การเรียนรู้สู่การเป็นจอมยุทธ์


    

             เราจะจัดการความรู้ หรือบ่มเพาะหล่อเลี้ยงให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ไม่ได้เลย หากไม่เข้าใจมิติของการเรียนรู้  หนังสือของจอห์น โฮลท์ How children learn ผู้เขียนได้กล่าวถึงเรื่องหนึ่งไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง เขาเล่าว่า ครูคนหนึ่ง เข้าไปสอนเด็กในห้องเรียนชั้นประถมต้นพับเครื่องบิน เด็ก ๆ ค่อยพับตามครู และเด็ก ๆ ก็พับได้ แต่แล้ว คราวนี้ครูลองสอนอีกวิธีหนึ่ง คือใช้สอนโดยคำสั่งให้ทำ เช่น เริ่มกล่าวว่า ให้จับกระดาษมุมซ้ายบน พับลงมาชนขอบกระดาษด้านขวา แทนที่การพับให้ดูปรากฏว่าเด็กทำไม่ได้ และหลังจากนั้น ครูได้กลับมาสอนวิธีเดิมอีก คือ พับให้ดูและให้เด็กพับตาม ปรากฏว่าเด็กก็พับอีกไม่ได้แล้ว ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ เด็กเคยพับได้เป็นอย่างดีมาก่อน ปรากฏการณ์เช่นนี้ เราจะอธิบายว่าอย่างไร

          ดรายฟัสและดรายฟัสกลับนำเสนออะไรที่แตกต่างออกไป ผมเองเมื่อได้พบพานลำดับขั้นแห่งประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเขา ผมรู้สึกทึ่งในความเข้าใจของพวกเขา และผมได้นำไปใช้ในกระบวนการเรียนรู้ของ workshopต่าง ๆ ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง workshop การจัดการความรู้ให้กับองค์กรต่าง ๆ ผลปรากฏออกมาดีเกินคาด มันเป็นทฤษฎีที่เข้าใจได้ง่าย และช่วยเปิดมิติใหม่ให้กับคนทำงานกับองค์กร โดยเฉพาะพวกที่จะต้องเป็นโคช เพื่อให้เกิดการจัดการความรู้ สิ่งที่ต่างจากสำนักคิดเดิม ๆ ที่เรียนรู้ไล่เลียงมาจากนามธรรมก่อน ก็คือ การเริ่มจากรูปธรรม เริ่มจากสถานการณ์ เริ่มจากความไม่รู้ ก็ได้ มันเป็นการเรียนรู้ที่ช่วยให้เราเดินทะลุกำแพงได้ กำแพงของการไม่ยอมเรียนรู้ และจมปลักอยู่กับความเฉื่อยชาของชีวิต มันกลับมาเชิดชูคนทำงาน ผู้ปฏิบัติงาน ทำให้พวกเขาได้รับเกียรติขึ้นมาเป็นผู้สร้าง “ความรู้” อีกครั้งหนึ่ง ดรายฟัสทั้งสองพูดถึงห้าประสิทธิภาพการเรียนรู้ดังต่อไปนี้

ชั้นที่ ๑ เด็กฝึกงานเถรตรง  (Novice)

   ตามปกติธรรมดาแล้ว กระบวนการชี้แนะมักเริ่มต้นด้วยการที่ครูผู้สอนทำการหั่นซอยปฏิบัติการในโลก ของความเป็นจริง ให้ออกเป็นชิ้นงานย่อย ๆ ที่เป็นอิสระและแตกต่างกัน เพื่อที่พวกมือใหม่จะจดจำได้โดยไม่ต้องมีพื้นเพภูมิหลังเกี่ยวกับตัวงานนั้น ๆ มาก่อนเลย จากนั้นคนเริ่มฝึกจะได้รับคำบอกเล่าถึงกฎเกณฑ์และขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อใช้ในการตัดสินใจกระทำการ เมื่อได้ประสบกับลักษณะหรือกิริยาอาการนั้น เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานตามโปรแกรมซึ่งถูกป้อนให้

ชั้นที่ ๒ เด็กฝึกงานที่ก้าวหน้า (Advance beginner)

          ผู้ฝึกหัดขับรถยนต์ที่มีพัฒนาการใช้การฟังเสียงเครื่องยนต์ (รูปธรรมที่เป็นจริง) เท่า ๆ กับดำเนินตามขั้นตอนด้วยการเปลี่ยนเกียร์ตามความเร็วที่บ่งบอก(นามธรรมทาง ทฤษฎี) คือใช้เกียร์สูงเมื่อเครื่องยนต์กินรอบจัดและลดเกียร์ให้ต่ำลงเมื่อเครื่อง แสดงอาการว่าได้ทำงานเกินกำลัง พวกหัดขับประเภทก้าวหน้าเรียนรู้ที่จะสังเกตดูอากัปกิริยา เช่นเดียวกับรู้ถึงตำแหน่งและความเร็วของคนเดินเท้าหรือผู้ขับรถยนต์คันอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น เขาสามารถแยกแยะพฤติกรรมของคนใจลอยหรือคนขับที่เมาสุรา ออกจากคนขับรถที่ขี้หงุดหงิด แต่ว่ามีความระแวดระวัง เสียงเครื่องยนต์และอากัปกิริยาทั้งปวง ไม่อาจอธิบายได้ด้วยถ้อยคำอย่างชัดเจนจนครบถ้วน ดังนั้นคำพูดหรือตัวอักษรจึงไม่อาจทดแทนตัวอย่างสัก ๒-๓ กรณีที่ผู้ขับได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงความแตกต่างดังได้กล่าว

 ชั้นที่ ๓ คนทำงานเป็น (Competent)

          เมื่อคนฝึกงานที่ก้าวหน้าได้มีเวลาอยู่กับงานมากขึ้น เรียนรู้มากขึ้น เขาหรือเธอได้สั่งสม ประสบการณ์ ได้เห็นสถานการณ์ต่าง ๆ มากขึ้น อาจจะเป็นปีหนึ่ง หรือสองปี หรือระยะเวลาใด ๆ ก็ตาม ซึ่งอาจจะแตกต่างกัน ในแต่ละงาน เขาก็อาจจะเห็นงานเกือบจะครอบคลุมมากกว่า ครึ่งค่อน แต่แน่นอน สถานการณ์ที่ไม่คาดคิด และยังไม่เข้าใจและยังไม่รู้ ก็อาจมีได้ตลอดเวลา แต่มาถึงตรงนี้ เขาหรือเธอก็อาจจะทำงานแทนพี่ ๆ ได้แล้วในงานส่วนใหญ่

          ประสบการณ์ในการ “อ่านสถานการณ์” “ตีความสถานการณ์” และ “การจัดลำดับความสำคัญของาน” ก็มีมากขึ้น เพียงพอ ที่จะมีวินิจฉัยที่ดีได้ อาจจะคิดค้นหาทางออกให้กับสถานการณ์ที่ไม่เคยผ่านได้บ้างบางระดับ แต่ก็ยังไม่ชำนาญในการหาทางออกให้กับพื้นที่งานที่ไม่คุ้นเคยนัก

เมื่อคนทำงานเป็นรู้สึกซึมทราบไปกับตัวงานของตนมากขึ้น ก็เป็นการยากยิ่งที่จะถอยหลังกลับและยอมรับบรรดากฎเกณฑ์ที่ต้องจดจำให้ได้ เมื่อตอนเริ่มต้น ในช่วงเช่นนี้อาจถูกแทรกแซงอยู่ด้วยกฎเกณฑ์และขั้นตอนปฏิบัติการอย่างพื้น ๆ ซึ่งเป็นเครื่องปิดกั้นไม่ให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้ต่อไป

รอยต่อระหว่าง ระดับที่หนึ่งสองสาม กับสี่ห้า

รอยต่อนี้สำคัญมาก อะไรทำให้การเรียนรู้และศักยภาพในการทำงานก้าวกระโดด?

ชั้นที่ ๔ คนเก่ง (Proficient)  

          ประสิทธิภาพความเก่งฉกาจจะได้รับการพัฒนาต่อไปเมื่อมีการซึมซับ ประสบการณ์โดยก้าวข้ามทฤษฎีทั้งหลายทั้งปวง และปัญญาญาณเข้ามาแทนที่การตอบสนองแบบเป็นเหตุและผล
   เมื่อสมองของผู้เรียนรู้มีความสามารถจำแนกแยกแยะสถานการณ์ทั้งปวง ด้วยการจดจ่อและคลุกเคล้าเข้ากับอารมณ์หรือเรื่องราวนั้น แผนการอันเหมาะเจาะก็จะบังเกิดขึ้นในห้วงคิด แง่มุมอันแจ่มกระจ่างก็ผุดบังเกิดขึ้นมาให้เห็น โดยไม่ต้องลงแรงเลือกหรือออกแรงตัดสินใจอะไรเลย การลงมือกระทำก็กลายเป็นเรื่องง่ายและไม่ฝืดฝืนใจ ผู้เรียนสามารถแลเห็นอย่างง่ายดายถึงปัจจัยอันจำเป็นในการก้าวให้ถึงจุดหมาย ปลายทาง อย่างไม่ต้องมัวมาคิดคำนวณชั่งน้ำหนักดูว่าจะไปทางไหนได้บ้าง

 ชั้นที่ ๕ เซียน (Expert)

          สุดท้าย สำหรับเซียนหรือว่าจอมยุทธ์ (คำแปลผู้เชี่ยวชาญจะพาเราเข้ารกเข้าพงไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะไม่ตรงความหมายกับภาษาอังกฤษ Expert ในความหมายของ Dreyfus  & Dreyfus) แล้ว การทำงานของเขาหรือเธอในสถานการณ์หนึ่ง ๆ จะมองเห็นปัญหา เป้าหมาย แผนงาน และการกระทำในชั่วขณะหนึ่งเดียว โดยไม่ได้เป็นการคิดค้นลำดับความมาตามขั้นตอนแต่อย่างใด แต่จะมาด้วยญาณทัศนะ เป็นองค์รวม และประสานสอดคล้องต้องกันทั้งหมด อย่างงดงาม นี้เป็นความชำนัญอย่างแท้จริงของมนุษย์ ไม่มีการคิดวิเคราะห์แบบตั้งอกตั้งใจอันใดเข้ามากีดขวางแต่ประการใด

หมายเลขบันทึก: 362798เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2010 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ ผอ.ทั้งหล่อและเก่งจริง ๆ เลย ให้สาระดี ดีอย่างงี้มอบรางวัลให้เลยค่ะ

  จริงเหรอคะ ท่านผอ.เก่งจัง

Please forgive me for writing this in English.

I offer my view {or theory if your want to call it that ;-) }

Learning is in a way 'a process in "pattern recognition" to become "an expert".

A body of signals or data is received by one or more of our senses (eye, ear, nose, tongue, skin and 'mind'), a pattern is formed then recognized, Patterns received by eyes are much easier to 'copy' than patterns in words (instructions which must be translated and visualized before implemented in actions). When we 'actually do' things ourselves, all our senses can be involved in recognizing 'patterns' thus many types of data reinforce our learning and so we can learn better by doing.

Applying the observations above, we would 'learn' well if we use one of our 'physiological' senses directly. We would learn better if we use more physiological senses directly at the same time. Words are indirect data/sense. Words are symbols (not raw signals) by cultural convention to represent phenomena. Words are indirect patterns that we go to school to learn to recognize. Many people learn to use 'derived' senses (such as music, game-playing, cooking, trading and mathematics) for pattern-recognition and many become 'experts' in using those senses.

Note: There are plenty of literature on senses (I suggest "Buddhistic Senses"); pattern recognition (I suggest "Neuron Networks"); learning theories and experts systems. My view above is developed privately.

นายไพบูลย์ บูชาทิพย์

สามสองรอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท