หัวหน้าที่รัก


การบริหารคนที่ดี

     

หัวหน้า

      มีผู้บริหารหลายท่าน มองถึงวิธีการใช้คนทำงานอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลของงานแก่องค์การมากที่สุด คิดว่าตนเองไม่ต้องลงไปทำงาน แต่ทำอย่างไรจะใช้คนทำงานเป็น แต่การให้แต่ลูกน้องทำงาน โดยที่ตนเองบริหาร มอบหมายงาน โดยไม่ลงไปช่วยงานบ้าง จะไม่ได้ใจลูกน้อง

      การลงไปช่วยลูกน้องในการทำงาน เช่น การช่วยประสานงาน หรือร่วมทำงานด้วย ถือว่าเป็นการติดตามงานแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งบางครั้งทำให้มองเห็นปัญหา ความเสี่ยง หรือโอกาสพัฒนางาน ในการทำงาน บางครั้งสามารถให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข วิธีการทำงานได้ทันท่วงที ก่อนเกิดปัญหาต่างๆ และที่สำคัญ เป็นการสร้างความผูกพันกันในหน่วยงาน เหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน และถือโอกาสติดตามงานไปในตัวด้วย

      สิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยในการทำงานร่วมกับลูกน้องคือ การพูดคุยไต่ถาม สารทุกข์สุกดิบ ของลูกน้องบ้าง ว่าชีวิตครอบครัวเป็นอย่างไร พ่อ แม่ พี่น้อง มีความเป็นอยู่อย่างไร มีเรื่องอะไรไม่สบายใจอยากพูดอยากคุยบ้าง บางครังการใช้เวลาเล็กๆ น้อยๆ ไต่ถามสารทุกข์ สุขดิบ เพียง 10-15 นาที นับว่าเป็นการแสดงออกถึง ความใส่ใจ ห่วงใย  ในตัวของผู้บริหารที่ดีที่มีต่อลูกน้อง ไม่ใช่วันหนึ่งลูกน้องมายื่นหนังสือลาออก แล้วก็ไม่ยังไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง หัวหน้ามีหลายแบบ แต่ที่ลูกน้องต้องการคือ "หัวหน้าที่รัก" ครับ

 

                                          

หมายเลขบันทึก: 364520เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2010 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะน้องชำนาญ

ผู้บริหารที่ดีต้องเก่งคนด้วยค่ะ รักและจริงใจ ใส่ใจลูกน้อง ถึงจะผูกใจให้น้องๆรักองค์กรได้

วันนี้น้องชำนาญทานข้าวหรือยังค่ะ สบายดีนะค่ะ ลีซอกับลีแซนสบายดีนะค่ะ

สวัสดีครับพี่อุ้ม

ขอบคุณนะครับที่แวะเข้ามาทักทาย เจ้าซอ แซน ก็ซุกซนเหมือนเดิม เล่นกันสนุกสนานตามเรื่องตามราวนั่นแหล่ะครับ ตอนเย็นกินข้าวกับซุบมะเขือกับหัวปลาทู ตัวมันเอาให้ลูก ๆ กิน ว่างๆมาทานข้าวด้วยกันบ้างก็ดีนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท