ศึกษาประวัติความเป็นมาของกดลายปัดทอง


ลายเหงา ตัวไหล ลายบาก กนก3ตัว

สัปดาห์ที่ 2 วันที่  21 พฤษภาคม  2553

วัตถุประสงค์การดำเนินการ : เพื่อต้องการให้ผู้เรียนรู้จักลายพื้นฐานของลายไทย

ขั้นตอน :ครูช่างให้นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่องลายไทย ศึกษาความเป็นมาของลายไทย และต้นกกำเนิดของลวดลายไทยหลังจากนั้นครูช่างให้นักเรียนฝึกมือโดยให้นักเรียนฝึกการลากเส้นในรูปแบบต่าง ๆเช่น ลากเส้นตรงหลาย ๆเส้นให้ขนานกัน เส้นโค้ง  วงกลม เพื่อเป็นการฝึกสมาธิ ในการเรียนกดลายปัดทองแล้วให้นักเรียนฝึกเขียนลายเหงาซึ่งเป็นลายพื้นฐานของลายไทยและฝึกเขียนลายเหงาไปทางทิศทางต่างๆดังภาพ          หลังจากนั้นให้นักเรียนฝึกเขียนลายยอดของลายเหงาเรียกว่าตัวไหลซึ่งเป็นลายประกอบของลายเหงาไปทางทิศทางต่างๆดังภาพ       หลังจากนั้นให้นักเรียนฝึกเขียนลายบากเพื่อนำมาประกอบบนลายเหงา(ลายพื้นฐาน)ดังภาพประกอบ   แล้วให้นักเรียนฝึกเขียนลายกนก 3 ตัวซึ่งเป็นลายประกอบบนยอดของลายไหลดังภาพ

บทบาทนักเรียน:ฝึกเขียนลายต่างๆที่ครูช่างให้ความรู้

พฤติกรรมผู้เรียน:ชั่วโมงแรกนักเรียนจะมีสมาธิและสนใจในการฝึกเขียนลายต่างๆแต่ชั่วโมงที่สองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่2และมัธยมศึกษาปีที่ 1จะไม่ค่อยสนใจฝึกเขียนลายและขาดสมาธิในการฝึกเขียนลาย

บทบาทครู:ให้ความรู้ในการฝึกเขียนลายต่างๆและให้คำแนะนำแก่นักเรียนเมื่อนักเรียนมีปัญหาในการฝึกเขียนลาย

ข้อมูลสะท้อนกลับ (บรรยากาศ/ข้อเสนอแนะ/ ปัญหา)

นักเรียนชั้นเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2มีสมาธิในการฝึกเขียนลายน้อยกว่านักเรียนชั้นอื่นๆ

หมายเลขบันทึก: 364002เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2010 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท