รับเลี้ยงครรภ์ (อินเดีย)


ข่าว รับเลี้ยงครรภ์

ในอินเดียมีบริการรับฝากตัวอ่อนและเลี้ยงครรภ์ พ่อแม่ชาวเยอรมันเคยใช้บริการเมื่อได้ลูกชายสองคนกลับมีปัญหาว่าประเทศเยอรมันไม่อนุมัติพาสปอร์ตให้เด็กเพราะกฏหมายเยอรมันไม่ถือว่าการนำลูกตัวอ่อนไปฝากในครรภ์แม่เลี้ยงถือว่าเป็นพ่อแม่ของเด็กตามกฏหมาย ในขณะเดียวกันประเทศอินเดียตามปกติก็ไม่ให้สัญชาติกับเด็กที่เกิดจากการฝากตัวอ่อนจากพ่อแม่ชาวต่างชาติ เด็กสองคนจึงไม่มีสัญชาติและติดค้างในอินเดียจนเมื่อสัปดาห์ก่อนหลังจากต่อสู้ทางกฏหมายทางประเทศเยอรมันก็ยอมคงในรูปรับเป็นลูกบุญธรรมจากต่างประเทศ

เดิมคลินิกจะกำหนดกฏเกณฑ์เอง ค่าใช้จ่ายสำหรับลูกค้ารวมประมาณ สองหมื่นสามพันดอลลาร์ (ถูกกว่า1ใน5ของอัตราค่าใช้จ่ายในสหรัฐ)ซึ่งหญิงที่มารับเลี้ยงครรภ์จะได้ประมาณ 7500 ดอลลาร์ เมื่อตั้งครรภ์แล้วจะให้พักในบ้านที่จัดเตรียมจนกว่าจะคลอดเพื่อจะได้คอยดูแล แต่ปัจจุบันรัฐกำลังออกกฏหมายให้มีการควบคุมมากขึ้น
1. คลินิกจะมีหน้าที่ในทางการผ่าตัดและการแพทย์
2. ให้มีการจัดตั้งธนาคารเทคโนโลยีการช่วยการมีลูก (Assisted reproductive technology, ART) เพื่อกำหนดหญิงที่จะมารับเลี้ยงครรภ์และผู้บริจาค
3. หญิงที่มารับเลี้ยงครรภ์จะสามารถต่อรองค่าธรรมเนียมและขอรับประกันสุขภาพจากผู้จ้าง
4. อนุญาตให้ฝากตัวอ่อนได้ 3 ตัวอ่อนใน 1 ครั้ง (อเมริกาอนุญาตเพียง 1 ตัวอ่อน คลินิกเดิมเคยฝากถึง 5 ตัวอ่อน)
5. กฏหมายจะอนุญาตให้หญิงใดๆรับฝากได้ไม่เกิน 5 ครั้ง (ถ้ามีลูกของตนเองแล้วจะลดจำนวนครั้งลง)
6. หญิงที่รับมีอายุไม่เกิน 35 ปี
7. ประเทศของพ่อแม่ที่จะมาใช้บริการต้องยอมรับลูกที่จะเกิด คือได้สัญชาติก่อนดำเนินการ! (อันนี้อาจมีปัญหา เพราะประเทศต่างๆจะให้สัญชาติเมื่อเด็กผ่านการทดสอบดีเอนเอว่าเป็นพ่อแม่ลูกกันจริงๆ)
8. ที่ผ่านมาปฏิเสธคำขอจากคู่ที่เป็นเกย์ เลสเบียน ก่อนหน้านี้เกย์จากออสเตรเลียเคยมาและได้ลูกสาวแฝด และคนที่สามกำลังฝากอยู่มีามุมไบ (Mumbai) เขาว่าถ้ากฏหมายออกมาทำให้ยุ่งยาก คนต่างชาติจะไปประเทศอื่น


India's Rent-a-Womb Industry Faces New Restrictions
By Hillary Brenhouse Saturday, Jun. 05, 2010
http://www.time.com/time/world/article/0,8599,1993665,00.html


หมายเลขบันทึก: 364559เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2010 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท