จุดเน้นการฝึกอบรมผู้ตรวจประเมินของ MBNQA ในปีนี้


สูงสุด คืนสู่สามัญ

วันนี้ผมและทีมของ TQA ได้มีโอกาสประชุมทางไกลผ่าน skype กับ Dr.Luis Calingo ซึ่งเป็นวิทยากรสอนในหลักสูตร TQA Assessor Calibration ให้กับประเทศไทยติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี

 

ท่านเป็นผู้ที่มีโอกาสรับรู้ข้อมูลที่ update จาก MBNQA program หรือรางวัลคุณภาพแห่งชาติของอเมริกา และนำข้อมูลความรู้เหล่านั้นมาถ่ายทอดให้กับพวกเราเสมอมา 

 

สิ่งที่ได้รับรู้จากท่านก็คือมีจุดเปลี่ยนสำคัญอยู่ 2 ประการในการฝึกอบรมผู้ตรวจประเมินของ MBNQA ประการแรกคือการเน้นที่วิธีการเขียน comment ให้มีคุณภาพ และประการที่สองคือการให้คะแนนโดยใช้มุมมองแบบองค์รวม

 

ในการเขียน comment ให้มีคุณภาพนั้นจะต้องมีองค์ประกอบสามอย่างคือ 1) ต้องมีภาษาหรือถ้อยคำของเกณฑ์รางวัล 2) ต้องมีส่วนที่ระบุว่าเป็น ADLI (approach, deployment, learning, integration) ในส่วน process หรือ LeTCI (level, trend, comparision, integration) ในส่วนของ result และ 3) ต้องเชื่อมโยงกับข้อมูลเฉพาะของผู้สมัคร เช่น กิจกรรมที่ผู้สมัครหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการไม่ได้กระทำบางอย่าง

 

การใช้ตารางที่เรียกว่า justification table ซึ่งเคยเป็นจุดเน้นเมื่อสองปีที่แล้วที่ MBNQA ส่งเสริมให้ทำในขั้นที่ 1 หรือการตรวจโดยผู้ตรวจประเมินแต่ละคนนั้น ก็เป็นอันว่ามาเน้นในการตรวจขั้นที่ 2 หรือการทำ consensus review

 

พูดง่ายๆ ก็คือว่า อเมริกา ถอยกลับมาทำเหมือนกับที่เมืองไทยทำกันในช่วงสองปีที่ผ่านมา  ตอนที่อเมริกาพัฒนา justification table ขึ้นมานั้น ทางไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าควรให้ทำเป็นแค่กระดาษทด และยังคงเน้นให้ทุกคนเขีน feed back ready comment ในขั้นแรก  ส่วน justification table จะมาเน้นในขั้นตอนที่ 2 เพื่อประกอบการตัดสินใจของกลุ่มในการทำ consensus review

 

เป็นบทเรียนให้เห็นว่าบางครั้งประเทศที่พัฒนาแล้วก็ทำอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อนเกินเลยกว่าที่จะเป็นประโยชน์  แต่ก็ดีที่เขาสามารถกลับตัวได้ภายในสองปี  และเป็นการดีที่เราไม่หลวมตัวทำตามเขาไปเสียทุกเรื่อง

 

ในเรื่องของการให้คะแนนแบบองค์รวม คือไม่แยกเป็น ADLI หรือ LeTCI นั้น ที่จริงแล้วเป็นสิ่งที่ผู้ตรวจประเมินรุ่นแรกๆ ของ TQA ใช้วิธีนั้นมาโดยตลอด  การแยกประเด็นเป็น ADLI หรือ LeTCI เป็นเพียงการช่วยพิจารณาให้สอดคล้องกับเกณฑ์ในแต่ละระดับเท่านั้น

 

จึงเรียกว่า "สูงสุด คืนสู่สามัญ"

หมายเลขบันทึก: 363553เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2010 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท