การออกแบบ


การออกแบบ ( DESIGN)

ไม่มีผู้สร้างสรรค์ออกแบบคนใดจะสร้างรูปแบบจาก………ความว่างเปล่าได้

หากดื้อรั้นสร้างไปผลลัพธ์ก็คือ…….......ความว่างเปล่า

การศึกษา - อาชีพ - สังคม (Education - Occupation – Social )

กระบวนการออกแบบ……….ให้ประโยชน์อะไร ?

กระบวนการเทคโนโลยี…….สร้างงานได้อย่างไร ?

กระบวนการทำงาน……..สร้างอาชีพเป็นอย่างไร ?

การออกแบบ ( DESIGN)

ไม่มีผู้สร้างสรรค์ออกแบบคนใด...........จะสร้างรูปแบบจากความว่างเปล่าได้

หากดื้อรั้นสร้างไปผลลัพธ์ก็คือ…….......ความว่างเปล่า

การศึกษา - อาชีพ - สังคม (Education - Occupation – Social )

กระบวนการออกแบบ………….. มีประโยชน์อย่างไร ?

กระบวนการเทคโนโลยี…………สร้างงานได้อย่างไร ?

กระบวนการปฏิบัติงาน…………สร้างอาชีพเป็นอย่างไร ?

การออกแบบ ( Design )

การออกแบบคืออะไร( What is design ? )การออกแบบในภาษากรีกมีความหมายตรงกับคำว่า “ Poetry ” หมายถึงบทกวีหรืองานที่สำเร็จได้ต้องมีการวางเค้าโครงตามจินตนาการผสมผสานกับความต้องการแสดงออกอย่างมีสุนทรียภาพเปรียบได้กับการแต่งคำประพันธ์ที่รังสรรเรียบเรียงพรรณาความอย่างมีสุนทรียภาพด้วยสื่อสัญลักษณ์เสียง  อักษรหรือท่วงที่ท่าทาง

          

 

                             การออกแบบ ( Design )   

หมายถึง....การจัดลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การวางแผนการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ

หมายถึง......การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วยการนำส่วนประกอบ ปรับปรุง ดัดแปลงของเดิมให้เหมาะสมยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์และความงาม

หมายถึง.....การวางแผนและประยุกต์ประสบการณ์เดิมกำหนดรูปแบบใหม่อย่างมีสุนทรียภาพสอดคล้องกับวัสดุ เทคโนโลยีและความต้องการในปัจจุบัน

ปัจจุบันคำว่าออกแบบได้นำมาใช้อย่างแพร่หลายในทุกสถาบัน องค์กรหรือหน่วยงานด้านธุรกิจ อุตสาหกรรม เช่น การออกแบบบริหารจัดการองค์กร  ออกแบบเทคโนโลยีแทนที่อดีตส่วนใหญ่จะใช้ในงานศิลปะเช่น การออกแบบงานเวทีประชาสัมพันธ์  การแต่งกายและผลิตภัณฑ์

            

ความสำคัญของการออกแบบ ( Benefit of Design )

1. ด้านกายภาพ ( Physical)  หมายถึงลักษณะผลงานที่นำไปการใช้ทำให้เกิดความสะดวก ประสิทธิภาพ ความเหมาะสม  ความปลอดภัย

2. ด้านอารมณ์ ( Emotion) หมายถึงลักษณะผลงานที่นำไปการใช้และเกิดความพึงพอใจ ความสวยงาม  ความชื่นชมหรือคุณภาพ

3. ด้านทัศนคติ ( Attitude) หมายถึงลักษณะผลงานที่นำไปการใช้ให้เกิดส่งเสริมคุณความดี คุณธรรมและจริยธรรมที่มีต่อสังคม

     

องค์ประกอบที่ต้องพิจารณาในการออกแบบ( Function of  Design  consideration )

การออกแบบจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพความต้องการและความพร้อม คุณลักษณะที่สอดคล้องต่อสภาพทางสังคม/เศรษฐกิจ ( Social & Economics)และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี(Technology )ประกอบด้วย

1. ปัจจัยหลัก ( Major of Design  consideration )หมายถึงการศึกษา  คุณลักษณะ  ค่านิยม ความจำเป็นพื้นฐานและสภาพความต้องการด้านจิตวิทยาของกลุ่มเป้าหมาย  ผู้รับรู้หรือผู้บริโภค( Customer)ที่มีอิทธิพลต่อคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงาน   ประกอบด้วย

                   1.1. เพศ ( Sex )หมายถึงคุณลักษณะหญิงและชายที่มีผลต่อความชอบ   ความปราณีตสวยงามและค่านิยมที่สอดคล้องต่อคุณธรรมจริยธรรมและวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคม

                   1.2. อายุ ( Age )หมายถึงระดับวัยของเด็ก  วัยรุ่นและผู้สูงอายุที่มีอิทธิพลต่อระดับความต้องการและโอกาสในการแสวงหาของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย

                   1.3. การศึกษา ( Education ) หมายถึงระดับสติปัญญาความรู้ความสามารถ  ความคิดวิเคราะห์สภาพความเหมาะสม

2. ปัจจัยรอง ( Minor of Design  consideration )หมายถึงปัจจัยที่นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคที่สามารถควบคุมได้และเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

2.1. ประโยชน์ ( Benefit of Design ) คุณสมบัติ ลักษณะ การใช้งาน  คุณค่า ความปลอดภัยและเหมาะสม

2.2.เออร์กอนอมิกส์ ( Ergonomics ) หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสรีระศาสตร์กับการใช้ผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม เช่น ความสดวกสบาย  ความปลอดภัย  ประสิทธิภาพและผลกระทบ 

2.3. แอนโทรโปเมตริกซ์  หมายถึงการศึกษาความสัมพันธ์ของร่างกาย สัดส่วน ความคล้องตัวการเคลื่อนไหว เช่น สัดส่วนความแตกต่างของวัย   เพศหญิงเพศชาย  มาตรฐานคนเอเชียกับคนยุโรป

 2.4. รูปทรงและรูปแบบ ( Shape & Form)  รูปลักษณ์ ประหยัด  ความสดวก ของผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอความงาม ( Appreciation ) คุณค่าทางอารมณ์ ความพึงพอใจ การบริการ  คุณภาพและประสิทธิภาพ

2.5. วัสดุ-อุปกรณ์( Material & Equipments )  มีคุณสมบัติสอดคล้องกับกระบวนการผลิตและเครื่องมือ

หลักเกณฑ์ในการออกแบบ ( Principle of Design )

1. กลุ่มเป้าหมาย ( Customer)  คุณลักษณะเฉพาะ  ค่านิยมและความจำเป็นพื้นฐาน

2. ประโยชน์ ( Benefit of Design ) การใช้สอย  คุณภาพ คุ้มค่าและเหมาะสม

3. มาตรฐาน (Standard) ปลอดภัย  ประสิทธิภาพ  ความถูกต้องและผลกระทบ

4.วัสดุ-อุปกรณ์(Materials&Equipments)  มีคุณสมบัติสอดคล้องกับกระบวนการผลิตและเครื่องมือ

5. องค์ประกอบงานออกแบ ( Composition )  รูปทรง ขนาด เส้นแสงสีจังหวะหรือพื้นผิวผลิตภัณฑ์

6. ความงาม (Appearance);  ที่น่าสนใจ ความพึงพอใจ การให้บริการ รูปลักษณ์  สัดส่วน  สีสรร

7. ความก้าวหน้า (Advance) ; ความคิดริเริ่ม (Originality)  ความเรียบง่าย ( Simplicity) ทันสมัย

การพิจารณาตัดสินตามเกณฑ์

                   1. ลักษณะรูปทรง( FORM )  ประกอบด้วยคุณลักษณะ ดังนี้

                                  การจัดองค์ประกอบ( COMPOSITION)

                                  ลักษณะของชิ้นงาน  ( )       

                                  การหลอมรวมความเป็นหนึ่ง (INTEGRATION )

                                  สัดส่วน  ( PROPORTION  )

                   2. ลักษณะพื้นผิว( TEXTURE OR SURFAC )วัสดุ.ลักษณะพื้นผิว  

ธรรมชาติและการสร้างสรรค์ ( Nature & Creative Design )

การสร้างสรรค์ รังสรรค์ผลงานคือการนำความรู้ประสบการณ์มาประยุกต์ใช้กับวัสดุ-อุปกรณ์และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยธรรมชาติ( Nature )และสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ ( Creative design )ขึ้นโดยมีปัจจัยด้านต่างๆเป็นส่วนส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลงาน ประกอบด้วย

1. ความคิด ( Mental model )

2. สิ่งแวดล้อม ( Environment )

3. ความมุ่งมั่นใฝ่ดีหรือสัญชาติญาณการใฝ่รู้ ( Creative Attention  or  Instinct )

4. ความซาบซึ้ง ( Appreciation )

5. จินตนาการ ( Imagination )    

                    

หลักเกณฑ์พิจารณางานออกแบบที่ดี

1. ดึงดูดสายตา(Eye Appeal); ด้วยรูปลักษณ์ที่น่าสนใจ

2. ประโยชน์ (Function ); สนองตอบต่อการใช้สอยงานและปลอดภัย

3. โครงสร้าง (Construction); แข็งแรงทนทาน

4. ราคา(Price); เหมาะสมกับคุณภาพ

การย้อนยุคของการเฟื่องฟูคุณค่าผลงานทางศิลปะอันเกิดจากศิลปินหรือช่างฝีมือกับคุณค่าทางโบราณวัตถุที่แสดงถึงความเจริญของยุคสมัยกับข้อจำกัดเรื่องจำนวนและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทำให้ความรู้สึกในคุณค่าของผลงานเริ่มมีมูลค่าน้อยลงขณะที่มนุษย์มีความต้องการด้านความสะดวก  การให้บริการกับคุณค่าทางศิลปะจึงเป็นแนวทางหนึ่งของการประกอบอาชีพนักออกแบบหลากหลายสาขา เช่น นักออกแบบอุตสาหกรรม ( Industrial  designer)  นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ( Product  designer) ซึ่งต้องผลิตเป็นจำนวนมาก ( Mass  product)จำเป็นต้องนำความรู้ทางศิปะมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบ  กระบวนการผลิตและกระบวนการเทคโนโลยีเพื่อให้ทันต่อความต้องการและความเจริญของยุคสมัย

กระบวนการออกแบบ( Design   Process )

1. การวิเคราะห์ (Analysis) ข้อมูลที่มีผลต่อการออกแบบ แยกตามความสัมพันธ์เฉพาะ  P-Spec

2. การสังเคราะห์ (Synthesis) นำผลมาสร้างสรรค์ ด้วยเทคนิควิธีการ   P-Spec

3. การประเมินผล (Evaluation) นำวิธีการแก้ปัญหามาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์และความเหมาะสม

ความสัมพันธ์เฉพาะ (Performance Specification ; P-Spec)

                   1.3. การศึกษา ( Education ) หมายถึงระดับสติปัญญาความรู้ความสามารถ  ความคิดวิเคราะห์สภาพความเหมาะสม

2. ปัจจัยรอง ( Minor of Design  consideration )หมายถึงปัจจัยที่นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคที่สามารถควบคุมได้และเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

2.1. ประโยชน์ ( Benefit of Design ) คุณสมบัติ ลักษณะ การใช้งาน  คุณค่า ความปลอดภัยและเหมาะสม

2.2.เออร์กอนอมิกส์ ( Ergonomics ) หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสรีระศาสตร์กับการใช้ผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม เช่น ความสดวกสบาย  ความปลอดภัย  ประสิทธิภาพและผลกระทบ 

2.3. แอนโทรโปเมตริกซ์  หมายถึงการศึกษาความสัมพันธ์ของร่างกาย สัดส่วน ความคล้องตัวการเคลื่อนไหว เช่น สัดส่วนความแตกต่างของวัย   เพศหญิงเพศชาย  มาตรฐานคนเอเชียกับคนยุโรป

 2.4. รูปทรงและรูปแบบ ( Shape & Form)  รูปลักษณ์ ประหยัด  ความสดวก ของผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอความงาม ( Appreciation ) คุณค่าทางอารมณ์ ความพึงพอใจ การบริการ  คุณภาพและประสิทธิภาพ

2.5. วัสดุ-อุปกรณ์( Material & Equipments )  มีคุณสมบัติสอดคล้องกับกระบวนการผลิตและเครื่องมือ

หลักเกณฑ์ในการออกแบบ ( Principle of Design )

1. กลุ่มเป้าหมาย ( Customer)  คุณลักษณะเฉพาะ  ค่านิยมและความจำเป็นพื้นฐาน

2. ประโยชน์ ( Benefit of Design ) การใช้สอย  คุณภาพ คุ้มค่าและเหมาะสม

3. มาตรฐาน (Standard) ปลอดภัย  ประสิทธิภาพ  ความถูกต้องและผลกระทบ

4.วัสดุ-อุปกรณ์(Materials&Equipments)  มีคุณสมบัติสอดคล้องกับกระบวนการผลิตและเครื่องมือ

5. องค์ประกอบงานออกแบ ( Composition )  รูปทรง ขนาด เส้นแสงสีจังหวะหรือพื้นผิวผลิตภัณฑ์

6. ความงาม (Appearance);  ที่น่าสนใจ ความพึงพอใจ การให้บริการ รูปลักษณ์  สัดส่วน  สีสรร

7. ความก้าวหน้า (Advance) ; ความคิดริเริ่ม (Originality)  ความเรียบง่าย ( Simplicity) ทันสมัย

การพิจารณาตัดสินตามเกณฑ์

                   1. ลักษณะรูปทรง( FORM )  ประกอบด้วยคุณลักษณะ ดังนี้

                                  การจัดองค์ประกอบ( COMPOSITION)

                                  ลักษณะของชิ้นงาน  ( )       

                                  การหลอมรวมความเป็นหนึ่ง (INTEGRATION )

                                  สัดส่วน  ( PROPORTION  )

                   2. ลักษณะพื้นผิว( TEXTURE OR SURFAC )วัสดุ.ลักษณะพื้นผิว  

ธรรมชาติและการสร้างสรรค์ ( Nature & Creative Design )

การสร้างสรรค์ รังสรรค์ผลงานคือการนำความรู้ประสบการณ์มาประยุกต์ใช้กับวัสดุ-อุปกรณ์และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยธรรมชาติ( Nature )และสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ ( Creative design )ขึ้นโดยมีปัจจัยด้านต่างๆเป็นส่วนส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลงาน ประกอบด้วย

1. ความคิด ( Mental model )

2. สิ่งแวดล้อม ( Environment )

3. ความมุ่งมั่นใฝ่ดีหรือสัญชาติญาณการใฝ่รู้ ( Creative Attention  or  Instinct )

4. ความซาบซึ้ง ( Appreciation )

5. จินตนาการ ( Imagination )             

หลักเกณฑ์พิจารณางานออกแบบที่ดี

1. ดึงดูดสายตา(Eye Appeal); ด้วยรูปลักษณ์ที่น่าสนใจ

2. ประโยชน์ (Function ); สนองตอบต่อการใช้สอยงานและปลอดภัย

3. โครงสร้าง (Construction); แข็งแรงทนทาน

4. ราคา(Price); เหมาะสมกับคุณภาพ

การย้อนยุคของการเฟื่องฟูคุณค่าผลงานทางศิลปะอันเกิดจากศิลปินหรือช่างฝีมือกับคุณค่าทางโบราณวัตถุที่แสดงถึงความเจริญของยุคสมัยกับข้อจำกัดเรื่องจำนวนและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทำให้ความรู้สึกในคุณค่าของผลงานเริ่มมีมูลค่าน้อยลงขณะที่มนุษย์มีความต้องการด้านความสะดวก  การให้บริการกับคุณค่าทางศิลปะจึงเป็นแนวทางหนึ่งของการประกอบอาชีพนักออกแบบหลากหลายสาขา เช่น นักออกแบบอุตสาหกรรม ( Industrial  designer)  นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ( Product  designer) ซึ่งต้องผลิตเป็นจำนวนมาก ( Mass  product)จำเป็นต้องนำความรู้ทางศิปะมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบ  กระบวนการผลิตและกระบวนการเทคโนโลยีเพื่อให้ทันต่อความต้องการและความเจริญของยุคสมัย

กระบวนการออกแบบ( Design   Process )

1. การวิเคราะห์ (Analysis) ข้อมูลที่มีผลต่อการออกแบบ แยกตามความสัมพันธ์เฉพาะ  P-Spec

2. การสังเคราะห์ (Synthesis) นำผลมาสร้างสรรค์ ด้วยเทคนิควิธีการ   P-Spec

3. การประเมินผล (Evaluation) นำวิธีการแก้ปัญหามาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์และความเหมาะสม

ความสัมพันธ์เฉพาะ (Performance Specification ; P-Spec)

คำสำคัญ (Tags): #การออกแบบ
หมายเลขบันทึก: 360577เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2010 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท