การจัดการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อพัฒนาผู้เรียนสอดคล้องยุคโลกาภิวัตน์


ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนอง ได้ใช้ทักษะกระบวนการคิด กระบวนการกลุ่มในการสร้างความรู้ ได้มีส่วนร่วมในการเรียน ได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันทำให้ได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตต่อไปได้ในอนาคต

บทความวิชาการ

 

รื่อง การจัดการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อพัฒนาผู้เรียนสอดคล้องยุคโลกาภิวัตน์

 

        *จิณกรณ์   แก้วมณี

 

 

                       ในยุคโลกาภิวัฒน์เป็นยุคของการแพร่ถึงกันในด้านต่างๆทั่วโลก   ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ถึงกันทางการเงินเสรี ทางการค้าเสรี  ด้านการลงทุนเสรี ด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีและด้านข่าวสารข้อมูลเสรี  กระแสดังกล่าวมีการขยายตัวอย่างกว้างขวาง รวดเร็ว เป็นกระแสที่ไร้พรหมแดนอันส่งผลต่อการปลี่ยนแปลงทางการศึกษาเศรษฐกิจ สังคม  และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งการที่จะทำให้ประเทศชาติบ้านเมืองอยู่รอดปลอดภัยดำรงอยู่ด้วยความเจริญก้าวหน้า มั่นคงในยุคโลกาภิวัฒน์นั้น ปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง คือ การพัฒนาคนให้เรียนรู้ให้รวดเร็ว  เข้าใจตนเอง รู้เท่าทันผู้อื่นและสังคมเป็นประชากรที่มองกว้าง คิดไกล ใฝ่หาความรู้ เชิดชูคุณธรรม  พัฒนาตนเองตลอดเวลา มีจิตสำนึกต่อสังคม  ประเทศชาติ และความเป็นพลเมืองโลกที่ดี  ดังนั้น ทุกประเทศทั่วโลกจึงมีความจำเป็นจะต้องใช้แนวคิดทางการศึกษาพัฒนาประชากรของประเทศให้สามารถทันและรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเพื่อการพัฒนาประชากรของประเทศให้สอดคล้องต่อสภาวะในปัจจุบัน
                         การจัดการศึกษาเพื่อรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (ดร.พิมพ์พันธ์  เดชะคุปต์,2544 :59-60) ได้เสนอแนวคิด ดังนี้คือ

                         ด้านหลักสูตร  ต้องมีการกำหนดจุดหมายของหลักสูตรให้ได้ผลผลิต       คือผู้เรียนมีคุณสมบัติ ดังนี้                  

      1.เป็นผู้มีคุณภาพ(Quality) คือ มีความดี มีจริยธรรม อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี  เป็นผู้มี
       คุณธรรมประจำ  มีระเบียบวินัยในตนเอง  รักษาระเบียบประเพณี วัฒนธรรมอันเป็น
       สมบัติประจำชาติ มีค่านิยม สังคม ตลอดจนรักชาติเป็นจิตสำนึก
      2.เป็นผู้มีสมรรถภาพ(Competency) คือ มีความเก่งในความคิด  วิเคราะห์  วิพากษ์
       วิจารณ์ ทำงานกอรปความคิดริเริ่ม  เก่งในการใช้ภาษา  การใช้คอมพิวเตอร์และ
       เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
      3.เป็นผู้มีสุขภาพดี(Healthy) คือมีสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต  มีอัตมโนทัศน์
      คือเป็นผู้รู้จักตนเอง และเห็นคุณค่าในชีวิตของตน

ด้านการเรียนการสอน    เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้คิด  วิเคราะห์  วิพากษ์ วิจารณ์         แก้ปัญหาเป็น  มีความตระหนัก  มีจิตสำนึก  และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันและชีวิตการทำงานได้ เป็นผู้มีความสามารถแก้ปัญหาได้ดี  เพื่อสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ซึ่งผู้สอนต้องฝึกผู้เรียน ดังนี้

                          1.ฝึกคิด คือสอนให้ผู้เรียนคิดเองเป็น
                          2.ฝึกให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า  ศึกษาให้ลึกซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและมีการวิจัยค้นคว้า
3. ฝึกให้ผู้เรียนบริการสังคม คือสิ่งที่เรียนรู้จะมีคุณค่า  เมื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ       สังคม            
การจัดการศึกษาให้สอดคล้องต่อแนวคิดในการจัดการศึกษาเพื่อรองรับ         การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  การนำแนวทฤษฎีการสอนที่ถูกต้องเหมาะสม   เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและสำคัญยิ่งต่อการจัดการศึกษาซึ่งยึดแบบดั้งเดิมไม่ได้ เนื่องจาก การจัดการศึกษาแบบดั้งเดิมไม่สามารถทำให้ผู้เรียนรู้จักคิด  รู้จักแก้ปัญหา   มีความคิดสร้างสรรค์ ได้ลงมือปฏิบัติและสร้างความรู้ด้วยตัวเอง การนำทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม ที่มีความเชื่อว่าในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำและสร้างความรู้ และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา ที่มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคม ซึ่งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน จึงเกิดทฤษฎีการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญาที่มีแนวคิดหลักคือเป็นทฤษฎีที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ โดยการลงมือกระทำนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนทำให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันดังที่ (พารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา,2251 : 85-86)ได้อธิบายแนวคิดการสอนสร้างสรรค์ด้วยปัญญาไว้ว่า เป็นแนวที่เน้นให้ผู้เรียน   สร้างองค์ความรู้ ผ่านการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติโดยการทำโครงงาน(Project-Based Learning) บูรณาการด้วยเทคโนโลยี  วิชาการ  ศิลปะ  วัฒนธรรม  ความเป็นไทย ตลอดจนคุณธรรม  จริยธรรม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Life-Long  Learning)เป็นแบบอย่างในการพัฒนาผู้เรียนให้แข่งขันได้ในยุคโลกาภิวัฒน์โดยมุ่งพัฒนาทักษะทั้ง 5 ด้านให้แก่ผู้เรียนคือ
                       1.  IQ    กระบวนการคิด   การเรียนรู้   ความเฉลียวฉลาด  สนใจใฝ่หาความรู้ต่อเนื่อง
                       2.  EQ   รู้จักตนเอง  มีสติ  ความมั่นคงทางอารมณ์
                       3. AQ   การแก้ปัญหา  การเผชิญสถานการณ์    ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้   ทำงานภายใต้สภาวะกดดันได้ดี
                       4. TQ   คล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี  เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
                       5.  MQ  ปลูกฝังคุณธรรม   จริยธรรม  ความเป็นไทยจนเป็นนิสัย
                       นอกจากนี้ (พารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา,2251 : 86) ได้อธิบายอีกต่อไปว่าแนวการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญาว่าเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ดี  มีคุณธรรมสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นสุขในโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและกว้างขวางแนวคิดนี้ได้พัฒนาผู้เรียนมีวินัย  5 ประการคือ
                       1. การรู้จักตนเอง(Personal Mastery) สามารถวิเคราะห์จุดเด่น  จุดด้อยและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
                       2. มีความคิดที่เปิดกว้าง(Mental  Model) เคารพและยอมรับความแตดต่างระหว่างบุคคล  รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างของผู้อื่นได้ด้วยใจเป็นสุข
                       3. การประสานวิสัยทัศน์(ShareVision)เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างวิสัยทัศน์และเป้าหมาย  เพื่อให้ทุกคนมุ่งมั่นตั้งใจทำงานให้ประสบความสำเร็จในทิศทางเดียวกัน
                       4.การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม(Team  Leaning) สร้างทีมงานที่ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพด้วยบรรยากาศการทำงานอย่างกัลยาณมิตร
                       5. คิดเป็นระบบครบวงจร(System  Thinking) มองสิ่งต่างๆเป็นองค์รวมเห็นถึงความสำพันธ์เชื่อมโยงของสิ่งต่างๆทำให้เข้าใจเหตุและปัจจัยขององค์กร  เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดๆก็จะสามารถร่วมมือร่วมใจกันรับมือและคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                       Crawford & Witte (1999)   เสนอกลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้บนพื้นฐานของทฤษฎีสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ไว้ 5 ประการคือ
                       1) การเชื่อมโยง (relating) เป็นการจัดการเรียนรู้ในบริบทของประสบการณ์ชีวิตของบุคคล โดยให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงแนวคิดหรือข้อมูลใหม่กับสิ่งที่ตนคุ้นเคย 
                       2) การปฏิบัติ (experiencing) เป็นการจัดการเรียนรู้โดยการกระทำ โดยให้ผู้เรียนได้มีการค้นพบ สำรวจ และประดิษฐ์  เช่น แก้ปัญหา ทดลองปฏิบัติการ เป็นต้น
                       3) การนำไปใช้ (applying) เป็นการจัดการเรียนรู้โดยให้มีการนำแนวคิดไปปฏิบัติ
                       4) การร่วมมือ (cooperating) เป็นการจัดการเรียนรู้ในบริบทของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความร่วมมือ และการสื่อสาร
                       5) การถ่ายโอน (transferring) เป็นการจัดการเรียนรู้โดยการให้มีการนำความรู้ในบริบทใหม่หรือสถานการณ์ใหม่ที่เพิ่มค้นพบไปใช้ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย  
                       การนำกลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้บนพื้นฐานของทฤษฎีสร้างสรรค์ด้วยปัญญาประยุกต์ใช้(พารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา,2251 : 87-89)ได้นำเสนอการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ภาคปฏิบัติของโรงเรียนดรุณสิกขาลัยที่เน้นการเรียนรู้แบบ Leaning  by  doing หรือ Project-Baesed  Learming  มี 8 ขั้นตอนดังนี้
                       ขั้นตอนที่ 1  เริ่มจากสิ่งที่เด็กๆ สนใจ โดยก่อนเกิดเทอมเด็กๆ จะมาร่วมกันคิดจะทำโครงการใด
                       ขั้นตอนที่ 2  ครูศึกษาหัวข้อต่างๆ ที่เด็กสนใจพร้อมเตรียมข้อมูลที่เชื่อมโยงความรู้               ที่เกี่ยวข้องในโครงงานและบูรณการวิชาการต่างๆ ตลอดจนเตรียมเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้หรือนำเด็กไปทัศนศึกษา
                       ขั้นตอนที่ 3  ครู นักเรียนร่วมวางแผนการเรียนรู้ร่วมกันกำหนดการจัดกิจกรรมแต่ละวัน       ครูในฐานะผู้อำนวยจะอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้นำเสนอสิ่งที่ผู้เรียนน่าจะได้เรียนรู้และสอบถามสิ่งที่ ผู้เรียนอยากเรียนรู้เพิ่มเติม  พร้อมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่างๆให้ผู้เรียนเห็นภาพรวมทั้งหมดด้วยตนเอง         ให้ผู้เรียนเขียนภาพความคิดและวางแผนการเรียนรู้แต่ละหัวข้อและจัดทำตารางเวลา
                       ขั้นตอนที่ 4 เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง  หาข้อมูล สร้างชิ้นงาน  พบปะเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
                       ขั้นตอนที่ 5 สรุปความรู้ และเก็บบันทึกผลงาน  ในรูปบทความ  สมุดรวบรวมผลงาน และแผนภาพความคิด
                       ขั้นตอนที่ 6 จัดเตรียมนิทรรศการเพื่อผลงานการเรียนรู้
                       ขั้นตอนที่ 7 วิเคราะห์และประเมินผลแบบ 360  องศา  คือประเมินตนอง  ข้อมูลย้อนกลับจากเพื่อนคุณครู  ผู้ปกครองเพื่อการเรียนรู้  ปรับปรุง
                       ขั้นตอนที่ 8 การต่อยอดองค์ความรู้   นำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ใช้ในโครงการถัดไปและ  ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน 
                       กิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญาที่จัดโดยโรงเรียนดรุณสิกขาลัย  ได้แสดงให้เห็นว่าเป็นการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนอง ได้ใช้ทักษะกระบวนการคิด กระบวนการกลุ่มในการสร้างความรู้  ได้มีส่วนร่วมในการเรียน  ได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันทำให้ได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและสามารถนำความรู้  ประสบการณ์ที่ได้รับใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตต่อไปได้ในอนาคต
                      บทสรุป
                       กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มว่าประชากรทั่วโลกต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอันหลากหลายและมีปรากฎการณ์ต่างๆเกิดขึ้นเกินกว่า  จะคาดคิดถึง  สังคมจำเป็นต้องทบทวนความพร้อมกับการเผชิญสิ่งที่ท้าทายเหล่านั้น  ซึ่งปัญหาที่จะเกิดขึ้นในสังคมและการศึกษาในยุคโลกาภิวัฒน์  คนในฐานะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติจะต้องมีความรู้  ความสามารถพื้นฐานเพียงพอกับการดำรงชีวิตที่ดีและมีศักดิ์ศรีในสังคมโลก  ต้องมีความสามารถในการ   คิดวิเคราะห์เลือกใช้ข้อมูลข่าวสารตัดสินใจถูกต้องในการแก้ปัญหาและก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลง       ของโลก  การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญาจัดเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญเพื่อการพัฒนา    ผู้เรียนให้สอดคล้องต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงในยุคแห่งการแพร่ถึงกันทั่วโลกในปัจจุบัน
อ้างอิง

 

ารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา.(2551) รวมนวัตกรรมทฤษฎีการศึกษาปฐมวัยสู่การประยุกต์ใช้ในห้องเรียน

 

                     (พิมพ์ครั้งแรก).กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สาราเด็ก.
พิมพันธ์  เดชะคุปต์.(2544) การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ:แนวคิด  วิธีและเทคนิคการสอน     
                     (พิมพ์ครั้ง 1).กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์  บริษัท เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป  แมเนจเม้นท์  จำกัด.
พิมพันธ์  เดชะคุปต์ และคณะ.(2544) วิจัยในชั้นเรียน:หลักการสู่การปฏิบัติ  (พิมพ์ครั้งแรก).กรุงเทพฯ:
                     สำนักพิมพ์  บริษัท เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป  แมเนจเม้นท์  จำกัด.

 

http://gotoknow.org/blog/rose/73271
http://pirun.ko.ac.th/~g4786027/01/sub_01/02_01_01.html

*นายจิณกรณ์  แก้วมณี  นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้  มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 359198เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2010 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ประเทศไทยเริ่มใช้หลักสูตรแกนกลาง ๕๑ ครูคงนำวิธีการสอนที่เหมาะสมพัฒนานักเรียนเพื่อให้เป็นคงเก่ง ดี มีสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท