ลูกชาวนา....ข้าวของพ่อ


ไม่หายจริงๆ.....มีคุณธรรมหรือต่างคนต่างอยู่

     ผู้เขียนเป็นคนอีสาน  กำพืดก็เหมือนๆกับคนส่วนใหญ่ที่มาจากอีสานและเข้ามาทำมาหากินในเมืองใหญ่   อาชีพเดิมของผู้ให้กำเนิดก็คือ   " ทำนา "   ทำปีละครั้ง พ่อชาวนา แม่ชาวนา  มีพี่น้อง 3 พ่อกับแม่สู้ทนส่งลูกเรียนจนจบปริญญาตรีทั้ง 3 คนตอนนี้ลูกอยู่คนละทิศ แต่ก็กลับไปเยี่ยมท่านอย่างสม่ำเสมอ  ไม่ว่าใครจะชวนให้มาอยู่ด้วย ท่านก็มักจะบอกเสมอว่า"ท่านเกิดที่นี่ อยู่ที่นี่สบายกว่าที่อื่น จะขออยู่ที่นี่จน...." 

       บางครั้งท่านคิดถึงลูกคนใหนอยากมาเยี่ยมท่านก็จะมาเอง เพราะอย่างที่เราทราบอีสานทำนาได้ครั้งเดียว  ช่วงเวลาที่ทำนา ประมาณ 6-8 เดือน ที่เหลือจากนั้น ก็หาอาชีพเสริม ( คุณแม่ขายก๋วยเตี๋ยวกับทอผ้าใหม )   บางคนก็เข้ากรุง มาขายแรงแลกเงินและคุณพ่อก็เช่นกันหลังจากที่ว่างเว้นจากการทำนาท่านก็เข้า กทม. ( ตอนที่รายังเด็ก ๆท่านเดินทางไปกลับปีละหลายครั้ง จึงไม่ใช่เรื่องยากที่ท่านจะเดินทางมาหาลูก ๆ)  เพื่อหาเงินส่งลูกเรียน  แต่ตอนนี้ลูก ๆ จบหมดแล้วท่านก็อยู่ที่บ้านตามประสา การทำนาก็ไม่เหมือนแต่ก่อน จากควายกลายเป็นควายเหล็ก จากแต่ก่อนต้องลงมือทำเองใช้เวลาเป็นแรมเดือนเดี๋ยวนี้ทำไม่ถึงสัปหาด์ก็เสร็จ  

     มีอยู่ครั้งหนึ่งคุณพ่อและคุณแม่มาหาเพราะอยากมา  โทรมาบอกว่าจะมาถึงตอนประมาณ ตี 4 ให้ไปรับด้วย  สถานีรถไฟหลักสี่ วันนั้นไปรอตั้งแต่ตี  3  พอรถจอดผู้โดยสารต่างคนต่างลงเราก็ยังหาไม่พอรถไฟออกคนเริ่มบางตาก็พบกับท่านทั้ง 2  และก็ตามประสามาเยี่ยมลูกทั้งทีท่านก็เอาของฝากมาเพียบ ผัก ปลา เนื้อ หมู อะไร ๆ อีกมากมายที่รู้ว่าลูกชอบท่านขนมาหลายกระสอบที่ที่สำคัญ ที่ลืมไม่ได้  " ข้าวสาร"  ข้าวที่พ่อแม่ปลูกเอง ลงแรงเอง ท่าน ข้าวที่เลี้ยงลูกมาเป็นคนได้ประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นสิ่งที่ท่านลืมไม่ได้

     คนเยอะ ของแยะ เราก็ขนของขึ้นรถพอเสร็จ (ของเต็มรถ) ก็พาท่านมาที่บ้าน ด้วยความอ่อนเพลียจากการเดินทางมาถึงบ้านท่านทั้ง 2 ก็อาบน้ำและหลับไป  เราก็จัดแจงอาหารเช้ารอให้เสร็จก่อนที่ท่านจะตื่น   ประมาณ  10 โมงเช้าท่านก็ตื่นมาทานอาหารและก้นคุยกันตามประสาพ่อแม่ลูก และท่านก็ถามสารทุกข์สุกดิบไปเรื่อย ๆ มาถึงเรื่องอาหารการกิน ท่านก็ถามเรื่องกับข้าว และข้าวที่ใช้หุง ว่าหมดข้าวสารหรือยัง( ที่เอาครั้งก่อน) เราก็ตอบว่าหมดตั้งนานแล้ว ที่กินอยู่เป็นข้าวที่ซื้อมาจากร้านค้า  ท่านก็ถามว่า  แล้วไม่เอาข้าวที่เอามา มามาหุงกินเลยล่ะ

       "ชิ..หายแล้ว"       ผู้เขียนนึกในใจ  และก็บอกพ่อว่าลืมยกข้าวสารขึ้นรถ เท่านั้นแหละ  การสนทนาก็เข้มข้นขึ้น

      แม่เริ่มพูดออกมาด้วยความน้อยใจ 

         "สู้อุตส่าแบกมาให้จากสุรินทร์ จนมาถึงกรุงเทพพอเอาลงจากรถไฟ ดันลืมเอาขึ้นรถ  ซะเนี่ย  แม่สู้อุตส่านั่งคัด"ข้าวที่สี"แล้วเอาเม็ดเล็ก ๆ ออกคัดเอามาเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์เอามาให้ลูก ข้าวหอมมะลิใหม่ด้วย กำลังหอมเลย"

     แต่พ่อก็พูดเสริมออกมาด้วยความใจเย็นอย่างผู้มีประสบการณ์

     "ไม่ต้องห่วงหรอก  เมื่อกี้เราวางไว้ที่สถานีรถไฟใช่มั้ย คนกรุงเทพเขาไม่สนใจหรอก ยิ่งโดยเฉพาะสถานที่ที่มีคุณพลุกผล่านอย่างนี้ไม่มีใครรูหรอกว่าของใครเป็นของใคร และของหนักขนาดนี้ไม่มีใครเอาไป  กลับไปเอามันยังอยู่ที่เดิม  "

     ผู้เขียน

     " พ่อ มันจะอยู่หรือครับ   ตั้งแต่ ตี  4  แล้วตอนนี้ก็ 10 โมง  แล้ว  มันตั้ง 6 ชั่วโมงแล้วนะ"

    พ่อตอบขึ้นมาทันควัน

     "เชื่อพ่อ ซิ   ไปเรารีบไปเอากันเถอะ "

ว่าแล้วสองพ่อลูกก็ขับรถไปสถานีรถไฟ    "   โฮ้..............ไม่น่าเชื่อผ่านมาผ่านมาตั้งครึ่งวัน   ยังอยู่ที่เดิม  ตั้งอยู่ลักษณะเดิม ทั้ง 2 ถุง ( ขนาดถุงปุ๋ย) "  ผู้เขียนแทบไม่เชื่อสายตา

พ่อพูด  " เห็นใหม....... ที่นี่ไม่มีใครสนใจใครหรอก  "

หลังจากเหตุการณ์  " ข้าวสารของพ่อ"  ตั้งแต่วันนั้น  ผู้เขียนตั้งคำถาม ถามในใจตนเองเสมอคนเมืองกรุงสนใจแค่ตัวเองไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ?

 คนเมืองกรุงไม่มีใครสนใจใคร   ต่างคนต่างอยู่  ?

                               หรือ

คนเมืองกรุงมีน้ำใจไม่หยิบของของ ๆใคร จริงหรือ?

 

 

 

 

คุณคิดว่ายังไงครับ

หมายเลขบันทึก: 358856เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2010 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 01:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท