จากหมู่เกาะกาลาปากอส สู่จุดเริ่มต้นทฤษฎีเขย่าโลก "วิวัฒนาการ"


หมู่เกาะโดดเดี่ยวแห่งหนึ่งในมาหสมุทรแปซิฟิคมีความสำคัญกับคำว่า "วิวัฒนาการ" และตัว ชาลส์ ดาร์วิน มาก ที่จริงดาร์วินใช้เวลากับหมู่เกาะแห่งนี้เพียง 5 สัปดาห์ แต่เวลาไม่กี่สัปดาห์นี้กลับเป็นช่วงสำคัญที่สุดในการเดินทางไปตามชายฝั่ง อเมริกาใต้ เพราะช่วงเวลานี้เองที่ทำให้ดาร์วินมั่นใจว่า ทฤษฎีวิวัฒนาการของเขาถูกต้อง ตลอดเวลา 20 ปีต่อมา ดาร์วินย้อนไปอ่านบันทึกที่เขาเขียนที่หมู่เกาะนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนประจักษ์ออกมาว่าเวลาห้าสัปดาห์นั้นได้ไขปริศนาว่า สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการมาได้อย่างไร คำตอบก็คือ "การเลือกสรรของธรรมชาติ" ในปี ค.ศ. 1831 เมื่อดาร์วินลงเรือหลวงบีเกิลในฐานะนักธรรมชาติวิทยาของทางราชการ ความคิดที่ยอมรับกันในโลกของชาวคริสต์ตอนนั้นก็คือ พระเจ้าเป็น ผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลก ดาร์วินพยายามแสดงว่าความเชื่อเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ผิด โดยเขาได้เขียนไว้ในหนังสือสุดคลาสสิคชื่อ On the Origin of Sprcies by Means of Natural Selection ว่าด้วยการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ โดยการเลือกสรรของธรรมชาติ ซึ่งตีพิมพ์ออกมาในปี 1859

การเดินทางไปกับเรือหลวงบีเกิลเปิดโอกาสให้ดาร์วินได้ศึกษาพื้นที่ต่างๆมาก มาย รวมทั้งนก พืช สัตว์ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายน่าพิศวง การเดินทางครั้งนี้ตัวดาร์วินได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆจากของจริง ไม่ใช่จากตำราหรือพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์อย่างที่นักวิชาการสมัยนั้นเค้า ศึกษากัน ในช่วงสามปีแรกของการเดินทางนั้นดาร์วินเริ่มเชื่อว่า สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆมิได้คงสภาพเดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดาร์วินไม่อาจยอมรับคำอธิบายที่ว่า พระเจ้าผู้สร้างโลกได้"กำจัด"สัตว์ที่สูญพันธุ์บางชนิดไป หลังจากที่พวกมันทำหน้าที่บนโลกได้สมปรารถนาของพระเจ้าแล้ว และพระองค์ก็ได้รงสร้างสิ่งมีชีวิตที่สูงกว่าดีกว่าขึ้นมา โดยมีมนุษย์สัตว์ อันประเสริฐสุด(เหอะ เหอะ)เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดสุดท้ายที่พระเจ้าสร้าง เหตุผลประการหนึ่งคือ ในระหว่างที่สำรวจชายฝั่งนั้น ดาร์วินขุดพบฟอสซิลและกระดูกสัตว์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสัตว์ที่อยู่รอบๆตัวเขา เพียงแต่มันขนาดใหญ่กว่ามาก


 



บิดาแห่งวิวัฒนาการ ชาลส์ ดาร์วิน กลับมาถึงอังกฤษในปี 1836 และใช้เวลากว่า 20 ปีกลั่นกรองความิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการเพื่อเสนอต่อสาธารณชน โดยเสนอแนวคิดนี้ครั้งแรกที่สมาคมลินเนียนแห่งลอนดอน ในปี ค.ศ. 1858

มนุษย์มาจากกลิงเรอะ? จากหนังสือชื่อ On the Origin of Sprcies by Means of Natural Selection ฉบับพิมพ์ครั้งแรก 1ม250 เล่ม ขายเกลี้ยงในวันเดียว แต่ข้อสรุปของดาร์วินกลับไม่เป็นที่ยอมรับ จนมีภาพล้อเลียนสุดคลาสสิคภาพนี้ขึ้นมา

เรือหลวงบีเกิลมาถึงหมู่เกาะกาลาปากอส เมื่อเดือน ก.ย. 1835 เกาะ 19 แห่งรวมทั้งโขดหินรอบๆ รวมทั้งเกาะเล้กๆที่เกิดจากลาวาภูเขาไฟ กระจายกันอยู่ในมหาสมุทรเป็นเนื้อที่ 59,500 ตารางกิโลเมตร ห่างจากแผ่นดินอเมริกาใต้ประมาณพันกิโลพอดีครับ ในตอนแรกดาร์วินกึ่งทึ่งกึ่งฉงนที่มีสัตว์ป่าอยู่อาศัยในที่ๆห่างไกลและ ทุรกันดารออกปานนี้ เขายังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า แม้สัตว์ส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายกันกับสัตว์ที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่ แต่สัตว์เหล่านี้ยังมีลักษณะพิเศาที่พบเฉพาะในบริเวณหมู่เกาะกาลาปากอสเท่า นั้น โดยมีผิดแผกกันไปบ้างตามท้องถิ่นที่พวกมันอยู่อาศัย

ประเภทของสัตว์ที่อยู่บนหมู่เกาะนี้ก็น่าศึกษาเช่นกัน ขณะที่ดาร์วินพักอยู่ที่นั่น เขาพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียง 2 ชนิด คือ หนูขนาดเล็ก(mouse) ซึ่งดาร์วินลงความเห็นว่ามันคงวิวัฒนาการกันขึ้นที่นั่น และหนูขนาดใหญ่(rat) ซึ่งคงติดมากับเรือ อย่างไรก็ตาม ดาร์วินไม่พบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่หมู่เกาะนี้ เขาพบแต่สัตว์เลื้อยคลาน(จิ้งเบน?) ที่ดูจะชุกชุมมากเป็นพิเศษบนหมู่เกาะกาลาปากอส


 



ในที่สุด ดาร์วินสรุปว่า สิ่งมีชีวิตต่างๆมีวิธีมาถึงหมู่เกาะกาลาปากอสด้วยทางที่แตกต่างกันไป ซึ่งวิธีดังกล่าวคือตัวกำหนดว่าที่นี่มีสัตว์ประเภทใดบ้างที่คล้ายคลึงกับ สัตว์บนแผ่นดินใหญ่ในอเมริกาใต้ สิ่งมีชีวิตพวกแรกคือพืชครับ พวกมันถูกลมหรือน้ำพัดพาเอาสปอร์(รวมทั้งเมล็ด)มาตกลงที่นี่ (ดาร์วินเคยทำการทดลอง โดยเอาเมล็ดพืชแช่น้ำไว้ลายเดือนแล้วลองเพาะ ปรากฏว่าเพาะขึ้น) เมื่อมีสิ่งแวดล้อมจำพวกพืชเกิดขึ้นอย่างถาวรแล้ว พวกสัตว์ก็เริ่มอพยพเข้ามาอยู่ สัตว์ทุกชนิดในหมู่เกาะกาลาปากอสยกเว้นที่มนุษย์นำเข้ามา ล้วนวิวัฒนาการจาก"สัตว์บุกเบิก" ซึ่งมาถึงที่นี่โดยบังเอิญ เช่น นก ค้างคาว และแมลงบางชนิดคงบินมาจากแผ่นดินอเมริกาใต้ (หรืออาจถูกพายุพัดออกนอกเส้นทางการอพยพย้ายถิ่นประจำปี) ดังนั้นสัตว์บนเกาะจึงมีความคล้ายคลึงกับพวกบนแผ่นดินใหญ่อย่างที่ดาร์วิน เห็น


 




สำหรับสัตว์ชนิดอื่นๆก็คงวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่บังเอิญอาจติดมากับ ท่อนไม้ กอสวะ แพสาหร่าย หรือเศษวัสดุที่ถูกน้ำซัดสู่ทะเลผ่านทางปากแม่น้ำ แล้วลอยตามน้ำมายังหมู่เกาะ ไข่กบและคางคกที่อ่อนนุ่มไม่อาจอยู่รอดได้ เมื่อต้องลอยข้ามน้ำข้ามทะเลเป็นระยะทางไกลๆ และถึงแม้จะรอดมาได้ หมู่เกาะนี้ก็แห้งแล้ง ไม่มีแหล่งน้ำจืดสำหรับสัตว์เหล่านี้ แต่ไข่ของสัตว์เลื้อยคลานนั้นมีเปลือกที่แข็งแรงห่อหุ้มไว้ จึงลอยตามกระแสน้ำมาได้โดยปลอดภัย


เรียนรู้จากนก!!
ด้วยเหตุที่ไม่มีนกชนิดอื่นมาแก่งแย่ง นกฟินซ์ที่หมู่เกาะกาลาปากอสจึงใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จากถิ่นอาศัยและแหล่งอาหารที่มีอยู่ได้ นกฟินซ์ 13 ชนิดที่หมู่เกาะแห่งนี้มีลักษณะร่วมคือ ลำตัวยาว 10-20 ซม. มีขนสีน้ำตาลหรือดำ แต่แตกต่างกันที่รูปร่างของจะงอยปาก บางชนิดมีรูปเรียวโค้งเพื่อใช้หาอาหารจากอดกไม้ บางชนิดเหมือนกแก้วเพื่อใช้ขบลูกไม้ และมีสองชนิดสามารถใช้ปากคาบหนามกระบองเพชรเพื่อเสาะหาอาหารได้อย่างแคล่ว คล่อง


สัตว์เลื้อยคลานที่น่าพิศวงที่สุดเห็นจะเป็นเต่าทะเลยักษ์ ในสมัยของดาร์วิน มีเต่าพักพิงอยู่ที่แห่งนี้นับเป็นแสนตัว คำว่า galapagos อันเป็นชื่อของหมู่เกาะนั้น มาจากภาษาสเปนที่แปลว่าเต่าทะเล ด้วยเหตุที่ไม่มีสัตว์ล่าเหยื่อเป็นอาหาร เต่าที่นี่จึงมีอายุยืนกว่า 100 ปี บางตัวมีขนาดยาวกว่า 1.3 เมตร และหนักเกือบ 200 กก. เมื่อโตเต็มที่ เข้าใจว่าเต่าพวกนี้คงจะมาถึงเกาะในขณะที่ยังเป็นไข่หรือลูกเต่า ทั้งยังมีจำนวนมากพอที่จะตั้งแหล่งแพร่พันธุ์หรือกระจายออกไปทั่วทั้งหมู่ เกาะ รองผู้ว่าราชการแห่งกาลาปากอสเล่าให้ดาร์วินฟังว่า แค่มองดูเขาก็บอกได้แล้วว่าเต่าตัวไหนมาจากเกาะใด ตอนนั้นดาร์วินไม่ตระหนักถึงความสำคัญของคำพูดนี้ ได้แต่จดจำเอาไว้เท่านั้น เต่าเหล่านี้มีลักษณะแตกต่างกันในรายละเอียดบางอย่าง ซึ่งดูเหมือนถุกกำหนดให้เป็นไปตามสภาพแวดล้อม ในเกาะที่มีน้ำและพืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์ เต่าจะกัดกินหญ้าตามพื้นดิน กระดองด้านหน้าเหนือคอเต่าจึงโค้งลงเล็กน้อย แต่ในท้องถิ่นที่เต่าต้องชะเง้อหาอาหารเหนือคอขึ้นไป คอเต่าจะยาวและกระดองด้านหน้าจะโค้งงอนขึ้นเหมือนอานม้า

กิ้งก่าอิกัวน่าก็มีความหลากหลายไม่แพ้กัน หมู่เกาะนี้มีกิ้งก่าอิกัวน่าสองชนิดที่แตกต่างกันชัดเจน ดาร์วินเชื่อว่าทั้งสองชนิดนี้คงมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน แต่วิวัฒนาการไปคนละสายพันธุ์เพื่อให้สะดวกกับการหาอาหารที่สุด อิกัวน่าบนบกจะกินดอกและเม,ล็ดของต้นกระบองเพชรเป็นอาหาร ส่วนอิกัวน่าทะเลจะกินสาหร่ายที่ขึ้นอยู่โขดหินใต้ทะเล จึงมีหางยาวที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ เพื่อให้มันสามารถแหวกว่ายในทะเลได้โดยสะดวกนั่นเอง

สัตว์เลื้อยคลานเช่นอีกัวน่าหรือกิ้งก่า ทำให้ชาลส์ ดาร์วินได้ข้อสังเกตบางอย่าง ซึ่งสนับสนุนข้อคิดของเขาที่ได้จากการศึกษานก เช่นนกฟินซ์ที่มีอยู่อย่างดาษดื่น นกเหล่านี้ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับทฤษฎีวิวัฒนาการว่าด้วยการเลือกสรรจาก ธรรมชาติ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ พวกที่เหมาะสมเท่านั้นจึงจะมีชีวิตรอดอยู่ได้ (ถ้อยคำเหล่านี้ เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ ปราชญ์ยุคเดียวกับดาร์วินเป็นคนคิดครับ - - อย่าบอกนะว่าไม่รู้จัก)


 



ดาร์วินอนุมานว่า "...จากนกที่เดิมมีอยู่เพียงน้อยนิด นกชนิดหนึ่งมีอันต้องปรับเปลี่ยนตัวเพื่อจุดหมายที่แตกต่างกัน" ฟินซ์(นกกระจาบปีกอ่อน) เป้นนกบกชนิดเดียวที่อาศัยอยู่อย่างแพร่หลายบนหมู่เกาะ ด้วยเหตุที่ไม่โดนล่าและไม่ต้องแย่งอาหารกับนกชนิดอื่น พวกมันจึงมีวิวัฒนาการที่แพร่หลายไปทั่วทั้งหมู่เกาะ แต่ละเกาะจะมีนกฟินซ์เป็นพันธุ์เฉพาะของเกาะนั้นๆ ซึ่งพัฒนาการเพื่อเอื้ออำนวยให้อยูรอดได้ตามสภาพแวดล้อมให้มากที่สุด แล้วจึงถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้นให้นกรุ่นต่อๆไป ถ้านกชนิดใดปรับตัวไม่ได้ ก็ต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด

นกจากนกฟินซ์ เต่าทะเล อิกัวน่าแล้ว ก็ยังมีนกทะเล สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง(shellfish) และสัตว์ประเภทกิ้งก่าอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก สัตว์จำพวกเดียวกันที่อยู่แต่ละเกาะจะมีลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ดาร์วินเขียนบันทึกของเขาว่าความจริงในข้อนี้ทำให้ "ข้าพเจ้าได้ประจักษ์ด้วยความอัศจรรย์ใจ" การสร้างสมมติฐานจากการพบเห็นดังกล่าว แสดงถึงความมีอัจฉริยภาพของดาร์วินได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณที่มา: http://mythland.org/v3/thread-25-1-1.html

 

หมายเลขบันทึก: 363236เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 18:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท