Nyonya
นางสาว กัลยา แก้วจันทร์

บันทึกที่ 10 นำเสนอขั้นตอนการผลิตสื่อนวัตกรรม บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม ( Nouns )


ขั้นตอนการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม ( Nouns )

ขั้นตอนการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม ( Nouns )

 

    1.   ขั้นวางแผน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยดังนี้

                 1.1  ศึกษาหลักสูตร เมื่อเลือกเนื้อหาที่จะนำมาสร้างบทเรียนสำเร็จรูปได้แล้ว นำมาวางแผนในการเขียนบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง

                 1.2  กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้าง โดยอาศัยข้อมูลจากหลักสูตรกว้าง ๆ และจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม ที่สามารถสังเกตและวัดผลได้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาในบทเรียน

                 1.3  วิเคราะห์เนื้อหา

                        ผู้จัดทำได้กำหนดเนื้อหา (สาระภาษาเพื่อการสื่อสาร) เรื่อง คำนาม ( Nouns ) ให้สอดคล้องเหมาะสมกับเนื้อหาของผู้เรียน โดยจัดเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยากตามลำดับ แบ่งเนื้อหาออกเป็น

- การให้ความหมาย บอกลักษณะความหมาย หน้าที่ของคำนาม

            - ประเภทของคำนาม

            - หลักการเปลี่ยนรูปของคำนามเอกพจน์เป็นรูปพหูพจน์

                 1.4  การสร้างแบบทดสอบ ยังช่วยให้ทราบถึงความงอกงามในการเรียน            

  จากจุดเริ่มต้นถึงจุดท้ายสุดโดยการพิจารณาคะแนนทดสอบหลังเรียน (Post-test) กับคะแนนก่อนเรียน (Pre-test)

 

2.  ขั้นดำเนินการเขียน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยดังนี้

            2.1  เขียนบทเรียน ในการเขียนบทเรียนสำเร็จรูปประกอบด้วย กรอบย่อย (Frame) ตั้งแต่กรอบที่ 1 จนถึงกรอบสุดท้าย

            2.2  ทบทวนและแก้ไข หลังจากเขียนบทเรียนสำเร็จรูปแล้ว ผู้เขียนได้ทบทวนหาจุดบกพร่องและดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องทั้งทางด้านเนื้อหา ภาษา และวิธีการเขียน เช่น ความต่อเนื่องของบทเรียน และความเหมาะสมของการแบ่งกรอบ เป็นต้น

            2.3  จากนั้นให้ผู้ชำนาญทางด้านการสร้างนวัตกรรมและทางด้านเนื้อหาตรวจสอบหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของนวัตกรรม ระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้, เนื้อหา, กิจกรรมแต่ละนวัตกรรม, สื่อประกอบบทเรียน, การวัดและประเมินผล พร้อมข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการปรับปรุงแก้ไข จำนวน   3 ท่าน

            2.4  นำนวัตกรรมที่ปรับปรุงแล้วในข้อ 2.3 และมีค่า (IOC) 0.5 ขึ้นไป ไปหาประสิทธิภาพ  

 

ค่าดัชนีความสอดคล้อง ( IOC )

 การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน 

บทสรุปและแปลความ

1. ค่าความสอดคล้องของเนื้อหา รูปแบบ ความเที่ยงตรงและครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้

 

ข้อ

คนที่ 1

คนที่ 2

คนที่ 3

 

รวม

 

IOC.

+ 1

0

- 1

+ 1

0

- 1

+ 1

0

- 1

1

P

 

 

P

 

 

P

 

 

3

1

2

P

 

 

P

 

 

P

 

 

3

1

3

P

 

 

P

 

 

P

 

 

3

1

4

P

 

 

P

 

 

 

P

 

2

0.67

5

P

 

 

P

 

 

P

 

 

3

1

6

P

 

 

P

 

 

P

 

 

3

1

7

P

 

 

P

 

 

P

 

 

3

1

8

P

 

 

 

P

 

P

 

 

2

0.67

9

P

 

 

P

 

 

P

 

 

3

1

10

P

 

 

P

 

 

P

 

 

3

1

 

รวม/เฉลี่ย

28

0.93

ตาราง 1 พบว่า พฤติกรรมบ่งชี้มีค่าความสอดคล้องของเนื้อหา รูปแบบ ความเที่ยงตรงและครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้ กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันตั้งแต่ 0.6 ทุกรายข้อ

    3.   ขั้นทดลองและปรับปรุง ดังนี้

            3.1  ขั้นการทดลองเป็นรายบุคคล หรือแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (one to one) เมื่อเขียนบทเรียนเสร็จ ผู้เขียนบทเรียนได้นำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทีละคนโดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน  3 คน ซึ่งเป็นนักเรียนเก่ง 1 คน กลุ่มปานกลาง 1 คน และนักเรียนกลุ่มอ่อน 1 คน ก่อนทำการทดลองได้สร้างความเข้าใจแก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจและให้ความร่วมมือช่วยเหลือในการปรับปรุงแก้ไขบทเรียนให้ดีขึ้น จากนั้นได้ซักถามถึงปัญหาต่าง ๆ ที่นักเรียนพบขณะเรียนจากบทเรียนสำเร็จรูปและนำข้อบกพร่องไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขต่อไป

    4.   ขั้นนำไปใช้

            ขั้นนำไปใช้เป็นขั้นที่นำบทเรียนสำเร็จรูปที่ผ่านการทดลองขั้นตอนมาแล้วไปใช้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านเหล่าป่าฝาง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งใช้แก้ปัญหาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ต่อไป อย่างไรก็ตามผู้เขียนบทเรียนสำเร็จรูปยังต้องติดตามผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูปนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

               

การหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป

                ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการปฏิบัติกิจกรรมจากบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องคำนาม ( Nouns )ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเหล่าป่าฝาง จำนวน 3 คน ผลปรากฏตามตารางที่ 2 ดังนี้

 

ตารางที่ 2 ค่าประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องคำนาม ( Noun ) ของนักเรียนในการทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (1:1)

 

 

คนที่

กิจกรรมระหว่างเรียน

 

รวม

(60)

คะแนน

หลังเรียน

(10)

แบบทดสอบที่1

(5)

แบบทดสอบที่ 2

(10)

แบบทดสอบที่ 3

(10)

แบบทดสอบที่ 4

(35)

1

5

10

10

34

59

10

2

5

10

9

33

57

10

3

5

10

5

33

53

8

รวม

15

30

24

100

169

28

ค่าเฉลี่ย (ร้อยละ)

93.88

93.33

ประสิทธิภาพ     E 1/E2 = 93.88/93.33

               

                จากตารางที่ 2 ในการทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (1:1) จำนวน 3 คน เป็นนักเรียนที่มีระดับผลการเรียนเก่ง 1 คน ปานกลาง 1 คน และอ่อน 1 คน โดยได้ใช้ทดลองกับนักเรียนปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนบ้านเหล่าป่าฝาง เพื่อหาข้อบกพร่อง โดยให้นักเรียนทดสอบก่อนเรียนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครู พบว่า จากการทดลองใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องคำนาม ( Nouns ) ของนักเรียนระหว่างเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 95.00 ส่วนคะแนนจากการวัดผลหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 93.88 และมีประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปฯ (E /E ) มีค่าเท่ากับ 93.88/93.33

 

2. ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิตและการแก้ไข

          ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิต

             1. ระยะเวลาในการผลิตบทเรียนสำเร็จรูปมีไม่เพียงพอและเป็นเวลาที่เร่งด่วนข้อมูลหรือเนื้อหาในบทเรียนจึงไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่ควร

             2. ภาระงานในปัจจุบันเป็นปัญหาหนึ่งในการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูปเพราะการทำงานค่อนข้างที่จะยากลำบากเพราะต้องทำตอนที่เลิกงานแล้วซึ่งเป็นเวลาที่ต้องพักผ่อน

 

หมายเลขบันทึก: 363054เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2010 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท