มาตรฐานสุขศึกษาโรงพยาบาลชุมชน 9 องค์ประกอบ


มาตรฐานสุขศึกษาเป็นกระบวนการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพประชาชน

การเรียนรู้จาการดำเนินงานตามมาตรฐานสุขศึกษา โรงพยาบาลชุมชน

 

วันที่ 3 มิถุนายน 2553  โรงพยาบาลมโนรมย์ได้รับการตรวจประเมินจากผู้แทนกองสุขศึกษา ที่นำทีมโดย รศ.สุพัฒน์  ธีรเวชเจริญชัย  รองอธิการบดีด้านวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  คุณบังอร  ปล่องทอง ท่านนักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี  และคุณศศิธร  สังข์ขำ  จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี

มาตรฐานประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ 20 ดัชนีชี้วัด 75 เกณฑ์

ความเป็นมา

โรงพยาบาลมโนรมย์เริ่มนำแนวทางมาตรฐานมาศึกษาและปรับใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551  แต่ยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติครบทุกองค์ประกอบ  มีเพียงการจัดทำนโยบาย  การแต่งตั้งคณะกรรมการสุขศึกษาระดับโรงพยาบาล  การเก็บและใช้ข้อมูลสุขภาพ  การจัดทำแผนงานโครงการ การจัดกิจกรรมสุขศึกษา การประเมินผล  ยังไม่ครบทุกองค์ประกอบตามมาตรฐาน 

ปี 2552 ตัดสินใจขอรับการประเมินการดำเนินงานตามแนวทางมาตรฐานสุขศึกษา โดยมีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานสุขศึกษาของโรงพยาบาลเข้ารับการฟื้นฟูความรู้เรื่องมาตรฐานสุขศึกษาฉบับปรับปรุง 10 องค์ประกอบ  และนำมาถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ปฏิบัติที่เป็นตัวแทนหน่วยงานในโรงพยาบาล  ได้มีการร่วมกันศึกษามาตรฐานแต่ละองค์ประกอบอย่างจริงจัง จนสามารถประเมินตนเองครบทุกองค์ประกอบ  และสมัครรับการประเมินรับรองจากกองสุขศึกษา

ปัจจัยที่ทำให้งานสำเร็จ 

-การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูงด้านงบประมาณในการจัดทำแผนงานโครงการ  การสนับสนุนทรัพยากร อาคารสถานที่ บุคลากรในการปฏิบัติงาน

-การได้รับความร่วมมือจากผู้ปฏิบัติงานทุกระดับในทุกหน่วยงานในโรงพยาบาล

-การได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายสุขภาพต่าง ได้แก่  ผู้ใหญ่บ้าน   ประธานชุมชน กรรมการชุมชน สภาชิกสภาเทศบาล ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข  ชมรมผู้สูงอายุ  ชมรมแอโรบิกและสุขภาพดี ชมรมดูแลผู้พิการ  ชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว โรงเรียนต่างๆ  สถานีวิทยุชุมชน  ร้านจำหน่ายยา  ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น

-การมีคณะทำงานที่กำกับติดตามให้การดำเนินงานสุขศึกษาเป็นไปอย่างเหมาะสมตามเวลาที่กำหนดในแผนงานโครงการ

ปัญหาอุปสรรค

-การไม่มีผู้ที่มีวุฒิการศึกษาด้านสุขศึกษาโดยตรงและไม่มีกรอบอัตรากำลังเฉพาะด้านทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการปฏิบัติงานบางอย่าง เช่น การนิเทศงาน การเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ

-การจัดทำแผนงานโครงการของหน่วยงานบางแผนไม่ตรงตามที่กำหนดในมาตรฐาน

-ไม่สามารถประเมินผลงานได้ครบทุกแผนงานโครงการ

-การดำเนินงานเฝ้าระวังสุขภาพยังเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม

ประโยชน์ที่ได้รับ

-เพิ่มพูนความรู้และทักษะเรื่องการจัดทำแผนงานโครงการ

-ทำให้เรียนรู้ที่จะนำข้อมูลด้านสุขภาพที่มีอยู่ในหน่วยงานมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ให้เกิดประโยชน์

-เป็นเครื่องมือที่ดีในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล

-การดำเนินงานตามมาตรฐานสุขศึกษาถือเป็นการพัฒนาคุณภาพบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ เพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบ

-ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการทำงานระหว่างหน่วยงาน  และการถ่ายทอดความรู้จากหัวหน้าสู่ผู้ปฏิบัติ

 

อังค์ริสา  พินิจจันทร์

หมายเลขบันทึก: 363608เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2010 00:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 03:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ ทำให้เข้าใจงานด้านนี้มากขึ้น/By Jan

งานสุขศึกษาเป็นงานที่พูดง่ายแต่ปฎิบัติยากเพราะการที่จะพูดให้คนเข้าใจในเรื่องเดียวกันให้เป็นไปตามแนวทางเดียวกันโดยที่แต่ละคนก็มีระดับการศึกษาต่างกัน,ครอบครัวต่างกัน,การเลี้ยงดูต่างกันคงต้องใช้ความสามารถ,ประสบการณ์และวิทยายุทธสูงมากโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าคนที่ทำงานสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนรับรู้,เข้าใจและให้ความร่วมมือได้ถือว่ายอดเยี่ยมจริงจริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท