บันทึกที่สาม


ชีวิตชาวนาไทย

ชาวนา คืออาชีพทางเกษตรกรรม ในประเทศไทยมักมีความหมายถึงอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก ชาวนาในประเทศไทยนับว่าเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุด เพราะข้าวเป็นอาหาร หลักของคนไทย อาชีพทำนาเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนไทย ที่สืบทอดมายังอนุชนรุ่นหลัง โดยส่วนใหญ่แล้วชาวนาจะใช้ชีวิตอยู่โดยสงบเงียบในชนบท   การทำงานของชาวนาจะเริ่มทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำตลอดทั้งปี เพราะหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวประจำปีแล้ว พวกเขาก็จะเริ่มปลูกข้าวนาปรัง หรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ต่ออีก หรือไม่ก็เลี้ยงปศุสัตว์หรือสัตว์อื่น ๆ เสริม เช่น ปลา และ เป็ด เป็นตัน โดยปกติปลาจะอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในนาข้าว ดังนั้น ต้นกล้าและปลาจะเติบโตไปพร้อม ๆ กัน

ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะปลูกข้าวกันทั้งประเทศ การทำนามี 2 ประเภท คือ การทำนาปรัง และ นาปี นาปี หมายถึง การทำนาในฤดูฝน ส่วนนาปรัง หมายถึง การทำนานอกฤดูฝน ชาวนาได้ใช้ น้ำจากลำคลอง และ เขื่อนระบายน้ำ ผลผลิตที่ได้จากการทำนาและปลูกกันมากในภาคกลาง ซึ่งจนถึงกับบางครั้งคำเรียกภาคกลาง ว่า "อู่ข้าวอู่น้ำ" ของเอเชีย  แต่ชาวนาของประเทศไทยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ผลิตข้าวส่งออกมากที่สุดของโลก เพื่อนำไปเลี้ยงชีวิตของเพื่อนมนุษย์ในโลกนี้ก็ยังคงมีความยากจน หนี้สินมากมายจนต้องขายที่ทำมาหากินซึ่งเป็นมรดกที่ได้รับมาจากปู่ย่า ตายายให้กับนายทุน เพื่อนำเงินที่ได้รับไปหล่อเลี้ยงชีวิตของตนเองและครอบครัว คนที่มีเงินทุนมากหน่อยก็ต้องปรับตัวนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ ทอดทิ้งภูมิปัญญาการทำนาที่มีมาแต่โบราณ ทั้งๆที่รู้ว่าการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับตนเองแต่ก็ต้องจำยอม เมื่อผลผลิตที่ออกมาไม่คุ้มกับการลงทุนชาวนาก็ออกมาเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ปีแล้วปีเล่า หรือว่านี่เป็นวัฎจักรของชาวนาไทย

ชีวิตชาวนาไทย

โดยปกติเราจะได้ยินคำกล่าวว่า" ชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ และในน้ำมีปลาในนามีข้าว" คำกล่าวเช่นนี้เป็นความจริง ก็เพราะว่าชาวนาปลูกข้าวเลี้ยงประชาชนทั้งประเทศ ข้าวไม่เพียงแต่เป็นอาหารหลักของประเทศเท่านั้น แต่ตอนนี้ข้าวได้กลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญอย่างหนึ่งด้วย ดังนั้น ชาวนา จึงเป็นกำลังสำคัญที่สุดของประเทศด้วย

ชาวนาทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำตลอดทั้งปี เพราะหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวประจำปีแล้ว พวกเขาก็จะเริ่มปลูกข้าวนาปรัง หรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ต่ออีก หรือไม่ก็เลี้ยงปศุสัตว์หรือสัตว์อื่นๆ เช่น ปลา และ เป็ด เป็นตัน โดยปกติปลาจะอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในนาข้าว ดังนั้น ต้นกล้าและปลาจะเติบโตไปพร้อมๆกัน โดยธรรมชาติในที่เดียวกัน เมื่อเสร็จสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยว ชาวนาก็จะมีทั้งปลาและข้าวไว้บริโภค ในฤดูแห้ง ที่กำลังจะมาถึงอีกด้วย ถ้าเราท่องเที่ยวไปตามต่างจังหวัดก็จะพบชาวนากำลังตากปลาบนหลังคาบ้านของเขาตามริมถนน ดังนั้น จึงมีคำทักทายในหมู่คนไทยเมื่อพบปะกันก็จะเริ่มทักทายกันว่า " คุณจะไปไหน" แล้วก็ตามด้วยประโยคคำพูกว่า "คุณกินข้าวกินปลาแล้วหรือยัง" ที่จริงแล้วข้าวกับปลานี้เป็นอาหารหลักของคนไทยมานานแล้ว

ส่วนใหญ่ข้าวจะปลูกกันมากในภาคกลาง ซึ่งจนถึงกับบางครั้งคำเรียกภาคกลาง ว่า "อู่ข้าวอู้น้ำ" ของเอเซีย ทั้งนี้ก็เพราะพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์กว้างใหญ่ไพศาล และมีน้ำเพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม อาชีพทำนาเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนไทย ที่สืบทอดมายังอนุชนรุ่นหลัง โดยส่วนใหญ่แล้วชาวนาจะใช้ชีวิตอยู่โดยสงบเงียบในชนบท

ตอนนี้ถึงเวลาที่จะต้องช่วยกระดูกสันหลังของชาติของเราให้ดำเนินอาชีพต่อไปได้แล้ว มิฉะนั้นพวกเขาก็คงตอนนี้ถึงเวลาที่จะต้องช่วยกระดูกสันหลังของชาติของเราให้ดำเนินอาชีพต่อไปได้แล้ว มิฉะนั้นพวกเขาก็คงจะยังชีพอยู่ไม่ได้ เมื่อต้องเผชิญกับอุปสรรคเหล่านี้ เมื่อใดก็ตามที่ชาวนาถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องเลิกอาชีพนี้ พวกเขาก็เห็นจะต้องนำข้าวเข้ามาเพื่อบริโภคเป็นแน่ และถ้าหากเหตุการณ์เป็นอย่างนั้น อาชีพของบรรพบุรุษของเราก็คงจะสูญไปเลยและประเทศไทยก็คงจะไม่ได้ชื่อว่าเป็น "อู่ข่าวอู่น้ำ" ของโลกอีกต่อไป

ได้รับอนุญาตจาก : ธนพล จาดใจดี. (1994). เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ห.จ.ก. ไทยเจริญการพิมพ์.

             ชาวนาจ๋า...อย่าร้องไห้

กี่ปีแล้วที่หลังเราหยัดสู้ฟ้า                  กี่ปีแล้วที่ดวงหน้าจูบดินแล้ง
กี่ปีแล้วที่ข้าวยากและหมากแพง           กี่ปีแล้วที่ไส้แห้งกว่าแร้งโรย
ถามฟ้ากว้างก็อ้างว้างมิสร่างสิ้น            ถามผืนดินก็เงียบงำคำตอบโหย
ถามผู้นำถึงคำหวานที่หว่านโปรย         ย้ำถามโดยชาวนาตาดำดำ
ช่างเงียบเหงาเป็นเป่าสากกระดากนัก    รัฐมนตรีที่รักกระอักซ้ำ
นโยบายขายซื้อหรือจำนำ                  ราคาข้าวยังตกต่ำระกำใจ
หวังพึ่งใครไหนเล่าเหล่ารากหญ้า        หวังพึ่งฟ้าก็แล้งลมพาห่มไห้
หวังพึ่งดินก็สิ้นหวังกำลังใจ                หวังพึ่งใครในวันนี้ไม่มีเลย
คอยหยาดฝนหล่นหายที่ปลายเมฆ      คอยพระเอกในดวงใจอยู่ไหนหนา
คอยผู้แทนของเราชาวประชา             เช็ดน้ำตาผู้ยากไร้ในแผ่นดิน
ชาวนาจ๋า...ชาวนาอย่าร้องไห้            อดทนไว้อย่าให้ใครเขาหมิ่น
เก็บน้ำตาแห่งหวังไว้หลั่งริน              บนผืนดินปลูกข้าวของชาวนา...
..............................
ละไมฝน

คำสำคัญ (Tags): #ศรีสะเกษ 6
หมายเลขบันทึก: 361281เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2010 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท