การทำแผนที่ลม ประเทศไทย


ปี 2549 สมานและคณะ[1] เป็นผู้วิจัยคณะแรกในประเทศไทยที่ใช้เทคนิค micrositing โดยใช้ซอฟต์ แวร์มาตรฐานอุตสาหกรรมพลังงานลมคือ WAsP 8.2

การศึกษาด้านศักยภาพพลังงานลมในประเทศไทยยุคแรกก่อนปี 2545 เช่น โดย AIT กรมอุตุนิยม วิทยา และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) รวมทั้งกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน[3] (ปัจจุบันเป็นกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน) ต่างก็ให้ผลการวิเคราะห์ที่สอดคล้องกันว่า บริเวณจังหวัดสงขลาและข้างเคียงมีศักยภาพพลังงานลมสูงสุดในประเทศไทย ในปี 2544 กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน[3] รายงานว่าบริเวณจังหวัดสงขลาที่ระดับความสูง 50 เมตร จะมีความเร็วลมเฉลี่ย 6.4 เมตร/วินาที

แต่ผลการศึกษาล่าสุดในปี 2549 ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน[1] โดยการติดตั้งสถานีตรวจวัดลมที่ระดับความสูง 40 เมตร 3 สถานีนั้นพบว่าบริเวณจังหวัดสงขลาและข้างเคียงที่ระดับความสูง 50 เมตรมีความเร็วลมเฉลี่ยประมาณ 4.5 เมตร/วินาที เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากการศึกษาก่อนหน้านี้ทั้งหมดใช้ข้อมูลดิบที่เป็นข้อมูลตรวจความเร็วลมที่ระดับความสูง 10-11 เมตร เท่านั้น ทำให้ผลการคำนวณขยายโดยสมการคณิตศาสตร์ไปที่ระดับความสูง 50 เมตร ซึ่งเป็นระดับความสูงกังหันผลิตไฟฟ้านั้นไม่มีความแม่นยำเพียงพอ

ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องการปรับปรุงฐานความรู้จากผลการศึกษาในยุคแรกก่อนปี 2545 ว่าแหล่งลมดีในประเทศไทยคือบริเวณภาคใต้ ทำให้มีโครงการด้านพลังงานลมต่าง ๆ มุ่งไปที่ภาคใต้ เช่น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่กำลังดำเนินโครงการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาด 1 MW ขึ้นไปที่บริเวณจังหวัดสงขลาและนครศรีธรรมราช เป็นต้น แม้กระทั่งภาครัฐเองยังมีนโยบายสนับสนุนให้มีโครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้าในภาคใต้ โดยที่มีมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการในลักษณะให้เพิ่มอีก 1.50 บาทต่อหน่วย นอกเหนือ จากการบวกเพิ่ม (adder) 3.50 บาทต่อหน่วยแล้ว เป็นต้น

ปี 2545 ธนาคารโลกได้ตีพิมพ์รายงาน  แผนที่ศักยภาพพลังงานลมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[4] โดยใช้วิธี mesomapping ดังแสดงในรูปที่ 1 และภาพขยายในรูปที่ 2 ในแผนที่นั้นได้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า บริเวณที่ราบที่มีศักยภาพพลังงานลมสูงในประเทศไทย ได้แก่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงตั้งแต่จังหวัดมุกดาหาร  ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ถึงอุบลราชธานี โดยมีพื้นที่ประมาณ 130x70 ตารางกิโลเมตร ที่มีค่าความเร็วลมรายปีเฉลี่ย 7-7.5 เมตร/วินาที หรือคิดเป็นกำลังได้ 400-500 วัตต์/ตารางเมตร ซึ่งจัดชั้นคุณภาพลมเป็นลมชั้นดี (good) นับเป็นบริเวณที่มีความเหมาะสมต่อการติดตั้งไร่กังหันลมเป็นอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตามบทวิเคราะห์ในรายงานของธนาคารโลกนั้น ไม่ได้ให้ความสนใจต่อศักยภาพพลังงานลมของประเทศไทยมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านเช่นเวียดนามที่มีลมในชั้นดีเลิศ (exellent) ทั้งที่ในความเป็นจริงสำหรับประเทศไทยเองนั้น พื้นที่บริเวณดังกล่าวจัดเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจที่สุด

ปี 2549 สมานและคณะ[1] เป็นผู้วิจัยคณะแรกในประเทศไทยที่ใช้เทคนิค micrositing โดยใช้ซอฟต์ แวร์มาตรฐานอุตสาหกรรมพลังงานลมคือ WAsP 8.2 โดยได้ทำการศึกษาศักยภาพพลังงานลมเฉพาะแหล่งบริเวณจังหวัดสงขลาและข้างเคียง ให้แก่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พบว่า พื้นที่บริเวณเกาะใหญ่ จังหวัดสงขลามีศักยภาพพลังงานลมดี มีความเร็วลมเฉลี่ย 5.6 เมตร/วินาที

ต่อมาปี 2551 สมานและเกริกชัย[2] พบว่า พื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำตอนบนลำตะคอง จังหวัดนคร ราชสีมามีศักยภาพพลังงานลมสูง มีความเร็วลมเฉลี่ย 6.6-8.6 เมตร/วินาที และเสนอรูปแบบไร่กังหันลม โดยจะมีต้นทุนการผลิตประมาณ 3.33 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง

ตัวอย่างแผนที่ลมรายละเอียดสูง[1] เป็นดังรูปข้างล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่เกาะใหญ่ ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมอื่น ๆ นั้น สามารถดูได้จากรายงาน โดยสามารถขอได้ที่ พพ.สำหรับรายงาน[1] และ กฟผ.สำหรับรายงาน[2]

หรือดูสรุปจาก สถานวิจัยเทคโนโลยีพลังงาน มอ.

--------------------------------------------------------

[1] การศึกษาศักยภาพพลังงานลมเฉพาะแหล่ง, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, พิมพ์ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2549.

[2] สมาน เสนงาม และเกริกชัย ทองหนู, การศึกษาศักยภาพพลังงานลมเฉพาะแหล่ง: ลำตะคอง, อ่าวไผ่, และแหลมพรหมเทพ, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2551.

 

หมายเลขบันทึก: 359532เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2010 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท