ที่ทำน่ะ..ใครๆก็เลียนแบบได้..ทำไมไม่.....#2##$%@^&*()))_+


Appreciative Coaching

ที่ทำน่ะ..ใครๆก็เลียนแบบได้..ทำไมไม่.....#2##$%@^&*()))_+

 

เป็นคำที่ผมได้ยินบ่อยๆครับ..เวลามาฟังเรื่องราวของโครงการแบบ Appreciative Inquiry...ที่ทำแล้วบรรลุวัตถุประสงค์..เช่น..สามารถเพิ่มยอดขายได้เกินกว่าที่คิด..ด้วยแผนการง่ายๆ...

……………………………………………………………………………….

 

เช่นมีรายหนึ่ง..อันนี้เป็นโครงการสุดฮิบ..ในชั่วระยะเวลาสี่เดือน.สามารถทำให้ลูกค้า..มาขายวัตถุดิบทางการเกษตรได้..โดยไม่ถามราคาก่อน..ซึ่งปรกติแล้วธุรกิจแบบนี้จะถามราคาเป็นสำคัญ...

 

โครงการนี้ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นได้ด้วยซ้ำ..เพราะคนทำเป็นผู้หญิง..ลูกเถ้าแก่..ที่ปรกติแล้วจะคุยเรื่องอื่นได้..แต่คุยธุรกิจเมื่อไร..จะคุยกับคุณพ่อไม่ได้...

 

เป็นโครงการที่แปลกกว่าที่อื่น..ยังไม่ถึงฤดูกาล..แถมเป็นผู้หญิงจะลงพื้นที่ไปไกลก็ลำบาก..เลยเริ่มจากการสัมภาษณ์พ่อ..โดยเลือกลูกค้า..ให้คุณพ่อนึกถึงจุดเปลี่ยน..ที่ทำให้ลูกค้ารายสำคัญ...ซื้อซ้ำ หรือบอกต่อ...

 

ถามไปถามมา..จากพ่อไม่คุยกับลูกเรื่องธุรกิจ...เริ่มคุย..ยังไม่พอ..ตอนหลังผมบอกเขาว่า..คุณพ่อคุณนี่เชี่ยวชาญศาสตร์ NLP (Nuro-Linguistic Programming หรือ Communication Psychology) ผมกางตำราให้เขาดู..สุภาพสตรีท่านนี้กลับไปบ้านบอกคุณพ่อว่าอาจารย์ชม...เขาบอกผมว่า..คุณพ่อภูมิใจมาก..ผมก็ขอยืนยันครับ..คุณพ่อเธอเก่ง..การศึกษาไม่สูง..แต่กลยุทธ์ที่ใช้..สอดคล้องกับศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจขั้น Advance ทีเดียว

 

ตั้งแต่นั้นลูกสาวกับพ่อเลยคุยกัน..มากขึ้น..

 

จากการสรุป..จุดร่วม..พบว่า.. “พ่อเป็นฝ่ายให้ก่อน” เลยทำธุรกิจได้...

 

เธอเลยเริ่มขยายผลด้วยการ “ให้” ลูกค้าก่อน...หนึ่งในโครงการง่ายๆคือในวันปีใหม่..เธอโทรไปอวยพรลูกค้า...ในวันรุ่งขึ่น..ลูกค้ากลุ่มนี้..เอาวัตถุดิบมาขายให้ที่ร้าน..โดยไม่โทรมาถามราคาก่อน...ซึ่งผิดปรกติจากเคย...

 

ครับ.เป็นโครงการง่ายๆ และมีอีกหลายโครงการ..ที่ลงทุนเพิ่มเพียงเดือนละ 2 พันกว่าบาท แต่ได้ลูกค้ามากขึ้น..

………………………………………………………………..

 

ย้อนกลับมากับคำถามที่ว่า ...ยั่งงี้ใครก็เลียนแบบได้...

……………………………………………………………………………….

คำตอบ..ขอแยกเป็นสามประเด็นครับ

ประเด็นแรก...โครงการนี้สิ่งที่เป็นหัวใจของความสำเร็จคือ..การที่ลูกสาวสามารถคุยกับพ่อในเรื่องธุรกิจได้..คุณพ่อภูมิใจที่ลูกสาวเรียน MBA กลับไปแล้วเห็นคุณค่าเขา.คนที่สร้างตัว..รวยได้..โดยไม่ได้มีการศึกษาในภาคปรกติสูงเท่าพวกเรา...จะว่าไปนี่คือโครงการถอดภูมิปัญญาของพ่อ..เอาไปทำให้เป็นระบบ...ขอรับรองครับ..อันนี้ไม่ใช่ใครจะเลียนแบบได้ง่ายๆ...จะว่าไป..ต่อให้โครงการนี้ไม่สร้างผลกำไรอะไร..แต่การทำให้ลูกนับถือภูมิปัญญาพ่อ...พ่อภูมิใจในตัวเอง..ผมว่าเขาประสบความสำเร็จสุดๆแล้วครับ...

ประเด็นที่สอง...ลูกสาวได้พิสูจน์ตนเอง.ในระยะเวลาสี่เดือน..ด้วยกลยุทธ์ที่เรียบง่าย...ต้นทุนต่ำ..ตรงนี้อาจเลียนแบบไม่ได้..โครงการนี้หากลูกสาวคุยกับพ่อไม่ได้...แผนหรูๆก็อาจเป็นแผน..ที่เขียนในเอกสาร..เอามาสอบกับอาจารย์..แล้วเก็บเข้าห้องสมุด...แน่หรือครับ..ว่าเรื่อง..ความเคารพในภูมิปัญญาพ่อแม่..เป็นเรื่องเลียนแบบได้..

 

ประเด็นที่สาม...โครงการนี้เลียนแบบได้ไหม...บอกเลยว่าใครๆก็เลียนแบบได้...แต่..การทำโครงการแบบ Appreciative Inquiry เราไม่ได้สอนให้คนติดยึดกับผลในปัจจุบัน..

สิ่งที่คนทำ AI Project ควรทำต่อไปหลังประสบความสำเร็จคือ..

  1. หาโจทย์ใหม่ทำ..ลองระดมสมองกัน..ถามอาจารย์..ถามเพื่อน..ถามพ่อว่า..น่าจะมีโจทย์อะไรอีก
  2. ทำของเก่าให้เป็นระบบ..หาคนทำแทน..หรือพัฒนาเป็น Policy
  3. คิดไกล..เรียกว่า vision หรือ Dream จากสิ่งที่พบเช่นค้นพบว่า “การให้ก่อน..เป็นที่มาของความสำเร็จของธุรกิจ...อาจฝันว่า “เป็นธุรกิจที่สนุกกับการให้ลูกค้าก่อน..ที่คนกล่าวขวัญถึงที่สุดในประเทศ..”
  4. ยิ่งคิดไกล..ยิ่งมีโจทย์ให้แก้ครับ..คิดใกล้ก็จะหมดอะไรเล่นเร็วมาก
  5. หาแนวร่วม..ยิ่งคิดการณ์ใหญ่ ยิ่งต้องสร้างทีม สร้างระบบ
  6. หาวิธีการเรียนรู้ แนะนำ Double Loop Learning ง่ายๆก็ AAR
  7. หาวิธีการเปลี่ยนแปลง..ที่ในที่สุดนำไปสู่ เรามีความสุข ลูกค้ามีความสุข..ครับ..ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มีความสุข...เพราะถูกทั้งใจ ทั้งธรรมะครับ

 

คุณคิดยังไงครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 364848เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2010 06:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์ครับ    ขออนุญาตเสริมครับ  ผมอ่านของอาจารย์แล้วผมนึกถึง

         คุย คิด คลิก คลำ  

      ผมนำมาจากของ อาจารย์ JJ เป็น  KM ของ ดร.วรภัท    Learning Cycle ของ Dr.Nonaka

 Talk คุย Data  หรือ สุ (ทุกข์) มีการ Share mental Model 

 Think คิด Reflect Knowledge Creation หรือ จิ (สมุหทัย) ต่อด้วย 

 Theory คลิก Strategies and Plan เป้าหมาย ปุ (นิโรท) คือ เกิดข้อกังขาในใจแล้วไปพิสูจน์ หรือ ทดลอง

 Try  คลำ Proof ลิ (มรรค) ลิขิตให้เกิดปัญญา เวทีปฏิบัติ ผิดพลาดแล้วนำมาสร้างให้เกิดปัญญา เป็นปัญญาจากการปฏิบัติ

เรียนท่านอาจารย์ภิญโญ

      แวะมาเรียนรู้ด้วยคนนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ดิฉันมองว่า การเรียนรู้เรียนได้จากทั้งในสถาบันการศึกษา และจากประสบการณ์ตรงค่ะ (เช่น ประสบการณ์ตรงของตนเอง หรือประสบการณ์ตรงของผู้อื่น)

สุภาพสตรีท่านนี้โชคดีค่ะ ที่มีประสบการณ์ตรงของบุพการีเป็นแหล่งให้ความรู้ค่ะ

เพราะการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงของตนเอง จะใช้เวลาลองผิดลองถูกเป็นอย่างมาก แม้จะมีผลดี คือเข้าใจเรื่องที่เรียนรู้อย่างแจ่มแจ้งอันเป็นผลมาจากการปฏิบัติ แต่ก็ใช้เวลายาวนาน

ซึ่งแน่นอนค่ะ ย่อมยาวนานกว่าผู้ที่ศึกษาผ่านสถาบัน

จึงคิดว่าเธอโชคดีค่ะ ที่ได้มีแหล่งความรู้จากทั้งสองที่ค่ะ

มีดอกไม้มาฝากด้วยค่ะ

ขอบพระคุณสำหรับข้อคิด และกำลังใจนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท