"เศรษฐกิจสร้างสรรค์"(Creative Economy)


เศรษฐกิจสร้างสรรค์ .. สู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ Creative Industries

"เศรษฐกิจสร้างสรรค์"(Creative Economy) 

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ .. สู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
และ ...เศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  (Creative and Green Economy)

          การผลิตทางอุตสาหกรรม ที่เป็น แบบ  Mass production ต่างก็เกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานของผู้บริโภค   การแข่งขันทันกันหมด   จำเป็นจะต้องมีการปรับและออกแบบให้เข้ากับความต้องการที่เป็นปัจเจกบุคคล  ต้องใช้ความเป็นศิลปะ ที่เป็น "การสร้างมูลค่าที่เกิดจากความคิดของมนุษย์“ ออกมาเป็นจุดเน้นในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจเป็น "เศรษฐกิจสร้างสรรค์"(Creative Economy)   ...สู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ Creative Industries 
 
        วัฒนธรรม  ศิลปกรรม  การท่องเที่ยว ศิลปะการแสดง อาหาร ฯลฯเหล่านี้ล้วนเป็นทุนทางสังคม   ทุนทางมรดก   ทุนทางทรัพยากรที่ ชนชาติต่างๆ  ล้วนมีต้นทุน สะสมมาไม่เหมือนกัน    ในทางการผลิตจะต้องพึ่งพาความคิดสร้างสรรค์เป็นวัตถุดิบสำคัญ "ศิลปะและการออกแบบ"    ถือเป็นกลไกหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นในสร้างระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์

         ดร. อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร กล่าวว่า ... "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" คือ แนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ (Knowledge)  การศึกษา  การสร้างสรรค์งาน (Creativity)     และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property)   ที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม   การสั่งสมความรู้ของสังคม และเทคโนโลยี / นวัตกรรมสมัยใหม่   แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะต้องครอบคลุมภาคเศรษฐกิจจริง    และเชื่อมโยงกันทั้งเกษตร  อุตสาหกรรม  และบริการอยู่บนพื้นฐานของความหลากหลายทางชีวภาพ   วัฒนธรรม   ภูมิปัญญาท้องถิ่น   ผนวกเข้ากับการใช้องค์ความรู้  และนวัตกรรม  ทั้งนี้การพัฒนาจะต้องมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์  และเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  (Creative and Green Economy)

   UNCTAD แบ่งประเภทอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1) ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม (Heritage or Cultural Heritage) เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์โบราณคดี  วัฒนธรรม  ประเพณี ความเชื่อ และสภาพสังคม เป็นต้น   แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 

     กลุ่มการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (Traditional Cultural Expression) เช่น ศิลปะและงานฝีมือ เทศกาลงานและงานฉลอง เป็นต้น   

     และกลุ่มที่ตั้งทางวัฒนธรรม (Cultural Sites) เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด และการแสดงนิทรรศการ เป็นต้น

 

2) ประเภทศิลปะ (Arts) เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์บนพื้นฐานของศิลปะ และวัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 2 กุล่ม คือ

     งานศิลปะ(Visual Arts) เช่น ภาพวาด รูปปั้น ภาพถ่าย  และวัตถุโบราณ   

     ศิลปะการแสดง (Performing Arts) เช่น การแสดงดนตรี การแสดงละคร การเต้นรำ โอเปร่า ละครสัตว์ และการเชิดหุ่นกระบอก เป็นต้น

 

3) ประเภทสื่อ (Media) เป็นกลุ่มสื่อผลิตงานสร้างสรรค์ที่สื่อสารกับคนกลุ่มใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

      งานสื่อสิ่งพิมพ์(Publishing and Printed Media) เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์     และสิ่งตีพิมพ์อื่นๆ เป็นต้น

     งานโสตทัศน์ (Audiovisual) เช่นภาพยนตร์โทรทัศน์ วิทยุ และการออกอากาศอื่นๆ เป็นต้น

 

4) ประเภท (Functional Creation) เป็นกลุ่มของสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน แบ่งออกเป็น3 กลุ่ม คือ
     กลุ่มการออกแบบ (Design) เช่น การออกแบบภายใน กราฟิค แฟชั่น อัญมณี และของเด็กเล่น เป็นต้น

     กลุ่ม New Mediaได้แก่ ซอฟต์แวร์ วิดีโอเกม และเนื้อหาดิจิตอล เป็นต้น กลุ่มบริการทางความคิดสร้างสรรค์ (Creative Services) ได้แก่ บริการทางสถาปัตยกรรม โฆษณา วัฒนธรรมและนันทนาการ งานวิจัยและพัฒนา

     และกลุ่มบริการอื่น  ที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอล และความคิดสร้างสรรค์

 

 

          ทราบว่าเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)  นี้จะถูกหยิบยกมา อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11ด้วย  ได้ศึกษาและอ่านถึงเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)  มาหลายเล่มและหลายบทความ   ส่วนใหญ่ มักจะยกตัวอย่าง ประเทศเกาหลีใต้ ว่าใช้แนวทาง Creative Economy  ประสบผลสำเร็จที่สุด  ซึ่งมาจากนโยบาย และการร่วมมือทั้งภาครัฐ  และเอกชน  ตัวอย่างอย่างในบ้านเรา  อิทธิพลเกาหลีจะมาจาก  ภาพยนตร์ก่อน ในภาพยนตร์แฝงด้วย ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม วิถีชีวิต   ติดตามด้วยผู้แสดงดารา นักแสดง ถ้าเราชื่นชอบ ก็จะตามมาซึ่ง แฟชั่น  นักร้อง นักตนตรี   อาหาร   ... และจบลงที่อยากจะไปเยือน  ไปสัมผัส   นั้นคืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั่นเอง   ครบวงจรของ Creative Economyสู่ Creative Industries 
       

 

          ฟังแล้วเหมือธรรมดาไม่มีอะไร  ดูง่าย    แต่ต้องอาศัย ความร่วมมือทุกภาคส่วนไปในทิศทางเดียวกัน และมั่นคง แน่วแน่   ตลอดจนการจะต้องพัฒนาการของการสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพ ผสมกับทุนทางปัญญา (Intellectual  Capital) โดยต้องอาศัยเวลาด้วย   

          เมืองเรามีประวัติศาสตร์มายาวนาน สะสม วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา  ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่มาก จะเรียกว่าเป็นบุญเก่าก็ว่าได้แต่ต้องใช้  นโยบายและการบริหารที่ดีผสมความร่วมมือถึงจะสำเร็จ   การที่แค่นำบุญเก่า ออกมาขายไปวันๆ เป็นการฉาบฉวยไม่ยั่งยืนและไม่สามารถไปสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องพยายามสร้างความตระหนักภายใต้ เศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  (Creative and Green Economy)  ควบคู่กันไปด้วย
         หวังว่าเมืองเราคงใช้เประโยชน์จากเศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy) ในการพัฒนาฟื้นตัวระบบเศรษฐกิจของประเทศ อย่ายั่งยืนและต่อเนื่องต่อไป

                                          ******************

 

อ้างอิงจาก ....
          1.คิด creative Thailand  http://www.creativethailand.org/th/ สืบค้นเมื่อ 21 ธ.ค.52
         2.วรากรณ์  สามโกเศศ. ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงศึกษาธิการ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11422 .          

         3.http://www.moc.moe.go.th/node/213 :  สืบค้นเมือ 24 พ.ย. 2552
         4.ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ .กรุงเทพฯ ,โรเนียว.
         5.อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร ดร. เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่องกล้องเศรษฐกิจ : กรุงเทพธุรกิจ 06 สิงหาคม 2552           

        6. http://www.nidambe11.net/index.html  : สืบค้นเมือ 2 ธ.ค.2552

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 

 

 

หมายเลขบันทึก: 360785เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2010 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ

แอบมาอ่านเรื่องศิลปะ

ทั้งๆที่ตัวเองไม่ค่อยรู้เรื่อง

แต่ก็ชอบภาพศิลป์ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท