การค้าเสรีไทย-จีนผักผลไม้ไทยได้ประโยชน์จริงหรือ???


การค้าเสรี-ไทยจีนยื่นผักผลไม้ไทยเข้าปากมังกร(หวาน!!!)
 คงไม่น่าแปลกใจนักถ้าในยุค FTA FEVERนี้ ท่านจะหาซื้อผักและผลไม้เมืองหนาว เช่น บร็อคโคลี แครอท ผักกาดหอม แอปเปิ้ล สาลี่ ส้มสายน้ำผึ้ง ที่สดๆ ราคาถูกๆได้จากห้างสรรพสินค้าชั้นนำที่ถูกสุขอนามัยและไม่ชื้นแฉะ อย่างไรก็ตามถ้อยคำดังกล่าว (อาจารย์แหววได้ทิ้งเป็นประเด็นไว้ในวิชากฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ) ชวนให้ฉงนว่า ในตลาดสดราคาของผักผลไม้ไม่น่าจะถูกกว่าหรือ เพราะไม่ต้องถูกเก็บค่าที่ทางแพงๆ เหมือนบนห้างที่ติดแอร์เย็นฉ่ำ?  อันที่จริงแล้วหากในอดีตที่ผ่านมาราคาผลไม้ที่ประชาชนทั่วไปจะซื้อ(ปลีก)ได้ของดีราคาถูกก็คงจะเป็นตลาดสดนั่นเอง 

                  แต่คำตอบนี้ต้องเปลี่ยนไปในปัจจุบันเมื่อรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันได้ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี(Free Trade Agreement หรือเรียกกันจนติดปากว่า FTA )ผักผลไม้กับประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งเป็นทั้งประเทศคู่ค้าและประเทศคู่แข่งกับประเทศไทยมาช้านานแล้ว เนื่องจากการลดภาษีสินค้าประเภทผักและผลไม้ภายใต้กรอบ Early Harvestหรือการเปิดเสรีล่วงหน้าของความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ในสินค้าศุลกากร 07และ08  คือผักและผลไม้เช่น มะเขือเทศ กระเทียม หัวหอม พืชผักเมือหนาว ลำไย มังคุด ทุเรียน เป็นต้น มีผลให้ภาษีนำเข้าระหว่างไทย-จีนเป็นร้อยละ0 อันเป็นนโยบายที่จะเปิดตลาดเสรีในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนและจีนโดยเริ่มเปิดเสรีล่วงหน้าตั้งแต่วันที่  1 ตุลาคม 2546 แล้ว ทำให้ราคาผักและผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศจีนมีราคาลดลง ทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคสินค้านำเข้ากันมากขึ้น และเป้าหมายการกระจายสินค้า คือ ตลาดค้าแหล่งใหญ่ในกรุงเทพมหานครและห้างสรรพสินค้านั่นเอง ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจว่าราคาผักและผลไม้เมืองหนาวที่ทั้งสดและรูปลักษณ์สวยงามมีวางขายอยู่ทั่วไปในห้างสรรพสินค้าซึ่งนำเข้าจากประเทศจีนกับในตลาดสดซึ่งคุณภาพและราคาต่างกันไม่มากนักเมื่อเทียบกับความสะดวกในการจับจ่ายสินค้า   

                ปัจจัยใดที่ทำให้ผักและผลไม้ไทยขายไม่ออก?

ตอบได้ว่าแม้ว่าลักษณะทางภูมิประเทศและภูมิอากาศของไทยตามภูมิภาคต่างๆของประเทศประกอบกับพื้นแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ทำให้มีศักยภาพพอที่จะปลูกพืชผักและผลไม้โดยเฉพาะพืชเมืองหนาวซึ่งไม่ว่ารัฐบาลไทยสมัยใดก็ได้มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรในเขตพื้นที่สูงได้แก่ ภาคเหนือ(โครงการหลวง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศเพาะปลูกพืชเมืองหนาวไม่ว่าจะเป็น กระเทียม หัวหอมแดง หอมหัวใหญ่ ผักและผลไม้เมืองหนาว แต่เนื่องด้วยลักษณะทางภูมิประเทศและภูมิอากาศดังกล่าวทำให้การปลูกพืชผักและผลไม้ระหว่างไทยกับจีนมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ เป็นพืชชนิดเดียวกันกับที่เกษตรกรไทยสามารถทำการเพาะปลูกป้อนสู่ตลาดภายในประเทศได้ และปัจจัยที่สำคัญที่สุดนั้นก็คือเรื่องราคาอันเป็นผลจากต้นทุนการผลิตต่ำเพราะค่าแรงต่ำและการขนส่งผักมายังไทยสะดวกโดยบรรทุกลงเรือล่องมาตามแม่น้ำโขงจากเมืองเชียงรุ้งเข้าสู่ท่าเรือเชียงแสน จ.เชียงราย ใช้เวลาเดินทางเพียง 8-9 ชั่วโมงเท่านั้น ตลอดจนสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม และมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตต่อไร่จึงสูงและราคาถูก อย่างไรก็ตามการที่ราคาสินค้าผักผลไม้เมืองหนาวที่นำเข้าจากจีนมีราคาลดลง อันส่งผลดีต่อผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าซึ่งอาจนำสินค้ามาขายต่อภายในประเทศและเพื่อนำมาแปรรูป และต่อผู้บริโภคชาวไทยที่จะได้บริโภคผักผลในราถูกกว่าราคาภายในประเทศก็ตามในระยะสั้น  แต่กลับส่งผลกระทบในระยะยาวกับอาชีพเกษตรกรไทยซึ่งยึดอาชีพเพาะปลูกมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ทำให้ราคาสินค้าเกษตรประเภทดังกล่าวราคาตกต่ำ ทั้งฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกรไทยซึ่งต้องได้รับการอุดหนุนจากรัฐอยู่แล้ว  ประกอบความต้องการภายในประเทศที่ต้องการบริโภคผักผลไม้จากจีน เท่ากับว่าเป็นการตัดช่องทางในการผลิตและช่องทางทำกินของเกษตรกรไทยซึ่งต้องเป็นหนี้หลวง หนี้นอกระบบและแม้ว่าได้รับการอุดหนุนจากรัฐอยู่แล้วไม่สามารถขายสินค้าดังกล่าวได้ เพราะการทุ่มตลาดสินค้าเกษตร(ที่เห็นได้ชัดคือกระเทียมจากจีนทะลักเข้ามาในไทยเป็นจำนวนมาก)คือขายสินค้าเกษตรในราคาต่ำกว่าราคาสินค้าประเภทเดียวกับที่ขายภายในประเทศผู้นำเข้าเนื่องจากต้นทุนการผลิตในจีนต่ำมากทั้งที่ดินก็เป็นของรัฐบาล จึงไม่เป็นปัญหาเลยที่จีนจะขายผักผลไม้ได้ราคาถูกเช่นนี้  และไม่เพียงแต่ไทยขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้น ในที่สุดจีนคงสามารถยึดตลาดผักผลไม้ไทยได้ในไม่ช้า  ส่วนด้านการแข่งขันกับจีนเพื่อการส่งออกไปนอกประเทศนั้นถ้าเป็นสินค้าผักผลไม้เมืองหนาวที่ได้รับการส่งเสริมให้ปลูกภายในประเทศอยู่แล้ว เช่น ผักและผลไม้เมืองหนาวในโครงการหลวง ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าออกของจีน เช่นกระเทียม หอมหัวใหญ่ หอมหัวแดง เป็นต้น ยากที่ไทยจะสู้ด้านราคาสินค้าอันจะเป็นเเรงจูงใจให้ผู้นำเข้าสินค้าซื้อสินค้าเกษตรจากไทยเมื่อเทียบกับราคาสินค้าจากจีนได้ ถ้าจะพูดว่ายื่นผักผลไม้ไทยเข้าปากมังกร ก็คงไม่ผิด เพราะเป็นการที่ไทยเปิดตลาดเสรีผักและผลไม้กับจีนนี้เท่ากับเปิดให้จีนเข้ามาตีตลาดภายในประเทศได้มากง่ายขึ้น โดยนำปัจจัยในด้านราคาของสินค้ามาจูงใจนั่นเอง

ทางที่ดีที่สุดที่จะแก้ปัญหาให้สินค้าผักและผลไม้ไทยสามารถอยู่รอดและป้อนตลาดได้โดยเฉพาะตลาดภายในประเทศและรวมไปถึงตลาดภายนอกประเทศซึ่งประเทศไทยคงไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะไม่เเข่งขันกับจีนได้ ภาครัฐบาลต้องพยายามส่งเสริมและเพิ่มเติมคุณสมบัติของสินค้าผักและผลไม้ไทย แม้จะเป็นประเภทเดียวกันกับจีนนั้นเป็นทางเลือกที่ดีกว่าที่จะต้องมาวางระบบโครงสร้างการเกษตรไทยครั้งใหญ่โดยให้เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดใหม่หรือประกอบอาชีพใหม่ก็คงเป็นไปได้ยาก วิธีการรัฐบาลควรให้การส่งเสริมและสนันสนุน เช่น ด้านการพัฒนาพันธุ์พืชโดยส่งเสริมด้านนักวิจัยที่มีศักยภาพอย่างเพียงพอ  การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงยิ่งขึ้นกว่าจีน และที่สำคัญคือการพัฒนาด้านสุขอนามัยให้เหนือกว่าจีนให้จงได้เนื่องจากปัจจุบันพบว่าจีนยังคงใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่เป็นตรายซึ่งไทยได้เลิกใช้ไปนานแล้วเช่น อลามอล เป็นชื่อการค้าของสารเฮ็บตาคลอ สารกำจัดแมลงที่มีพิษตกค้างยาวนาน 20-30 ปีโดยไทยประกาศเป็นสารเคมีต้องห้ามตั้งแต่เดือนกันยายนพ.ศ.2531แล้ว  ซึ่งมาตราการด้านสุขอนามัยนี้ จะเป็นข้อกีดกันทางการค้าและตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่นำเข้ามายังประเทศไทยในเรื่องการตรวจสารพิษตกค้างหรือสารเคมีในยาปราบศัตรูพืชเกินมาตรฐานกำหนดตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลกหรือไม่ และอุปกรณ์ดังกล่าวต้องมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วยจึงจะสามารถตรวจสอบสารตกค้างที่ปลอมปนมากับผักผลไม้ดังกล่าวได้โดยละเอียดมิใช่ใช้วิธีตรวจสอบอย่างเร่งด่วนเหมือนที่เคยปฎิบัติกันซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของคนไทยได้ในระยะยาว นอกจากภาครัฐแล้วภาคเอกชนผู้บริโภคเองก็ควรจะมีจิตสำนึกที่จะบริโภคผักผลไม้ในประเทศไทย เพื่อช่วยเหลือจุนเจือพี่น้องร่วมชาติไทยอีกเเรงหนึ่งด้วย ดังนั้นแม้ไทยเองจะใช้คำว่าเปิดตลาดเสรีเพื่อให้ภาษีสินค้าขาเข้าเเละขาออกระหว่างประเทศที่ทำความตกลงดังกล่าวให้เหลือร้อยละ 0  แต่ก็ไม่อาจปฎิเสธได้ว่า ไทยเปิดตลาดเสรีอย่างมีเงื่อนไข คือเงื่อนไขที่ว่าเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศตน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้นำและความเข้าใจเกี่ยวกับเขตการค้าเสรีของภาคประชาชนของประเทศว่าจะดำเนินการหรือยับยั้งให้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตป็นไปในทิศทางใด

 WEBSITEอ้างอิง: http://www.ftawhatch.org/

SEARCH ENGINE  : http://www.google.co.th/fta

หมายเลขบันทึก: 36468เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2006 01:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ย้ายบ้านมาอีกแล้วนะ......แต่ความคิดเห็นบ้านเก่าก็ยังอยู่ดี

archanwell เมื่อ ส. 01 ก.ค. 2549 @ 20:22 จาก 58.9.96.52   ลบ

อ่านแล้วค่ะ พยายามที่จะเขียนงานให้ครอบคลุมทุกเรื่องภายใต้กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ก็ดี เป็นการสแกน "หัวสมอง" ในเรื่องที่คิดได้ไม่ชัด ลองนั่งคิดสักวันสองวัน อ่านบ้าง สลับไป ก็จะคิดออกชัดขึ้นค่ะ

ดวงเด่น เมื่อ อ. 02 ก.ค. 2549 @ 01:33 จาก 58.9.190.98   ลบ
ขอบคุณมากค่ะ ...วันนี้ได้ความรู้มาก พอเป็นแนวทางไปทำงานให้ดีขึ้นได้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท