แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีม PCT ครั้งที่ 2


เน้นการให้บริการแบบองค์รวม โดยเฉพาะด้านจิตใจโดยพยายามผนวกในทุกขั้นตอนบริการในทุกหน่วยงาน

       หลังจากห่างหายไปพอควรในการนำเสนอข้อมูลการพัฒนาคุณภาพ...รอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทีมคุณภาพ รอบ 2 ผ่านไปแล้ว แต่งวดนี้ขอนำเสนอของทีม PCT รอบแทรก 3 ก่อนนะ หลังจากโรงพยาบาลได้รับการประเมิน Overall แล้ว ทีมได้นำมาแลกเปลี่ยนในประเด็นที่ควรจะดู....

การนำเสนอความก้าวหน้าการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบางปะหัน

 1.แนวคิดในการพัฒนาคุณภาพการบริการเพื่อตอบสนองผู้รับบริการดังนี้

-  การให้บริการเน้นการให้บริการแบบองค์รวม โดยเฉพาะด้านจิตใจโดยพยายามผนวกในทุกขั้นตอนบริการในทุกหน่วยงาน

-  การให้บริการให้ต่อเนื่องมีการสร้างระบบให้ผู้ป่วยมารับบริการอย่างต่อเนื่องไม่มีการย้ายสถานบริการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพื่อที่จะไม่ต้อง REFER ผู้ป่วยไปรับบริการยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า

-   มีการผสมผสานการบริการทั้ง 4 มิติ(ส่งเสริม รักษา ฟื้นฟู และป้องกันโรค)ให้ผู้รับบริการในทุกช่วงอายุของผู้รับบริการ

2.จุดเน้นการบริการนำมาจากการวิเคราะห์ 20 อันดับโรคที่มีผู้ป่วยจำนวนมากแล้วนำมาแยกเป็น กลุ่มโรคติดเชื้อ และกลุ่มโรคเรื้อรัง ให้ได้ กลุ่มละ 5 อันดับนำมาทบทวนและพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว โดยมีการแบ่งให้มีทีม PCT กลุ่มย่อย รวม 9 ทีมเพื่อให้ครอบคลุมผู้ป่วยทุกกลุ่ม

3.ตัวอย่างการพัฒนาคุณภาพระบบบริการ

   -ผู้ป่วย เบาหวาน มีการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วย  4 เดือนย้อนหลัง ผู้ป่วยที่มีรับ FBS มากกว่า 300 mg% ต้อง Admitted เพื่อปรับการรักษา และ ปรับพฤติกรรม ผลการปฏิบัติได้ผลเป็นที่หน้าพึงพอใจ

  - ผู้ป่วย Asthma มีการจัดตั้ง Asthma Clinic พบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับบริการใน Asthma Clinic สามารถควบคุมอาการได้มากขึ้น อย่างน่าพอใจ มีการนำเสนอเป็นกราฟ

ทีม PCT โรงพยาบาลท่าเรือ   ร่วมแลกเปลี่ยน ว่า การนำเสนอผลการพัฒนาคุณภาพ ควรนำเรื่องราวมาร้อยเรียงให้เห็นกระบวนการพัฒนา และผลเป็นช่วงๆ ย้อนหลังไป ประมาณ 1-2 ปี เนื่องจากโรงพยาบาลมีการพัฒนาคุณภาพมานาน ดังนั้นเรื่องราวต่างๆน่าจะได้นำเสนอให้เห็น เช่นเคยมีการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายอย่างไร ผลเป็นอย่างไร อะไรคือความสำเร็จ ปัญหาที่สำคัญ คืออะไร นำมาพัฒนาต่อยอดอย่างไร ผลการพัฒนาปัจจุบันเป็นอย่างไร และมีแผนจะทำอย่างไรต่อไป

  - การมีแพทย์หลายคนและมีการแบ่งการรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยของตนเองอย่างชัดเจนต้องทบทวนว่ามีการปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้เป็นอย่างไร แพทย์ท่านอื่นได้ปฏิบัติตามแนวทางหรือไม่

 โรงพยาบาลสมเด็จ พระสังฆราช ร่วมแลกเปลี่ยนเรื่อง

 1. จุดเน้น หรือเข็มมุ่งของโรงพยาบาลอย่าลืมถ่ายทอดลงไปให้ถึงหน่วยงานให้คลอบคลุมเช่น ER หรือ Ward ต้องมีจุดเน้นของโรงพยาบาลเป็นจุดเน้นของหน่วยงานด้วย เช่นผู้ป่วยเบาหวาน ER หรือ Ward มีส่วนสนับสนุนอย่างไร

 2. การให้ชุมชนมีส่วนร่วมจะทำอย่างไร แผนการจำหน่ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลไปสู่ชุมชนต้องมีความชัดเจน และควรมีผลลัพธ์ เช่นผู้ป่วย  Acute MI เมื่อออกจากโรงพยาบาลแล้วชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยอย่างไร มีการ Mapping แล้วส่งข้อมูลให้ หน่วย EMS ในพื้นที่หรือไม่ ผลการดูแลเป็นอย่างไร

 3. ต้องมีการเตรียมเอกสารที่ทางทีม หรือหน่วยงานกล่าวอ้างถึงเช่นเอกสารคำแนะนำ แผ่นพับให้สามารถหยิบให้อาจารย์ดูได้ทันที

4. ต้องมีการตรวจสอบ Care Map ว่าสามารถทำตามได้ โดยการ Test ระบบ และมีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ

5. ต้องมีการสำรวจ อันตราย หรือภัยในชุมชน เช่น สารเคมี โรงงานที่เป็นอันตรายเช่น คลังน้ำมัน ปั้มแกส และมีการวางแผนเผชิญ เหตุร่วมกัน  ตลอดจนจัดหาจุดล้างตัวผู้สัมผัสสารอันตรายก่อนเข้ารับบริการในโรงพยาบาล

 6. การใช้เวชระเบียนผู้ป่วยร่วมกันของทีม สหสาขาต้องมีความชัดเจน ต้องมีการสื่อสารแนวทางการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน เช่น การดูแลผู้ป่วยรายนี้ แพทย์ต้องการเฝ้าระวัง เรื่องใดบ้างที่จะให้พยาบาลดูแลต่อเนื่องได้ตลอด 24 ชั่วโมง

คำสำคัญ (Tags): #ทีมpct
หมายเลขบันทึก: 360142เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2010 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท