สรุปการอบรมหลักสูตรการบริหารอุดมศึกษาระดับกลาง รุ่น 1 มข. (2)


สรุปการบรรยายในโครงการฝึกอบรม

หลักสูตร MCore 201 การบริหารสถาบันอุดมศึกษาระดับกลาง

โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น  รุ่นที่ 1

ระหว่างวันที่ 19 เมษายน – 23 กรกฎาคม 2553

ณ  ห้องประชุมราชาวดี  ชั้น  5  อาคารศูนย์วิชาการ

 

1.  กลุ่มวิชาที่ 1:  บริบทการบริหารอุดมศึกษา

2.  เรื่อง :  บริบทด้านกฎหมาย และหลักนิติธรรมที่มีผลกระทบต่อการบริหารสถาบันอุดมศึกษา

3.  วิทยากร : นายโอภาส   เขียววิชัย (ที่ปรึกษาด้านระบบบริหารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)

4.  วันที่/เวลา : วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553    เวลา 13.00-16.00 น.

5.  บันทึกโดย : นางสมพิศ   นามเปือย

6.  สรุปสาระสำคัญ :

                1) กฎหมายที่ใช้ในสถาบันอุดมศึกษา

                การบริหารงานในสถาบันอุดมศึกษานั้น การกำหนดเป้าหมายและแนวทางในบริหาร  เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กร เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  มีความถูกต้องโปร่งใสและเป็นธรรมสามารถตรวจสอบได้ต้องอาศัยกฎระเบียบ  ข้อบังคับรวมถึงกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่  กฎหมายข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา กฎหมายการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา  กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่  กฎหมายจัดตั้งศาลปกครอง กฎหมายข้อมูลข่าวสารราชการ  รวมถึงกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี 

          2) การออกกฎหมายของสถาบันอุดมศึกษา

                   การออกกฎหมายของสถาบันอุดมศึกษาเป็นหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยซึ่งมีอำนาจในการอนุมัติปริญญา  อนุมัติงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้มหาวิทยาลัย  ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศต่าง ๆ หรือมีบทบัญญัติของกฎหมายมหาวิทยาลัยที่ให้ออกมีบทบัญญัติของกฎหมายข้าราชการพลเรือนสถาบันอุดมศึกษาให้ออก เป็นต้น  ซึ่งในการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กฎหมายกำหนด  นอกจากนั้นยังมีกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครองที่ได้บัญญัติเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการอีกด้วย

                3) การตรวจสอบการใช้อำนาจ

                      ในการบังคับใช้กฎหมายนั้น ต้องสามารถตรวจสอบได้ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบ ส่วนสถาบันภายนอกนั้น เกี่ยวข้องถึง ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ปปช. สตง. เป็นต้น

                4) กรณีปัญหาที่พบในมหาวิทยาลัย

                      ปัญหาที่พบในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคล เช่น การได้มาซึ่งกรรมการ

สภามหาวิทยาลัย นายกสภา ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนคณาจารย์ ซึ่งอาจมีการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ครอบคลุมและเป็นธรรม หรือเลี่ยงการใช้กฎหมาย ทั้งนี้รวมไปถึงการสรรหาอธิการบดี คณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาต่อเวลาราชการออกไปเป็น 65 ปี สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ หรือหลักเกณฑ์การพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น

     ดังนั้นผู้บริหารในทุกระดับต้องศึกษาและเข้าใจกฎหมายที่บังคับใช้ในสถาบันอุดมศึกษาอย่างเม่นยำ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปด้วยความถูกต้องและยุติธรรม

7. ด้านวิทยากร

                 วิทยากรมีความรู้ความสามารถสูง แต่วิชาการกฎหมายอาจถ่ายทอดให้ผู้ฟังเข้าใจได้ยาก  ต้องใช้เวลาในการศึกษา หรือมีตัวอย่างประกอบ

8. ประโยชน์ต่อตนเอง

                1)  ได้รับทราบถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

                2) มีความรู้ความเข้าใจ และการนำกฎหมายไปใช้ดีขึ้นกว่าเดิม

9. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน

                1) ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ในงานที่ปฏิบัติได้มากยิ่งขึ้น องค์กรจะได้ประโยชน์จากการลดความเสี่ยง และให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สมพิศ  นามเปือย

ผู้บันททึก

คำสำคัญ (Tags): #mcor 201 รุ่น 1 มข.
หมายเลขบันทึก: 363658เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2010 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท