บันทึกครั้งที่ 4


ความคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

ขออภัยเนื่องการลงข้อมูลในการบันทึกตรั้งที่ 3ไม่สมบูรณ์ ถ้าว่างจนำมาลงเพิ่ม   บ้านเมืองวุ่นวายเพราะขาดการหยั้งคิด อ่านสักนิดเพื่อจะคิดทำในสิ่งที่ดีให้บ้านเมือง

ความคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
                   คือ ความคิดที่แปลกแตกต่าง เป็นสิ่งใหม่และเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติ
การก่อรูปความคิดสร้างสรรค์
         1 สะสม คือ การสั่งสมความรู้ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ
         2. บ่มเพาะ คือ ครุ่นคิดถึงสิ่งต่างๆ ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ
         3. สุกงอม คือ ปล่อยความคิด
       4. จุดประกาย คือ เกิดความคิดใหม่
       5. เกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผิดแปลกแตกต่างจากเดิม เกิดความคิดสิ่งใหม่ขึ้นมา
       6. ตกผลัก คือ การเข้าใจในสิ่งนั้นอย่างกระจ่างชัด
      7. ขับเคลื่อน คือ นำความคิดนั้นไปสู่รูปธรรม
      8. สู่นวัตกรรม คือ เกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นมา

เทคนิคการฝึกความคิดสร้างสรรค์
            1. ใช้ความคิดตลอดเวลา โดยตั้งคำถามและหาเหตุผลในคำตอบ
            2. ฝึกการคิดอย่างรอบด้าน ไม่ยึดติดแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งเพียงด้านเดียว
            3. สลัดความคิดครอบงำ โดยไม่จำกัดกรอบความคิดของตนเองไว้กับความ
เคยชินเก่า ๆ
          4. จัดระบบความคิด โดยหาเหตุผลจัดระบบความคิดการเปรียบเทียบ การมองหลายมิติ หรือค้นหาความจริง
         5. ยึดมั่นในหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ ฟัง คิด ถาม เขียน ซึ่งอาจใช้การระดมสมองเป็นตัวกระตุ้น
         6. ฝึกความเป็นคนช่างสังเกตจดจำ เป็นการสั่งสมประสบการณ์และกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่
        7. ฝึกการระดมพลังสมอง เป็นการรวบรวมความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล หลายๆ ฝ่าย
        8. พยายามสร้างโอกาสแห่งความบังเอิญ คือ บางสิ่งไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเลย อาจจะเป็นคำตอบต่อปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นได้
       9. ไม่กลัวความล้มเหลวหรือการเสียหน้า เพราะการเสนอความคิดเห็นไม่มีถูก หรือผิด
     10. ไม่ย้ำรอยอยู่แต่ความสำเร็จเดิม เช่น การกระทำทุกอย่างเมื่อเห็นว่าดี ประสบความสำเร็จแล้ว ต่อไปควรจะพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมด้วยวิธีการใหม่

เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
            1. ทฤษฎีกระดาษเปล่า (Blank paper theory) หมายถึงการไม่ตีกรอบความคิดผู้อื่น ไม่คิดถึงปัญหา อุปสรรค ขีดจำกัดหรือ ความเป็นไปไม่ได้ 

ไม่ได้
            2. การรวมและการแยก (Integrate & Separate) คือ การรวมกันจะเกิดอะไรขึ้น ดีขึ้นไหม หรือทำอย่างไรให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าหากแยกกันจะเกิดอะไรขึ้น มีประโยชน์มากน้อยแค่ไหนและทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร
             3. การตั้งคำถาม (Inquiry)
- ถามเหตุผล ว่าทำไม
- ถามสมมุติ ถ้าเป็นอย่างนี้และจำทำอย่างไร
- ถามเปรียบเทียบเชิงพัฒนา เช่น
- อะไรที่คนอื่นทำแล้วแต่เรายังไม่ได้ทำ
- เราทำได้ไหมและจะต้องรีบทำอะไร
- อะไรที่เราทำแล้วแต่คนอื่นทำดีกว่า
- ถามต่อเนื่อง เช่น ทำอะไร ทำได้ไหม ทำอย่างไร จะต้องเปลี่ยนแปลงอะไร
              4. การเลียนแบบ (Synetics) คือ การทำให้แตกต่าง ก้าวหน้า ดีกว่าเดิมแล้วกระโดดไปสู่สิ่งใหม่
             5. การเพิ่มมูลคำ (Value Added) เช่น ปรับแต่งให้ดีขึ้นกว่าของเดิม แปรรูปจากของเดิมเป็นสิ่งใหม่นำของเก่ากลับมาใช้ใหม่ โดยทำให้เสียน้อยที่สุดและมีการประกันความเชื่อมั่นใน สิ่งนั้น ความคิดสร้างสรรค์(Creative thinking)

 

            ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดของสมองซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้อง จนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่ นอกจากลักษณะการคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวนี้แล้ว ยังมีสามารถมองความคิดสร้างสรรค์ในหลาย ซึ่งอาจจะมองในแง่ที่เป็นกระบวนการคิดมากกว่าเนื้อหาการคิด โดยที่สามารถใช้ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในมิติที่กว้างขึ้น เช่นการมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน การเรียน หรือกิจกรรมที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ด้วย อย่างเช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์  หรือการเล่นกีฬาที่ต้องสร้างสรรค์รูปแบบเกมให้หลากหลายไม่ซ้ำแบบเดิม เพื่อไม่ให้คู่ต่อสู่รู้ทัน เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในเชิงวิชาการ แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ที่กล่าวนั้นต่างก็อยู่บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ โดยที่บุคคลสามารถเชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี

        ในการสอนของอาจารย์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์   ควรจัดการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการที่เหมาะสม ดังนี้

1.  การสอน (Paradox) หมายถึง การสอนเกี่ยวกับการคิดเห็นในลักษณะความคิดเห็นที่ขัดแย้งในตัวมันเอง ความคิดเห็นซึ่งค้านกับสามัญสำนึก ความจริงที่สามารถเชื่อถือหรืออธิบายได้ ความเห็นหรือความเชื่อที่ฝังใจมานาน ซึ่งการคิดในลักษณะดังกล่าว นอกจากจะเป็นวิธีการฝึกประเมินค่าระหว่างข้อมูลที่แท้จริงแล้ว ยังช่วยให้คิดในสิ่งที่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิมที่เคยมี เป็นการฝึกมองในรูปแบบเดิมให้แตกต่างออกไป และเป็นส่งเสริมความคิดเห็นไม่ให้คล้อยตามกัน (Non – Conformity) โดยปราศจากเหตุผล ดังนั้นในการสอนอาจารย์จึงควรกำหนดให้นักศึกษารวบรวมข้อคิดเห็นหรือคำถาม แล้วให้นักศึกษาแสดงทักษะด้วยการอภิปรายโต้วาที หรือแสดงความคิดเห็นในกลุ่มย่อยก็ได้

2.  การพิจารณาลักษณะ (Attribute) หมายถึง การสอนให้นักศึกษา คิดพิจารณาลักษณะต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ ทั้งของมนุษย์ สัตว์ สิ่งของ ในลักษณะที่แปลกแตกต่างไปกว่าที่เคยคิด รวมทั้งในลักษณะที่คาดไม่ถึง

3. การเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย (Analogies) หมายถึง การเปรียบเทียบสิ่งของหรือสถานการณ์การณ์ที่คล้ายคลึงกัน แตกต่างกันหรือตรงกันข้ามกัน อาจเป็นคำเปรียบเทียบ คำพังเพย สุภาษิต

4. การบอกสิ่งที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง (Discrepancies) หมายถึง การแสดงความคิดเห็น บ่งชี้ถึงสิ่งที่คลาดเคลื่อนจากความจริง ผิดปกติไปจากธรรมดาทั่วไป หรือสิ่งที่ยังไม่สมบูรณ์

5. การใช้คำถามยั่วยุและกระตุ้นให้ตอบ (Provocative Question) หมายถึงการตั้งคำถามแบบปลายเปิดและใช้คำถามที่ยั่วยุ เร้าความรู้สึกให้ชวนคิดค้นคว้า เพื่อความหมายที่ลึกซึ้งสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

6.  การเปลี่ยนแปลง (Example of change) หมายถึง การฝึกให้คิดถึงการเปลี่ยนแปลง

ดัดแปลงการปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ที่คงสภาพมาเป็นเวลานานให้เป็นไปในรูปอื่น และเปิดโอกาสให้เปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างอิสระ

7.  การเปลี่ยนแปลงความเชื่อ (Exchange of habit) หมายถึง การฝึกให้นักศึกษาเป็นคนมีความยืดหยุ่น ยอมรับความเปลี่ยนแปลง คลายความยึดมั่นต่าง ๆ เพื่อปรับตนเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ได้ดี

8. การสร้างสิ่งใหม่จากโครงสร้างเดิม (An organized random search) หมายถึง การฝึกให้นักศึกษารู้จักสร้างสิ่งใหม่ กฎเกณฑ์ใหม่ ความคิดใหม่ โดยอาศัยโครงสร้างเดิมหรือกฎเกณฑ์เดิมที่เคยมี แต่พยายามคิดพลิกแพลงให้ต่างไปจากเดิม

9.   ทักษะการค้นคว้าหาข้อมูล (The skill of search) หมายถึง การฝึกเพื่อให้นักศึกษารู้จักหาข้อมูล

10.   การค้นหาคำตอบคำถามที่กำกวมไม่ชัดเจน (Tolerance for ambiguity) เป็นการฝึกให้นักศึกษามีความอดทนและพยายามที่จะค้นคว้าหาคำตอบต่อปัญหาที่กำกวม สามารถตีความได้เป็นสองนัย ลึกลับ รวมทั้งท้าทายความคิด

11.  การแสดงออกจากการหยั่งรู้ (invite expression) เป็นการฝึกให้รู้จักการแสดงความรู้สึก และความคิด ที่เกิดจากสิ่งที่เร้าอวัยวะรับสัมผัสทั้งห้า

12.  การพัฒนาตน (adjustment for development) หมายถึง การฝึกให้รู้จักพิจารณาศึกษาดูความ ล้มเหลว ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ แล้วหาประโยชน์จากความผิดพลาดนั้นหรือข้อบกพร่องของตนเองและผู้อื่น ทั้งนี้ใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียนนำไปสู่ความ-สำเร็จ

13.  ลักษณะบุคคลและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ (creative person and creative) หมายถึง การศึกษาประวัติบุคคลสำคัญทั้งในแง่ลักษณะพฤติกรรมและกระบวนการคิดตลอดจนวิธีการ และประสบการณ์ของบุคคลนั้น

            14.  การประเมินสถานการณ์ (a creative reading skill) หมายถึง การฝึกให้หาคำตอบโดยคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นและความหมายเกี่ยวเนื่องกัน ด้วยการตั้งคำถามว่าถ้าสิ่งเกิดขึ้นแล้วจะเกิดผลอย่างไร

            15.  พัฒนาทักษะการอ่านอย่างสร้างสรรค์ (a creative reading skill) หมายถึง การฝึกให้รู้จักคิดแสดงความคิดเห็น ควรส่งเสริมและให้โอกาสเด็กได้แสดงความคิดเห็นและความรู้สึกต่อเรื่องที่อ่านมากกว่าจะมุ่งทบทวนข้อต่างๆ ที่จำได้หรือเข้าใจ

16.   การพัฒนาการฟังอย่างสร้างสรรค์  (a creative listening skill )  หมายถึง  การฝึกให้

เกิดความรู้สึกนึกคิดในขณะที่ฟัง อาจเป็นการฟังบทความ เรื่องราวหรือดนตรี เพื่อเป็นการศึกษาข้อมูล ความรู้ ซึ่งโยงไปหาสิ่งอื่น ๆ ต่อไป

17.   พัฒนาการเขียนอย่างสร้างสรรค์ ( a creative writing skill ) หมายถึง การฝึกให้

แสดงความคิด ความรู้สึก การจินตนาการผ่านการเขียนบรรยายหรือพรรณนาให้เห็นภาพชัดเจน

            18.  ทักษะการมองภาพในมิติต่างๆ (Visualization skill) หมายถึง การฝึกให้แสดงความรู้สึกนึกคิดจากภาพในแง่มุม แปลกใหม่ ไม่ซ้ำเดิม

 

อาจารย์สุพัตรา ทาวงศ์

                                                                                                ศูนย์ให้คำปรึกษา

                                                                                                กลุ่มงานพัฒนานักศึกษา

 

ความคิดสร้างสรรค์  (Creative  Thinking ) 

อาจนิยมได้หลายลักษณะด้วยกันคือเป็นการค้นคิดสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ๆ จากการศึกษาทดลอง  ทำให้จินตนาการเป็นจริงขึ้น  เป็นความคิดอเนกนัย ซึ่งเป็นความคิดที่กว้างไกลสลับสับซ้อน มีหลายแง่มุม  หลายรูปแบบ  ความคิดในลักษณะนี้จะนำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่  หรืแก้ไขปัญหายากๆได้สำเร็จเป็นจินตนาการหรือความฝัน  ซึ่งมีความสำคัญกว่าความรู้  และเป็นบ่อเกิดของการแสวงหาความรู้มาพิสูจน์  จินตนาการ หรือทำจินตนาการให้เป็นจริงเป็นความรู้สึกที่ไว เข้าใจอะไรได้เร็วแม้จะเป็นเรื่องยากและซับซ้อน  มีปฏิกิริยาหรืออารมณ์ร่วมกับเรื่องนั้นๆ 

 

 

บทบาทและความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์

                มนุษย์เราโชคดีที่ธรรมชาติสร้างให้มีพลังความคิดสามารถ  ๔ ประการคือ ความสามารถในการรับความรู้   (adsorbknowledge) ความสามารถในการจดจำและระลึกถึงความรู้เหล่านั้นได้  (memorize  and  recall knowledge)    ความสามารถในการให้เหตุผล  (to create ) 

ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์

                จากการรวบร่วมผลการศึกษาของนักจิตวิทยา  ซึ่งค้นคว้าเรื่องความคิดสร้างสรรค์  เช่น  มาสโลว์  (maslow)  สตาร์คเวธเซอร์  (Starkweather)  และครอพลีย์  (Corpley)   พอสรุปลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้ดังนี้คือ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นตัวของตัวเองผู้ที่มีความคิดริเริ่มจะไม่ยอมคล้อยตามความคิดเห็นของผู้อื่นๆ  ได้ง่ายๆ และจะมีความมานะบากบั่นอย่างยิ่ง

 

 

ในการเรียนให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์  ครูจะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์เสียก่อน  ต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา ฝึกคิดฝึกจินตนาการกล้าคิดค้นวิธีสอนใหม่ ๆ  ที่น่าสนใจ  และพัฒนาวิธีการ ทำงานของตนเองให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเด็กและความก้าวหน้าทางวิชาการด้วย  ครูควรมีความรู้ในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ซึ่งสามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนและต่อสังคมได้  ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดใหม่  ได้ศึกษาหาความรู้  สำรวจ  และทดลองในสิ่งที่เขาสนใจ  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งความรู้ต่าง ๆ และให้ความรัก  เอาใจใส่นักเรียนอย่างทั่งถึงและ    การสร้างความคิดสร้างสรรค์ในนักเรียน  และ  ครูจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงไรย่อมขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน   ผู้บริหารระดับการศึกษาสูงด้วย  ผู้บริหารที่สังคมต้องการ  จะต้องเป็นผู้ที่สามารถริเริ่มสิ่งใหม่ๆ  ที่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและเพื่อความสำเร็จของตนเอง  เพื่อผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานจะได้ปฏิบัติตามและเกิดความกระตือรือร้นที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ  บ้าง

ส่วนหลักการส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา

ผู้มีเอตทัคคะในเรื่องความคิดสร้างสรรค์  เช่น  แมคเคนซีย์ และคอรีย์  (Mackenzie  and  Corey)  ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้บริหารไว้ดังนี้  คือ

๑.ผู้บริหารไม่ควรยึดมั่นกับวิธีการบริหารอย่างใดอย่างหนึ่งตลอดไปในชีวิตการบริหาร

๒.พยายามค้นหาแนวทางปฏิบัติที่ดีกว่าและที่ใหม่กว่าเสมอ  โดยไม่ผูกพันอยู่กับความจำเจ

๓.รู้จักฟัง อ่าน และวิสาสะกับผู้บริหารคนอื่นๆในระดับเดียวกันหรือสูงกว่า  เรียนรู้การค้นพบ  การทดลองสิ่งแปลกๆ  ใหม่ ๆ  ที่ให้ประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหาร

๔. หมั่นตรวจสอบประสบการณ์ และการฝึกอบรมของตนเอง  เพื่อหาจุดอ่อนและพยายามชดเชยจุดอ่อนนั้นด้วยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างจริงจัง

๕. พยายามวิเคราะห์พฤติกรรมการบริหารของตนเสมอ  การวิเคราะห์พฤติกรรมของตนจะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของตนได้ดีขึ้น

๖. วิเคราะห์เหตุแห่งพฤติกรรม  หรือเหตุแห่งการตัดสินใจเพื่อการแก้ไขพฤติกรรมการบริหารงานให้สร้างสรรค์ยิ่งขึ้น

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์

ความคิด

ความคิดมีหลายแบบ

1.คิดแบบมองการณ์ไกล

2.คิดแบบเป็นระบบ

3.คิดแบบเป็นเหตุเป็นผล

4.คิดแบบนอกกรอบ

 5.คิดแบบทวนกระแส

 

คำสำคัญ (Tags): #เมืองพล4
หมายเลขบันทึก: 360180เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2010 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท