บันทึกที่สอง


การเมืองเรื่องร้อน

การเมืองเรื่องร้อน ๆ เดี๋ยวนี้ใคร ๆก็พูดถึงกบฎ ก็เลยนำบางส่วนของประวัติศาสตร์มาให้อ่านกันเล่น ๆ ส่วนใครจะคิดอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของท่านเอง

"กบฏ", "ขบถ" หรือ "กระบถ" หมายถึง

  • การกบฏ (อังกฤษ: rebellion หรือ treason) - การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร
  • ผู้เป็นกบฏ (อังกฤษ: rebel หรือ traitor) - ผู้ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร
  • ความผิดฐานเป็นกบฏ (อังกฤษ: treason-felony) - ชื่อความผิดอาญาฐานกระทําความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร หรืออํานาจตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอํานาจปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏ

กบฏ 26 มีนาคม 2520 เป็นความพยายามก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร โดย พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกองกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก สวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์

ฝ่ายทหารในสมัยนั้นนำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อ.กมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพล.อ.เสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 นับเป็นกบฏคนสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตตราบจนบัดนี้[ต้องการอ้างอิง] กล่าวกันว่าการประหารชีวิตนี้ทำให้เกิดความไม่พอใจในฝ่ายทหารและก่อให้เกิดรัฐประหารครั้งต่อมาในปีเดียวกันโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่

กบฏแบ่งแยกดินแดน

        กบฏแบ่งแยกดินแดน เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ได้มีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภาคอีสานหลายคน เช่น นายทองอินทร์ ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่ารวมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิคุ้มครองทางการเมือง    ที่สุดกรมตำรวจ จึงใช้วิธีใช้อำนาจและเล่ห์เหลี่ยมในการจับกุม 4 อดีตรัฐมนตรีจากภาคอีสาน ประกอบด้วย จำลอง ดาวเรือง ถวิล อุดล ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และ ดร.ทองเปลว ชลภูมิ ซึ่งทั้งหมดเป็นอดีตรัฐมนตรีและนักการเมืองในสังกัดของนายปรีดี พนมยงค์ และเตียง ศิริขันธ์  จากนั้นจึงนำไปยิงทิ้ง เมื่อเวลา 03:00 คืนวันที่ 4 มีนาคม 2492 ที่ถนนพหลโยธิน ก.ม.ที่ 11 บริเวณบางเขน (ใกล้แยกรัชโยธิน) โดยทั้งหมดถูกยิงเสียชีวิตอย่างน่าสงสัยบนรถขนนักโทษของตำรวจ แต่ทางตำรวจแถลงว่าเกิดจากการปะทะกับโจรมลายูที่จะมาชิงตัวนักโทษ ซึ่งไม่มีใครเชื่อถือ

        ถัดจากกบฏเสนาธิการเพียงเดือนเดียว คือ ต้นเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันรัฐบาลได้ควบคุมตัว นายทิม ภูริพัฒน์ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อดุล นายฟอง สิทธิธรรม นายเตียง ศิริขันธ์ กลุมส.ส.ภาคอีสาน ในข้อหา "กบฏแบ่งแยกดินแดน" เป็นอันผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้ว่า พระราชอาณาจักรไทยจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผู้ใดจะทำการแบ่งแยกมิได้

         แต่ที่น่าแปลก การจับกบฏครั้งนี้ ไม่มีนายทหารร่วมก่อการแม้แต่คนเดียวแล้วจะนำอาวุธที่ไหนมาทำการแบ่งแยกดินแดน ตำรวจได้กล่าวหากบฏเหล่านี้ว่า..... ชักชวนชายฉกรรจ์ส่งออกไปศึกษาวิชาการทหารที่คุนหมิง ประเทศจีน แล้วกลับมาดำเนินการแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานให้เป็นรัฐอิสระ แต่สภาผู้แทนราษฎรขอให้ทางตำรวจปล่อยตัวนายฟอง สิทธิธรรม เนื่องจากอยู่ในสมัยการประชุมสภาผู้แทน จึงได้รับเอกสิทธิ์ทางกฎหมายนี้ ส่วนนายทิม ภูริพัฒน์ ตำรวจสอบสวนแล้วเห็นไม่มีหลักฐานอะไร จึงปล่อยตัวไป คงเหลือนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายเตียง ศิริขันธ์ ที่นำตัวฟ้องศาลต่อไป
        ขณะที่ทำการจับกุมกบฏแบ่งแยกดินแดนนั้น รัฐบาลโดยจอมพล ป.ได้กล่าวคำปราศรัยทางวิทยุแจ้งให้ประชาชนทราบพอสรุปได้ว่า ขณะนี้มีผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองคบคิดกันเพื่อทำกบฏ รัฐบาลพยายามชักจูงคนเหล่านี้ให้กลับมาช่วยกันสร้างชาติ แต่ไม่เป็นผล การนองเลือดเป็นหนทางที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้เสียแล้ว......
        รัฐบาลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำทุกอย่างเพื่อความสงบของประเทศและรักษาไว้แห่งรัฐธรรมนูญ อันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของประเทศ

 

คำสำคัญ (Tags): #ศรีสะเกษ 6
หมายเลขบันทึก: 361243เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2010 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท