รูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก


การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

            ข้าพเจ้าในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยการนำของ นายแพทย์สำเริง  แหยงกระโทก หรือที่คนโครวช เรียกว่า หมอแหยง  โดยมีโรงเรียนที่ถ่ายโอนมาสังกัด อบจ.นครราชสีมา  ทั้งหมด  58  โรงเรียน  ซึ่งโคราชถ่ายโอนมากที่สุด ในประเทศไทย  มีทั้งข้อดี  และข้อเสีย  ข้้าพเจ้าจึงต้องศึกษารูปแบบที่ดีและเหมาะสมกับโรงเรียนของข้าเจ้า เพื่อนำมาปรับใช้ จากการศึกษาค้นคว้า พบว่า รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ได้ผล สรุปมาเป็น ๗ รูปแบบ ได้แก่
           
รูปแบบที่ ๑ การจัดการเรียนรู้แบบรวมชั้นเรียน ประกอบด้วยการจัดการเรียนรู้แบบช่วงชั้นและการเรียนรู้แบบคละชั้น โดยวิธีการยุบชั้นเรียน ให้โรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นสามารถจัดการเรียนการสอนได้โดยไม่ทิ้งห้อง เรียน ซึ่งโรงเรียนสามารถปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน

            รูปแบบที่ ๒ การบูรณาการหลักสูตร เป็นการนำความรู้มารวบรวมประมวลไว้ในหน่วยเดียวกัน สำหรับโรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาหลักสูตรให้สอด คล้องกับสภาพปัญหาที่เป็นอยู่รวมทั้งการนำหลักสูตรไปใช้ให้บังเกิดผลตามที่ ต้องการ สำหรับการบูรณาการเนื้อหารายวิชา สามารถดำเนินการได้โดยศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร จากนั้นนำวัตถุประสงค์ตลอดจนเนื้อหาการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มวิชาที่สอดคล้อง กันมาเชื่อมโยง สู่การจัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณา แล้วนำมากำหนดกิจกรรม เพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้ ได้ครั้งเดียวพร้อมกันในแต่ละช่วงชั้น

            รูปแบบที่ ๓ ความร่วมมือจากชุมชน เพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญและเร่งด่วน ในเรื่องการขาดแคลนครู งบประมาณไม่เพียงพอ และขาดสื่อเทคโนโลยี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา องค์กรท้องถิ่น เครือข่ายสถานศึกษา ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งเป็นแรงสนับสนุนให้โรงเรียนขนาดเล็กได้รับการพัฒนาต่อยอดทั้งในด้านการ บริหารจัดการ งบประมาณ ตลอดจนทรัพยากรต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 

            รูปแบบที่ ๔ การใช้ ICT ในการพัฒนาคุณภาพ โดย นำเทคโนโลยีมาใช้อย่างหลากหลาย เช่น รถคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ (Mobile unit) เพื่อให้บริการนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกล การส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยการรับสัญญาณ การสอนทางไกลจากโรงเรียนไกลกังวลหัวหิน
เป็นต้น

            รูปแบบที่ ๕ รูปแบบโรงเรียนเครือข่าย เป็นการร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนหลัก และโรงเรียนเครือข่ายในการวางแผนการจัดการศึกษา ตลอดจนผู้บริหารและครูได้รับ การพัฒนาจนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            รูปแบบที่ ๖ ผสมผสานด้วยวิธีการหลากหลาย โดยผสมผสานรูปแบบ ที่ ๑-๕ ดังกล่าวข้างต้นมาดำเนินงาน นับว่าเป็นรูปแบบที่ทำให้โรงเรียนจำนวนมาก ประสบผลสำเร็จ

            รูปแบบที่ ๗ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นรูปแบบที่มีผู้บริหารใช้ความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการสถานศึกษา มีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความเป็นประชาธิปไตยยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นที่ยอมรับของทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาตลอดจนมุ่งมั่นสร้างเครือข่าย การทำงาน โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

             จากทั้ง 7 รูปแบบ เป็นการบริหารจัดการที่ดีทุกรูปแบบ โรเรียนของ ข้าพเจ้าเลือกใช้รูปแบบที่ 4 คือการใช้  ICT ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ถือว่าเหมาะสมที่สุด เพราะโรงเรียนของข้าเจ้าเป็นโรงเรียนมัธยม  มีครูที่มีความรู้ ในการใช้ ICT โดยพัฒนาปรับปรุงโรงเรียนให้นักเรียนสามารถสืบค้นความรู้ ใน Internet  ซึ่งถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่กว้างที่สุด และปลูกฝังให้นักเรียน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน โดยมีครูเป็นผู้กำกับและให้ข้อเสนอแนะ  ขณะนำกำลังไปได้ดีในระดับหนึ่ง สรุปแล้ว คงไม่มีรูปแบบไหนดีที่สุด เราในฐานะผู้บริหารต้องปรับให้เหมาะสมกับโรงเรียนของเรา

คำสำคัญ (Tags): #โคราช12
หมายเลขบันทึก: 360529เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2010 04:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 12:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท