อยู่กับความไม่สมบูรณ์ ให้เป็นสุข


อยู่กับความไม่สมบูรณ์ ให้เป็นสุข

ในความเป็นจริงย่อมมีให้เห็นได้
ที่ใครก็ตามต้องเกี่ยวข้องกับสภาพสภาวะหรือรูปหรือนามใดที่ไม่ดีเลิศสมบูรณ์แบบ

แต่จะอยู่กับความไม่สมบูรณ์แบบให้เป็นสุขได้อย่างไร

ประการแรกที่ควรตระหนักให้ชัด คือ สภาวะปรุงแต่งทั้งหลายย่อมไม่สมบูรณ์แบบไปได้เพราะ ต้อง เสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา  ด้วยตัวมันเป็นทุกข์มีแรงบีบคั้น  และต้องตกอยู่ในอำนาจของเหตุปัจจัย (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

ประการที่สองที่ควรตระหนักให้ชัด คือ สภาวะปรุงแต่งทั้งหลายต้องดับหรือเปลี่ยนสภาพไปเป็นธรรมดา ซึ่งอาจเปลี่ยนไปแล้วดีขึ้น แย่กว่าเดิม หรือดีเท่าเดิม ก็ได้แล้วแต่เหตุปัจจัยจะปรุงไป

ประการที่สามที่ควรตระหนักชัด คือ สภาวะธรรมทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย

สภาวะทั้งหลายย่อมมีคุณสมบัติเฉพาะของสภาวะนั้น  เช่น น้ำก็มีคุณสมบัติแบบน้ำจะให้เหมือนเกลือ เหมือนทอง ย่อมไม่ได้  
เช่นเดียวกัน จะให้ทองเหมือนน้ำเหมือนเกลือย่อมเป็นไปไม่ได้

การเปลี่ยนสภาวะทั้งหลายให้ดีขึ้น อาจทำได้ด้วยการปรุง แต่ต้องปรุง
ในกรณีมนุษย์หรือจิตทั้งหลายก็คือฝึกให้ดีมากยิ่งขึ้นหรือเก่งหรือสุขมากยิ่งขึ้น

กรณีที่ในขณะนั้นไม่สามารถปรุงให้ดีขึ้นก็น่าจะยอมรับและเข้าใจได้เพราะเมื่อไม่มีเหตุปัจจัยครบถ้วนเพียงพอแก่การปรุงให้ดีขึ้น การเปลี่ยนสภาพให้ดียิ่งขึ้นย่อมไม่อาจเกิดได้ 

 (ยังมีต่อ งานยังไม่จบครับ) 

คำสำคัญ (Tags): #สมบูรณ์
หมายเลขบันทึก: 363464เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2010 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท