โดยสรุปกับFTAที่ไทยได้ทำ


ความรู้โดยสรุป

เมื่อ FTA คือการรวมตัวทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบของเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี ประเทศไทยนั้นก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้มีการทำ FTA กับหลายๆประเทศ ดังนั้นจึงอยากจะให้ทราบประเด็นสำคัญของความตกลงการค้าเสรี ที่ประเทศไทยได้ทำขึ้นกับประเทศต่างๆ และเมื่อFTAเป็นความตกลงการค้าเสรีที่มีผลผูกพันต่อรัฐดังนั้นการจัดทำFTAจำเป็นที่จะต้องผ่านรัฐสภาหรือไม่ตาม มาตรา 224  แห่งรัฐธรรมนูญไทยที่ว่า "พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึกและสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตอำนาจแห่งรัฐ  หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา"  จะกล่าวให้ทราบดังนี้คือ

FTA: ไทย-จีน : เป็นความตกลงการค้าเสรีที่เน้นการเปิดตลาดสินค้าเป็นหลัก โดยมีการเปิดตลาดในหมวดผัก ผลไม้ พิกัด 07-08 มีผลบังคับใช้ 1 ต.ค. 2546 และหมวดสินค้าเกษตรในรายการพิกัด 01-06 มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 2547 และที่เหลือเป็นการเปิดตามกรอบอาเซียน-จีน มีผลบังคับใช้ 1 ก.ค. 2548

ความเห็นต่อเงื่อนไขด้านกฎหมาย : ความตกลงเป็นการลดภาษีี และขจัดปัญหาอุปสรรคด้านมาตรการที่มิใช่ภาษีเป็นหลัก โดยไม่ต้องมีการแก้ไข/เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในกฎหมายใดๆ ไม่ต้องมีการออกกฎหมายใหม่ๆ ปรับลดอัตรภาษีภายใต้ที่ระบุเงื่อนไขใน พ.ร.บ. ศุลกากรโดยไม่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม จึงถือว่าไม่จำเป็นต้องผ่านรัฐสภา

FTA:ไทย-ออสเตรเลีย : เป็นความตกลงการค้าเสรีที่เป็นประเภทความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิด (Closer Economic Partnership)

มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 2548  โดยมีการเปิดตลาดสินค้าและเปิดบริการและการลงทุน โดยมีเงื่อนไขว่าต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับภายในของไทย และเป็นไปตาม พ.ร.บ. ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542

ความเห็นต่อเงื่อนไขด้านกฎหมาย : เช่นเดียวกับFTA ไทย-จีน ขอบเขตของการเปิดตลาดเป็นไปตามเงื่อนไขของข้อกฎหมายไทย ไม่ต้องมีการแก้ไข หรือต้องออกกฎหมายเพิ่มเติมใหม่ จึงไม่จำเป็นต้องผ่านรัฐสภา

FTA: ไทย-นิวซีแลนด์ : เป็นความตกลงในลักษณะเดียวกับ FTA: ไทย -ออสเตรเลีย มีผลบังคับใช้ 1ก.ค. 2548

ความเห็นต่อเงื่อนไขด้านกฎหมาย : เช่นเดียวกับ FTA : ไทย -ออสเตรเลีย

FTA:ไทย-อินเดีย : เป็นความตกลงการค้าเสรี ที่เน้นการเปิดตลาดสินค้า โดยทยอยเปิดสินค้าในกลุ่มเร่งลดภาษี (Early Harvest ) จำนวน 82 รายการก่อน มีผลใช้บังคับ 1 ก.ย. 2547 ส่วนสินค้ารายการที่เหลือ รวมทั้งบริการและการลงทุนยังไม่ได้มีการเจรจาต่อ

ความเห็นต่อเงื่อนไขด้านกฎหมาย : เป็นความตกลงด้านการเปิดตลาดสินค้า จึงอยู่ในเงื่อนไขของการปรับลดภาษีที่ไม่ขัดกับ พ.ร.บ. ศุลกากร และยังไม่ต้องแก้ไข หรือออกกฎหมายใดๆจึงไม่จำเป็นต้องผ่านรัฐสภา

FTA:ไทย-บาร์เรน :เป็นประเภทความร่วมมือที่เป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจ (Comprehensive Economic Partnership) มีผลบังคับใช้ 29 ธ.ค. 2545 แต่ไม่มีความคืบหน้าในทางปฏิบัติ

ความเห็นต่อเงื่อนไขด้านกฎหมาย : ไม่มีประเด็นในการต้องแก้ไขหรือออกกฎหมาย จึงไม่ต้องผ่านรัฐสภา

FTA: ไทย -เปรู : เป็นความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิด (Closer Economic Partnership ) ลงนามกรอบความตกลง 17 ต.ค. 2546 แต่ไม่มีความคืบหน้าในทางปฏิบัติ

ความเห็นต่อเงื่อนไขด้านกฎหมาย: เช่นเดียวกับ FTA ไทย-บาห์เรน

FTA:ไทย -ญี่ปุ่น: เป็นความตกลงประเภทพันธมิตรทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิด(JTEPA:Japan Thailand Economic Partnership Agreement ) เริ่มเจรจาตั้งแต่ ก.พ. 2547 ปัจจุบันหยุดชะงักจากปัญหาการเมืองของไทย (ตามกำหนดการเดิมจะลงนามความตกลงในเดือน เม.ย. 2549 ) เน้นการเปิดตลาดสินค้าและความร่วมมือด้านขจัดปัญหาอุปสรรค ด้านบริการและการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือด้านการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีต่างๆเป็นสำคัญ

ความเห็นต่อเงื่อนไขด้านกฎหมาย:เช่นเดียวกับFTAอื่นๆข้างต้นที่ยังไม่มีเงื่อนไขที่ต้องแก้ไขกฎหมายหรืออกกฎหมายเพิ่มเติม จึงไม่ต้องผ่านรัฐสภา

FTA:ไทย-สหรัฐฯ:เป็นความตกลงทางการค้าและการลงทุน (TRADE and Investment Agreement) เริ่มเจรจามิ.ย.2547 และต้องชะงักลงจากปัญหาการเมืองของไทย

ความเห็นต่อเงื่อนไขด้านกฎหมาย:เป็นกรณีเดียวในทุก FTA ที่กล่าวถึงมาข้างต้น ที่มีประเด็นน่าเป็นห่วงด้านกฏหมาย โดยเฉพาะสหรัฐฯรุกในประเด็นการเปิดเสรีทางการเงินที่หากไทยยอมรับข้อเสนอของสหรัฐฯไทยจะต้องมีภาระผูกพันตามบทบริการทางการเงินที่ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายภายในประเทศของไทย ซึ่งจะต้องนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายของไทยและจำเป็นต้องมีการเสนอให้รัฐสภาพิจารณา 

้อ้างอิง: www.thaiechamber.com

            www.ftawatch.org

หมายเลขบันทึก: 36340เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2006 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พึ่งจะทราบนะครับว่าประเทศของเราไปทำ FTA กับ บาร์เรน และเปรูด้วย หากไม่ติดตามข่าวสารเฉพาะด้านแบบเกาะติด คงไม่รู้ว่ารัฐบาลดำเนินการอะไรไปบ้างแล้ว บางเรื่องก็ไม่ค่อยจะแจ้งให้หลายฝ่ายได้รับทราบไว้บ้าง อย่างการทำ FTA กับสหรัฐอเมริกา ขอบคุณคุณธนิกานต์มากครับ ที่นำเสนอข้อมูลในส่วนนี้

สนใจ FTA อย่าลืมแวะชม http://www.ftawatch.org  นะครับ

มีข้อมูลน่าสนใจพอสมควร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท