป็นในการป้องกันและบรรเทาภัย

                       3.2.4  หน่วยสนับสนุน  ได้แก่  กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  รัฐวิสาหกิจ มูลนิธิ  องค์กรการกุศล  และองค์กรประชาชน รวมทั้งประชาชน  มีหน้าที่สำรวจเครื่องมือเครื่องใช้ กำลังเจ้าหน้าที่ของตน เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาภัยจาก

อุทกภัย  วาตภัย  และโคลนถล่ม โดยให้มีการประสานงาน  ดังนี้

                                   1)  หน่วยงานในส่วนกลาง ให้ประสานงานเพื่อให้การสนับสนุนกับสำนักเลขาธิการ

ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

                                   2)  หน่วยงานในพื้นที่อื่นๆ  นอกจากส่วนกลาง ให้ประสานงานเพื่อให้การสนับสนุน

กับกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนที่ร้องขอ หรือกองอำนวยการเขตท้องที่ที่เกิดเหตุได้โดยตรง

                                   3) กรณีได้รับการร้องขอจากกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนกรุงเทพมหานคร

ให้ประสานงานเพื่อขอความช่วยเหลือจากสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ได้โดยตรง

                                   4)  เมื่อกำลังของหน่วยสนับสนุนมาถึงแล้ว ให้รายงานต่อผู้อำนวยการป้องกันภัย

ฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่  ณ ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจเพื่อประสานการปฏิบัติ

                                   5) ให้ปฏิบัติงานตามการสั่งการของผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ 

หรือผู้ได้รับมอบหมาย และรายงานสถานการณ์ให้ผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ เจ้าของพื้นที่หรือ

ผู้ได้รับมอบหมายทราบทุกระยะ

           3.3  ขั้นตอนการฟื้นฟูบูรณะ

                       เมื่อเหตุการณ์ยุติลงแล้ว ให้กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ ปฏิบัติตามขั้นตอนการฟื้นฟูบูรณะ  ดังนี้

                       3.3.1  ให้การรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ  ผู้ป่วย โดยสถานพยาบาลในระดับอำเภอ  เพื่อรักษาชีวิต

ผู้ได้รับอันตรายในระยะแรก  เมื่อเกินขีดความสามารถ ให้จัดส่งไปยังสถานพยาบาลระดับจังหวัดหรือสถานพยาบาล

อื่นที่สามารถให้การรักษาพยาบาลได้

                       3.3.2  สำรวจความเสียหายทุกด้านอย่างละเอียด ทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน  และ

สิ่งสาธารณประโยชน์  เพื่อประโยชน์ในการให้ความช่วยเหลือ

                       3.3.3  จัดการประชาสัมพันธ์ เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจและสร้างความเชื่อมั่นในการให้ความช่วยเหลือ

ของทางราชการ  ต่อผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน

                       3.3.4  การซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย โดยดำเนินการตามที่พิจารณาเห็นว่าเป็นสิ่งที่สามารถซ่อมแซมได้

และดำเนินการโดยเร็วเพื่อให้สามารถใช้การได้ตามปกติ ในกรณีที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้  ให้จัดการรื้อถอนออกไป

เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

                       3.3.5 ให้กองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตท้องที่ที่เกิดเหตุ ดำเนินการฟื้นฟูบูรณะ

ความเสียหายในเบื้องต้นโดยงบประมาณที่อยู่ในความรับผิดชอบ กรณีที่เกินขีดความสามารถให้ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยเหนือตามลำดับ       

หมายเลขบันทึก: 365353เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2010 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2018 09:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท