๑๐ ขั้นตอนสอนหลักภาษาของภาทิพ


๑๐ ขั้นตอนสอนหลักภาษาของภาทิพ
     •สอนหลักภาษาให้เหมือนกับสอนคนขับรถ  อย่าสอนเหมือนสอนช่างซ่อมรถ    สอนเพื่อให้เขานำความรู้ไปใช้ในการสื่อสาร

  •สอนด้วยตัวอย่างที่หลากหลาย  อย่าสอนด้วยเอกสารที่มากมาย
                          •ยกตัวอย่างเสียงวรรณยุกต์แต่ในแต่ละเสียง
                          •ยกตัวอย่างคำในมาตราสะกดนั้น ๆ
                          •ยกตัวอย่างคำเป็น
                         •ยกตัวอย่างคำตาย

                         •ยกตัวอย่างคำควบกล้ำ

                         •ยกตัวอย่างอักษรนำ

 

  •    ออกเสียงยาน ๆ เกิดการสังเกต   

  สังเกตเสียงวรรณยุกต์

    กา......... ผ่า......... ป้า........... ป๊า.........

   นัก     รัก       ยักษ์      ชัด      วัด      พัด

  ฝาก     อยาก    ปาก      จาก      ตาก    กาก

  วาด     ชาติ     ราด       ธาตุ     พลาด   ก๊าซ

 ขัน     หยัน     ถัน        หัน     ผัน      ฝัน

  • เริ่มด้วยเรื่องที่เด็กสนใจก่อนก้าวไปเริ่มเรียนรู้  จับคำในเรื่องราวที่สนใจมาโยงใยกับเรื่องที่จะเรียน

 

    ณ ห้วงเวลาที่สอน เด็กกำลังสนใจเรื่องราวใด 
       มีข่าวเหตุการณ์ใดในเมืองไทย
       เด็กชอบเต้น  หรือชอบร้องเพลง
       เด็กชอบฟังนิทาน   
      เด็กชอบสถานที่ท่องเที่ยวผจญภัย

  •    สื่อเพลงเหมาะสมกับวัย ... ไม่ใช่เพราะผู้ใหญ่ชื่นชอบ

              เคยไหมที่นำเพลงไพเราะถูกใจ  แต่เด็กไม่ชื่นชอบ  

              เราแสนประทับใจ  แต่เราคนละวัยกับเด็ก

             อุตส่าห์นำกฎเกณฑ์มาแต่ง  แฝงความรู้  แต่หนูไม่เอา

            ไม่สมหวังก็หลายครั้ง  เพราะเด็กจะฟังแต่เพลง

  •   สอนให้จับผิดเพื่อสะกิดให้ค้นพบ

            ให้โจทก์พร้อมคำตอบ   คนที่มีความชอบคือคนบอกที่มา

                 เรียนรู้จากการสังเกต

                 เรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์

                ตรวจสอบความเข้าใจ   เมื่อเขาไขที่มา

                สอนเรื่องเสียงวรรณยุกต์

                คำเป็นคำตาย

  •   เห็นกฎเป็นนิสัย ... นานๆ ไปก็เรียนรู้

              นักเรียนทำแบบฝึกหัด โดยดูหลักสังเกตได้

                 หลักสังเกตคำเป็นคำตาย

                การผันเสียงวรรณยุกต์ของอักษรกลาง สูง และต่ำ

                การเขียนคำคล้องจอง

                การเขียนจดหมาย

               เขียนประโยค เขียนข้อความสั้น โดยดูพจนานุกรมได้

 

  •    หยดหลักภาษาวันละนิด  อย่าให้เด็กคิดว่ายาเบื่อ

            บอกเล่าแนะนำ  ให้เด็กรับรู้แบบไม่ตั้งใจ  ขณะที่กำลังสอนเรื่องอื่น  เช่น สอนการอ่าน  .....เขามีความดีเป็นเลิศ  เลิศ  เป็นแม่กด     เป็นคำตาย

  •    สอนหลักภาษาเพื่อใช้สื่อสาร   มิใช่เพื่ออ่านแล้วตอบ

               สอนเรื่องที่เขาควรจะรู้

               รู้แล้วนำไปใช้อย่างไร

              ใช้คำผิด  สื่อสารผิด  เข้าใจผิด  เด็กคิดได้

 

                   สิบคำบอกเล่าที่กล่าวไป

               ล้วนแล้วไม่ใช่ทฤษฎี

                เป็นเพียงประสบการณ์เนิ่นนานปี

                 มาแลกเปลี่ยนวิธีที่ต่างแดน

หมายเลขบันทึก: 360945เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2010 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ ภาพสวยงามมากๆค่ะ

ครูบันเทิงก็กำลังทำวิจัยในชั้นเรียน สาระ ภาษาไทยค่ะ

" เพาเวอร์ พอยต์ ช่วยหนูน้อย อ่านเก่ง"

เด็กๆสนใจมากๆเลยค่ะ

และก็มาตามไปบ้านครูบันเทิงค่ะ 

มีเรื่องอยากจะเรียนถามค่ะ..

คอยอยู่น่ะค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูภาทิพตามไปทางประวัติ   ไม่ทราบว่าจะให้เข้าบันทึกไหน

ช่วยบอกทาง URL ของบันทึกที่จะให้แวะด้วยค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมเยียนกันค่ะ สบายดีนะค่ะ  พร้อมกับมาเชิญชวนไปชม "สุดยอดส้วม...โรงพยาบาลพะโต๊ะ"
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ แวะมาอีกรอบค่ะ

    http://gotoknow.org/blog/krubudsamasmusic/362265

    ง่วงนอนยังค่ะ

    คุณครูมีวิธีแนะนำเก่งมากค่ะ เด็กของคุณครูคงเรียนอย่างมีความสุขนะคะ จะนำไปเป็นแบบอย่างค่ะ

    มีประสบการณ์เหมือนกัน แต่ประสบการณ์ต่างกัน

    สวัสดีค่ะ ครูปภินวิช นำมาแลกเปลี่ยนบ้างสิคะ  ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

    อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท