ตัวเล่มบทเรียนสำเร็จรูป การเกษตรทฤษฎีใหม่(2)


การเกษตรทฤษฎีใหม่

คำนำ

ปัจจุบันการศึกษาของไทย ได้ปรับปรุงหลักสูตร เป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  เพื่อให้การจัดการศึกษา สอดคล้องกับ สภาพความเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจ  สังคมและความเจริญก้าวหน้า ทางวิทยาการ เป็นกลยุทธ์ใหม่ ในการพัฒนาคุณภาพกาศึกษา ให้ตอบสนองต่อความต้องการของบุคคล ในสังคมไทย  ซึ่งการจัดการศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แบ่งการจัดกลุ่มสาระเป็น 8 กลุ่มสาระ จึงได้จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอน บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งอยู่ในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี  เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ ที่เน้นเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการพัฒนาประเทศ และเพื่อให้นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งในบทเรียนประกอบด้วยเนื้อหาสาระ และกิจกรรม ให้นักเรียนได้ปฏิบัติ โดยนักเรียนสามารถศึกษาได้ทุกเวลา และประเมินตนเองได้ในระดับหนึ่ง  ครูสามารถนำไปสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนที่เรียนช้าได้ โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ และสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

จากเอกสาร ประกอบการเรียนการสอน บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องการเกษตรทฤษฎีใหม่ หวังว่าครู นักเรียน และผู้ที่ศึกษา เอกสารในเล่มนี้  คงจะได้ประโยชน์ ไม่มากก็น้อย ในการเรียนการสอน และศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองได้

 

                                                                               ...................

                                                                               (จะทอ พะยาจู่)

 

สารบัญ 

 

 คำแนะนำสำหรับครูผู้สอน                                                                1

คำแนะนำสำหรับนักเรียน                                                                  2

จุดประสงค์การเรียนรู้                                                                       3

แบบทดสอบก่อนเรียน                                                                      4

เนื้อหา                                                                                          7

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง                                                                  8

ประวัติความเป็นมาของเกษตรทฤษฎีใหม่                                               9

ความหมายของการเกษตรทฤษฎีใหม่                                                   12

ประโยชน์ของการเกษตรทฤษฎีใหม่                                                     15

หลักการเกษตรทฤษฎีใหม่                                                                 18

ขั้นตอนการทำเกษตรทฤษฎีใหม่                                                         21

ตัวอย่างแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในโครงการพระราชดำริ                                    27

สรุป                                                                                            28

แบบทดสอบหลังเรียน                                                                     29

เฉลยแบบทดสอบ                                                                           31

บรรณานุกรม                                                                                  32       

 

คำแนะนำสำหรับครู

  1. ครูผู้สอน จะต้องศึกษา จุดประสงค์การเรียนรู้ก่อนว่า มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการศึกษาสิ่งใด
  2. ใช้บทเรียนสำเร็จรูป เสริมให้กับนักเรียน ทุกระดับในชั้นเรียน ให้นักเรียนได้ศึกษาบทเรียนได้ เท่าเทียมกัน และช่วยผู้เรียนที่เรียนช้า ได้เรียนให้ทันผู้อื่น
  3. ศึกษาเนื้อหาในบทเรียน ตั้งแต่กรอบที่ แรก ถึง กรอบสุดท้าย ของบทเรียน ให้เข้าใจก่อน
  4. ศึกษากิจกรรมต่างในบทเรียนเพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือแก่ผู้เรียน
  5. ชี้แจงให้นักเรียน ถึงขั้นตอนการศึกษา บทเรียนสำเร็จรูป ตั้งแต่ คำแนะนำ การใช้บทเรียนสำเร็จรูป ให้เข้าใจก่อน และให้ศึกษาบทเรียน ตั้งแต่กรอบแรกจนถึงกรอบสุดท้ายของบทเรียนสำเร็จรูป
  6. ให้นักเรียนศึกษา เนื้อหาในบทเรียน ทีละกรอบ เสร็จแล้วให้ทำแบบฝึกหัด ในแต่ละกรอบไปด้วย ซึ่งเป็นการทบทวน ความรู้ความเข้าใจของนักเรียน
  7. เมื่อนักเรียนศึกษาจนจบเนื้อหาแล้ว ให้นักเรียน ทำแบบทดสอบหลังเรียน และ  ตรวจคำตอบเอง เพื่อให้นักเรียน ได้ประเมินผล ความก้าวหน้า ของตนเองเมื่อเรียนจบ บทเรียนสำเร็จรูปแล้ว

 

 

คำแนะนำสำหรับนักเรียน

 

1. บทเรียนสำเร็จรูป ในเล่มนี้ไม่ใช่ข้อสอบ นักเรียนไม่ต้องกังวลใจในการทำคะแนน ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหา ในบทเรียนทีละกรอบ ให้เข้า ทำกิจกรรม และแบบทดสอบด้วยตนเอง เพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ของตนเอง เมื่อศึกษาจบบทเรียน

2.ก่อนนักเรียนจะศึกษาเนื้อหาในกรอบ ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจ พื้นฐาน ของตนเองก่อนเรียน

3. ให้นักเรียนศึกษา เนื้อหาในกรอบแรก จนถึงกรอบสุดท้าย ตามลำดับให้เข้าใจช้าๆไม่ต้องรีบ ทีละกรอบ จนจบบทเรียน

4. ระหว่างศึกษา เนื้อหาในกรอบ ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด ระหว่างศึกษา ในกรอบ แต่ละกรอบ ของบทเรียน ไปด้วยเพื่อทบทวน ความรู้ ที่นักเรียนได้ศึกษาผ่านมาแล้ว ในแต่ละกรอบ

5.เมื่อศึกษาจบทุกกรอบแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อประเมินความรู้ ที่ได้รับจากบทเรียน แล้วให้นักเรียนตรวจคำเฉลยในหน้าถัดไป เพื่อดูความก้าวหน้าของตนเองแตกต่างจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนเท่าไร

6.นักเรียนต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ในการทำแบทดสอบ

 

จุดประสงค์การเรียนรู้ มีดังนี้

  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจประวัติความเป็นมาของเกษตรทฤษฎีใหม่ได้ถูกต้อง
  2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจความหมายและประโยชน์ของเกษตรทฤษฎีใหม่ได้ถูกต้อง
  3. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ได้ถูกต้อง

นักเรียนสามารถอธิบายขั้นตอนการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่

แบบทดสอบก่อนเรียน

คำชี้แจง ; ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย  X  หน้าข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

  1. หากนักเรียนมีพื้นที่ในการทำการเกษตรอยู่ 5 ไร่นักเรียนจะแบ่งพื้นที่ในการปลูกข้าวเท่าไร

ก.      0.5 ไร่

ข.      1.0 ไร่

ค.      1.5 ไร่

ง.       2.0 ไร่

 

2. อาชีพคือส่วนหนึ่งของชีวิต และอาชีพดั้งเดิมของคนไทยคือข้อใดถูกที่สุด

ก.      กสิกรรม

ข.      เกษตรกรรม

ค.      การประมง

ง.       การปศุสัตว์

 

3. การเกษตรทฤษฎีใหม่เกิดขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดใด

ก.      สระบุรี

ข.      กรุงเทพมหานคร

ค.      นครปฐม

ง.       เชียงใหม่

 

4. ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นทุกวันนี้ เราสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้โดยวิธีใด

ก.      รณรงค์ใช้ของไทย

ข.      พัฒนาความรู้อยู่ตลอดเวลา

ค.      ปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคเอง

ง.       ลดการสั่งซื้อของจากต่างประเทศ

 

 

5. ข้อใดประโยชน์ของการเกษตรทฤษฎีใหม่

ก.      มีน้ำใช้ตลอดปี

ข.      พออยู่พอกิน และ เลี้ยงตนเอง และ ครอบครัว

ค.      สร้างรายได้ให้กับครอบครัว

ง.       ถูกทุกข้อ

6. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของ หลักการเกษตรทฤษฎีใหม่

ก.      ความมั่นคงด้านอาหาร      

ข.      การจัดการทรัพยากรดินและน้ำ

ค.      ความมั่นคงทางด้านรายได้          

ง.       ความมั่นคงด้านทรัพย์สิน

 

7. ขั้นตอนในการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่มีกี่ขั้นอะไรบ้าง

ก.      2 ขั้น ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น, ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง

ข.      3 ขั้น ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น, ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง,ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า

ค.      4 ขั้น ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น, ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง,ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า, ทฤษฎีใหม่เกษตรผสมผสาน

ง.       ถูกข้อ ข และ ค

 

8. พืชชนิดใดจัดเป็นพืช ไร่

ก.      กล้วย,ข้าวโพด, ถั่วเหลือง

ข.      กะหล่ำปลี, พริก, ถั่วเหลือง

ค.      ตะไคร้, พริก, ข้าว

ง.       ข้าวโพด, พริก, ถั่วเหลือง

 

9. การแบ่งพื้นที่ในทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ออกเป็นกี่ส่วนอะไรบ้าง

ก.      2 ส่วน  ข้าว, สระน้ำ

ข.      3 ส่วน  ข้าว, สระน้ำ, พืชไร่พืชสวน

ค.      4 ส่วน  ข้าว, สระน้ำ, พืชไร่พืชสวน, ที่อยู่อาศัย

ง.       5 ส่วน  ข้าว, สระน้ำ, พืชไร่พืชสวน, ที่อยู่อาศัย,เลี้ยงสัตว์

 

10. การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่เป็น พระราชดำริในสมัยรัชกาลใด

ก.      รัชกาลที่ 4

ข.      รัชกาลที่ 5

ค.      รัชกาลที่ 7

ง.       รัชกาลที่ 9

เฉลย

ข้อ 1  ค. 1.5 ไร่  

ข้อ 2  ข. เกษตรกรรม

ข้อ 3  ก. สระบุรี 

ข้อ 4  ค. ปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคเอง

ข้อ 5  ง. ถูกทุกข้อ 

ข้อ 6   ง. ความมั่งคงด้านทรัพย์สิน

ข้อ 7   ข. 3 ขั้น ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น, ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง,ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า 

ข้อ 8   ง. ข้าวโพด, พริก, ถั่วเหลือง

ข้อ 9   ค. 4 ส่วน  ข้าว, สระน้ำ, พืชไร่พืชสวน, ที่อยู่อาศัย 

ข้อ 10  ง. รัชกาลที่ 9

 

เนื้อหาในบทเรียน

ในบทเรียนจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนต่างๆดังนี้

 

1. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

2. ประวัติความเป็นมาของ การเกษตรทฤษฎีใหม่

 

3. ความหมายของ การเกษตรทฤษฎีใหม่

 

4. หลักการของ การเกษตรทฤษฎีใหม่

 

5. ประโยชน์ของ การเกษตรทฤษฎีใหม่

 

6. ขั้นตอน การเกษตรทฤษฎีใหม่  การแบ่งขั้นตอนในแต่ละขั้นของทฤษฎีใหม่

 

แบบทดสอบหลังเรียน

คำชี้แจง ; ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย  X  หน้าข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. หากนักเรียนมีพื้นที่ในการทำการเกษตรอยู่ 5 ไร่นักเรียนจะแบ่งพื้นที่ในการปลูกข้าวเท่าไร

ก.      0.5 ไร่

ข.      1.0 ไร่

ค.      1.5 ไร่

ง.       2.0 ไร่

 

2. อาชีพคือส่วนหนึ่งของชีวิต และอาชีพดั้งเดิมของคนไทยคือข้อใดถูกที่สุด

ก.      กสิกรรม

ข.      เกษตรกรรม

ค.      การประมง

ง.       การปศุสัตว์

 

3. การเกษตรทฤษฎีใหม่เกิดขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดใด

ก.      สระบุรี

ข.      กรุงเทพมหานคร

ค.      นครปฐม

ง.       เชียงใหม่

 

4. ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นทุกวันนี้ เราสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้โดยวิธีใด

ก.      รณรงค์ใช้ของไทย

ข.      พัฒนาความรู้อยู่ตลอดเวลา

ค.      ปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคเอง

ง.       ลดการสั่งซื้อของจากต่างประเทศ

 

5. ข้อใดประโยชน์ของการเกษตรทฤษฎีใหม่

ก.      มีน้ำใช้ตลอดปี

ข.      พออยู่พอกิน และ เลี้ยงตนเอง และ ครอบครัว

ค.      สร้างรายได้ให้กับครอบครัว

ง.       ถูกทุกข้อ

6. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของ หลักการเกษตรทฤษฎีใหม่

ก.      ความมั่นคงด้านอาหาร      

ข.      การจัดการทรัพยากรดินและน้ำ

ค.      ความมั่นคงทางด้านรายได้          

ง.       ความมั่นคงด้านทรัพย์สิน

 

7. ขั้นตอนในการทำการเกษตรทฤษฎีใหม่มีกี่ขั้นอะไรบ้าง

ก.      2 ขั้น ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น, ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง

ข.      3 ขั้น ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น, ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง,ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า

ค.      4 ขั้น ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น, ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง,ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า, ทฤษฎีใหม่เกษตรผสมผสาน

ง.       ถูกข้อ ข และ ค

 

8. พืชชนิดใดจัดเป็นพืช ไร่

ก.      กล้วย,ข้าวโพด, ถั่วเหลือง

ข.      กะหล่ำปลี, พริก, ถั่วเหลือง

ค.      ตะไคร้, พริก, ข้าว

ง.       ข้าวโพด, พริก, ถั่วเหลือง

 

9. การแบ่งพื้นที่ในทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ออกเป็นกี่ส่วนอะไรบ้าง

ก.      2 ส่วน  ข้าว, สระน้ำ

ข.      3 ส่วน  ข้าว, สระน้ำ, พืชไร่พืชสวน

ค.      4 ส่วน  ข้าว, สระน้ำ, พืชไร่พืชสวน, ที่อยู่อาศัย

ง.       5 ส่วน  ข้าว, สระน้ำ, พืชไร่พืชสวน, ที่อยู่อาศัย,เลี้ยงสัตว์

 

10.  การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่เป็น พระราชดำริในสมัยรัชกาลใด

ก.      รัชกาลที่ 4

ข.      รัชกาลที่ 5

ค.      รัชกาลที่ 7

ง.       รัชกาลที่ 9

 

เฉลย

ข้อ 1  ค. 1.5 ไร่ 

ข้อ 2  ข. เกษตรกรรม

ข้อ 3  ก. สระบุรี 

ข้อ 4  ค. ปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคเอง

ข้อ 5  ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 6   ง. ความมั่งคงด้านทรัพย์สิน

ข้อ 7   ข. 3 ขั้น ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น, ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง,ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า

ข้อ 8   ง. ข้าวโพด, พริก, ถั่วเหลือง

ข้อ 9   ค. 4 ส่วน  ข้าว, สระน้ำ, พืชไร่พืชสวน, ที่อยู่อาศัย

ข้อ 10  ง. รัชกาลที่ 9

 

บรรณานุกรม

กิตตินัน  หอมฟุ้ง. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษา.

          ( ออนไลน์). จาก www.kitinan.cmru.ac.th/index.htm. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 

           พฤษภาคม 2553.

ศิริพร  ขีปนวัฒนา. การพัฒนาหลักสูตร.เชียงใหม่:คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย

          ราชภัฏเชียงใหม่,2553

กุศยา แสงเดช. บทเรียนสำเร็จรูป.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ แมค จำกัด,2545

อรพิมพ์ ริตจันทร์. การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป.ชัยนาท:2544

http://web.ku.ac.th/king

กระทรวงศึกษาธิการ.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

          สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 1.

          กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

          จำกัด,2552

รศ.พัฒนา สุประเสริฐ และศศิกาญจน์. งานเกษตร.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์วัฒนา

         พานิช,2547.

 

หมายเลขบันทึก: 363555เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2010 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท