เพลงน้อยใจยา+จ้อย+ซอ+ค่าว+ประเพณี+ตำนาน


ครูศรีเสาะหาหื้อลูกหลานสืบสานต่อไว้

เพลงซอ  น้อยไชยา – นางแว่นแก้ว

   น้อยไชยา

                ดวงดอกไม้แบ่งบานสลอน                 ฝูงภมรแม่เผิ้งสอดไซร้

ดอกพิกุลของพี่ต้นได้                                        ลมพัดไม้มาสู่บ้านตู๋

ฮู้แน่ชัดเข้าโสตสองหู                                      ว่าสีชุมพูเพื่อนปำเค้าเนิ้ง

เค้ามันต๋ายปลายมันเสิ้ง                                    ลำกิ่งเนิ้งปลายโค่นตวยแนว

ดอกพิกุลก็คือดอกแก้ว                                    จะเป็นของเพื่อนไปแล้วเน้อ

  • แว่นแก้ว 

                เต๋มเค้ามันเนิ้งปลายมันบ่ถอน              บ่ไหวเฟือนคอนกิ่งใบไหนเหล้า

ต๋ามคำลมที่พัดออกเข้า                                     มีแต่เค้าไหวหวั่นคอนเฟือน

กิ่งมันแท้บ่แส่เสลือน                                        บ่เหมือนลมเจยรำเพยก็จะนั้น

ใจคำหญิงน้องหนิมเที่ยงหมั้น                            บ่ไหวข้อนเหงี่ยงทางใด

ยังเป็นกระจกแว่นแก้งเงาใส                              บ่ไหวข้อนเหงียงจ๊ายเนอ

  • น้อยไชยา 

                ตั๋วพี่น้อยจะขอถาม                     ต๋าคำลมเพื่อนมาเล่าอู้

เขาว่านายมีชู้บ้านวังสิงห์คำ                         ฝ่ายทางพู้นเพื่อนมาใส่มะจ๋ำ

บ้านวังสิงห์คำเพื่อนมาหมั้นไว้แล้ว                 ฝ่ายพ่อแม่สาวน้องนางแว่นแก้ว

ตกลงเพื่อนแล้วบ่ใช่กาหา                           เพื่อนจักกินแขกแต่งการวิวาห์

เมื่อใดจาพี่น้อยก็ใคร่ฮู้

  • แว่นแก้ว 

                ตั๋วน้องนี้บ่ล่าไหลหลง                    การตกลงก็ยังบ่แล้ว

จิ่งเชิญตั๋วพี่มาห้วยแก้ว                                   เพราะใคร่ฮู้คำฟู่คำจ๋า

จิ่งเชิญน้อยพี่มาเปิกษา                                  จะว่าใดจาน้องก็ใคร่ฮู้

น้องเชิญตั๋วพี่มาฟู่อู้                                       จะเอาเป๋นชู้กาว่าเป๋นเมีย

ฤาจะลบล้างลืมลายหายเสีย                           จะเอาเป็นเมียฤาจะทิ้งเสียแล้ว

ฤาจะเอาเมียนางช้างแก้ว                               เอาไว้เป็นคู่เทียมญิง

ขอบอกน้องหื้อแน่ใจ๋จริ๋ง                               อย่าอำพรางนาฏน้องเนอ

  • น้อยไชยา 

                บ่จุ๊หลอกน้อยหื้อหม่นหมองหมาง        บ่ล่อลวงพลางแม่นางฮ่างแค้ว

ปี้หมายเอาเป๋นเมียนางช้างแก้ว                           บ่หื้อคลาดแคล้วเรื่องคำสีเนห์

หลอนแก้วน้องใจ๋ยังบ่เหว                                 เรื่องคำสีเนห์เหมือนพี่คิดเล้า

หลอนพี่จุอำพรางล่ายเจ้า                                 ขอหื้อฟ้าผ่าหัวแม่เมียต๋าย

ลูกแม่ญิงช่างฟู่เหล้นบ่อดาย                             ลูกพ่อชายฟู้แท้บ่พลั้ง

หลอนตั๋วนายต๋ายเป๋นไก่ตั้ง                             พี่น้อยจะต๋ายเป็นคืน

ฟู่บ่ถูกวันพูกค่อยขืน                                      ฟู่เมื่อคืนค่อยมาขืนเมื่อเช้า

หัวใจ๋ชายพี่ยังรักเจ้า                                      เผียบเหมือนเหล้ากับปาง

ปากคำใดพี่ก็ตึงอ้าง                                       บ่ได้จ๋างจากน้องเนอ

 

คติชาวบ้านล้านนาไทย

                      คติชาวบ้านหรือคติชนวิทยา  ให้คุณค่าแก่คนสังคมมาก เพราะเป็นระเบียบแบบแผน แนวทางปฏิบัติของทุกคนให้ดำเนินไปอย่างมีระเบียบ       อันจะทำให้ความสุขเกิดขึ้นแก่ส่วนรวม เพื่อเป็นเครื่องหมายว่า คติสอนใจของลานนาไทย ได้สร้างระเบียบแบบแผนไว้อย่างเป็นอย่างดียิ่งในโอกาสนี้       ขอนำเอาข้อความที่เป็นหลักแห่งสังคมชาวบ้านล้านนาไทยมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ตามหัวข้อต่อไปนี้

  1. ฮีตเมือง
  2. ขะปือเมือง
  3. ป๋าเวณีเมือง
  4. สะดือเมือง

  ฮีตเมือง 

ตรงกับคำว่า จารีต  คืดสิ่งที่ถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลานานในครอบครัวต่าง ๆ มีทั้งข้อห้ามและข้ออนุญาต  เช่น  การจับมือถือแขนระหว่างชายหนุม สาว ในสมัยโบราณ     ถือว่า

” ผิดฮีต  ” คนไทยลานนาหรือคนลาว จะไปแต่งงานกับลัวะ หรือละว้า  เรียกว่าผิดฮีต ถ้าใครทำถือว่าเป็นเสนียดจัญไรแก่ผู้นั้น   เป็นเสมือนการถือวรรณะเหมือนกับประเพณีอินเดียสมัยโบราณ  ถ้าใครไปแต่งงานกับคนต่างวรรณะจะได้รับการตำหนิอย่างร้ายแรงเย้ยหยันจากคนในสังคมของตน  ลูกที่เกิดมาจะถือว่าเป็น ” จัณฑาล ”   คนถ่อยไป      นับว่าเป็นการถือที่รุนแรง แม้แต่ในล้านนาไทยก็ถือเหมือนกัน

ขะปืเมือง 

มีลักษณะคล้ายฮีต  แต่เป็นหลัการที่ให้อย่างมั่นคงในสิ่งที่ต้องปฏิบัติกันเป็นส่วนรวม  เช่น   “ การไหว้หัวตาลหางลาน  “    หมายถึงการที่ลูกแก้วลูกนาคจะอุปสมบทต้องยกมืออภิวาทแก่หัวตาล คือพระกรรมวาจาเป็นคนแรก ต่อไปจึงไหว้พระอนุสาวนาคือหางลานทีหลัง  นี่ก็เป็น ” ขะปือเมือง ” อีกลักษณะหนึ่ง การปิดประตูเมืองสมัยโบราณ กำหนด หกนาฬิกาตอนค่ำ และประตูจะเปิดเมื่อเวลา หก โมงเช้าของวันรุ่งขึ้น จะต้องทำอย่างนั้นเรื่อยไปเป็นกฎตายตัว บุคคลที่จะสั่งให้เปิดประตูเมืองได้ ต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดของเมืองนั้น   เช่น พระเจ้าแผ่นดินหรือเสนาบดีเท่านั้น นอกจากมีเหตุด่วนรุนแรงที่เป็นภัยต่อประชาชนเท่านั้นถึงจะเปิดได้ ถ้าเวลาปกติ ” คนใน บ่หื้ออก   คนนอกบ่หื้อเข้า  “  ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม    การวางกฎเมืองอย่างนี้เราเรียกว่า “ ขะปือเมือง “

 ป๋าเวณี 

ความจริงคือประเพณีประจำเมืองที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เช่นประเพณี ”  เข้าอินทขิล  “   ได้แก่  การบูชาเสาหลักเมือง   ซึ่งประชาชนจะนำเอาดอกไม้ธูปเทียนไปสักการะเทพารักษ์ ผู้รักษาเสาหลักเมือง  ให้ชื่นชมยินดี   เพื่อช่วยบันดาลให้บ้านเมืองอยู่อย่างสุขเกษมต่อไป  ประเพณีสืบชะตาเมือง คือการบูชาเทพารักษ์ประจำเมือง และรักษาประตูเมืองพร้อมกับทำพิธีชะตาเมืองให้ดำรงอยู่ต่อไปด้วย  ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทงก็เช่นเดียวกัน

สะดือเมืองหรือคลองเมือง  

 หมายถึง   พระธรรมศาสตร์    ระเบียบกฎหมาย    ที่เป็นหลักการนิติศาสตร์ จารีตที่ใช้บังคับประชาชนพลเมือง มีทั้งบทลงโทษและบทที่คุ้มครอง กฎหมายที่มีชื่อเสียงของล้านนาไทย เท่าที่ค้นพบและเก่าแก่ที่สุด คือ   มังรายศาสตร์    คือกฎหมายที่พระเจ้ามังรายตรา  ขึ้น โดยอาศัยต้นแบบพระธรรมศาสตร์ของมอญหริภูญชัยโบราณ     และกฎหมาย  ต่อกฎหมาย   “  ต่อถ้อยชนคำ ”    ในสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของลานนาไทย นับเนื่องเข้าเป็น  สะดือเมืองหรือคอลงเมือง

 ประเพณีการทานข้าวสลาก (ตามก๋วยสลาก)

    ประวัติความเป็นมา ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่เมืองพาราณสี  ได้นำสาวก  4  รูป 

     ออกไปโปรด สัตว์ ขณะนั้นเป็นวันขึ้น  15  ค่ำ  เดือน 12  (เหนือ) พระองค์ได้ไปพบเด็กเลี้ยงควาย

     จำนวน  5  คน  กำลังเดินมา เด็กเลี้ยงควายคนที่เป็นหัวหน้าได้ไปพบพระพุทธเจ้า    เห็นว่าขณะนั้น

     เวลาใกล้เที่ยงแล้ว  ซึ่งเป็นเวลาฉันเพลของพระสงฆ์จึงเอาห่อเข้าของตนเองไปถวายแด่พระพุทธเจ้า

     แล้วกลับไปอยู่รวมกับพวกเพื่อน ๆ พวกเพื่อนจึงถามถึงห่อข้าวของเขา   เขาก็ตอบว่าได้นำไปถวาย     พระพุทธเจ้าแล้ว  เด็กทั้ง  4  คน เมื่อรู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้ามา จึงเอาเอาห่อข้าวของพวกตน   ไปถวายบ้าง   เพื่ออยากได้บุญเหมือนกัน   พระพุทธเจ้าจึงถามว่าทำไมถึงเอาห่อข้าวมาถวายเฉพาะพระองค์  แล้วสาวกทั้ง  4  องค์ จะฉันอะไร เด็กทั้ง 4 คน  ก็บอกว่าอยากถวายเฉพาะพระองค์เท่านั้นเพื่อจะ    ได้บุญมาก ๆ พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า ”การทำบุญนั้นอยู่ที่การตั้งใจ”   จะถวายใครก็ได้ถ้าตั้งใจจริงก็

     จะได้กุศลทั้งนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วพระพุทธเจ้าจึงสั่งให้เด็กทั้ง  5  คน   ไปเด็ดใบไม้มา  5  ใบ แล้วเขียนชื่อของเจ้าของห่อข้าวลงไปทุกคน   เสร็จแล้วให้นำใบไม้เหล่านั้นมาให้พระพุทธเจ้า     เด็กทั้ง  5  คนก็ปฏิบัติตาม พระพุทธเจ้ารับเอาใบไม้ทั้ง  5 ใบ  มาแล้วก็เอามาปน ๆ  กัน พระองค์จับ   1 ใบ ที่เหลือให้สาวกจับคนละใบ  เมื่อสาวกทุกรูปจับใบไม้ได้แล้ว เป็นชื่อของใคร ก็ให้เด็กคนนั้น   นำเอาห่อข้าวมาถวายสาวกรูปนั้น ๆ  แล้วก็ให้ศีลให้พรแก่เด็กทั้ง 5 คนนั้น ด้วยกุศลผลบุญที่เด็กทั้ง 5 คนนั้นได้ทานข้าวห่อ  เมื่อเติบโตขึ้นก็เป็นผู้มั่งมีเงินทอง   และได้เจริญศีลภาวนา เมื่อถึงแก่กรรม จึงได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์   ตั้งแต่นั้นมาจึงมีการทานสลากภัตสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้

 ประเพณีการทานข้าวสลาก (ตามก๋วยสลาก)

    ประวัติความเป็นมา ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่เมืองพาราณสี  ได้นำสาวก  4  รูป 

     ออกไปโปรด สัตว์ ขณะนั้นเป็นวันขึ้น  15  ค่ำ  เดือน 12  (เหนือ) พระองค์ได้ไปพบเด็กเลี้ยงควาย     จำนวน  5  คน  กำลังเดินมา เด็กเลี้ยงควายคนที่เป็นหัวหน้าได้ไปพบพระพุทธเจ้า  เห็นว่าขณะนั้น     เวลาใกล้เที่ยงแล้ว  ซึ่งเป็นเวลาฉันเพลของพระสงฆ์จึงเอาห่อเข้าของตนเองไปถวายแด่พระพุทธเจ้า     แล้วกลับไปอยู่รวมกับพวกเพื่อน ๆ พวกเพื่อนจึงถามถึงห่อข้าวของเขา   เขาก็ตอบว่าได้นำไปถวาย พระพุทธเจ้าแล้ว  เด็กทั้ง  4  คน เมื่อรู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้ามา จึงเอาเอาห่อข้าวของพวกตน ไปถวาย     บ้าง   เพื่ออยากได้บุญเหมือนกัน  พระพุทธเจ้าจึงถามว่าทำไมถึงเอาห่อข้าวมาถวายเฉพาะพระองค์   แล้วสาวกทั้ง  4  องค์ จะฉันอะไร เด็กทั้ง 4 คน  ก็บอกว่าอยากถวายเฉพาะพระองค์เท่านั้น เพื่อจะ     ได้บุญมาก ๆ พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า ”การทำบุญนั้นอยู่ที่การตั้งใจ”  จะถวายใครก็ได้ถ้าตั้งใจจริงก็     จะได้กุศลทั้งนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว   พระพุทธเจ้าจึงสั่งให้เด็กทั้ง  5  คน  ไปเด็ดใบไม้มา  5  ใบ     แล้วเขียนชื่อของเจ้าของห่อข้าวลงไปทุกคน  เสร็จแล้วให้นำใบไม้เหล่านั้นมาให้พระพุทธเจ้า  เด็ก     ทั้ง  5  คนก็ปฏิบัติตาม พระพุทธเจ้ารับเอาใบไม้ทั้ง  5  ใบ  มาแล้วก็เอามาปน ๆ  กัน พระองค์จับ     1 ใบ ที่เหลือให้สาวกจับคนละใบ  เมื่อสาวกทุกรูปจับใบไม้ได้แล้ว  เป็นชื่อของใคร ก็ให้เด็กคนนั้น     นำเอาห่อข้าวมาถวายสาวกรูปนั้น ๆ  แล้วก็ให้ศิลให้พรแก่เด็กทั้ง 5 คนนั้น ด้วยกุศลผลบุญที่เด็กทั้ง     5 คนนั้นได้ทานข้าวห่อ  เมื่อเติบโตขึ้นก็เป็นผู้ทัมั่งมีเงินทอง และได้เจริญศิลภาวนา เมื่อถีงแก่กรรม     จึงได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์   ตั้งแต่นั้นมาจึงมีการทานสลากภัตสืบมาจนถึงปัจจุบัน                                                           

รวบรวมโดย อ.ศิริรัตน์  คำชมภู(หลานป้ออุ้ย)

 

ประเพณีการเลี้ยงขันโตก

                การเลี้ยงขันโตก  โดยเฉพาะคำว่า  “ขันโตก”  เป็นคำเรียกของภาษาพื้นเมืองของชาวลานนาไทย  คือเป็นประเพณีงานเลี้ยงอาหารร่วมกันหลายๆ คน  นับว่าเป็นวัฒนธรรมและประเพณีของชาวเหนือมาแต่สมัยโบราณกาล   ปัจจุบันนี้โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่  ก็ยังได้จัดให้มีการเลี้ยงอาหารแบบขันโตก  ซึ่งเป็นที่นิยมมาก  เช่นทางราชการจัดให้มีการเลี้ยงต้อนรับพวกแขกเมืองคนสำคัญๆ คือ  พระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และสมเด็จพระรางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  โดยจัดสถานที่รับเลี้ยง  ณ  “ศาลาติโลกราช”  อย่างโอ่อ่าและวิจิตรสวยงามตระการตา  มีการแสดงและการละเล่นของชาวพื้นเมืองถวายให้ทอดพระเนตร  และการเลี้ยงขันโตกนี้ยังได้จัดไว้ต้อนรับข้าราชการระดับชั้นผู้ใหญ่ๆ เป็นประจำ

                ในงานเลี้ยงขันโตก  หนุ่มและสาวก็จะแต่งตัวแบบพื้นเมือง  โดยถือขันโตกใบละ  ๒  คน  พร้อมกับหญิงสาวสะพายกล่องข้าวเหนียว  พิธีเคลื่อนขบวนมาอย่างนิ่มนวล  จนมาถึงยังสถานที่ๆ ต้อนรับแขกที่เตรียมรับประทาน  เมื่อขบวนมาถึงจึงค่อยวางขันโตกลงที่กลางวงของกลุ่มแขกที่นั่งสนทนากันอยู่

                ระหว่างพิธีเลี้ยงขันโตก  โดยการนั่งรับประทานกับพื้น  สุภาพสตรีกับสุภาพบุรุษในวงขันโตกก็จะสนทนากันไป  แต่ถ้าเป็นหนุ่มๆ สาวๆ ก็จะพูดหยอกล้อกันไป  บางคู่ถึงกับสนิทสนมสนุกสนานกันมาก

                ในพิธีบางครั้งจะมีสาวๆ ชาวพื้นเมืองที่ร่วมมากับขบวนขันโตก  ก็จะมานั่งคุยอยู่ด้วยแต่ก็เฉพาะพวกกลุ่มหนึ่งเท่านั้น  บรรยากาศตอนรับประทานอาหารขันโตกก็เพลิดเพลินนุ่มนวล  ฟังดนตรีของชาวพื้นเมืองบรรเลงไป  สนทนาหยอกล้อกับสาวๆ ไป  ดูแล้วมีความสุขหรรษาที่สุด

                จนกระทั่งการเลี้ยงขันโตกสิ้นสุดลง  ต่อจากนั้นก็อาจจะมีการละเล่นของชาวพื้นเมืองอื่นๆ มาประกอบ  เช่น  การฟ้อนดาบ  ฟ้อนเจิง  ฟ้อนสาวไหม  จ๊อยซอ  หรือร้องเพลง  เมื่อการแสดงชุดๆ เสร็จสิ้นลงก็ถือว่าพิธีงานเลี้ยงขันโตกได้สิ้นสุดลง

                สำหรับอาหารที่จัดใส่ขันโตก  ก็มี  น้ำพริกอ่อง  น้ำพริกปลา  น้ำพริกแดง  น้ำพริกมะเขือแจ้  แดงอ่อม  หมูส้ม  (แหนม)  ไส้อั่ว  (ไส้กรอก)  แคบหมู  ลาบ  หลู้  แกงฮังเล  คั่วตับหมู  แกงบอน  ยำจิ้นแห้ง  แกงโฮ๊ะ  (แกงรวม)  ต้มยำไก่  แกงยอมฟักกับเห็ดแดงหรือเห็ดโคน  แกงตนูใป  ปลาเต๊าะ  (ปลาเทโพ)  หรือปลาน้ำจืด  ยำผักสลัด  แกงแก  ยำฟักแพะ  ขนมจีนน้ำเงี้ยว  หรือน้ำมะเขือส้ม  แอ๊บปลา  มอกมู  ช่อนึ่ง  อ๊อกไข่  แกงหน่อไม้สด  แกงหอยเกล็ดแดง  แกงผักหวาน  แกงถั่วฝักยาวใส่ผักหละ  (ผักชะโอม)  หมูทอด  เนื้อเค็มทอด  ฯลฯ

                อนึ่ง  อาหารสำหรับเลี้ยงขันโตก  โตกหนึ่งๆ เขาจะมีอาหารเพียง  ๕ – ๗  อย่างเท่านั้นโดยจะต้องมีอาหารหลักน้ำพริกอ่อง  แกงอ่อม  อาหาร  ๒  อย่างนี้เป็นหลัก  และข้าวเหนียวสำหรับจิ้มอาหารรับประทาน  นับว่าอาหารของชาวเหนือนี้รสชาติอร่อยมาก

                รูปร่างของขันโตกก็คือภาชนะสำหรับวางชามหรือถ้วยที่ใส่กับข้าว  โดยมีลักษณะคล้ายถาด  ถาดแบนข้างบนนี้มีขอบยกสูงขึ้นประมาณหนึ่งนิ้ว  เส้นผ่าศูนย์กลางของโตกก็ราวๆ ประมาณ  ๓๐ – ๔๐  นิ้ว  มีขารองรับอีกที่สูงประมาณเกือบศอก  ทำด้วยไม้สักลงด้วยรักสีชาดรูปร่างคล้ายตะลุ่ม  รูปร่างลักษณะเรียบร้อยสวยงามมาก

                การกินเลี้ยงขันโตก  ถ้าเรียกเป็นภาษาของคนกรุงเทพฯ  ก็จะเรียกว่า  “ขันโตกดินเนอร์”  โดยมีสมาคมชาวเหนือจัดกันขึ้นเป็นประเพณีบ่อยๆ ตามสถานที่โอ่อ่าหรูหราและมีชื่อเสียง  ซึ่งเขาจะพากันเรียกงานนี้ว่า  “สังสรรค์ขันโตก”  การรับประทานทุกๆ คนจะต้องนั่งกับพื้น  ทั้งชายและหญิงจะต้องแต่งกายตามประเพณีนิยมของเมืองเหนือ  โดยฝ่ายชายจะต้องนุ่งกางเกงสดอ  (ตามปกติกางเกงและเสื้อจะทอด้วยผ้าพื้นเมือง  ย้อมด้วยสีครามกรมท่าแก่  ขากางเกงสั้นเพียงครึ่งหน้าแข้ง  ซึ่งเหมือนกับกางเกงจีนนั่นเอง)  แล้วสวมเสื้อหม้อฮ่อม  ที่อกผูกด้วยเชือก  ที่คอสวมพวงมาลัยจะเป็นพวงมาลัยดอกไม้สด  หรือกระดาษม้วนก็ได้แล้วแต่จะจัดการกันขึ้น

                ส่วนผู้หญิงจะนุ่งซีนแบบพื้นเมือง  สวมเสื้อพื้นเมืองแขนกระบอก  คอยะวารัดรูป  เกล้ามวยผม  แซมด้วยดอกเอื้องคำหรือดอกไม้ชนิดอื่นๆ ที่สวยงามก็ได้  การที่มีสุภาพสตรีสาวๆ สวยๆ มานั่งคุยด้วยในระหว่างรับประทานอาหารจะทำให้บรรยากาศสดชื่นและรื่นเริง  มีชีวิตชีวามาก  โดยพูดจาหยอกล้อกันเป็นที่สนุกสนานตามประเพณี

                อนึ่งตามประเพณีดั้งเดิมการเลี้ยงขันโตกของชาวเหนือ  ในเมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว  เพื่อเป็นการถูกต้องตามธรรมเนียมนิยม  จะต้องใช้คนโท  (น้ำต้น)  พร้อมด้วยขัน  อาจจะใช้ขันเงินหรือขันไม้สักก็ได้  นอกจากนั้นยังมีเมี่ยง  (ใบชาอ่อนๆ ดองทิ้งไว้นานๆ)  แล้วบุหรี่พื้นเมืองสูบบุหรี่อีกด้วย  จึงจะถูกต้องครบถ้วนพิธีต้อนรับเลี้ยงขันโตกของชาวไทยถิ่นเหนือ

 

 

ซอเมือง

                คำว่า  “ซอเมือง”  คือการขับลำนำเพลงของชาวเหนือ  เป็นแหล่งเกิดของวรรณกรรมเมืองเหนือ  ซอมีท่วงทำนองหลายชนิด  มีจังหวะช้าและเร็ว  ว่ากันว่า  ซอเมองก็คล้ายๆ กับ  “ลำตัด”  ของทางภาคกลาง  เป็นเพลงว่ากันฝ่ายชายหนึ่ง  และฝ่ายหญิงหนึ่ง  การเล่นจะต้องมีลูกคู่คอยร้องตอนเริ่มต้นๆ ของแต่ละฝ่าย  เครื่องดนตรีก็ใช้กลองรำมะนา  และก็เหมือนกับ  “แอ่ว”  หรือ           “หมอรำ”  หรือ  “หมอแคน”  ของภาคอีสาน  นั่นคือการซอ  ก็คือลำนำเพลงหรือร้องเพลงโต้ตอบกันระหว่างหญิงกับชาย  โดยจะต้องใช้ปฏิญาณไหวพริบให้ทันท่วงทีการร้องส่งและรับจะต้องให้คล้องจองกับคำกล่าวในวรรคก่อน  ฟังแล้วไพเราะมาก

                ชิ้นส่วนดนตรีประกอบซอเมือง  ก็มีปี่เค้า  ปี่เล่มใหญ่ที่สุด  ปี่กลาง  และปี่ก้อย  กับมีปี่จุมสามกับปี่จุมห้าอีก  โดยใช้คนเป่าปี่ถึง  ๓  คน  นอกจากนี้ก็มี  ซึง  ๒  สาย  ทะล้อ  ๓  สาย   ประกอบการเล่น

                การซอทั้งหญิงและชายก็จะว่าโต้ตอบกันเป็นเรื่องๆ ไป  เช่น  เรื่องเกี่ยวกับความรักๆ ใคร่ๆ และบางทีก็เป็นบทพิศวาส  หรือเรื่องนิยายบ้าง  ถามปัญหากันบ้าน  คติโอวาทสั่งสอนกันบ้าง  คอซอเป็นกลอนสดซึ่งส่วนมากจะเคยว่าเพลงกันมาก่อน  มิฉะนั้นจะไม่คล่องในการซอหรือการร้องเพลง  การซอเรื่องดีๆ ผู้ฟังจะชอบอกชอบใจกันมาก  ดนตรีก็จะบรรเลงกระตุ้นใจให้แก่ผู้ดูเข้าอีก  ต่างก็ตบมือหัวร่อหรือกระโดดโลดเต้นด้วยความลืมตัวก็มี

                การเล่นขับลำนำซอนี้  มักจะมีในงานปอยหลวง  ปอยน้อย  หรือในงานสมโภชต่างๆ ซึ่งศิลปะการละเล่นพื้นเมืองดังกล่าวมานี้เป็นที่นิยมของคนดูมากในทางภาคเหนือ

                ซอของทางภาคเหนือมีหลายทำนอง  การซอก็ต้องเลือกทำนองเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ  สถานที่  และภูมิประเทศ  คนดูแลฟังก็จะชอบทำนองแต่ละชนิดๆ แตกต่างกันไปทำนองของซอมีดังต่อไปนี้  คือ

 

                ซอเพลงพื้นเมือง   เป็นเพลงที่ร้องโต้ตอบกันระหว่างชายหญิงแบบพวงมาลัยหรือเพลงฉ่อยทางภาคกลาง  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                ชาย   “วันนี้นับเป็นนาบุญ  ที่มาอุดหนุนเติมสร้าง  มาปะน้องนายสาวจี๋แม่ร้างที่อั้นใจ๋กว้างคนงาม”

                “ปี่  (พี่)  นี้ใคร่ตั๊กแล้วก็ใคร่ถาม  น้องสาวคนงามเป็นลูกไผ  (ใคร)  เจ้าปูนสังดีงาม  (ทำไมงดงาม)  เหมือนคำหล่อเบ้า  สำนักแห่งเจ้าอยู่บ้านใดจา”

                หญิง   “ตัวน้องนี้เป็นคนผามบ่องาม  บ่เข้ามาถามหลอกลวงข้าเจ้า  บ่เข้ามาจุ๊นี้เป็นคนเฒ่า  ใคร่ได้สาวน้อยมาพิง”

                ตั๋วข้าเจ้านี้เป็นลูกแม่ยิง  (ผู้หญิง)  จะมีคู่พิงต้องผ่อต๋าหน้า  นับได้นับงามนับคว้า  ตกใจ๋เมื่อหล้าปายฉูน”

 

                ซอเพลงอื่อ  คือเพลงซอสำหรับกล่อมเด็ก  เนื้อร้องและทำนองเย็นมาก  เพื่อกล่อมเด็กให้ง่วงเหงาหาวนอน  เนื้อร้องก็จะเป็นโอวาท  คติ  และคำข่มขู่  ฯลฯ  เป็นต้น

                เช่น  “เอากันเขาเยียะช่วยกันปลูก  คันว่าเรามีลูก  จะช่วยกันอื่อกันชา  ไผถามอย่างได้ว่าลูกข้า  หื้อว่าเอาหลาย  แม่ป้ามาเลี้ยง”

 

                ซอเพลงเงี้ยว  เป็นทำนองเพลงของชาวไทยลานนา  ซึ่งรับเอาบทวรรณกรรมมาจากไทยใหญ่  ดังนั้นในคำซอจะมีคำกล่าวถึงไทยใหญ่อยู่บ่อยๆ  ดังเช่น

                “เสเลเมา  บ่าเดี่ยวป๊อกซ๊อก  ทิกจะอ๊อก  เอาหัวเป็นหาง  แก่งหน่อไม้บ่ได้ใส่ผักเครือนาง  เฮยละหยั่น”

                “เสเลเมา  บ่าเดี่ยวเบิ้กเซิ้ก  ข้าน้ำเลิ้ก  บ่เด็ดม่ำสูงสุด  หัวปู่เงี้ยวไปชนใส่หัวไม้ทุง  เฮยละ      หยั่น”

 

                ซอเพลงพม่า  เป็นทำนองที่แปลงมาจากพม่า  เมื่อนักซอขับจบวรรค  ก็จะมีดนตรีรับ  เมื่อดนตรีจบแล้วก็จะร้องต่อ  ซอเพลงพม่าโดยเนื้อร้องก็นำมาจากชาดก  ดนตรีที่ใช้ประกอบในการซอเพลงพม่า  ก็มี  ซึง  ทะล้อ  ปี่  ฉิ่ง  และกลองเล็กสองหน้าพร้อมสายสะพายด้วย

                ตัวอย่างการซอเพลงพม่า  ดังคำร้องว่า  “ค่อยฟังเตอะรา  แม่จุมพี่น้อง  จักไขทำนองเรื่องนางบัวคำ  ที่ออกในธรรม  ต๋ามคำพระเจ้า  ที่ตามบทเก๋า  เจ้าสุวัฒตามมา”

                แปลว่า  “ค่อยฟังเถิดบรรดาพี่น้อง  จะเล่าทำนองเรื่องราวของนางบัวคำที่ปรากฏในชาดกของพระพุทธเจ้าตามมา”

 

                “ซอเพลงค่าว”  หรือ  “ครรโลงเมือง”  ซอทำนองดังกล่าวนี้  มักจะเอาเนื้อเพลงมาจากค่าวซอต่างๆ ที่ไพเราะเป็นต้นว่า  เอามาจากค่าวสี่บทของ  “พญาพรหมโวหาร”  กวีเอกชั้นบรมครูของลานนาไทย

                ดังเช่นตัวอย่างว่า  “พี่ฮักเจ้าเหมือนข้าฮักเหิม  ฮักปลืมเหมือนพึมฮักฝ้าย”  แปลว่า  “พี่รักน้องเหมือนข้าวรักไห  รักไม่ลืมเหมือนกี่รักฝ้าย”

 

   ทำนองเชียงใหม่  เป็นเพลงซอที่มีจังหวะเร็วและมีเสียงเอื้อนที่ข้างท้ายประโยคดนตรีที่ประกอบก็ใช้ที่จุมและซึง  บทเพลงซอทำนองเมืองเชียงใหม่นี้  มักจะเป็นบททำนองรักๆ ใคร่ๆ ของหนุ่มสาวดังเช่น  บทนิยายรัก  เป็นต้น

 

                  ทำนองจะบุ  ทำนองดังกล่าวนี้  เป็นท่วงทำนองลีลาช้าๆ ไพเราะเพราะพริ้งมากเป็นเพลงที่เจ้านายฝ่ายเหนือนิยมฟังมาก  และเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  ๗  เสด็จประพาสเมืองเชียงใหม่  เมื่อปี  พ.ศ.๒๔๖๙  ก็ให้มีการซอทำนองจะบุนี้  เนื้อเพลงได้กล่าวสดุดีพระเกียรติ  และพรรณนาความงามต่างๆ ของบ้านเมืองในสมัยนั้น

                  เช่น  ทำนองเนื้อเพลงว่า  “หยั่งม่วนล้ำ  เมื่อเฮาไปฮับเข้าจ๊าง  ฝูงสาวม่ายแม่ฮ้างพากันแต่งเนื้อนวลละออง  เกล้าผมเพิ่มหลวงก็เพราะแม่หญิงขาวอั่วจ๊อง...”

                  แปลเป็นความว่า  “ช่างสนุกหนักหนา  เมื่อคราไปรับเสด็จเจ้าจ๊าง  (หมายถึงพระมหากษัตริย์)  บรรดาหญิงสาวแต่งกายกันสวยงาม  เกล้าผมมวยใหญ่ๆ เพราะผู้หญิงเขาใส่          ซ้อง...”

                 ซอเพลงพระลอ  ทำนองดังกล่าวนี้เป็นทำนองที่ไพเราะเพราะพริ้งมาก  เป็นทำนองซอโบราณของลานนาไทย  โดยเนื้อร้องก็เอามาจากนิยายรักอมตะของลานนาไทย  คือ  วรรณกรรมเรื่อง  “พระลอ”  บทเพลงซอพระลอเป็นที่นิยมร้องกันมากในปัจจุบันนี้

                โดยเฉพาะเนื้อร้องเพลงพระลอนั้น  มีประวัติว่า  พระราชชายาเจ้าดารารัศมี  ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๕  แห่งราชวงศ์จักรี  โปรดให้ท้าวสุนทร  (บุญมา  สุคันธกุล)  มีตำแหน่งเป็นอาลักษณ์และกวีชั้นอาจารย์แห่งลานนาไทย  ซึ่งพำนักอยู่ที่ข้างวัดพันตองเมืองเชียงใหม่  เป็นผู้ประพันธ์ขึ้น

                อนึ่ง  เพลง  “ซอพระลอ”  เป็นการร้องเดี่ยว  จะเป็นฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายก็ได้  ขอยกเพลงซอตอนพระลอบุกป่าฝ่าดงติดตามพระเพื่อน – พระแพงพี่น้องสองสาวดังนี้ว่า

                แลละลิ่วไปสุดสายต๋า  เตียวต๋ามมัคคาต๋ามหาน้อง  เอื้อยเดินระเรื่อยไปต๋ามหนทางเสือสิงห์สางกระทิงระโว้  เสียงช้างโนนร้องดังโอ้มโอ้  มาหักไม้อยู่ริมทาง  องค์ท่านท้าวตกใจ๋สลั้งจะตายอกแตกแล้วหน่า”

                “องค์ท่านท้าวพระกษัตริย์ต๋า  ชมหมู่มัจฉาปู๋ป๋าก่อค้าว  ป๋ามะหาวและป๋าแปบอ้าวป๋าค้าวเพื่อนป๋าปุง  ป๋าเสด็จสะลากเป็นฝูง  มีเป็นจมบ่ไซ่ของหน้อย  ป๋าแข้กดและ  ป๋าบอกสร้อยมาลอยละเลื่อมชมวัง  บางพ่องนั้นบิ๊กหางเป็นหัว  ผ่อดูบางตั๋วเอาคิงขึ้น  ตี๋ฟองน้ำ  ป๋าสลิดบิ๊กหัวเข้าถ้ำ  คู่แนบคู่ผัวเมีย  องค์ท่านท้าวรวดมาเลยใจ๋เสีย  บ่คิดถึงเมียแต่หากคิดถึงชู้  เมื่อใดจานอจะได้นังอู้กับชู้คิ่นเพื่อนแพง  เมื่อใดจานอจะได้เอาแก้มแนบแก้ว  กับเพื่อนแพงแม่เนื้ออ่อน”

 

                ซอเพลงน้อยใจยา  เป็นเพลงซอที่แต่งขึ้นใหม่ในสมัยพระราชชายา  เจ้าดารารัศมีโดยโปรดให้ท้าวสุนทร  ประพันธ์นิยายรักเรื่อง  “น้อยใจยา”  ขึ้นเป็นบทละครเล่นในคุ้มหลวงก่อน  เนื้อเรื่องเกี่ยวกับความรัก  ความเศร้า  โดยทำนองเนื้อเรื่องก็เช่นเดียวกันกับ  “สาวเครือฟ้า”  พระนิพนธ์ของกรมนราธิปประพันธ์พงศ์  ที่ทรงดัดแปลงมาจากนิยายรักของญี่ปุ่นเรื่อง  “โจโจ้ซัง”  บทเพลงซอน้อยใจยานี้เพราะมาก

                อนึ่ง  บทประพันธ์เรื่อง  “น้อยใจยา”  และเรื่อง  “สาวเครือฟ้า”  ซึ่งเป็นบทนิยายแห่งความรัก  ความเศร้า  เนื้อเรื่องได้ถูกนำมาถ่ายทำเป็นบทภาพยนตร์ไทย  หลายครั้งหลายหนก็ปรากฏว่าเป็นที่นิยมแก่คนดูมากจนเท่าทุกวันนี้  บทเพลงซอน้อยใจยามีตัวอย่างดังนี้ว่า

      

คำสำคัญ (Tags): #ผญาคนเมือง
หมายเลขบันทึก: 363752เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2010 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะคุณครูศรี

แวะมาอ่านผญ๋าค่ะ อยากพูดได้จังเลย ได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่พูดแล้วทึ่งมากค่ะ

หนูอยากได้เรื่องของประวัติของเพลงค่าวซอและเพลงซอน้อยใจยาค่ะ

ขอบคุณที่ให้ความรู้ค่ะ

ขอบคุณข้อมูล

ดีดีอย่างนี้น่ะค่ะ

ขอบคุณมากมากคะ

สาระดี มีความรุ้ เชิดชูสมอง มีประโยชน์มากๆเลยครับ ขอบคุณข้อมูลดีๆนะครับครู

ขอบคุนคร๊

มีการบ้านส่งเเล้วววว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท