กระแสการค้าเสรีกับการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ


แม้ว่าการทำข้อตกลงระหว่างประเทศจะเป็นเรื่องระดับชาติ แต่ประชาชนในฐานะเป้นเจ้าของประเทศร่วมกันควรมีสิทธิได้ร่วมรับรู้ในการตัดสินใจทำความตกลงต่าง ๆ ครอบคลุมไปทุกกลุ่มสชนไม่ว่ามีหรือยากจนก็ตาม

                   

neo2

                    กระแสการค้าเสรีที่เข้ามาตามลัทธิเสรีนิยมสมัยใหม่นั้น สถานการณ์ในประเทศไทยเริ่มมีขึ้นมาตั้งแต่ปี 2545 โดยการทำข้อตกลงแบบทวิภาคีกับสี่ประเทศคือ บาร์เรน (ธันวาคม 2545), จีน (ตุลาคม 2546), อินเดีย (กันยายน 2547) และออสเตรเลีย (มกราคม 2548) และอยู่ในระหว่างการเจรจาอีกสี่ประเทศกับอีกหนึ่งกลุ่ม คือ สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, นิวซีแลนด์, เปรู และประเทศในกลุ่ม BIMST – EC ซึ่งได้แก่ประเทศบังคลาเทศ, มัลดีฟส์, พม่า, ศรีลังกา, เนปาล และภูฏาน การเจรจาการค้าเสรีดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีกลุ่มประเทศทั้งที่ประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมายถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย บางความเห็นคาดการณ์ว่าการทำสัญญาการค้ากับหลายประเทศ จะทำให้สามารถค้าขายได้มากขึ้น มีตลาดกว้างขึ้น ส่งผลให้ได้สินค้าที่ดีและราคาถูกจากประเทศคู่ค้า การมองเห็นข้อดีเช่นนี้มองเห็นได้ง่ายโดยผิวเผิน แต่หากพิจารณาประกอบกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจของประเทศแล้วอาจมองเห็นปัญหาที่อาจตามมาพร้อมกับข้อดีที่คาดไว้                          

                   ข้อสังเกตเริ่มต้นจากการมองเศรษฐกิจภายในประเทศ  การมีเสรีทาง การค้าภายในประเทศ เราจะมองเห็นสภาพสังคมที่มีความแตกต่างทางด้านชนชั้นเกิดขึ้นซึ่งมากจากความต่างของฐานะที่ไม่เท่ากัน ปัญหานี้เกิดขึ้นมาแทบตลอดเวลาในสังคมเรื่องทรัพย์สินเงินทองเป็นตัวขับเคลื่อน การนิยมวัตถุที่เดินไปพร้อมกับความมีเสรีทางการตลาด ทำให้คนรวยก็ยิ่งรวยขึ้น คนที่จนก็ลืมตาอ้าปากขึ้นยาก เพราะขาดต้นทุนและโอกาสในการเริ่มต้น ในสังคมระหว่างประเทศ  ก็เช่นกัน ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างสภาพทางเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศอุตสาหกรรมกับเกษตรกรรม ประเทศที่พัฒนาแล้ว กับประเทศด้อยพัฒนา ความแตกต่างที่เริ่มต้นเช่นนี้ หากมีการเปิดเสรีทางการค้าเกิดขึ้นจริงจึงเห็นได้เป็นเค้าโครงว่าจะเป็นไปในทิศทางใดโดยแท้จริงนั้น เหตุผลของการระบบเศรษฐกิจเสรีก็เพื่อประโยชน์ของธุรกิจเป็นสำคัญ มีข้อเด่นคือ การมีตลาดใหญ่ขึ้น ผลผลิตได้มากขึ้น คนมีงานทำมากขึ้น แต่แนวคิดดังกล่าวนี้ไม่สามารถนำมาใช้กับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันบนอำนาจที่ไม่เท่าเทียม ความรู้ความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีที่แตกต่าง ซึ่งในระยะสั้นแม้ว่าจะผลิตได้มากขึ้น  แต่ต่อมาก็จะมีการแย่งชิงทรัพยากร  โดยผู้ที่เจริญมากว่ามีเทคโนโลยีที่ดีกว่าก็จะแย่งได้มาก และท้ายที่สุดเราก็จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการผลาญทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในประเทศของเราเอง  

                    ฉะนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือในวันนี้เราจำเป็นต้องกลับมาพิจารณาถึงความพร้อมของประเทศเป็นเรื่องแรก คำนึงถึงความพร้อมของประเทศไทยก่อนเป็นเบื้องต้น เพราะหากเข้าทำสัญญาในขณะที่ไม่มีความพร้อม ประชาชนบางกลุ่มที่ต้องประสบปัญหาในช่วงเวลาอันใกล้คงหลีกไม่พ้นกลุ่มเกษตรกร ตลอดจนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งช่องทางทำมาหากินจะถูกแทรกแซงโดยกลุ่มธุรกิจจากต่างชาติที่มีกำลังเงินและความเจริญทางด้านเทคโนโลยีที่ดีกว่า ผลกระทบโดยตรงที่จะต้องเกิดกับประเทศไทย เมื่อพิจารณา      ในแง่ของสินค้าที่จะได้รับความกระทบกระเทือนมากที่สุด จะอยู่ในจำพวก ทรัพย์สินทางปัญญา ยา และพันธุ์พืชสมุนไพร แต่สิ่งสำคัญที่นอกเหนือนั้น คือผลกระทบที่มีต่ออำนาจอธิปไตยของรัฐ กล่าวคือ หากเราเป็นคู่สัญญาการค้าเสรีกับใครแล้ว ย่อมต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข และยอมรับถึงผลเสียที่จะกระทบกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิตของคนในชาติก็จะเปลี่ยนไป เมื่อเกิดข้อพิพาทใด ๆ ขึ้น การระงับข้อพิพาทโดยวิธีการของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น โดยการเจรจา โดยตัวแทนจากสองประเทศ ผลของการเจรจาที่มาจากกลุ่มคนเพียงไม่กี่คนนั้น กลับส่งผลผูกพันคนทั้งประเทศ จึงเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงอย่างยิ่งว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำสัญญาที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั้งประเทศแล้วหรือ.

หมายเลขบันทึก: 36181เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2006 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

จะว่าไปพร้อมหรือไม่พร้อม  ก็ขึ้นอยู่กับผู้ไปทำสนธิสัญญาแหล่ะครับ  ถ้า ณ วันนี้ รัฐบาลต้องการทำ  อะไรๆก็จะดูพร้อมไปเสียทุกอย่าง  แต่ถ้าจะไม่พร้อม  ให้ทำอย่างวไรมะนก็ไม่พร้อมแหล่ะครับ

;-)

นอต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท