การทำลายชีวิตถือว่าเป็น "บาป"


 ความตายเป็นทุกข์ มันเป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาและน่ากลัว พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า"สัตว์ที่จะต้องตายทั้งหลาย มีความกลัวอยู่เสมอว่าพวกเขาจะต้องตาย" ชีวิตนั้นถึงแม้จะเต็มไปด้วยความทุกข์ แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา การมีชีวิตที่ยืนนานเป็นที่ปรารถนาของมนุษย์ทุกชั้นทุกวรรณะ พระพุทธองค์ตระหนักถึงความจริงข้อนี้จึงตรัสเตือนว่า "ทั้งมนุษย์และสัตว์ทั้งผอง ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา ย่อมกลัวต่อความตาย บุคคลทำตนให้เป็นอุปมาแล้ว ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรใช้ให้ฆ่า(ผู้อื่น)" ชีวิตย่อมเป็นที่รักของมนุษย์และสัตว์ทั้งหมด 

       การทำลายชีวิตถือว่าเป็นบาป เป็นการกระทำที่ชั่ว เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสตำหนิโทษไว้ การฆ่าทำลายชีวิตมนุษย์ เรียกว่าเป็นกรรมหนักประเภทหนึ่ง ในบรรดากรรมหนัก 5 ประเภท พระสงฆ์หากทำลายชีวิตมนุษย์ เป็นผู้ต้องอาบัติหนักหรือปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุ

       การฆ่านำมาซึ่งผลอันไม่น่าปรารถนาหลายประการ เช่น ทำให้ชีวิตสั้น ก่อให้เกิดทุกข์ตกนรก พระพุทธศาสนาถือว่า การฆ่าจะสมบูรณ์ตามความหมายที่แท้จริงต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ

1. สัตว์มีชีวิต
2. รู้ว่าเป็นสัตว์มีชีวิต
3. มีเจตนาที่จะฆ่า
4. ทำความพยายามที่จะฆ่า
5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

       ดังนั้น การที่เรียกว่าทำบาปอย่างแท้จริงนั้นจะต้องมีองค์ประกอบด้วยองค์ 5 เรียกว่า จะก่อให้เกิดกรรมดีกรรมชั่ว ก็เพราะมีเจตนา

 
หมายเลขบันทึก: 363393เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2010 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

สาธุครับ...

ครับ ผมเห็นด้วย ในศาสนาอิสลามก็มีหลักคำสอนเช่นกัน ว่า บุคคลใดได้ฆ่าชีวิต ซึ่งเป็นชีวิตที่อิลามห้ามไห้ฆ่า บุคคลนั้น จะได้รับ

บาปเท่ากับ เขาได้ฆ่าคนทั้งโลกเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท