เรื่องเล่า...จากการอ่าน


สติปัฏฐาน

   การอ่านเป็นพื้นฐานของชีวิต  วลีที่เราจะพบได้จากหนังสือ  ซึ่งตอนนี้กำลังรณรงค์ให้เด็กๆ เยาวชน คนทั่วไปหันมารักการอ่าน  และอ่านให้มากขึ้น  ส่วนจะอ่านแบบไหน  อ่านอะไรก็แล้วแต่จริต  หรือความชอบของแต่และบุคคล ว่าต้องการอยากจะรู้สิ่งใด

   เดียวนี้การจะหาสิ่งใดมาอ่านมีให้เลือกอย่างมากมาย  หลายรูปแบบเช่นกัน  แล้วแต่เราว่าจะเข้าถึงข้อมูลแบบใดจะสะดวก และเหมาะสม  ประหยัด  หาง่าย  ตรงความต้องการ

    เช่น ที่ร้านหนังสือ (เบสิคสุดๆ)  ห้องสมุด  บ้านเพื่อน  ร้านกาแฟ  อินเตอร์เน็ต  อาจจะซื้อมาอ่าน และเก็บไว้เพื่ออ่านอีกหลายรอบๆ อันนี้เราชอบเพราะเราถึงเป็นคนอ่านเร็ว แต่บางครั้งยังไม่กระจ่าง ยังสงสัยก็จะกลับมาอ่านอีก ก็สะดวก

   ห้องสมุด  กับบ้านเพื่อน นั้นน้อยมากที่จะขอยืม ห้องสมุดส่วนใหญ่มีแต่หนังสือด้านวิชาการ  เพื่อนนั้นก็ไม่ค่อยซื้อ  ชอบยืนอ่านที่ร้านเป็นส่วนใหญ่ (ขอนินทาหน่อย  ยืนอ่านได้เป็นครึ่งค่อนวัน )

   อินเตอร์เน็ตนั้นก็ดีมากๆ เพราะหาได้เร็ว ไว ง่าย ๆ  และสะดวกถ้าต้องการเก็บเป็นเปเปอร์ก็ได้ หรือเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ก็สะดวก   แต่บางเรื่องก็ต้องไปซื้อหาที่ร้านหนังสืออยู่ดี

   หนังสือที่ชอบและเมื่อเข้าร้านหนังสือทีไรต้องมีซื้อ คือ หนังสือแนวธรรมะต่างๆ  ซึ่งก็มีผู้เขียนหลากหลาย  ส่วนใหญ่ที่ซื้อมักเป็นของท่านพุทธทาส  ท่าน ว.วชิรเมธี  ตอนนี้ก็เป็น พระอาจารย์มิตซูโอะ  ตอนนี้มีอยู่ที่บ้าน 2-3 เล่ม ยังอ่านไม่จบ เป็นคนที่ชอบอ่านเมื่อรู้สึกที่อยากจะอ่านจริงๆ

   หนังสืออื่นๆ ที่อ่านประจำก็นิตยสารต่างๆ ทั้งรายปักษ์ รายเดือน ซื้อหาไม่ได้ขาด  ชอบที่จะอ่าน มันสนุก  ทำให้เรารู้กว้าง (ปกติเป็นกบที่ชอบอยู่ในที่ที่ของตนเองเท่านั้น) เกิดจินตนาการ  นิยายเนี่ยสนุกสุดๆๆ อ่านอยู่ไม่กี่แนว  ชอบนิยายรักหวาน โรแมนติก ยิ่งนิยายที่เกี่ยวกับทะเลทรายน่ะใช่เลย  ตอนเด็กๆ ประทับใจ "ฟ้าจรดทราย" มากอินสุดๆ  "เพชรพระอุมา" ก็สนุก  และอยากมีไว้ครอบครองมาก (รอเก็บตังค์ก่อน อยากได้ครบชุด) 

   วันนี้ที่เขียนบันทึกก็อยากจะคัดลอกบางตอนของหนังสือที่น่าอ่านมาให้  ได้อ่านกันบ้างเป็นน้ำจิ้ม  ต้องขออนุญาตเจ้าของหนังสืออมรินทร์พริ้นติ้ง  พระอาจารย์มิตซูโอะ  คเวสโก  ผู้เขียน  ชุด ธรรมะซาโตริ  เรื่อง วัคซีนธรรมะ   ตอนที่จะคัดมาอยู่หน้า 129 ข้อความดังนี้

   ในการปฏิบัติธรรมของเรา  ก่อนอื่นต้องเข้าใจให้ถูกต้องและปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นสำคัญ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกวันนี้เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร  เราศึกษาวิธีปฏิบัติธรรมได้ง่ายขึ้น...   ...การปฏิบัติที่ถูกต้องควรเข้าหาหลักสติปัฏฐาน 4  ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

  สติปัฏฐาน 4  พูดถึงกายและจิตใจของเรา  ซึ่งประกอบด้วย  กาย  เวทนา  จิต  และธรรม  ซึ่งเราสามารถกำหนดเป็นฐานของสติ  สมาธิ  และปัญญา  เพื่อให้เรารู้จักตนเองตามความเป็นจริง

  การกำหนดพิจารณาตามหลักสติปัฏฐาน  4  แบ่งเป็น  4  หมวด คือ

  1.  กายานุปัสสนา  สติปัฏฐาน

  2.  เวทนานุปัสสนา  สติปัฏฐาน

  3.  จิตตานุปัสสนา  สติปัฏฐาน

  4.  ธัมมานุปัสสนา  สติปัฏฐาน

  คนเราทั่วไปมักไม่รู้จักตนเอง  แม้มีชีวิตอยู่  100  ปี  มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด  เรียนจบปริญญาตรี  โท  เอก  เป็นดอกเตอร์  ทำงานเก่ง  สร้างฐานะร่ำรวยเป็ยมหาเศรษฐี  เป็นผู้บริหารระดับชาติ  ระดับนานาชาติ  แต่ถ้ายังกลัว  โกรธ  ร้องไห้  เสียใจอยู่ก็เพราะไม่รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง

  การปฏิบัติของเราคือดูสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้  คือพิจารณาดูตนเองจนรู้แจ้งเห็นจริง  ตัวเองในที่นี้หมายถึง ขันธ์ 5  คือ  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ (หรือพูดอีกแง่หนึ่งคือ กาย  เวทนา  จิต  ธรรม)  การรู้แจ้งเห็นจริงในขันธ์ 5  ว่าเป็นอนัตตา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่ของเรา  คือการรู้จักตนเองอย่างสมบูรณ์

  ...ชีวิตคนเราประสบกับทุกขเวทนามากมาย  ทุกคนทุกชีวิตถูกเบียดเบียนจากโรคภัยไข้เจ็บ  ร่างกายที่เสื่อมลงๆ  หรือสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมบางคนก็ปฏิบัติโดยรักษาอิริยาบถเดียวนานๆ  ไม่ขยับเขยื้อน  เพื่อพิจารณาความจริงของทุกขเวทนา  เมื่อทุกขเวทนานั้นมากขึ้นเรื่อยๆ  จนสุดที่จะทนทุกขเวทนาจนเกือบตาย  หรือขาดใจตายไปจริงๆ  ถึงขนาดนั้นก็ตาม  เรายังไม่เห็นทุกขเวทนา  ไม่รู้ทุกขเวทนาตามความเป็นจริง  เราเพียงแต่"รู้สึก" ทุกข์ "เป็น"ทุกข์  รู้สึกว่าทุกขเวทนาเป็นเรา  เป็นของเรา  เราอยู่ในทุกขเวทนา  ทุกขเวทนาอยู่ในเรา

   ต่อจากนั้นก็จะเริ่มด้วยนิทานเรื่องเต่าเจ้าปัญญา  ปลาไม่เห็นน้ำ  เป็นการอุปมาอุปไมยให้เข้าใจง่ายๆ 

   การนั้นให้คุณค่าแก่เราอย่างอเนกอนันต์  และเป็นวิธีการที่ง่ายๆ ที่เบสิคและคลาสิกที่สุด  การอ่านจะทำให้เรารู้จักตนเองได้ดียิ่งขึ้น  และจะดีไปกว่านี้อีกถ้าเราถึงพร้อมทั้งการปฏิบัติควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ

  รักคนอ่านค่ะ   

 

หมายเลขบันทึก: 363067เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีเนื่อหาอีกไหมครันพอดีผมไดทำรายงานเรื่องนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท