Bretton Woods System คืออะไรหนอ?


มาดูประโยชน์ของการอ่าน Text Book กัน...หมู่เฮา

     เมื่อได้อ่าน(บางส่วน)บทความภาษาอังกฤษEconmic Law, International ที่อาจารย์แหววได้แจกให้ไปอ่านเพิ่มเติมนั้น ทำให้รู้สึกสงสัยกับถ้อยคำหนึ่งในหน้า 151 ในช่วงยุคประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจระหว่างประเทศในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือคำว่า "Bretton Woods System "แปลเป็นไทยตรงตัวก็คงจะแปลได้ว่า ระบบของนายเบรตตอน วูดส์ ล่ะมั้ง? จึงทำให้อยากรู้ยิ่งขึ้นว่ามันคือระบบที่ว่าด้วยอะไรกันแน่ และมีความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศตลอดจนกฎหมายและพัฒนาการขององค์การระหว่างประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลกอย่างไร? 

     เมื่ออ่านบทความที่อาจารย์แหววแจกประกอบกับค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือ International Economic Law ของ Andreas F. Lowenfeld(Oxford University:2002) พอเข้าใจได้ว่า ระบบนี้เป็นระบบการจัดการการเงินระหว่างประเทศอันเป็นต้นกำเนิดโครงสร้างทางการเงินระหว่างประเทศและบุคคลตามกฎหมายการเงินระหว่างประเทศที่จะมาช่วยเหลือ อำนายความสะดวกและฟื้นฟูสภาพปัญหาการเงินภายในประเทศ ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศในระยะยาวที่เราคุ้นเคยกันดีว่า International Monetary Fund(IMF หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ) และThe World Bank (ธนาคารโลก)ที่เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ถือว่าเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศและเป็นองค์การะหว่างประเทศที่เป็นปัจจัยแรกที่จะก่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้

      ยุคก่อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือเป็นช่วงยุคก่อนเกิดระบอบเบรตตอน วูดส์ ในช่วงนี้ยังเป็นสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทางการค้าไม่ว่าจะภายในรัฐหรือต่างประเทศเป็นทองคำ(gold) และแร่เงิน(silver)ในช่วงค.ศ.1945  จนกระทั่งประเทศมหาอำนาจแถบตะวันตก ซึ่งได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมันนี และสหรัฐอเมริกา ผูกค่าเงินของตนไว้กับมาตรฐานทองคำในอัตราที่ตายตัว  และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1และสงครามโลกครั้งที่ 2 ค่าเงินของประเทศมหาอำนาจทั้ง 4 ต่างก็ได้รับผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนและค่าเงินของตนอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจที่ตกต่ำทั่วโลก ประเทศมหาอำนาจทั้ง 4 ประเทศดังกล่าวก็พยายามที่จะใช้วิธีการต่างๆ เพื่อแข่งขันให้คงอยู่เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในยุคเศรษฐกิจตกต่ำได้ต่อไป เช่น การเพิ่มค่าอัตราแลกเปลี่ยน การจำกัดการค้า หรือ การอุดหนุนธุรกิจของประเทศตน เป็นต้น และในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้เอง ยังไม่มีระบอบทางกฎหมายระหว่างรัฐ(International Legal Regime )ที่จะมาควบคุมการดำเนินความสัมพันธ์ทางด้านการเงินระหว่างรัฐ ซึ่งผลการการทำความตกลงทางการค้าดังกล่าวนี้เองอาจนำไปสู่การเลือกปฎิบัติต่อกันในฐานะที่เป็นคนต่างชาติ หรือ ตั้งพิกัดภาษีศุลกากรค่อนข้างสูง อันเป็นอุปสรรคในการดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันและอุปสรรคทางการค้าเป็นอันมาก ดังนั้นโลกหลังสงครามควรจะมีระบอบกฎหมายทางการเงินซึ่งก่อตั้งโดยสนธิสัญญาและเป็นองค์การระหว่างประเทศ และระบอบนี้ควรจะบัญญัติหลักที่ว่าด้วยการห้ามกีดกันทางการค้า การใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบตายตัวและที่สำคัญคือการควบคุมการแลกเปลี่ยนและเครื่องมืออื่นที่จะมาทำให้การหมุนเวียนของสินค้า(goods)และบริการ(services)ตลอดจนสินเชื่อ(credit)เป็นไปตามวัฏจักรที่ควรจะเป็น ก่อให้เกิด The Bretton Woods Conference ครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1940อันเป็นช่วงหลังสังครามโลกครั้งที่สองไปแล้ว ที่มีการจัดประชุมอันเป็นผลของเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ประชาชนต้องตกงาน และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเพื่อที่จะให้เกิดการจ้างงานนั้นก็เป็นสิ่งที่ขาดมิได้ และมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะกำหนดมาตรฐานทางการค้าและมาตรฐานความเป็นอยู่ระหว่างประเทศและส่งที่สำคัญที่สุดของระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศคือ มาตรฐานอัตราเเลกเปลี่ยนระหว่างประเทศและควรจะจัดตั้งองค์การะหว่างประเทศทางการเงินคือ the International Monetary Fund(IMF) และ the International Bank for Reconstruction and Development(the World Bank)ทั้งสององค์กรดังกล่าวถูกออกแบบให้สามารถรับสมาชิกเป็นการทั่วไป

      ยังไม่จบเพียงแค่นี้นะคะ ต้องติดตามภาคต่อของระบบนี้นะคะว่ามันจะเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 36465เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2006 01:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 03:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
ขอแสดงความคิดเห็นนะครับ world bank และ IMF ดำรงอยู่เสมือนยอดภูเขาน้ำแข็งของอาณาจักรแห่งความน่ากลัวของระบอบริโภคนิยมสุดโต่งหรือ เสรีนิยมใหม่หรือ นีโอคอนก็ตาม ลองเดินไปนายอินทร์แล้วหยิบ the confessions of Economic hitman แล้วคุณจะทราบว่ามีกี่ครั้งกี่หนที่ความละโมภทรัพยากรของรัฐๆหนึ่งทำให้ผู้คนตายมากี่แสนคนแล้ว งานของคุณ ภัควดี วีระภาสพงษ์ ในมหาลัยเที่ยงคืน หรือNoam chomsky ก็เป็นไปในทางเดียวกัน โปรดติดตามโดยระทึกในดวงหทัยพลัน!!!
จ้า....ขอบคุณที่เข้ามาแสดงความเห็นจ้ะ
จริงๆแล้วในเบรดตอนวูดส์นี้ยังมีองค์การการค้าระหว่างประเทศด้วยนะครับที่ถูกวางไว้ให้เป็นองค์การหลักในการจัดรูปแบบการค้าระหว่างประเทศใหม่ หลังจากที่ระบบการค้าระหว่างประเทศเสียหายอันเป็นผลจากสงครามโลก องค์การการค้าระหว่างประเทศที่ว่านี้ ยังไม่ได้ถูกสร้างครับ แต่ถูกพับเก็บไว้เพราะครองเกรสของสหรัฐไม่ยอมรับ จึงต้องรอกันจนมีแกตต์ และดับบลิวทีโอนี่เอง ซึ่งตอนนี้สถาบันที่ควบคุมเศรษฐกิจทั้งสามตามเจตนารมณ์ของเบรตตอนวูตส์ก็ครบแล้ว ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หนังสือของ โรเบิร์ด อี ฮูเด็กนะครับ ค่อนข้างเก่า แต่มีประโยชน์มาก เพราะบอกที่มาที่ไปของระบบนี้ไว้เยอะทีเดียว
  • ขอบคุณมากค่ะคุณ Dacky
  • ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากค่ะที่จะนำไปพัฒนางานยินดีอย่างยิ่งค่ะสำหรับคำแนะนำดีๆ

 

ระบบของนายเบรตตอน วูดส์ ล่ะมั้ง?

ไม่ใช่ครับ ไม่ใช่ชื่อคน

Bretton Woods เป็นชื่อเมืองในมลรัฐนิวแฮมเชียร์ในสหรัฐฯ มีชื่อเสียงมาก เพราะเป็นการตั้งต้นของระบบเศรษฐกิจเสรี ซึ่งน่าจะดี แต่เป็นการวางระบบและแนวคิดที่รองรับผลประโยชน์ของประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็คือสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรครับ

ทุกคนที่พูดถึงระบบแนวคิด Bretton Woods  จึงมักนึกถึงความมีเสรีทางเศรษฐกิจแบบสุดโต่งครับ

 

  • ขอบคุณค่ะคุณdfasgp ที่ช่วยเสริมค่ะ
  • ขอโทษด้วยนะคะที่เขียนไม่ชัดเจนว่า Bretton Woods ไม่ใช่ชื่อคน ดิฉันเพียงตั้งคำถามขึ้นมาเท่านั้นค่ะว่า หากว่าใครเห็นชื่อนี้แรกๆว่าเป็นชื่อคนหรือไม่เท่านั้นค่ะ...ยินดีมากค่ะกับส่วนเสริมที่ช่วยเติมเต็มส่วนที่ผู้อ่านท่านอื่นๆค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

 

 

ขอบคุณค่ะที่ช่วยเขียนบทความนี้ ทำให้เข้าใจขึ้นเยอะค่ะ

ตอนเรียนอ่านจาก text ภาษาอังกิดแล้วยังงงๆ

นักเรียนป.โทในอังกิด

สวัสดีค่ะ

หนู้เข้ามาอ่านดูแล้วมันน่าสนในค่ะ

แล้วตกลงระบบนี้มันเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างไร

ยินดีรับฟังข้อคิดเห้นอยู่น่ะค่ะ

ขอบคุรค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณกัณทิมา

Bretton Woods System เป็นระบบทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทีเกิดขึ้นจากการประชุม The Bretton Woods Conference ซึ่งก่อให้เกิดองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศอีกสององค์การซึ่งกำหนดมาตรฐานทางการค้าและมาตรฐานความเป็นอยู่ระหว่างประเทศและส่งที่สำคัญที่สุดของระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศคือ

มาตรฐานอัตราเเลกเปลี่ยนระหว่างประเทศและควรจะจัดตั้งองค์การะหว่างประเทศทางการเงินคือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (the International Monetary Fund: IMF)และธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา (the International Bank for Reconstruction and Development: IBRD หรือที่เรานิยมเรียกว่า ธนาคารโลก (World Bank)) ทั้งสององค์กรดังกล่าวสามารถรับสมาชิกเป็นการทั่วไป และทั้งสององค์การนี้ยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศด้านการค้าที่จัดระเบียบการค้าโลกให้มีมาตราฐานเดียวกันเพื่อการค้าเสรีที่เป็นธรรมต่อทุกๆ ประเทศ

ดังนั้น จากที่ได้อธิบายข้ายต้น Bretton Woods System หรือการประชุมที่ Bretton Woods มีบทบาทสำคัญในการสร้างระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่เชื่อมโยงกันในด้านการเงินและการค้าถึง 3 องค์การด้วยกันนั่นเอง

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณมากเลยนะค่ะสำหรับคำตอบที่คลายความสับสนค่ะ

ซึ่งเป็นหนึ่งในเนื้อหาบทเรียนของหนูในเทอมนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะ

วันน้มีข้อสงสัยอีกแล้วค่ะว่าทฤษฎีเศรษฐกิจห่านบินคืออะไรค่ะและมันแตกต่างจากทฤษฎีพึ่งพาในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างไรค่ะเพราะข้อมูลส่วนใหญ่อยู่ในภาษาอังกฤษทั้งนั้นเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ


ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ ช่วยในเรื่องการเรียนได้มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท