การส่งงานครั้งที่ 1


การระดมความคิด

การระดมความคิด

(Brainstorming)

ความหมายอย่างสั้น http://www.ismed.or.th/SME/src/upload/knowledge/1181186268466778dc08ae7.pdf

การระดมความคิด คืออะไร?

การระดมความคิด (Brainstorming) เป็นกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม โดยสมาชิกซึ่งมาจากพื้นฐานที่แตกต่างกัน จะมาร่วมกระบวนการในการค้นหาแนวคิด และแนวทางในการแก้ไขปัญหาเดียวกันร่วมกัน

ความสำคัญของเรื่อง

ความสำคัญของการระดมความคิด

กระบวนการระดมความคิด เป็นกระบวนการหนึ่งในการให้ได้มาซึ่งแนวคิดที่หลากหลาย องค์กรใดๆก็ตาม จะประสบความสำเร็จได้ก็ด้วยการคิดอย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ในสถานการณ์ ใดๆ (โดยเฉพาะในการประชุม) ความคิดใหม่ๆ ล้วนแต่ถูกทำลายด้วยพฤติกรรมบางอย่างของคน บางพวก โดยเฉพาะหากแนวคิดใหม่ๆนั้นยังไม่หนักแน่นเพียงพอ (ด้วยความใหม่ของมัน) หรือได้รับการเสนอจากผู้ที่ไม่มีตำแหน่งหรืออำนาจ ดังนั้นกระบวนการระดมความคิด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยละลายพฤติกรรมเหล่านั้น พร้อมให้ทุกคนสามารถปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ของตนออกมาได้อย่างเต็มที่

ความหมายอย่างละเอียด

ความหมายของการระดมความคิด

แนวทางการระดมความคิดนั้นได้รับอิทธิพลมาจากหลักการของศาสนาฮินดูที่เรียกว่า Prai-Barshana ซึ่งหมายถึง การตั้งคำถามที่หลุดพ้นจากความเป็นตนเอง

โดยปกติหากเราคิดอะไรไม่ออกเลย เรามักจะตอบง่ายๆ ด้วยความเคยชินว่าเรายังคิดอะไรไม่ออก ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่าเรายึดติดอยู่กับความคิดเดิมๆของตน หรือที่นิยมเรียกขานกันในปัจจุบันว่า กระบวนทัศน์ (Paradigms หรือ Mindsets) นั่นเอง

การยึดติดอยู่กับความคิดเดิมนั้นเป็นสิ่งที่เรามิอาจหลีกเลี่ยงได้ มันเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราสามารถตั้งสมมติฐานใดๆ ได้โดยไม่ต้องคำนึงเลยว่ามันจะเป็นไปได้หรือไม่ ในหลายๆครั้งเราอาจ

พบว่าการยึดติดกับความคิดเดิมนี้มีประโยชน์ยิ่ง มันช่วยให้เราสามารถทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ แต่มันก็ถือได้ว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่ง หากเราต้องการที่จะคิดอะไรใหม่ๆขึ้นมา ดังนั้นการที่จะคิดสร้างสรรค์สิ่งใดขึ้นมาใหม่ จึงหมายถึง การที่เราต้องก้าวออกมาจากความคิดเดิมๆของเรานั่นเอง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า “ปัญหานั้น มิอาจแก้ไขได้ด้วยการคิดในกรอบอันเดียวกันกับที่ปัญหานั้นได้ถูกสร้างขึ้นมา”

เนื่องจากรูปแบบความคิดเดิมๆของเรานั้นเป็นสิ่งที่ฝังแน่นอยู่กับเราเหลือเกิน และเราก็ จำเป็นที่จะต้องเอาชนะมันให้ได้ ดังนั้น การระดมความคิดจึงถูกออกแบบขึ้น เพื่อให้เราสามารถที่จะคิดโดยไม่ต้องยึดติดกับรูปแบบความคิดเดิมๆ อีกต่อไป

ข้อพิจารณาในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

กฎในการระดมความคิด

1. ห้ามวิจารณ์

การตัดสินแนวคิดใดๆ จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อภายหลังจากที่การระดมความคิดได้เสร็จสิ้นไปแล้วเท่านั้น

2. อนุญาตให้นอกลู่นอกทางได้

ความคิดที่ยิ่งดิบ ยิ่งโอเวอร์ มากเท่าใดก็ยิ่งดี เพราะการอยู่อย่างเรื่องเซื่องซึมนั้นมันง่ายกว่า การพยายามที่จะคิดให้กระฉูด

3. ปริมาณมากๆ เข้าไว้

ยิ่งมีแนวความคิดมากก็ยิ่งดี เพราะแนวโน้มที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่คาดหวังไว้จะมากยิ่งขึ้น

4. รวบรวมและปรับปรุง

นอกเหนือจากการอุทิศแนวคิดแล้ว ผู้เข้าร่วมจะต้องช่วยกันปรับปรุงแนวคิดที่ช่วยกันระดมให้ดียิ่งขึ้น และหากมีการนำเอาแนวคิด 2 อย่างมารวมกันก็ถือได้ว่าเป็นแนวคิดใหม่เช่นกัน

คำไข (Keywords) : Brainstorming / การระดมความคิด / การจัดการ / ความรู้อ้างอิง / นิยามธุรกิจ

แหล่งข้อมูล :

เสนาะ ติเยาว์. (2541). การสื่อสารในองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตุลา มหาพสุธานนท์. (2545). หลักการจัดการ หลักการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : พ.ศ. พัฒนา.

สมยศ นาวีการ. (2545). การบริหาร : การบริหารโดยวัตถุประสงค์ (MBO). การตัดสินใจของผู้บริหาร.

การบริหารแบบมีส่วนร่วม : QC. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ชาญวิทย์ เซ็นเตอร์.

เกี่ยวกับผู้จัดทำ :

ชื่อ : นายชนิตว์สรณ์ ตรีวิทยาภูมิ

การศึกษา : ปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาอุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์บริหารธุรกิจและการจัดการ (English Program)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประสบการณ์ : ปัจจุบันทำงานตำแหน่ง Planning Officer ให้กับ Thai Petrochemical Industry Public

Company Limited (TPI)

gotoknow.org/file/teppalit

เทคนิคการระดมสมอง

ประสิทธิ์ เขียวศรี

สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา

 

การระดมสมอง มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ Brain Storming โดยที่ คำแรก คือ Brain หมายถึงสมอง ส่วนคำหลัง Storming หมายถึงพายุที่โหมกระหน่ำ หากจะแปลตรง ๆ ก็คงหมายถึงการมุ่งใช้พลังความสามารถทางการคิดของสมองของมวลสมาชิกในกลุ่ม เพื่อคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป คนที่ไม่ชอบคิด หรือคนที่ชอบคิดเงียบ ๆ ไม่ชอบแสดงให้คนอื่นรู้ว่าตนเองคิดอาจไม่เหมาะที่จะร่วมกลุ่มเพื่อระดมสมอง

 

ความหมายของการระดมสมอง

การระดมสมอง ถือเป็นเทคนิคที่ใช้กับกลุ่ม (Group Technique) ไม่ใช่ใช้กับคนเพียงคนเดียว ในทางการบริหารมักใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาทางเลือกในการตัดสินใจและใช้ในการการวางแผน Brain Storming เป็นคำที่คนไทยค่อนข้างคุ้นเคยและเป็นที่รู้จักกันมากในทุกวงการ มีผู้บัญญัติเป็นภาษาไทยไว้ ที่พบมากมี 2 คำ คือ การระดมสมอง กับ การระดมความคิดปัจจุบันพบว่ามีการพยายามใช้คำว่า การระดมความรู้และประสบการณ์ โดยทั่วไปแล้ว การระดมสมองหมายถึงการแสวงหาความคิดต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด ดังนั้นการให้คิดโดยไม่กำหนดเวลาที่จำกัดแน่นอนก็ไม่เรียกว่าการระดมสมอง การระดมสมองจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อใช้กับกลุ่มที่ไม่รู้จักกัน ไม่เกรงใจกันหรือสนิทสนมกันมากเกินไป และจำนวนสมาชิกที่ร่วมระดมสมองถ้าจะให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดควรอยู่ระหว่าง 4 ถึง 9 คน

สำหรับนักวิชาการที่เป็นผู้ให้กำเนิดของเทคนิคนี้ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันอยู่ โดย มิซูโน่ (Mizuno) ไม่ได้บอกว่าใครเป็นผู้ต้นคิดแต่ระบุว่าได้มีการใช้เทคนิคระดมสมองในญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2952 ในขณะที่ ฟอร์ซิท (Donelson Forsyth) กลับระบุชัดเจนว่าเทคนิคการระดมสมองเกิดจากแนวคิดของ ออสบอร์น (Alex F. Osborne)ซึ่งเป็นผู้บริหารบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่งตั้งแต่ปี 1957

 

จุดเน้นของการระดมสมอง

ออสบอร์น ได้กำหนดจุดเน้นของการระดมสมองไว้ 4 ประการ ได้แก่

1. เน้นให้มีการแสดงความคิดออกมา (Expressiveness) สมาชิกทุกคนต้องมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ในการที่จะแสดงความคิดเห็นใด ๆ ออกมาจากจิตใจ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นความคิดที่แปลกประหลาด กว้างขวาง ล้าสมัย หรือเพ้อฝันเพียงใด

2. เน้นการไม่ประเมินความคิดในขณะที่กำลังระดมสมอง (Non – evaluative) ความคิดที่สมาชิกแสดงออกต้องไม่ถูกประเมินไม่ว่ากรณีใด ๆ เพราะถือว่า ทุกความคิดมีความสำคัญ ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ความคิดผู้อื่น การแสดงความเห็นหักล้าง หรือครอบงำผู้อื่นจะทำลายพลังความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่ม ซึ่งส่งผลทำให้การระดมสมองครั้งนั้นเปล่า

ประโยชน์

3. เน้นปริมาณของความคิด (Quautity) เป้าหมายของการระดมสมองคือต้องการให้ได้ความคิดในปริมาณมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แม้ความคิดที่ไม่มีทางเป็นจริงก็ตาม เพราะอาจใช้ประโยชน์ได้ในแง่การเสริมแรง หรือการเป็นพื้นฐานให้ความคิดอื่นที่ใหม่และมีคุณค่า ยิ่งมีความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากเพียงใดก็ยิ่งมีโอกาสค้นพบวิธีการแก้ปัญหาที่ดี

4. เน้นการสร้างความคิด (Building) การระดมสมองเกิดขึ้นในกลุ่ม ดังนั้น สมาชิกสามารถสร้างความคิดขึ้นเองโดยเชื่อมโยงความคิดของเพื่อนในกลุ่ม โดยใช้ความคิดของผู้อื่นเป็นฐานแล้วขยายความเพิ่มเติมเพื่อเป็นความคิดใหม่ของตนเอง

 

การเตรียมระดมสมอง

ก่อนการดำเนินการระดมสมองนั้น จะต้องเตรียมการ 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นกำหนดเป้าหมาย ต้องกำหนดให้กระชับ เฉพาะเจาะจง และชัดเจนที่สุดว่าจะระดมสมองเรื่องอะไร เพื่ออะไรและต้องทำให้สมาชิกเข้าใจ และเห็นด้วยกับเป้าหมายนั้น

2. ขั้นกำหนดกลุ่ม จะมีจำนวนเท่าไร ใครบ้าง ใครจะทำหน้าที่เขียนความคิดของสมาชิก และสถานที่ที่จะนำแผ่นการ์ดความคิดไปติดต้องให้มองเห็นได้ชัดเจน และในบางครั้งผู้นำกลุ่มต้องเด็ดขาดหากมีสมาชิกบางคนเริ่มครอบงำหรือข่มผู้อื่น

3. ขั้นกำหนดเวลา ต้องแน่ชัดและเหมาะสม จะเริ่มและจะต้องยุติเมื่อใดการมีเวลาจำกัดจะสร้างความกดดันให้สมองเร่งทำงานอย่างเต็มที่ สมองซีกขวาจะคิดส่วนสมองซีกซ้ายจะประเมินความคิดของตนเองว่าเหมาะสมหรือไม่ แล้วรีบแสดงออกมาโดยเร็ว

 

บทสรุป

เทคนิคการระดมสมอง หรือการระดมความคิด นับเป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในวงการของนักฝึกอบรมที่มักใช้จัดประสบการณ์ขณะเป็นวิทยากรในการฝึกอบรม ประชุมหรือสัมมนา ส่วนทางการบริหารมักใช้เพื่อแสวงหาทางเลือกในการตัดสินใจและการวางแผนต่าง ๆ ผู้เขียนเห็นว่าสมาชิกที่จะร่วมในการประชุมเพื่อระดมสมองควรเป็นผู้ที่มีความรู้และเกี่ยวข้องในเรื่องที่จะระดมสมอง เว้นแต่จะมีจุดประสงค์ว่าต้องการความคิดของคนที่มี่เคยรู้ในเรื่องนั้นๆ มาก่อน จุดอ่อนที่มักพบในการระดมสมองแม้ในการประชุมระดับชาติส่วนใหญ่มักเกิดจากปัญหาทางวัฒนธรรม กล่าวคือ บุคคลที่พบว่าตนเป็น “ผู้น้อย” มักไม่มีความสุขที่จะแสดงความคิดอย่างเสรี หากในที่ประชุมนั้นมี “ผู้ใหญ่” ที่สามารถให้คุณให้โทษ หรือเป็นที่เกรงใจนั่งอยู่ด้วย อีกทั้งภาษิต “พูดไปสองไพเบี้ยงนิ่งเสียตำลึงทอง” ก็มีส่วนสะกัดกั้นความกล้าคิดไม่น้อย สำหรับการเลือกสมาชิกนั้น อาจพิจารณานำหลักคำสอนทางพุทธศาสนาที่ว่าด้วยมงคลชีวิต 38 ประการข้อหนึ่ง คือ “อเสวนา จ พาลานํ” มาประยุกต์ใช้ก็ไม่น่าจะล้าสมัยหากต้องการบรรยากาศการประชุมเชิงสร้างสรรค์ และผลการระดมสมองที่มีประสิทธิผล

แหล่งอ้างอิง

Costin H. Management development and training : a TQM approach. London : The Dryden Press, 1996. 26 กรกฎาคม 2544

 

 

 

 

 

 

http://www.moe.go.th/wijai/brainstroming.htm

 

เกี่ยวกับการประชุม

การประชุม อาจเรียกชื่อได้ต่างๆมากมายตามลักษณะหรือวัตถุประสงค์หรือกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุม แต่ถ้าจะรวมประเภทใหญ่ๆจำแนกตามวัตถุประสงค์แล้วก็อาจแบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้

1. การประชุมเพื่อการข่าวสาร (Information Conference) สมาชิกจะร่วมกันรวบรวมความรู้และประสบการณ์เพื่อนำมาปรับปรุงการคิด หรือการทำงานของแต่ละคน แม้ว่าเรื่องราวที่นำมาประชุม อาจจะเป็นการรวบรวมปัญหาเฉพาะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่เป้าหมายของการประชุมแบบนี้ไม่มุ่งที่การหาข้อแก้ปัญหาอันใดอันหนึ่งเท่านั้น แต่มุ่งที่การหาข่าวสารหรือข้อมูล ซึ่งเมื่อมีการกลั่นกรองแล้วก็จะกลายเป็นสารสนเทศ (Information)

2. การประชุมเพื่อแก้ปัญหา (Problem-solving Conference) ลักษณะสำคัญของการประชุมประเภทนี้มักจะเป็นการประชุมอภิปรายถกปัญหา ส่วนมากการอภิปรายต่างๆจะเป็นรูปแบบของการหาข้อแก้ปัญหาทั้งหมดหรือบางส่วน ผู้ร่วมประชุมจะคิดร่วมกันด้วยการรวบรวมประสบการณ์ต่างๆของทุกคนมาแก้ปัญหาร่วมกัน ด้วยการชี้ถึงประเด็นของปัญหา วิเคราะห์หาสาเหตุและร่วมกันพิจารณาหาแนวทางป้องกันหรือแก้ปัญหานั้นๆ

3. การประชุมเพื่อตัดสินใจ (Decision-making Conference) ลักษณะสำคัญเป็นการร่วมกันคิด พิจารณาข้อมูลรายละเอียดของสิ่งต่างๆที่จะเลือกใช้หรือเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งด้วการให้ข้อคิดและการให้ข้อมูลพื้นฐานของข้อมูลที่จำเป็น ลักษณะของการประชุมแบบนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดปัญหาและตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหา แต่เป็นการประชุมเพื่อพิจารณาเลือกสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากหลายสิ่งหรือการเลือแนวทางปฏิบัติก็ได้ ซึ่งเป็นการเลือกด้วยกระบวนการคิด มิใช่การเสี่ยงทาย

4. การประชุมเพื่อการฝึกอบรม (Training Conference) การประชุมแบบนี้ ผู้นำการประชุมจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการจัดฝึกอบรม หรือเพิ่มทักษะในวิธีการกระทำบางสิ่ง หรือถ้ามีการแก้ปัญหาข้อใดก็มักจะเน้นเรื่องการเรียนรู้ วิธีการแก้ปัญหาหรือการใช้ขั้นตอนในการแก้ปัญหา การจัดประชุมเพื่อฝึกอบรมมักจะใช้ทั้งการแสวงหาข้อมูล รายละเอียด และการแก้ปัญหา การประชุมเพื่อการฝึกอบรมมีเทคนิคที่จะดำเนินการได้มากมายหลายรูปแบบ แต่กิจกรรมหลักก็คือการประชุมในลักษะใดลักษณะหนึ่ง

5 การประชุมเพื่อระดมความคิด (Brainstorming Conference) การประชุมประเภทนี้เป็นการรวมเอาวิธีการประชุมเพื่อการข่าวสารและการประชุมเพื่อแก้ปัญหา เข้ามาผสมกลมกลืนกัน วัตถุประสงค์หลักคือ การรวบรวมความคิดจากผู้ร่วมประชุมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ในเวลาอันสั้นจะมีการชี้ถึงปัญหา และขอให้ทุกคนให้ข้อแนะนำในการที่จะแก้ปัญหาโดยรวดเร็วต่อไปไม่หยุดชะงัก ไม่อนุญาตให้ใครวิพากษ์วิจารณ์หรือถกปัญหาโต้แย้งในความคิดที่เสนอแนะขึ้นมา ใครจะแสดงความคิดเห็นอย่างไรก็จดเข้าไว้เพื่อตอนท้ายของการประชุมจะมีรายการความคิดต่างๆมากมาย ต่อจากนั้นจึงนำมาเลือกว่าความคิดใดดีไม่ดี แล้วเรียบเรียงเสียใหม่

การประชุมใหญ่ (Convention)

ลักษณะสำคัญ เป็นการประชุมบรรดาผู้แทน ซึ่งได้รับการเลือกจากหรือได้รับการแต่งตั้งจากกลุ่มใหญ่ หรือคณะผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้ง หรือมอบหมายจากหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆซึ่งรวมอยู่ในองค์การเดียวกัน และมีผลประโยชน์ร่วมกัน บุคคลเหล่านี้จะมาพบปะพิจารณาสำรวจและแก้ไขปัญหาต่างๆที่กำลังเป็นอยู่ในองค์การเดียวกัน การประชุมใหญ่มักประกอบด้วยการกล่าวนำ การอภิปรายเป็นคณะ การอภิปรายสาธารณะ การอภิปรายกลุ่ม ฯลฯ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสำรวจปัญหา

2. เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา

3. เพื่อตกลงใจเกี่ยวกับแนวดำเนินการ (Course of Action)

4. เพื่อส่งเสริมหรือกระตุ้นให้แต่ละหน่วยงานท้องถิ่นปฏิบัติการรวมกันเป็นกลุ่มก้อน (Concerted Action)

5. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือภายในองค์การ

6. เพื่อชำระสะสางกิจกรรม ความคิด และนโยบายขององค์การ เลือกเอาข้อดีไว้ปฏิบัติ และขจัดข้อเสียให้หมดไป

ข้อดี

1. เป็นวิธีที่จัดให้สมาชิกขององค์การหรือบุคคลต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการกำหนดนโยบายขององค์การใหญ่ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง

2. เปิดโอกาสให้สมาชิกหรือหน่วยย่อยขององค์การที่จะเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานในท้องถิ่น เพื่อการปฏิบัติขององค์การใหญ่โตโดยส่วนรวม

3. เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายแสดงทัศนะของตนได้เต็มที่ และเป็นทางให้คนกลุ่มน้อยได้มีโอกาสแสดงตน

4. เป็นทางให้เสนอเรื่องราวด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

5. ช่วยให้การปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

6. ช่วยกระตุ้นให้หน่วยงานสาขาขององค์การในภูมิภาคได้ปฏิบัติงานอย่างแข็งขัน

7. จัดให้กลุ่มต่าง ๆ มาร่วมกันเพื่อบรรลุถึงความเข้าใจของกลุ่ม ด้วยกระบวนการแห่งประชาธิปไตย

8. ให้โอกาสสมาชิกที่จะท่องเที่ยวและศึกษา

ข้อจำกัด

1. ผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายจากหน่วยงาน อาจจะไม่มีความพอใจหรือสนใจเหมือนกัน

2. ในระหว่างการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมมักจะมีจุดสนใจแตกต่างกันไปหลาย ๆทาง

3. ข้อสรุปต่าง ๆ มักจะเกิดขึ้นโดยเผด็จการ

4. ผู้แทนซึ่งเข้าร่วมประชุมจำนวนมาก มักจะสามารถนำไปสู่การสรุปผลตามที่ต้องการ โดยกีดกันไม่ให้ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ในทางกลับกัน ผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่ อาจถูกชักจูงให้มีความคิดเห็นคล้อยตามคนส่วนน้อยบางคน เพราะความสามารถในการอภิปราย มากกว่าที่จะเกิดการใช้วิจารณญาณอย่างถ่องแท้

การประชุมสัมมนา (Seminar)

ลักษณะสำคัญ สัมมนา คือ การที่บุคคลกลุ่มหนึ่งมาร่วมประชุม โดยการนำของผู้ชำนาญหรือผู้รู้ในลักษณะที่แต่ละคนหันหน้าเข้าหาหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเรื่องที่มุ่งจะพิจารณาโดยเฉพาะ (Particular Topic) โดยนำเอาประสบการณ์เดิมมาสร้างแนวปฏิบัติใหม่ จัดได้ว่าเป็นการฝึกอบรมประเภทหนึ่ง เป็นการเพิ่มพูนความรู้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา เพื่อให้สามารถไปปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือเพื่อเป็นการเตรียมตัวให้ก้าวหน้า เหมาะกับตำแหน่งความรับผิดชอบสูงขึ้นไป

คำว่า “สัมมนา” มาจากคำว่า สัง + มนะ แปลว่า ร่วมใจ (Meting of the Minds) เป็นศัพท์ที่คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ทางการศึกษาของกรมวิสามัญศึกษาบัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Seminar ซึ่งแต่เดิมหมายถึง การที่นักศึกษาขั้นอุดมศึกษาเมื่อได้ฟังคำบรรยายแล้วมาทำความเข้าใจร่วมกับเพื่อนๆหรือร่วมประชุมอภปรายเกี่ยวกับวิชาการที่ได้ต่างไปค้นคว้ามา ส่วนมากเน้นหนักในด้านการวิจัย และการแก้ปัญหาที่นักศึกษามีความสนใจร่วมกัน (วิธีนี้มักใช้ในมหาวิทยาลัย เพื่อจัดให้นักศึกษาขั้นสูงกว่าระดับปริญญาตรีทำวิจัยค้นคว้าภายใต้การควบคุมของอาจารย์ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้สามารถใช้กับกลุ่มอื่นๆด้วย) แต่ศัพท์ “สัมมนา” ที่ใช้ในภาษาไทยมีความหมายโดยทั่วๆไปถึงการที่ผู้มีความรู้หรือการศึกษาในระดับเดียวกัน หรือวิชาชีพแขนงเดียวกันมาประชุมกัน เพื่อพร้อมใจกันแก้ปัญหา หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพแขนงนั้น หรือการปฏิบัติงานในหน่วยงานนั้นๆ

การสัมมนานี้มิใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นและนำมาใช้ประโยชน์เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาตามที่ใจกัน ความจริงทางตะวันออกได้ใช้เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนและแสวงหาความรู้มาก่อน ปรากฏหลักฐานจากการที่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาได้มีการจัด “สัมมันตนา” เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทำความเข้าใจในหลักธรรมและกำหนดแนวปฏิบัติอันเป้นผลที่ได้มาจากการร่วมสัมมันตนา ซึ่งก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการสัมมนานั่นเอง

การสัมมนาตามทางปฏิบัติในสังคมไทยปัจจุบัน เป็นชื่อรูปแบบของกระบวนการจัดประชุม โดยเนื้อแท้ก็เป็นการจัดให้มีการคิดร่วมกันเป็นกลุ่ม (Group thinking) ที่อาจจะเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดยืดหยุ่นได้บ้าง สุดแต่จะให้ได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เพื่อจะได้ไม่เคร่งครัดในเรื่องรูปแบบมากเกินไป ส่วนมากจะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละแขนงวิชามาบรรยายตามข้อต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่ผู้จัดการสัมมนากำหนดให้สอดคล้องกับหัวข้อการสัมมนาเป็นการวางแนวความคิดไว้กว้างๆ เพื่อจะได้นำไปตั้งวงเขตของปัญหา (Location of Problem) และกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน (Criteria) ในการพิจารณาปัญหา ทั้งนี้การบรรยายย่อมเป็นประโยชน์เพิ่มพูนความรู้ในวิชาชีพของผู้ร่วมสัมมนา เพื่อช่วยการแก้ปัญหาด้วยอีกโสดหนึ่ง โดยเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมสัมมนาซักถาม และอภิปรายร่วมด้วย ในบางครั้งก็จะจัดแบ่งผู้ร่วมสัมมนาเป็นกลุ่มเล็กๆ ไม่เกิน 10 คน ให้อภิปรายปัญหาที่กำหนดให้ โดยมีวิทยากรเป็นผู้คอยให้คำแนะนำเมื่อจำเป็น การประชุมกลุ่มนี้มีประโยชน์มาก เพราะสมาชิกของกลุ่มมีจำนวนพอสมควร ไม่มากไม่น้อยเกินไป ทำให้ทุกคนต่างก็รู้สึกเป็นกันเองในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน แต่ถ้ามีเวลาจำกัด จะจัดเพียงให้ผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยายหัวข้อที่กำหนด แล้วเปิดการอภิปรายสาธารณะ (Open-forum Period) ก็อาจทำได้

วัตถุประสงค์

การสัมมนาต้องกระทำอย่างมีจุดหมาย วิธีการประชุมแบบนี้อาจนำไปใช้เพื่อให้บรรลุความต้องการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือมากกว่านั้นในวัตถุประสงค์ต่อไปนี้

1. เพื่อความเข้าใจปัญหา

2. เพื่อสำรวจปัญหา

3. เพื่ออภิปรายหรือวางโครงร่างการวิจัยที่จำเป็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหา

4. เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบกับคนอื่น ๆ ในกลุ่ม

5. เพื่อให้บรรลุข้อสรุปผลวิจัย

6. เพื่อเสนอสาระน่ารู้

อย่างไรก็ตาม การสัมมนาเป็นการประชุมแบบหนึ่ง จึงอาจใช้เพื่อวัตถุประสงค์ของการประชุมโดยทั่วไปด้วยดังนี้

1. เพื่อแก้ปัญหาอันเป็นเรื่องสำคัญ (Problem Solving)

2. เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่กันและกันหรือให้การฝึกอบรม (Teaching or Training)

3. เพื่อแสวงหาข้อตกลงด้วยการเจรจา (Negotiation)

4. เพื่อตัดสินใจหรือกำหนดนโยบาย (Decision-making or Policy determination)

พิจารณาจากวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า จุดมุ่งหมายใหญ่ของการสัมมนาแต่ละครั้ง ก็เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ผู้เข้าร่วมสัมมนาแต่ละท่านจึงจำเป็นที่ต้องเตรียมตัวเพื่อที่จะแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม เพื่อให้การประชุมดำเนินไปเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ดังนั้น เราจะควรพิจารณาองค์ประกอบที่จะถือได้ว่าเป็นการสัมมนา ดังนี้

1. ต้องตั้งความมุ่งหมายไว้ให้ชัดแจ้งแน่นอน

2. ต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ด้วยการเปิดให้มีการอภิปรายกันอย่างเสรี

3. ข้อเสนอแนะแก้ปัญหา ต้องได้รับจากการอภิปรายร่วมกันของกลุ่ม

ข้อดี

1. เป็นการนำผู้ที่สนใจปัญหาเดียวกันมาร่วมกันพิจารณาปัญหา สาเหตุและแนวทางแก้ไข

2. ได้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในปัญหาอย่างแท้จริง

3. มีการนำอภิปรายโดยผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อสัมมนาเป็นการให้แนวความคิดพื้นฐานและทัศนะต่อปัญหาอย่างกว้างขวาง

4. เปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมมนาที่สนใจประเด็นเฉพาะได้เข้าร่วมการวิเคราะห์ปัญหาในแต่ละประเด็นอย่างลึกซึ้ง

5. ข้อเสนอแนะจากกลุ่มย่อยจะได้รับการพิจารณาเห็นชอบในที่ประชุมรวมเพื่อกลั่นกรอง เป็นข้อเสนอแนะแก้ปัญหาจากที่ประชุมสัมมนา

ข้อจำกัด

1. ผู้เข้าสัมมนาบางคนอาจไม่ได้ศึกษาหัวข้อสัมมนาอย่างจริงจังจึงไม่อาจให้ข้อคิดเห็นแก่กลุ่มอย่างเต็มที่

2. ผู้สัมมนาที่ลงทะเบียนเข้ากลุ่มใดแล้วไม่ได้รับความรู้และประสบการณ์จากผู้ช่วยกลุ่มอย่างเพียงพอจะรู้สึกอึดอัดและผิดหวังมาก

3. รายงานของกลุ่มสัมมนาอาจไม่ได้รับการวิเคราะห์ในที่ประชุมรวมอย่างจริงจัง เนื่องจากเวลามีจำกัดและมีกลุ่มสัมมนาจำนวนมาก

4. บางกลุ่มสัมมนามีจำนวนมากเกินไปเป็นเหตุให้บางคนไม่มีโอกาสอภิปรายความเห็นในกลุ่ม

5. วิทยากรประจำกลุ่มบางคนชอบแสดงความคิดเห็นแทนกลุ่มเสียเอง ถ้าสมาชิกกลุ่มไม่ช่วยกันยับยั้งการประชุมจะเสียผล

การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)

ลักษณะสำคัญ กลุ่มคนจำนวน 12 คน หรือมากกว่านั้น มีความสนใจหรือมีปัญหาร่วมกัน (ด้วยปกติเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาชีพหรือวิชาชีพ) มาพบปะกันเพื่อใช้เวลาในการปรับปรุงความสามารถความเข้าใจและความชำนิชำนาญของแต่ละคน โดยการศึกษาวิจัยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ข้อสังเกต แม้จะไม่กล่าวถึงวิธีการจัดประชุมในแบบอื่น ๆ แต่เป็นที่เข้าใจกันว่า การประชุมอบรมแบบนี้มีลักษณะยืดหยุ่นได้มาก การ ประชุมแบบนี้มี 2 ชนิด คือ ใช้เวลานานกับใช้เวลาเพียงสั้น ๆ

วัตถุประสงค์

การประชุมเชิงปฏิบัติการ สามารถนำมาใช้เมื่อต้องการที่จะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

1. เพื่อทำความเข้าใจปัญหา

2. เพื่อสำรวจปัญหา

3. เพื่อพยายามหาข้อแก้ไขปัญหา

4. เพื่อศึกษาปัญหาด้วยการสอบถาม

5. เพื่อพิจารณาด้วยการสอบถาม

6. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบุคคล

7. เพื่อส่งเสริมการศึกษา รวมถึงแก้ปัญหาและค้นคิดวิธีการต่าง ๆ

ข้อดี

1. เปิดโอกาสแก่ผู้เข้าร่วมประชุมให้ได้เตรียมตัวเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในวิชาชีพหรืออาชีพของเขา

2. ให้โอกาสในการประเมินค่าของวิชาชีพหรืออาชีพ และทำการวิจัยที่จำเป็น

3. เปิดโอกาสให้เสนอสิ่งสำคัญและเรื่องราวใหม่ ๆ

4. ให้โอกาสในการเสนอปัญหาในหลายลักษณะ

5. ให้โอกาสแก่บุคคลทุกคนที่มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่

6. ให้โอกาสสำหรับนักศึกษา และวิจัยอย่างมีใจจดใจจ่อในขอบเขตของความสนใจทางด้านวิชาชีพหรืออาชีพ

7. เปิดโอกาสให้ได้รับเรื่องราวที่ถูกต้องจากผู้ชำนาญพิเศษ

8. ให้มีการพัฒนาบุคลิกภาพแต่ละบุคคลโดยการอภิปรายแบบประชาธิไตยและการมีส่วนร่วมมือกันอย่างแท้จริง

9. ปล่อยให้กลุ่มกำหนดวัตถุประสงค์ที่จะกระทำ

ข้อจำกัด

1. สิ่งอำนวยความสะดวกสบายพิเศษต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นสำหรับการประชุมถูกจำกัดโดยทั่ว ๆ ไป มีอยู่เฉพาะในบริเวณมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย หรือสถานที่พิเศษเท่านั้น

2. ระยะเวลาสำหรับการสำรวจปัญหาอย่างเต็มที่โดยผู้ร่วมประชุมมีระยะเวลาอย่างดีก็ประมาณ 2 วัน ถึง 2 สัปดาห์

3. กลุ่มอาจจะยอมรับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าของคณะกรรมการอำนวยการโดยปราศจากคำถามใด ๆ ทั้งสิ้น และด้วยเหตุนี้ผลที่ได้จึงจำกัด เป็นเรื่องอันตรายมากและสามารถป้องกันได้โดยการเลือกตั้งผู้นำในการเปิดอภิปรายทั่วไปอย่างระมัดระวัง

การประชุมอภิปรายกึ่งสัมภาษณ์ (Colloquy)

ลักษณะสำคัญ Colloquy เป็นการประชุมอภิปรายแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งปรับปรุงมาจากการอภิปราย Panel โดยผู้ร่วมอภิปราย 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมาจากผู้ฟังซึ่งมีจำนวน 3-4 คน และอีกกลุ่มหนึ่งมีจำนวน 3-4 คนเช่นกัน ซึ่งเป็นวิทยากร (Resource person) หรือผู้ชำนาญเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ ผู้ร่วมอภิปราย (The Panel Members) เลือกมาจากผู้ฟังที่เสนอปัญหาให้พิจารณา และผู้เชี่ยวชาญได้พิจารณาปัญหานั้นออกไปหลายมุม ผู้ฟังทั่ว ๆ ไป และผู้ร่วมอภิปรายที่จะร่วมอภิปรายได้ทุกเวลาที่ต้องการ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การนำ (Guidance) ของผู้ดำเนินการอภิปราย

วัตถุประสงค์

การประชุมแบบนี้สามารถนำไปใช้เมื่อต้องการที่จะบรรลุถึงจุดมุ่งหมายต่อไปนี้ คือ

1. เพื่อแจกแจงแยกแยะปัญหา

2. เพื่อสำรวจเรื่องราว

3. เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจถึงส่วนประกอบต่าง ๆของปัญหา

4. เพื่อจำแนกแจกแจงปัญหาให้เหมาะสมกันความเข้าใจและความรู้ทางคำศัพท์ของผู้ฟัง

5. เพื่อหาทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

6. เพื่อพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของการกระทำต่าง ๆ

7. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นกันเองกับผู้ฟัง

8. เพื่อนำไปใช้เมื่อมีผู้สนใจในเรื่องที่กำลังอภิปรายมากกว่าปกติ

ข้อดี

1. เปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการอภิปรายโดยตรง

2. เปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายอย่างเป็นกันเอง และถ้าผู้เชี่ยวชาญตอบปัญหาเคลือบคลุมก็สามารถซักถามจนเข้าใจ

3. กระตุ้นให้ผู้เชี่ยวชาญได้พิจารณาคำถามอย่างละเอียดถี่ถ้วน และยังได้ทราบความต้องการที่แท้จริงของผู้ฟัง

4. กระตุ้นผู้ฟังให้ตั้งใจฟังการอภิปรายและมีส่วนร่วมอย่างเสรี

5. เปิดโอกาสให้ผู้แทนของผู้ฟังได้ถามปัญหาต่อผู้เชี่ยวชาญ

6. เปิดโอกาสให้ได้รับเรื่องราวที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ

7. ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ประสานกลมเกลียวและเป็นกันเองกับผู้ร่วมอภิปรายบนเวที

ข้อจำกัด

1. มักจะไม่มีเวลาพอในการเสนอ สนับสนุน สำรวจ และแก้ปัญหาโดยตลอดทุกแง่มุม

2. บางครั้งผู้ดำเนินการอภิปรายต้องรับผิดชอบต่อการเสนอที่ไร้เหตุผล ไร้สาระ

3. ไม่ประหยัดเวลาในการเสนอเรื่อง มีข้อเสนอมากเกินไป

4. อาจปล่อยให้ผู้ดำเนินการอภิปรายสามารถที่จะเร่งการอภิปรายให้เร็วเกินไป

5. มักปล่อยให้ผู้เชี่ยวชาญคิดไปเองว่าตนมีบทบาทครองงำความคิดของผู้ฟังได้

6. อาจทำความยุ่งยุ่งยากให้แก่ผู้ดำเนินการอภิปราย ถ้าเขาไม่รู้ถึงลักษณะเฉพาะของการสื่อสาร

การอภิปรายเป็นคณะ

(Panel & Panel Forum)

ลักษณะสำคัญ การอภิปรายเป็นคณะ เป็นการประชุมที่มีกลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ 4-5 คน ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อในการประชุมดีมาร่วมอภิปรายต่อหน้าผู้ฟัง ซึ่งผู้ฟังจะมีส่วนร่วมในการที่จะถามปัญหาเมื่อเปิดโอกาสให้ซักถามได้หลังการอภิปราย การอภิปรายเป็นคณะเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไป เพราะนอกจากผู้ฟังจะได้ฟังข้อเท็จจริง ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับหัวข้อที่อภิปรายแล้ว ยังจะได้เห็นและได้ฟังผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านั้นใช้เหตุผลโต้แย้ง หรือสนับสนุนความคิดเห็นระหว่างกัน อันจะเป็นผลให้ผู้ฟังมีความคิดความอ่านกว้างขวาง เห็นทัศนหลายด้าน โดยทั่วไปควรเลือกผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความเชื่อต่างกันจะมีประโยชน์มาก

วัตถุประสงค์

การอภิปรายเป็นคณะอาจจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้

1. ชี้หรือสำรวจปัญหา

2. ตรวจสอบข้อเท็จจริง

3. ทำความเข้าใจในแง่มุมต่าง ๆ ของปัญหา

4. ประเมินข้อดีและข้อเสียของเหตุการณ์ หรือการกระทำที่ผ่านมา

5. ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหา และแนวคิดในหัวข้อการอภิปราย

ข้อดี

1. ผู้ฟังได้รับฟังข้อคิดเห็นหลายทัศนะในหัวข้อการอภิปรายทั้งหมด

2. เปิดโอกาสให้ทราบถึงปัญหาหลายแง่หลายมุม

3. ส่งเสริมให้มีการถกปัญหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ

4. มีทัศนะให้พิจารณาพร้อมข้อสนับสนุน

5. บรรยากาศผ่อนคลาย เคร่งเครียดน้อยกว่าการประชุมอภิปรายแบบอื่น ๆ

6. เปิดโอ

คำสำคัญ (Tags): #เมืองพล
หมายเลขบันทึก: 361658เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2010 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท