โครงการฝึกอบรบอาสายุวกาชาดนอกโรงเรียน


งานชิ้นที่  2    เกี่ยวกับงานอบรมยุวกาชาดนอกโรงเรียน
งานนี้เป็นงานชิ้นที่  2     เกี่ยวกับการดำเนินงานอบรมให้แก่นักศึกษา กศน.  ซึ่งเป็นของ  กศน.กทม.2 
กศน. เขตห้วยขวาง  ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรอบรมเหล่ายุวกาชาดนอกโรงเรียน     ซึ่งเป็นการทำงานให้อีกรูปแบบหนึ่ง 
 
โครงการฝึกอบรมอาสายุวกาชาดนอกโรงเรียน(พลังเยาวชนคนรุ่นใหม่หัวใจกาชาด)
เทิดพระเกียรติเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                                                                                ………………………..
1. หลักการและเหตุผล
                                คุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ   ซึ่งสภากาชาดไทยเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการฝึกอบรมปลูกฝังและเผยแพร่ให้เยาวชนมีความรู้     ความเข้าใจและเจตคติที่ดีต่อการกาชาดเกี่ยวกับการส่งเสริมดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองและผู้อื่นการบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบความเดือดร้อน   รักในทางสันติสุข และมีสัมพันธภาพอันดีกับเพื่อนมนุษย์  ให้สอดคล้องกับระบบการศึกษาและแก่นหลักของสภากาชาด   4   ข้อ    คือ     การให้บริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัย      การบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยพิบัติ     การบริการโลหิต  และการส่งเสริมคุณภาพชีวิต      ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ   โดยสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน     ได้มอบหมายให้สถานศึกษาในสังกัดดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งเป็นเยาวชนและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ      ประกอบกับในปีนี้เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา   ครบ 80 พรรษา   ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกรุงเทพมหานคร  2   จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมอาสายุวกาชาดนอกโรงเรียน   (พลังเยาวชนคนรุ่นใหม่หัวใจกาชาด)  เทิดพระเกียรติเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.  วัตถุประสงค์
            1.   เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 80 พรรษา    เพื่อปลูกฝังให้แกนนำนักศึกษาศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเขตในสังกัด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกรุงเทพมหานคร 2      มีความรู้    ความเข้าใจเกี่ยวกับอุดมการณ์การกาชาดและยุวกาชาด 
           2.   เพื่อให้แกนนำนักศึกษา  สามารถดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองและผู้อื่น ตลอดจนการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบความเดือดร้อน      รักในทางสันติสุข และมีสัมพันธภาพอันดีกับเพื่อนมนุษย์    สามารถเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ  ไปยังเครือข่ายทั้งในครอบครัว   สถานศึกษา  และชุมชน ได้อย่างต่อเนื่อง
3.เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
-          แกนนำนักศึกษาศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเขต จำนวน 11 เขต และนักศึกษาทางไกล  รวม  240 คน
เชิงคุณภาพ
-          แกนนำนักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการกาชาด  ยุวกาชาด    สุขอนามัยขั้นพื้นฐาน สามรถดูแลตนเองและช่วยเหลือผู้อื่น  บรรเทาสาธารณภัย  ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ ไปยังเครือข่ายทั้งในครอบครัว  สถานศึกษาและชุมชน
4.  วิธีดำเนินการ
          1.  จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติโครงการฯ 
          2.  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและมอบหมายภารกิจ 
          3.  ประสานวิทยากรและสถานที่ฝึกอบรม
          4.  ดำเนินการฝึกอบรมในรูปแบบการเรียนรู้และฝึกทักษะ
          5.  สรุปและประเมินผลโครงการ ฯ
          6.  จัดทำเอกสารบรรยายสรุปเข้ารูปเล่ม
5.  ระยะเวลาดำเนินการ
         รุ่นที่ 1  ระหว่างวันที่   17 - 20 มกราคม  2551   
         รุ่นที่ 2 - 3 ระหว่างวันที่  31 มกราคม -  3  กุมภาพันธ์  2551
6. สถานที่
         รุ่นที่  1 – 3  ค่ายชัยปิติ   อ.มวกเหล็ก  จ.สระบุรี
7.  งบประมาณ
         หมวดเงินอุดหนุนปีงบประมาณ 2551   ของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเขตทุกเขต และ การศึกษาทางไกล  จำนวน 3 รุ่น  รุ่นที่ 1  ใช้งบประมาณ 92,815  บาท (เก้าหมื่นสองพันแปด-ร้อยสิบห้าบาทถ้วน)รุ่นที่ 2 -3 ใช้งบประมาณ 172,880  บาท (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นสองพันแปดร้อยแปด-สิบบาทถ้วน)  ทั้ง 3 รุ่น รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 265,695 บาท (สองแสนหกหมื่นห้าพันหกร้อยเก้าสิบห้าบาท-ถ้วน) รายละเอียดดังต่อไปนี้  (ถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ)
8.  ผู้รับผิดชอบโครงการ
          กลุ่มงานโครงการพิเศษ   ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกรุงเทพมหานคร  2
9.  เครือข่าย
          1. ค่ายชัยปิติ 
         2. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกรุงเทพมหานคร 3
         3. ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเขตห้วยขวาง
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
         1. จัดโครงการเทิดพระเกียรติด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักศึกษา กศน. 
เนื่องในวโรสกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา
ครบ 80 พรรษา
         2. แกนนำนักศึกษามีความตระหนักในอุดมการณ์การกาชาดและยุวกาชาดและมีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขอนามัยของตนเองและผู้อื่น และช่วยเหลือผู้อื่น ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ ไปยังเครือข่ายทั้งในครอบครัว  สถานศึกษา  และชุมชน
11.  เป้าหมายตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
         ความพอประมาณ  -   ครูและนักศึกษาแกนนำรู้จักดูแลรักษาสุขภาพอนามัยขั้นพื้นฐานของตนเอง ครอบครัวและผู้อื่น
         ความมีเหตุผล      -   ครูและนักศึกษาแกนำมีความตระหนักในอุดมการณ์การกาชาดและยุวกาชาด และสานต่อเจตนารมณ์ตามอุดมการณ์
         มีภูมิคุ้มกันที่ดี      -   ครูและนักศึกษาแกนนำมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ     สุขอนามัยขั้นพื้นฐาน  การบรรเทาสาธารณภัย  การมีสัมพันธภาพที่ดี  และสันติสุข
         เงื่อนไขความรู้      -  ครูและนักศึกษาแกนนำศึกษามีความรู้ ความเข้าใจสามารถอธิบาย   เผยแพร่ความรู้ไปยังเครือข่าย  ได้แก่  ครอบครัว สถานศึกษาและชุมชน
         เงื่อนไขคุณธรรม   -  ครูและนักศึกษาแกนนำ เผยแพร่ความรู้  และสามารถช่วยเหลือสังคม
11.ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
มาตรฐานด้านผู้เรียน/ผู้รับบริการ
มาตรฐานที่ 1          ผู้เรียน/ผู้รับบริการมีความรู้ความสามารถ เจตคติและทักษะตามจุดหมายของหลักสูตร/กิจกรรม
ตัวบ่งชี้                   มีผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร/กิจกรรมของสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 2          ผู้เรียน/ผู้รับบริการมีทักษะในการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้   2.1           มีความสามารถในการแสวงหาความรู้
ตัวบ่งชี้ 2.4             มีทักษะในการสื่อสาร
มาตรฐานที่ 3          ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคม
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1          มีคุณธรรม  จริยธรรม
ตัวบ่งชี้ที่ 3.2          มีจิตสำนึกสาธารณะ
ตัวบ่งชี้ที่ 3.4          มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
มาตรฐานด้านกระบวนการ
มาตรฐานที่ 4          การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน/ผู้รับบริการเป็นสำคัญ
ตัวบ่งชี้ 4.3             มีการจัดการเรียนรู้โดยส่งเสริมกระบวนการคิดเป็น
ตัวบ่งชี้ 4.4             มีการจัดการเรียนรู้โดยส่งเสริมกระบวนการทำงานร่วมกัน
มาตรฐานด้านปัจจัย
มาตรฐานที่ 6          ครูและบุคลากรมีความสามารถในการปฏิบัติงานการศึกษานอกโรงเรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 6.1          ครูและบุคลากรมีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักการจัดการศึกษานอกโรงเรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 6.2          ครูและบุคลากรมีความสามารถในการประสานงานให้เกิดกระบวนการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 6.3          ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้ที่ 6.4          ครูและบุคลากรมีคุณธรรม  จริยธรรม
มาตรฐานที่ 8          สถานศึกษามีหลักสูตร/กิจกรรม สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
ตัวบ่งชี้ที่ 8.1          หลักสูตร กิจกรรมสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการหรือชุมชน
ตัวบ่งชี้ที่ 8.2          สื่อและแหล่งเรียนรู้หลากหลายและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
ตัวบ่งชี้ที่ 8.3          มีการจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน/ผู้รับบริการ
มาตรฐานที่ 9          เครือข่ายร่วมจัดหรือส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษานอกโรงเรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 9.1          เครือข่ายร่วมจัดการศึกษานอกโรงเรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 9.2          เครือข่ายส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษานอกโรงเรียน
 
คณะกรรมการดำเนินการฝึกอบรม
                1.   นายสมชาติ       พรหมศิริ                 ผอ.ศบข.ห้วยขวาง                ผู้อำนวยการฝึก
                2.  นางกัญญา         โมลาศน์                 ครู ค.ศ. 3                     วิทยากร
                3.  นายคำรณ          อุปลา                    พนักงานราชการเขตห้วยขวาง        วิทยากร
                4.  นายกฤษณะ      อ่วมเปี่ยม                 ครู ศรช.ศบข.ห้วยขวาง            วิทยากร
                5.  นายทองพูล       ระวาดชัย                ครู ศรช.ศบข.ห้วยขวาง            วิทยากร
                6.  น.ส.ปิยะธิดา     เกิดปราโมทย์           ครู ศรช.ศบข.ห้วยขวาง            วิทยากร
                7.  น.ส.วริชาภรณ์  อินทร์เฉลิม               ครู ศรช.ศบข.ห้วยขวาง            วิทยากร
                8.  น.ส.วิราวัลย์      ศรีกระทุ่ม               ครู ศรช.ศบข.ห้วยขวาง            วิทยากร
                9.  น.ส.นิตยา    สายสิงห์                    ครู ศรช.ศบข.ห้วยขวาง            วิทยากร
                10.  นายสุทธิพงษ์  ขุมเงิน                   ครู ศรช. ศบข.ห้วยขวาง             วิทยากร
                11.  น.ส.เสาวณี      ศรีโพธิ์                  ครู ศรช.  ศบข.ห้วยขวาง             วิทยากร
                12.  น.ส.มุกดา        โคตรสะขึง            ครู ศรช.  ลาดพร้าว              วิทยากร
                13.  นายจุมพล       รัตนชิต                   ครู ศรช. จตุจักร                  วิทยากร
                14.  นายสุเทพ        โตสุข                    วิทยากรวิชาชีพ               วิทยากร
                15.  นายวีระชัย      แซ่จ๋าว                    ครู ศรช.ศบข.พญาไท                  วิทยากร
                16.  นายอารีย์         ขาวผ่อง                 ครู ศรช. ศบข.สาทร                  วิทยากร
                17.  นางสาวดรุณี   อินทรพันธ์                ครู ศรช. ศบข.ดินแดง                  วิทยากร
                18.  นางสาวพรธีรา        ลำพัน              ครู  ศรช. ศบข.บางรัก                 วิทยากร
                19.  นางสาวพัชรวรรณ  พาลพันธุ์            ครู ศรช. ศบข.บางซื่อ                วิทยากร
                20.  นายชาตรี         สีหาบุตร               ครู ศรช. ศบข.ดุสิต                 วิทยากร
                21.  นางสาวสุดารัตน์     หัดโท             พนักงานราชการ ศบข.พระนคร                 วิทยากร
 
 
การแสดงกิจกรรมรอบกองไฟของยุวกาชาดนอกโรงเรียน
ณ ค่ายชัยปิต  อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
 
 
มอบของขวัญวันเกิดให้แก่ยุวกาชาดที่เกิดในวันที่ทำกิจกรรม
คำสำคัญ (Tags): #ยุวกาชาด
หมายเลขบันทึก: 360458เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2010 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 06:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท