ที่มาของนาฬิกาสัตว์หน้าดิน จากภาพถ่ายและบทความในวารสารวิทยาศาสตร์ มข. 2542




           
            wetlab

            หลายคนที่ค้นข้อมูลในอินเทอร์เนต คงเคยเห็นภาพนี้บ้างแล้ว หรือ อาจจะเคยเห็นที่นี่เป็นครั้งแรก ซึ่งภาพนี้ ถ่ายโดย คุณประสาท เนืองเฉลิม ในช่วงปี 2542 ในกิจกรรมการจัดอบรมอาสาสมัครเฝ้าระวังคุณภาพลำน้ำพอง ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างชุมชนในพื้นที่และภาคเอกชน มีทีมงานจาก Wetlab  โดย อ.นฤมล , อ.ยรรยงค์ อ.ชุติมา และบรรดานักศึกษา และทีมงาน อาทิ คุณบุญเสฐียร บุญสูง, คุณนิศารัตน์ คล้ายทอง, คุณประยุทธิ์ อุดรพิมาย, คุณวิไลลักษณ์ ไชยปะ, คุณประทุม ฉายเสมแสง,  คุณประสาท เนืองเฉลิม

            สิ่งที่เห็นตรงบริเวณกลางภาพ คือ นาฬิกาสัตว์หน้าดิน ที่ อ.นฤมล และทีมงานได้ร่วมกันคิดค้นและพัฒนาขึ้นมา จากการศึกษาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่การวิจัยในลำน้ำพอง จนถึงการไปเป็นทีมวิทยากรในค่ายเยาวชนสิ่งแวดล้อม กับสถาบันราชภัฏอุดรธานี (ในเวลานั้น) จัดกิจกรรมที่ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู  มีการจัดทำเอกสารการอบรมไปทดลองใช้ในครั้งนั้น รวบรวมข้อดี ข้อบกพร่อง และมีการปรับปรุงแก้ไขอีกหลายครั้ง จนเกิดเป็นนาฬิกาสัตว์หน้าดินอย่างที่เห็นในภาพ

            ทีมงานยังคงศึกษาและปรับปรุงนาฬิกาสัตว์หน้าดินต่อไป และได้เปลี่ยนแปลงตัวนาฬิกาจนมีความน่าเชื่อถือในผลการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่ง แวดล้อมทางชีวภาพ


            wetlab

            อ.นฤมล ได้เขียนบทความเรื่อง "นาฬิกาสัตว์หน้าดิน" ทางเลือกของการดูแลเฝ้าระวังคุณภาพแหล่งน้ำโดยชุมชนท้องถิ่น  ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ มข. ปีที่ 27 ฉบับที่ 4  หน้าที่ 279-287 เมื่อปี 2542 ได้เห็นแนวคิดของนาฬิกาสัตว์หน้าดินในเวลานั้น ซึ่งในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมข้อมูลจนมีความสมบูรณ์ ถูกต้องมากกว่าเดิม

            ถึงแม้จะดูเป็นงานชิ้นเล็กๆ แต่ทำให้เห็นถึงความพยายามในการศึกษาข้อมูลมายาวนาน ซึ่งทำให้ผู้นำไปใช้ ใช้ได้ง่าย และเข้าใจความหมายของนาฬิกาสัตว์หน้าดิน และแปลผลการสำรวจ และจำนวนสัตว์หน้าดินที่พบได้ในเวลาไม่นานนัก


           

           

           

           

           

           

           

           

++++



หมายเลขบันทึก: 358809เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2010 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท