การเก็บน้ำไว้ใช้


เก็บน้ำ

ผมได้เดินทางไปที่บ้านนาฝาย อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ได้พบกับท่านผู้ใหญ่บ้าน

ชื่อผู้ใหญ่พิกุล ท่านเป็นผู้นำชุมชนที่มีแนวคิดที่กว้างไกล เพื่อสร้างความยั่งยืน และให้ลูกบ้านพึ่งตนเองได้ ชุมชนมีความเข้มแข็งตามมาเป็นลำดับ แต่ที่มันเกิดขึ้นได้เพราะท่านลงมือปฏิบัติจริงไม่ใช่เพียงแค่ประชุมเพื่อหาแนวคิดร่วมกัน เรื่องที่สำคัญที่พวกผมได้ไปเจาะประเด็นมาคือ การเล็งเห็นความสำคัญของการเก็บกักน้ำ สำรอง รวมไปถึงการจัดการน้ำภายในชุมชน

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสภาพภูมิประเทศของหมู่บ้านค่อนข้างตั้งอยู่ที่ดอนไม่มีลำห้วยหรือคลองชลประทาน จึงเป็นแรงผลักดันให้เกิดแนวคิดนี้ขึ้น และอีกอย่างชาวบ้านยังทำการเกษตรเป็นหลัก.......แหม๋เคยได้ยินแต่ธนาคารออมทรัพย์ภายในชุมชน แต่ที่นี่มีธนาคารน้ำ สามารถเบิกจ่ายไปใช้ได้จริง ฟังดูเหมือนเรื่องตลกเน้อ แต่ใครจะรู้เล่าว่าวันหนึ่งน้ำกินน้ำใช้จะขาดแคลนจริงๆ.........และทุกวันนี้มันก็เกิดขึ้นแล้ว ถ้าการใช้น้ำของคนในชุมชน ต่างคนต่างใช้ มือใครยาวสาวได้สาวเอาอยู่แบบนี้รับรองล่มจมทั้งชุมชน

ทางออกของชุมชนแห่งนี้คือพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสใช้ความแห้งแล้งสร้างแรงบันดาลก่อเกิดแนวคิดการสร้างแหล่งน้ำและใช้ร่วมกัน ..........คือถ้าขับรถยนต์ผ่านแถวนั้นมองไปสองข้างทางจะคิดว่า ร้อน แห้งแล้ง มีแต่ทุ่งนารกร้างว่างเปล่า แต่พอเดินเข้าไปดูใกล้ๆ เดินเข้าไปในๆ ลึกๆ จะเห็นบ่อ สระน้ำ มากมาย เต็มปรี่ รอฤดูกาลทำนากลับมาใหม่ ซึ่งมันไม่ได้เป็นอย่างที่คิด จากการมองที่ข้างถนน

Img_0627

นี่แหล่ะคือความได้เปรียบของคนนอกเมือง ถ้ามองกลับกันคนในเมืองเขาจะสร้างแหล่งน้ำและเก็บกักน้ำกันอย่างไร?

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 363196เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท