โครงการ " เรียนรู้อักษรสามหมู่(ไตรยางค์) "7.2 แก้ไข


ชื่อโครงการ    " เรียนรู้อักษรสามหมู่(ไตรยางค์) "

ผู้รับผิดชอบโครงการ  นางกุลยา  เตจาบุญ   รหัส 52741121  หมู่เรียน ป.52.01

หลักการและเหตุผล

            เนื่องจากการเรียนการสอนในปัจจุบันเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ซึ่งการจะทำให้ผู้เรียนสนใจในสิ่งที่จะเรียนนั้นจึงมีความจำเป็น โดยเฉพาะการเรียนวิชาภาษาไทยซึ่งเน้นเนื้อหาเป็นหลักและเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจมากกว่าการท่องจำ  จึงจำเป็นต้องสร้างสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนขึ้น โดยได้นำเอาเรื่องอักษรสามหมู่ สร้างเป็นสื่อนวัตกรรม

            เรื่องอักษรสามหมู่นั้นได้ถูกจัดให้อยู่ในเนื้อหาหารเรียนการสอนสาระวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาตอนต้น จากที่ได้สอนวิชาภาษาไทยเรื่องอักษรสามหมู่นั้น ได้สังเกตว่าผู้เรียนไม่สามารถเชื่อมโยงจากคำคล้องจองที่ให้ไปสู่การจำแนกอักษรสามหมู่ได้ และไม่สามารถจำแนกคำในอักษรสามหมู่ได้ จึงได้จัดทำสื่อนวัตกรรมบทเรียนสำเร็จรูปขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพในการเรียนการสอนและผู้เรียนสามารถนำไปศึกษาเนื้อหาด้วยตนเองได้

วัตถุประสงค์

            1.เพื่อสร้างสื่อนวัตกรรมบทเรียนสำเรียนสำเร็จรูป

            2.เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจำแนกคำตามหลักอักษรสามหมู่ได้

            3.เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเชื่อมโยงระบบความคิด

ขอบข่ายของสื่อนวัตกรรมที่นำไปใช้

           เนื้อหาสาระวิชา :  ภาษาไทยโดยนำเรื่องอักษรสามหมู่มาจัดทำเป็นสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ 

           ระดับชั้นที่นำไปใช้:  ชั้นประถมศึกษาตอนต้น

เนื้อหาของบทเรียนสำเร็จรูปประกอบด้วย

                -  ไตรยางค์อักษรสามหมู่คืออะไร

                -  อักษรสูงได้แก่พยัญชนะใดบ้าง

                -  อักษรกลางได้แก่พยัญชนะใดบ้าง

                -  อักษรต่ำประกอบพยัญชนะใดบ้าง

                -  การแยกอักษรต่ำเดียวและต่ำคู่

                -  การผันเสียงของอักษรสามหมู่

กระบวนการเรียนบทเรียนสำเร็จรูป

  1. ให้นักเรียนอ่านคำชี้แจงที่มีอยู่ในบทเรียนสำเร็จรูปเล่มนี้ โดยละเอียดก่อนเข้าสู่เนื้อหารศึกษาเนื้อหาภายในเล่ม
  2. ให้นักเรียนศึกษาทีละกรอบตามลำดับเนื้อหาของบทเรียนซึ่ง ได้เรียงความง่ายยากตามลำดับไว้ให้แล้ว 
  3. เมื่อนักเรียนอ่านเนื้อหาทีละกรอบและทำความเข้าใจแล้ว จึงเริ่มทำแบบทดสอบ หลังบทเรียนโดยทำทีละบท คือเมื่อศึกษาบทเรียนที่1 เสร็จแล้วจึงเริ่มทำแบบทดสอบบทที่1 เป็นต้น  โดยใช้ความสามารถของตนเองไม่เปิดเฉลยทีมีให้ท้ายเล่ม
  4. จากนั้นให้นักเรียนตรวจสอบตำตอบจากเฉลยท้ายเล่ม  หากตอบข้อใดผิดและไม่เข้าใจสามารถถามครูได้ทั้งภายในชั่วโมงที่สอน และกลับมาถามภายหลังได้
  5. 5.               เมื่อเรียนครบทุกกรอบแล้ว ให้ทำแบบทดสอบหลังเรียน  แล้วตรวจคำตอบจากคำเฉลย  เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของการเรียน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

            1.ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องอักษรสามหมู่โดยผ่านจากบทเรียนสำเร็จรูป

            2.ผู้เรียนสามรถจำแนกคำให้อยู่แต่ละหมวดหมู่ในใบงานที่ให้ได้

            3.ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความคิดระหว่างคำคล้องจองที่ให้สู่การจำแนกคำในอักษรสามหมู่ได้ 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

             1.เขียนโครงการเพื่อนำเสนอและขออนุมัติ

                2.ดำเนินการผลิตสื่อการเรียนการสอนเรื่องอักษรสามหมู่

                3.นำสื่อบทเรียนสำเร็จสำเร็จรูปทำไปทดลองใช้กับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น

                4.นำสื่อบทเรียนสำเร็จรูปนำเสนอต่อผู้ชำนาญการในวิชาภาษาไทยเพื่อประเมิน

                5.นำผลจากการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อได้สื่อบทเรียนที่สมบูรณ์

                6.นำเสนอผลงานสื่อบทเรียนสำเร็จรูปฉบับสมบูรณ์ต่ออาจารย์ประจำรายวิชา

ระยะเวลาการดำเนินการ

                2  สัปดาห์

งบประมาณ

-          งบประมาณทั้งหมด 1,000  บาท

 

หมายเลขบันทึก: 362114เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2010 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขาดช่วงเนื้อหาว่าดำเนินอย่างไร มีแบบฝึกหัดอะไรในแต่ละเนื้อหา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท