บันทึกครั้งที่ 5 นำเสนองาน


เอกสารประกอบการเรียนวิชาสังคม ป.6

 

 

 

เอกสารประกอบการเรียน 

เรื่อง  พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่  1 

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

สาระที่  4  ประวัติศาสตร์     ชั้นประถมศึกษาปีที่    6

 

 

 

 

โดย 

นายเพชร   โฉมไทยสง

ครูชำนาญการ  โรงเรียนบ้านโนนภิบาลโคกกลาง

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา  เขต 7

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำนำ 

 

                 เอกสารประกอบการเรียน   เรื่องพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ

ของรัชกาลที่ 1  เป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน เรื่องพัฒนาการสมัย

กรุงรัตนโกสินทร์    (รัชกาลที่  1 -  3  )  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม   สาระที่  4  ประวัติศาสตร์   ชั้นประถมศึกษาปีที่  6   ผู้สร้างได้รวบรวมและเรียบเรียงจากเอกสาร  ตำรา  อินเตอร์เน็ท    CD    และประสบการณ์จริง   เพื่อให้นักเรียนได้รู้ถึงสาเหตุของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี  พระราชประวัติและเหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้น และเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและให้นักเรียนได้ศึกษาเพิ่มเติมต่อไป 

  เอกสารประกอบการเรียน เรื่องพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ของรัชกาลที่  1  ประกอบไปด้วย  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  จุดประสงค์การเรียนรู้  แบบทดสอบก่อนเรียน  ใบความรู้  ใบงาน  แบบทดสอบหลังเรียน   เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน  เฉลยใบงาน   

 

นายเพชร   โฉมไทย

ครูชำนาญการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                          สารบัญ  

         เรื่อง                                                                                               หน้า 

 

     คำแนะนำในการใช้เอกสารประกอบการเรียน......................................   1

     ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง.........................................................................   2

     แบบทดสอบก่อนเรียน..........................................................................   3

     พระราชประวัติรัชกาลที่  1  ..................................................................   4

     การก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี    ...........................................   5

     สาเหตุการย้ายราชธานี     .....................................................................   7

     พระราชกรณียกิจที่สำคัญ 

     ด้านการเมืองการปกครอง ....................................................................   8

     ด้านสังคม          ...................................................................................   11

     ด้านการศาสนา    ….............................................................................   12

     ด้านการติดต่อกับต่างประเทศ   ...........................................................   13

     ใบงานที่ 1  เรื่องการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์..................................   16

     ใบงานที่  2  พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่  1        17

      แบบทดสอบหลังเรียน.......................................................................... 18

     แนวคำตอบใบงาน................................................................................  19

     เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน.................. ............................... 21

     บรรณานุกรม .......................................................................................  22

 

 

 

 

 

 

 

 

                   

คำแนะนำในการใช้เอกสารประกอบการเรียน 

เอกสารเล่มนี้  เป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการเรียน  นักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง  ให้นักเรียนอ่านคำแนะนำและปฏิบัติกิจกรรม แต่ละขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ  นักเรียนจะได้รับความรู้อย่างครบถ้วนโดยปฏิบัติ  ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้     

 1.  ศึกษาผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  เพื่อให้ทราบว่า  เมื่อจบบทเรียนแล้ว  นักเรียนสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้าง

2.   ทำแบบทดสอบก่อนเรียน

3.   ศึกษาเนื้อหา 

4.   ทำแบบฝึกใบงาน

5.   ทำแบบทดสอบหลังเรียน

6.   เฉลยแบบทดสอบ

7.  ถ้านักเรียนทำถูกน้อยกว่า  6  ข้อ ให้กลับไปศึกษาใหม่

     และทำการทดสอบใหม่

 

      ถ้านักเรียนและผู้สนใจต้องการเนื้อหาเพิ่มเติมจากเอกสารประกอบ

การเรียนการสอนทั้งหมดสามารถค้นคว้าได้จากบรรณานุกรมที่ให้ไว้ท้ายเล่ม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                  

                                                 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

  1. อธิบายเกี่ยวกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ได้

                 2.  อธิบายพัฒนาการสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 ได้

                 3.  บอกปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาล

                      ที่   1  -  3   เจริญก้าวหน้าและมีปัญหาอุปสรรคได้

 

 

จุดประสงค์การเรียนรู้

 

  1. บอกผู้ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีได้
  2. บอกสาเหตุของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีได้         
  3. บอกพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่  1 ได้

        4.    เห็นความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แบบทดสอบก่อนเรียน

ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

  1. ผู้ที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

   เป็นราชธานีคือพระมหากษัตริย์พระองค์ใด

ก.   พ่อขุนรามคำแหง

       ข.   พระเจ้าอู่ทอง

       ค.   สมเด็จพระเจ้าตากสิน

       ง.   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า

             จุฬาโลกมหาราช   

  1. กรุงรัตนโกสินทร์ได้รับการสถาปนา เป็นราชธานี เมื่อใด

ก.      1   มกราคม    2310                           ข.      6   เมษายน     2325

ค.    26   มิถุนายน    2325                          ง.       5   ธันวาคม    2475

3.   สมัยรัชกาลที่  1  ทำสงครามเก้าทัพกับ

      ประเทศใด

      ก.     พม่า                   ข.      ลาว

      ค.     เขมร                   ง.      เวียดนาม

4.  วัดที่สร้างคู่กับพระบรมมหาราชวังคือวัดใด

      ก.   วัดสุทัศน์เทพวราราม                           

      ข.   วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม

      ค.   วัดพระศรีรัตนศาสดาราม                             

      ง.    วัดอรุณราชวราราม

5.    กฎหมายที่กำหนดขึ้นในสมัยรัชกาลที่  1

      เรียกว่ากฎหมายใด

      ก.   กฎหมายรัฐธรรมนูญ                              

      ข.  กฎหมายอาญา         

      ค.   กฎหมายแพ่งและพานิช                         

      ง.   กฎหมายตราสามดวง    

6.  ข้อใดไม่ใช่สาเหตุการย้ายราชธานี

      ก. กรุงธนบุรีเป็นเมืองอกแตก 

       ข.  กรุงธนบุรีมีสภาพเป็นท้องคุ้ง

      ค.  กรุงธนบุรีป้องกันข้าศึกได้ง่าย

      ง.  กรุงเทพฯสามารถขยายพระราชวังได้

7.  กรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่  1

    ปกครองแบบใด

     ก.  พ่อปกครองลูก

     ข.  แบบคอมมิวนิสต์

     ค.  แบบสมบูรณาญาสิทธิราช 

     ง.   แบบประชาธิปไตย

8.  กรมวัง  ทำหน้าที่อะไร

      ก. ปราบปรามโจรผู้ร้าย

      ข. การเก็บส่วย  อากร 

      ค. เก็บหางข้าวค่านา

      ง. จัดการพระราชพิธีและพิจารณาคดี

9.   ประเทศใดเป็นเมืองประเทศราช  ในสมัยรัชกาลที่  1

     ก.   ลาว                      ข.      พม่า 

     ค.   อังกฤษ                  ง.      ฝรั่งเศส       

10.  ชนชั้นใดไม่มีอิสระในการปกครอง

      ตนเองต้องทำงานตอบแทนให้นายเงิน

      ก.  ไพร่

      ข.   ทาส

       ค.  พระบรมวงศานุวงศ์

       ง.   พระมหากษัตริย์ 

 

 

 

  

 

 

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

 

 

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์

     พระราชประวัติรัชกาลที่  1

                  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  เสด็จพระราชสมภพ

      วันที่  20  มีนาคม พ.ศ. 2279   ตรงกับ วันพุธแรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง  ได้รับราชการ

      ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี   เป็น พระยาราชนรินทร์

     ในกรมพระตำรวจ เจ้าพระยาจักรี และสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก  สมุหนายก และ

      แม่ทัพใหญ่  ในสมัยกรุงธนบุรี  

                  ทรงปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม  

      เมื่อวันที่  6  เมษายน พ.ศ. 2325   ทรงย้าย เมืองหลวง จากกรุงธนบุรี มาเป็น

      กรุงเทพมหานครครองราชย์ ตั้งแต่  พ.ศ. 2325   -  2352     รวม    27   พรรษา

 

 

 

 

 

 


การก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี

            เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว  ได้ทรงรวบรวมชาวไทยและปราบชุมนุมต่าง ๆ  เพื่อให้บ้านเมืองเป็นปรึกแผ่น  นอกจากนี้ยังได้ทำสงครามกับเขมรและลาวเพื่อขยายอาณาเขต  ในตอนปลายรัชกาลขณะที่สมเด็จเจ้าพระยา

มหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ได้ยกทัพไปทำสงครามกับเขมรนั้น  ในกรุงธนบุรี

พระยาสรรค์ได้ก่อกบฏตั้งตัวเป็นใหญ่  สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงทราบข่าว

การก่อกบฏก็เสด็จยกกองทัพกลับกรุงธนบุรี  เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินสวรรคต  ข้าราชการ

ทั้งปวงก็อัญเชิญให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระมหากษัตริย์  เมื่อวันที่  6  เดือนเมษายน  พ.ศ.  2325    ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จ

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  นับเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี   แล้วก็โปรดให้

จัดการย้ายราชธานี  มาตั้งใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา 

    

 

 

ที่มา : ประวัติศาสตร์ไทย   ชั้น  ป.6    พรภิรมณ์    เชียงกูล  และคณะ

 

 

 

 

 

 

สาเหตุการย้ายราชธานี 

            เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ขึ้นเสวยราชสมบัติแล้วก็โปรดให้จัดการย้ายราชธานี  มาตั้งใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  เพราะสาเหตุ

หลายประการดังนี้

1)      ถ้าตั้งพระนครอยู่ทางฝั่งตะวันออกฝั่งเดียว  จะสามารถป้องกันข้าศึกได้ง่าย  เพราะกรุงธนบุรีมีลักษณะเป็นเมืองที่มีแม่น้ำไหลผ่าน ทำให้เมืองแยกเป็น  2  ส่วน  ซึ่งเรียกกันว่า  เมืองอกแตก  จึงยากต่อการป้องกันข้าศึก

2)      กรุงธนบุรีมีสภาพเป็นท้องคุ้งน้ำเซาะตลิ่งทรุดพังอยู่เสมอ  อาจเป็นอันตรายต่อพระราชฐานของพระนครได้

3)      กรุงธนบุรีตั้งอยู่ระหว่างวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)  กับวัดโมฬีโลก (วัดท้ายตลาด)  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขยายเขตพระราชฐาน

4)      ภูมิประเทศทางฝั่งตะวันออกดีกว่าทางฝั่งตะวันตกและหากจะขยายพระราชวังและ

เขตพระนคร ออกไปอีกก็ทำได้สะดวก

   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ได้โปรดให้สร้างพระมหานครและ

พระบรมมหาราชวังที่บริเวณพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปัจจุบัน

               ในการสร้างพระนครแห่งใหม่นี้ใช้เวลานาน  3  ปี เสร็จแล้ว โปรดให้มี พระราชพิธี สมโภชอย่างมโหฬาร  รวม  3  วัน  และขนานนามพระนครแห่งใหม่ว่า กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานี บุรีรมย์ อุดมราชนิเวศ มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์ ( สมัยรัชกาลที่ 4 เปลี่ยน กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ เป็นกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ฯ )

                 แผนผัง  กรุงรัตนโกสินทร์  สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ที่มา : ประวัติศาสตร์ไทยชั้นประถมศึกษาปีที่  6  พลับพลึง  คงชนะและคณะ

 

 

ด้านการเมืองการปกครอง

             การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช  (พระมหากษัตริย์  มีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว)

         1  การฟื้นฟูด้านการปกครอง

         การจัดรูปแบบการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น  (รัชกาลที่ 1 – 3)  ได้จัดรูปแบบ

การปกครองออกเป็น  2  ส่วน  คือ  การปกครองราชธานี  และการปกครองหัวเมืองและ

ประเทศราช  ซึ่งการปกครองแต่ละส่วนมีลักษณะการปกครอง  ดังนี้

            1.1  การปกครองราชธานี   ประกอบด้วย

(1)   สมุหนายก  (เสนาบดีกรมมหาดไทย) เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือนมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ

(2)   สมุหกลาโหม  (เสนาบดีกรมพระกลาโหม) เป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร  อำนาจหน้าที่บังคับบัญชาดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้  นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์ 

      ทำหน้าที่บริหารอีก  4  ตำแหน่งด้วยกันคือ

                    - เสนาบดีกรมเมือง  (เวียง)  มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแล  และรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและปราบปรามโจรผู้ร้าย

                    - เสนาบดีกรมวัง  (วัง)  มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการในราชสำนัก  จัดการ

พระราชพิธีทั่วไปและพิจารณาคดีที่พระมหากษัตริย์จะต้องวินิจฉัยด้วย  จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ธรรมาธิกรณ์  หมายถึง  ผู้ให้ความเป็นธรรม

                   -  เสนาบดีกรมคลัง  (คลัง)  มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดินทั่วไป

อันได้แก่  การเก็บส่วย  อากร  การเบิกจ่ายเงินราชการ  รักษาพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 

และยังมีหน้าที่บังคับบัญชาการค้าขายที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศด้วย  จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  กรมท่า

                   -  เสนาบดีกรมนา  (นา)  มีหน้าที่จัดการดูแลรักษานาหลวง  เก็บหางข้าวค่านา

จากราษฎรเข้าฉางหลวง  เพื่อเป็นเสบียงในยามสงคราม  หรือยามข้าวยากหมากแพง

 

 

 

 

 

 

 

 

          1.2    การปกครองหัวเมืองและประเทศราช  แบ่งหัวเมืองออกเป็น  3  ประเภท

                (1) หัวเมืองชั้นใน  คือ  บรรดาเมืองเล็ก ๆ  ที่อยู่รายรอบราชธานี  เรียกว่า  เมืองจัตวา  มีผู้รั้งกับกรมการเมืองร่วมกันปกครอง

                (2) หัวเมืองชั้นนอก  คือ  หัวเมืองที่ห่างไกลจากราชธานีออกไป  จัดเป็นเมือง

พระยามหานคร  เป็นหัวเมืองชั้นเอก  โท  ตรี  ตามลำดับความสำคัญและความอุดมสมบูรณ์  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ออกไปปกครอง

                (3) หัวเมืองประเทศราช  เป็นเมืองของคนต่างชาติที่เป็นเมืองขึ้นของไทย 

กำหนดให้เจ้านายของเมืองนั้นปกครองกันเอง  แต่จะต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและ

เครื่องราชบรรณการมาถวายกษัตริย์ไทยทุก  3  ปี

               

 

 

 

 

ที่มา : ประวัติศาสตร์ไทย   ชั้น  ป.6  /  พรภิรมณ์    เชียงกูล  และคณะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.3  ด้านกฎหมาย

 

                       พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ได้โปรดให้มีการรวบรวมและ

ชำระพระราชกำหนดกฎหมายที่ถูกเผาและสูญหายในสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเสียใหม่

เพื่อใช้บังคับให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อยขึ้น  เรียกว่า  กฎหมายตราสามดวง

 

 

                      

                               ตราราชสีห์                               ตราคชสีห์           

                                     

 

                                                 

                                                                           ตราบัวแก้ว                                                

                                               ที่มา:สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่ม 18  หน้า 110

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้านเศรษฐกิจ

 

         เศรษฐกิจเป็นแบบดั้งเดิมของไทย  ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

         ผลประโยชน์ของประเทศที่ได้รับในขณะนั้นได้จากภาษีอากร  เช่น อากรสุรา

อากรบ่อนเบี้ย   ภาษีค่าน้ำ  เก็บตามเครื่องมือ

            การเก็บภาษีอากรภายในประเทศแบ่งเป็น  4  ประเภทได้แก่

1.จังกอบ  คือภาษีที่เก็บจากสินค้าของราษฎร  อัตรา  10  หยิบ  1  เป็นค่าผ่านด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำ

2. อากร  คือ  ภาษีที่เรียกเก็บเป็นเงินหรือสิ่งของจากการประกอบอาชีพต่างๆ

3. ฤชา  คือ  เงินค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากราษฎรเป็นค่าบริการที่รัฐจัดทำให้  เช่น  การออกโฉนดหรือเงินปรับไหม

4. ส่วยหรือเงินข้าราชการ  คือ  เงินทดแทนการเข้าเวรรับราชการของไพร่

        นอกจากนี้ยังมีการค้าขายกับต่างประเทศโดยการค้าสำเภา  อันเนื่องมาแต่สมัย

กรุงธนบุรี โดยค้าขายกับประเทศจีน  อินเดีย   มลายู   สิงคโปร์  และมาเก๊า เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้านสังคม  ศาสนา  และวัฒนธรรม

    ด้านสภาพสังคม   

             ด้านสภาพสังคม   สภาพสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะคล้ายกับ

สมัยอยุธยา  โดยมีการแบ่งประชาชนออกเป็น  2  กลุ่มใหญ่ ๆ  คือ  ชนชั้นปกครอง  ได้แก่  พระมหากษัตริย์  พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง  ชนชั้นใต้ปกครอง  ได้แก่  ไพร่ คือ สามัญชนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นทาสและเจ้านาย  และทาสคือผู้ที่ขายตัวตกเป็นทาสของนายเงินไม่มีอิสระ

ในการปกครองตนเองต้องทำงานตอบแทนให้นายเงินที่ตนสังกัดอยู่

            การตั้งบ้านเรือนมักจะเป็นชุมชนขนาดเล็กตามริมแม่น้ำลำคลอง  เพราะต้องอาศัยน้ำ

จากแม่น้ำลำคลองสำหรับดื่มใช้และทำไร่ทำนาและการคมนาคมขนส่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้านศาสนา

                        1. การสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม

                        2. การจัดระเบียบสังฆมณฑล
                        3. การสังคายนาพระไตรปิฎก
                        4. การรวบรวมพระพุทธรูปโบราณ
                        5. การตรากฎหมายพระสงฆ์

            การสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม
                    เมื่อมีการสร้างพระนครขึ้นใหม่ รัชกาลที่ 1 ได้มีการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

          ให้อยู่ในเขตพระราชฐานเป็นพุทธาวาส  เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต  สร้างวัด

          มหาสุทธาราม ( วัดสุทัศน์เทพวราราม ) เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน พระศรีศากยมุนี  นอกจาก

         วัดที่สร้างแล้วยังบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอื่น ๆ อีกมาก เช่น วัดโพธาราม ได้รื้อของเดิม

         ทั้งหมดแล้วสร้างขึ้นใหม่  ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์)

        วัดนี้ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1  วัดสระเกศวรวิหาร ( วัดสระแก ) วัดระฆังโฆสิตาราม

 

 

 

 

 

 

 

ด้านการติดต่อกับต่างประเทศ

            การติดต่อกับต่างประเทศของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  มีการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง  เช่น  พม่า  ลาว  กัมพูชา  และเวียดนาม  นอกจากนี้ยังมีการติดต่อค้าขายกับประเทศตะวันตกอีกหลายประเทศ  เช่น  โปรตุเกส  อังกฤษ  และสหรัฐอเมริกา

           ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

            พม่า  ไทยกับพม่ามีการทำสงครามตลอดระยะเวลา  27  ปี  สมัยรัชกาลที่ 1  ไทยทำสงครามกับพม่าถึง  7  ครั้ง  ศึกครั้งสำคัญที่สุด  คือ  สงครามเก้าทัพ  พระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพเข้ามาตีไทยเมื่อ  พ.ศ. 2328  โดยจัดทัพใหญ่เก้าทัพ   ไทยจึงสามารถป้องกันพระนครไว้ได้ 

            ลาว  หลังจากสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแล้ว   ความสัมพันธ์ระหว่าง

ไทยกับลาวก็ดำเนินไปตามปกติในฐานะประเทศราช

 

 

 

ภาพการทำสงคราม  9  ทัพ

 

ที่มา : หนังสือชุด   9  รัชกาลจักรีวงศ์  / บุษบง  โควินท์

 

 

 

 

 

 

 

 

            เวียดนาม  องค์เชียงสือ  เข้าพึ่งโพธิสมภาร  รัชกาลที่  1

 

ที่มา : หนังสือชุด  9  รัชกาลจักรีวงศ์  / บุษบง  โควินท์

 

            เขมร  ในสมัยธนบุรี  เขมรหรือปัจจุบันเรียกว่ากัมพูชาตกเป็นเมืองขึ้นของไทยจนมาถึงรัชกาลที่  1   พระอุทัยราชา  กษัตริย์กัมพูชาองค์นี้ไปฝักใฝ่ฝ่ายญวน  พระบาทสมเด็จ

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงได้ยกทัพไปตีกัมพูชาได้ชัยชนะ  พระอุทัยราชาสวรรคตในระหว่างสงคราม

         เวียดนาม    องเชียงสือ  ได้เข้ามาพึ่งโพธิสมภารรัชกาลที่ 1  และจงรักภักดีต่อประเทศไทยด้วยดีตลอดมา  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดให้การช่วยเหลือ 

จนสามารถรวบรวมกำลังญวนทั้งหมดกอบกู้ราชบัลลังก์จากการกบฏมาได้   และส่งเครื่อง

ราชบรรณาการ  มาถวายรวม  6 ครั้ง  แสดงว่าญวนยอมเป็นประเทศราชของไทย  ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3  ความเป็นไมตรีระหว่างไทยกับญวนก็เปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี  ทั้งกัมพูชาและลาว ต่างก็ยึดญวนเป็นที่พึ่งแทนการพึ่งประเทศไทย

 

 

 

 

 

 

 

 

สหรัฐอเมริกา



 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                       ใบงานที่   1   เรื่องการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม   สาระที่  4 ประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่   6

จุดประสงค์  1. บอกผู้ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีได้

                     2.  บอกสาเหตุของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีได้             

 

 

                                                   ชื่อกลุ่ม...................................................

         ชื่อสมาชิก   1. ………………………………………   2. ………………………………………..

                            3. ………………………………………   4. ………………………………………..

                             5. ……………………………………….

 

คำชี้แจง         ให้นักเรียน สืบค้นข้อมูลจากเอกสารประกอบการเรียนเล่มที่   3 เรื่องพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ รัชกาลที่1 แล้วตอบคำถาม

 

 

  1.  ผู้ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีคือ  ……………………………………………………
  2. กรุงรัตนโกสินทร์ก่อตั้งเมื่อ  วันที่ ……  เดือน …………………….  พ.ศ.  ……………..
  3. สาเหตุที่ย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรี มาสู่กรุงรัตนโกสินทร์เพราะ

            3.1     ……………………………………………………………………………………….

       3.2     ……………………………………………………………………………………….

       3.3     ……………………………………………………………………………………….

       3.4     ………………………………………………………………………………………

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                 

 

                    ใบงานที่   2  

คำสำคัญ (Tags): #เมืองพล4
หมายเลขบันทึก: 360420เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2010 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เก่งมากๆๆๆ

เป็นแบบอย่างการทำงานที่ดีมากค่ะ

ขอขอบคุณเนื้อหาที่คุณกระทำขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท