tummasu
นางสาว สาวิตรี ธรรมสุภ์

กระบวนการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา เรื่อง Present Simple Tense


สื่อมีความสำคัญยิ่งกับการเรียนการสอน

ขั้นตอนการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา  เรื่อง  Present  Simple  Tense    สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

 กระบวนการจัดทำ/การผลิต

1. วัตถุประสงค์

เพื่อให้นักเรียนพัฒนาทักษะการใช้โครงสร้างประโยค  Present  Simple  Tense  ได้อย่าง

ถูกต้อง  เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษ

2. กระบวนการการผลิต 

                ผู้จัดทำได้ออกแบบนวัตกรรมการศึกษา  เรื่อง  Present  Simple  Tense  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อปรับปรุงและพัฒนาทักษะด้านการใช้โครงสร้างประโยค Present  Simple  ผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนดำเนินงานโดยศึกษาหาความรู้จากเอกสารต่างๆ ดังนี้

                - หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 คู่มือครูหนังสือเรียน                กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

                - หนังสือการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป  หนังสือนวัตกรรมการศึกษาชุด  บทเรียนสำเร็จรูป

                - สื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ  ป.5 ช่วงชั้นที่ 2 กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544

                - เก่งไวยากรณ์สอนใช้อังกฤษ.

                - ตัวอย่างบทเรียนสำเร็จรูปจาก WWW.SAHAVICHA.COM

                ในการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง  Present  Simple  Tense  เพื่อแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนไม่ค่อยชอบเรียนภาษาอังกฤษ  เนื่องจากไวยากรณ์หรือโครงสร้างภาษาอังกฤษ  ซับซ้อน  และมีการท่องจำมาก  เพราะภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่มีความสำคัญต่อการนำไปประกอบอาชีพและนำไปสื่อสารในชีวิตประจำวันได้  จึงต้องมีการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูปขึ้นมา  เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ไวยากรณ์หรือโครงสร้างภาษาอังกฤษ  โดยการอธิบายในรูปแบบที่เข้าใจง่ายๆ และจะทำให้เด็กนักเรียนพัฒนาความรู้ทางด้านไวยากรณ์  เพื่อเป็นพื้นฐานในการอ่าน  เขียน ภาษาอังกฤษให้เก่ง  และสามารถนำไปใช้ได้  และทักษะด้านการใช้โครงสร้างประโยค  Present  Simple  Tense  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้ดำเนินการ  ดังนี้

                1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 คู่มือครู  หนังสือเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เพื่อกำหนดขอบเขต  และเนื้อหาของบทเรียน  รวมทั้งกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                2. ศึกษารายละเอียด  วิธีการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปจากหนังสือการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป และหนังสือนวัตกรรมการศึกษาชุด  บทเรียนสำเร็จรูป  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดเนื้อหา   การวางรูปแบบ  ซึ่งการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปในครั้งนี้  เป็นแบบเส้นตรง (Linear  Programme)  เป็นบทเรียนที่นำเสนอเนื้อหาทีละน้อย  บรรจุลงในกรอบหรือเฟรมต่อเนื่องกันตามลำดับ   จากกรอบที่หนึ่งไปยังกรอบที่สอง  จนถึงกรอบสุดท้ายตามลำดับ  โดยเรียงลำดับเนื้อหาจากง่าย  ไปหายาก  ผู้เรียนจะต้องเรียนตามลำดับทีละกรอบต่อเนื่องกันไปตั้งแต่กรอบแรกจนถึงกรอบสุดท้าย  โดยไม่ข้ามกรอบใดกรอบหนึ่ง  ในแต่ละกรอบจะถามคำถาม  และชนิดของคำถาม   จากกรอบแรกไปสู่กรอบต่อไปนั้นจะแตกต่างกัน  ในทุกกรอบจะมีเฉลยคำถามที่ถูกต้อง  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถตรวจคำตอบด้วยตนเอง

 ส่วนประกอบของบทเรียนสำเร็จรูป

                ส่วนประกอบของบทเรียนสำเร็จรูป  ประกอบด้วย

1. คำนำ/คำชี้แจง/คำแนะนำสำหรับครู/คำแนะนำสำหรับนักเรียน

2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

3. วัตถุประสงค์ปลายทาง  และจุดประสงค์นำทาง

4. เนื้อหาเรียงลำดับจากง่ายไปยาก

5. แบบฝึกหัด/คำถาม  เพื่อทบทวนความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้ศึกษา  พร้อมเฉลย

6. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

7. เฉลยแบบทดสอบ

 

กระบวนการผลิตและพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป

1. ขั้นวางแผน

2. ขั้นการผลิต

3. ขั้นการทดลองต้นฉบับ

4. ขั้นทดลองใช้จริง

 

ขั้นวางแผน

- ศึกษาหลักสูตร  เพื่อให้ทราบถึงเนื้อหาสาระที่จะนำมาจัดทำเป็นบทเรียนสำเร็จรูป

- กำหนดเนื้อหาเรื่อง  Present  Simple  Tense  เพื่อที่จะทำบทเรียนสำเร็จรูป

- จุดประสงค์นำทาง  จุดประสงค์ปลายทาง

- ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่า  เมื่อผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้จบแล้ว  ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง

- วิเคราะห์ความยาก-ง่ายของเนื้อหา

- เตรียมสร้างแบบทดสอบทั้งก่อนและหลังเรียนในแต่ละกรอบสาระการเรียนรู้ ให้ครอบคลุม

ขั้นการผลิต

1) เขียนบทเรียนสำเร็จรูปประกอบด้วย

- คำนำ  คำชี้แจง  คำแนะนำสำหรับครู  คำแนะนำสำหรับนักเรียน  ผลการเรียนรู้  

ที่คาดหวัง

- จุดประสงค์ปลายทาง  และจุดประสงค์นำทาง

- ข้อทดสอบก่อนและหลังเรียน

- กิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกรอบ

2) สร้าง

- ศึกษาบทเรียนสำเร็จรูป

- เขียนเนื้อหาให้ตรงกับจุดประสงค์

- นำแผนการเรียนรู้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพ 3 ท่าน

- ปรับปรุงแก้ไข  ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

-ให้นักเรียนลองทำบทเรียนสำเร็จรูป 3 คน

 ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิต  และการแก้ไขปัญหา

1. เป็นเรื่องของเวลา  เวลาที่ทำการผลิตบทเรียนสำเร็จรูปนี้ขึ้นมามีน้อยเกินไป 

2. ต้องมีการปรับปรุงเนื้อหาอยู่ตลอดเวลา  เพื่อที่จะทำให้บทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นมา

สมบูรณ์ที่สุด

3. ต้องมีการวิเคราะห์เนื้อหาให้ตรงกับจุดประสงค์  ต้องทำความเข้าใจกับบทเรียนสำเร็จรูป

ให้ดีก่อนที่จะทำการวิเคราะห์

 4.จากการที่นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบต้องมีการปรับปรุงแก้ไข เพื่อที่จะนำไปให้เด็กนักเรียนทดลองทำ

               การตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน 

ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญคนที่ 1  นางมัทราวรรณ   ภิระลัย (ครู  คศ.2)

1. จุดประสงค์นำทาง  และจุดประสงค์ปลายทางควรสอดคล้องกัน

2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนควรคลอบคลุมจุดประสงค์ปลายทาง

3. กิจกรรมและเนื้อหาไม่ครอบคลุมและไม่ครบตามจุดประสงค์  เช่น  จุดประสงค์นำทางข้อที่ 5 นักเรียนสามารถตอบคำถามประโยค  Present  Simple  Tense  ได้  แต่ในบทเรียนยังขาดเนื้อหา          ของการตอบคำถามประโยค

ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญคนที่ 2 นางชลาลัย   แก้วกิริยา (ครู  ชำนาญการ)

1. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนควรจะสลับข้อกัน  เพื่อป้องกันนักเรียนจำคำตอบ                   และประธานของประโยคควรจะมีหลากหลายไม่ซ้ำกัน

2. กรอบเนื้อหาควรจะมีการเรียงลำดับความยากง่ายของเนื้อหา  เช่น  ควรนำเอาเรื่อง  Verb  to  be, Verb  to  have  ให้นักเรียนเรียนก่อน

3. ตัวอย่างประโยคในแต่ละกรอบมีน้อยเกินไป  จะทำให้การเรียนของนักเรียนไม่บรรลุผล

ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญคนที่ 3 นางศรีมุกข์   ประคำสาย (ครู  วิทยฐานะ

ชำนาญการ)

1. เอกสารทางวิชาการ  ให้ระวังการใช้ภาษา  ทั้งภาษาพูด  ภาษาเขียน  แยกให้ออก  ไม่ใช้คำซ้ำๆ          ในประโยคเดียวกัน  คำซ้อน  การเว้นวรรค  หลักการพิมพ์  เอกสารทางวิชาการให้เช็คให้ละเอียดก่อนพิมพ์

2. ยกตัวอย่างให้ชัดเจน  ละเอียดกว่านี้  นักเรียนที่เรียนอ่อนจะได้เข้าใจ

3. ตัวอย่างน้อยเกินไป  คำกิริยาวิเศษณ์ไม่ปรากฏในประโยคให้นักเรียนได้ศึกษาเลย

 ทั้งนี้  ผู้จัดทำจึงได้นำมาปรับปรุงแก้ไขจากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านแล้วเพื่อให้บทเรียนสำเร็จรูปสมบูรณ์ที่สุด

 ค่าดัชนีความสอดคล้อง(  IOC)ที่เกิดขึ้น

   การตรวจสอบเบื้องต้น เป็นการนำบทเรียนที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่ทำบทเรียนโดยตรง อย่างน้อย 3 คน ตรวจสอบถ้าผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีความเห็นสอดคล้องกัน 2 ใน 3 ท่าน แสดงว่าเนื้อหาและรูปแบบมีความถูกต้อง เที่ยงตรง และคลอบคลุมจุดมุ่งหมายที่กำหนด ซึ่งการตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้อง

 สรุปผล 

จากการหาประสิทธิภาพ ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป

ซึ่งในบทเรียนนี้ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ที่    ( IOC) = 10.6

การทดลองใช้แบบ 1:1 จำนวน 3 คน 

ผลปรากฏว่า ในการทำแบบทดสอบระหว่างเรียน นักเรียนทั้ง 3 คนสามารถทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้

เกณฑ์ที่ยอมรับว่าบทเรียนสำเร็จรูปมีประสิทธิภาพ นั่นคือความรู้  ความจำ E1/E2 จะต้องมีค่า 80/80  ขึ้นไปส่วนด้านปฎิบัติ E1/E2 จะต้องมีค่า 70/70 ขึ้นไป โดยที่ค่า E1/E2 ต้องไม่ต่างกันร้อยละ 5

สรุปผล

จากการหาประสิทธิภาพ ที่ตั้งไว้ ผลการทดลองใช้นวัตกรรมได้ 79.11/86.66

สรุปได้ว่า ประสิทธิภาพของนวัตกรรมใกล้เคียงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แสดงว่า สื่อนวัตกรรมการศึกษา เรื่อง  Present  Simple  Tense  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 363190เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท