ส่งงานรูปแบบ e-learning


ส่งงานe-learning

รูปแบบ e-Learning  ของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ยึดปรัชญาในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา และเป็นมหาวิทยาลัยของปวงชนอย่างแท้จริง เพราะเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนโดยรับจำนวนไม่จำกัดทั้งยังขยายโอกาสทางการศึกษาสู่ประชาชนในส่วนภูมิภาคที่ห่างไกลด้วยการประ ยุกต์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อจัดระบบการศึกษา ที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพด้วยการวัดผลที่เป็นมาตรฐาน มหาวิทยาลัยยังมีนโยบาย ในการเรียนเสริม ในกรณีที่นักศึกษาไม่สามารถมาเรียนจากห้องเรียนตามวันเวลาที่กำหนด หรือต้องการทบทวน โดยใช้ระบบ Internet Base Learning เป็นการพัฒนาระบบการเรียนการสอนที่สมบูรณ์ และไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ เพื่อตอบสนองต่อการเรียนรู้ และโอกาสทางการศึกษาของปวงชน ท่านก็สามารถเรียนรู้จากระบบการเรียนของมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ตามต้องการ ให้สมกับคำว่า การศึกษายุคไร้พรมแดน RU Internet Base Learning เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมอย่างยิ่ง สำหรับระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ณ วันนี้ ในการออกแบบระบบ Internet Base Learning มหาวิทยาลัยได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาระบบการเรียนการสอนและการให้บริการ เพื่อให้นักศึกษามีความสะดวกในการเรียนจากเครือข่าย โดยแต่ละวิชาที่จะเปิดบริการบนเครือข่ายจะมีวีดีโอการบรรยายแต่ละครั้งซึ่งนักศึกษาสามารถเรียกคูตามต้องการ และยังมีส่วน ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา เช่น ตำราอิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) เอกสารประกอบการบรรยาย แบบฝึกหัด ตัวอย่างข้อสอบ และยังมีสื่อสำหรับติดต่ออาจารย์หรือผู้รู้อื่น ๆ ที่จะช่วยตอบข้อซักถามที่นักศึกษาสงสัย พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลความรู้ในอินเทอร์เน็ต จากระบบที่ออกแบบ ในวิชาเดียว กันสามารถเรียนได้หลาย ๆ คน โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มเรียนพร้อมกัน ในส่วนของสาขาวิทยบริการฯ หรือชุมชน หรือเครือข่าย อบต. สามารถจัดการเรียนการสอนได้ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่หนึ่ง เป็นการเรียนเฉพาะบุคคลคือ นักศึกษาหรือผู้สนใจเลือกเรียนวิชาตามต้องการ ในลักษณะที่สอง ในกรณีที่นักศึกษาเป็นกลุ่ม และต้องการเรียนวิชาเดียวกันพร้อมกันก็เชื่อมโยงเครือข่ายไปยังห้องบรรยายผ่านทีวีวงจรปิด หรือ LCD Projector เพื่อการเรียนเป็นกลุ่มโดยจัดตารางบรรยายแต่ละวิชาและยังสามารถประยุกต์ระบบ Voice Conference ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ไม่ว่าอาจารย์จะอยู่ที่มหาวิทยาลัยหรืออยู่ทีใดก็ตาม นักศึกษาจะได้คำตอบจากคำถามทันที ในกรณีที่ได้นัดเวลากัน
          
ในการพัฒนาระบบ Internet Base Learning ของมหาวิทยาลัย เป็นประโยชน์ และเป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นมาตรฐาน โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ เป็นการก้าวเข้าสู่ระบบ Cyber Class Room เพื่อการจัดการศึกษาสู่ระดับสากล ในการเรียนนักศึกษาต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งจะติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมหรือไม่ก็ตามให้ท่านเข้ามาที่เวป www.ru.ac.th และเลือกที่ Internet Base Learning จะได้เวปเพจ จากนั้นให้เลือกวิชาและครั้งที่บรรยาย ในระบบจะมี รายละเอียดวิชาเรียนและตำราที่อยู่ใน e-books ในกรณีมีคำถามจะมี Web board เพื่อการสื่อสารระหว่างอาจารย์และนักศึกษา คงทำให้นักศึกษาสบายใจขึ้นและไม่รู้สึกโดดเดียว

การเรียนการสอนแบบ e-Learning  ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง มี 4 รูปแบบ

1.        แบบบทเรียนออนไลน์

2.        แบบเทปบันทึกการบรรยาย

3.        แบบการถ่ายทดสดการเรียนการสอน

4.        แบบตำราเรียนออนไลน์ 

                                      สถาบันต่างประเทศ

คุณลักษณะของการพูดในการเขียนบันทึกการสนทนาSpoken Feature of Dialogue Journal writingAuthorDarren  LingleyBio Data :Darren Lingley  ทำงานหลายสาขาเกี่ยวข้องกับการสอนบริบท ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลา 12 ปี มาแล้ว ปัจจุบันเขาเป็นรองศาสตราจารย์ ในแผนกการศึกษาระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัย Kochi  ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น   บทคัดย่อ Abstractเอกสารนี้ใช้นักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เรียนโครงการเขียนบันทึกการสนทนา  เป็นวิธีการเช่นเดียวกันกับการค้นคว้า โดยยอมรับระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน  ตัวอย่างการเขียนที่ยินยอมให้ทำในสิ่งที่เหมือนกันกับภาษาพูด เช่นการเขียนโดยไม่ได้มีการวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า  รูปแบบการเขียนเกี่ยวกับการพูดที่ชัดเจนและการเลือกใช้คำศัพท์  ในเอกสารชิ้นนี้ยังรวมตัวอย่างวิธีการจดบันทึกการสนทนาเป็นของตนเองสำหรับห้องเรียนที่ครูผู้สอนใช้การสอน EFL (English as a Foreign Language) เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการเขียนให้ประสบผลสำเร็จ  การเขียนบันทึกการสนทนาเป็นผลกระทบอย่างยิ่งในการบูรณาการทักษะต่างๆ ของนักศึกษาที่กลับมาจากต่างประเทศในห้องเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ Key Words and Meanings

  1. Journal Writing : a record of experiences, ideas, or reflections kept regularly for private use
  2. Discourse Analysis : the detailed study or examination of something in order to understand more about the use of language in speech and writing in order to produce meaning; language that is studied, usually in order to see how the different part of a text and connected
  3. Returnee : a person who return to their own country, after living in another country
  4. Colloquial : a : used in or characteristic of familiar and informal conversation;    
                           also : unacceptably informal               b : using conversational style  กลุ่มตัวอย่างที่เลือกได้ถูกเขียนโดย “Emi” นักศึกษาชั้นปีที่ 3 แผนกวิชาการศึกษาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยญี่ปุ่น  Emi ได้ใช้เวลา 1 ปี ในการเรียนชั้นมัธยมในแคนาดา และมีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะศึกษาวิจัยระดับของภาษาที่สูงกว่า    ภาษาอังกฤษที่เป็นทางการและโครงสร้างก็ไม่มีโปรแกรมนั้นด้วย  Emi ในพื้นที่ที่มีการอพยพและได้ใช้เวลาเป็นอาสาสมัครทำงานในค่ายผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ ในเลบานอน  โดยส่วนใหญ่เป็นการบ่นทั้งสองอย่างเป็นระบบที่มหาวิทยาลัยญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้หล่อนได้อธิบายบุคลิกส่วนตน  และการตอบกลับของอาจารย์ผู้สอน ต่อรายงานที่มอบหมาย เป็นส่วนน้อยมากที่สุด  เช่นเดียวกันกับนักศึกษาทั่วๆไป ซึ่งเป็นศึกษาที่กลับมาจากต่างประเทศ หลังจากที่ไปศึกษาอยู่ต่างประเทศ  หล่อนพบว่าระดับของภาษาในชั้นเรียนยังไม่เป็นที่น่าพอใจ  โครงการการเขียนบันทึกการสนทนาเป็นส่วนที่สำคัญที่ขึ้นอยู่กับตนเองในการที่พบว่ามีความจำเป็นสำหรับนักศึกษาเช่น Emi                                 การมีปฏิสัมพันธ์ในลักษณะภาษาพูด ผู้เขียนกำลังพูดต่อผู้อ่านในความรู้สึกที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างคู่สนทนาโดยชัดเจน คล้าย ๆ กันกับการแลกเปลี่ยน e – mail  ที่ถูกพบเห็นในข้อความของบันทึกหลาย ๆ บันทึกก่อนหน้านี้ เป็นบทสนทนาซึ่งหัวข้อกำลังได้รับการพูดคุย โดยผู้เขียนหลาย ๆ คน  นำมาหรือไม่กล่าวถึงโดยผู้อ่าน บันทึกในการแบ่งแยกยังคงไม่ใช้การสนทนาที่คงที่นัก McCarthy (1991) (p70) เพียงเท่านั้นจนกระทั่งเขาได้อ่านปฏิกิริยาโต้ตอบโดยผู้อ่านหัวข้อนี้ยังรวมคำแนะนำ ที่ไม่ได้ระบุในหัวข้อ โดยรวมแล้ว ข้อความนั้น ( text )  มีจังหวะ ในการพูดแต่ละวันอยู่แล้ว นี้เป็นความสำเร็จในการใช้ Pronoun  บุรุษที่ 1 และ บุรุษที่ 2 ผู้เขียนใช้ภาษาพูดในการการแยกแยะ ( line 37 ) ฉันหวังว่าจะเป็น Stubbs ให้ความหมายของ well  เป็นการกล่าวออกมาเบื้องต้น โดยมากจะจำกัดวงภาษาพูด ใช้วิธีการในการสรุปและรวมหัวข้อ ผู้เขียนได้แสดงความคิดเห็นในบางรูปแบบของการเขียนที่ค่อนข้างไม่แน่ใจหรือคลุมเครือให้สามารถสร้างปฎิสัมพันธ์ในการพูด  ซึ่งทำให้สามารถอธิบาย การประยุกต์ใช้กับ EEL  Classroom                  การเขียนบทสนทนา journal writing  ก็เป็นตัวอย่างที่ดีเพราะได้ทั้งทักษะและหน้าที่ของการเขียน ซึ่งการศึกษาอย่างต่อเนื่องก็ถูกนำมาใช้ในห้องเรียนภาษาทั้งทักษะการเขียนและการฟัง แต่ก็มีนักเรียนบางส่วนที่ไม่สนใจ ( unwilling ) ที่จะทำเข้าร่วมกับนักเรียนที่เรียนอ่อนคนอื่น ๆ ซึ่งครูต้องหาวิธีการหรือเปลี่ยนสถานการณ์ ให้เหมาะสม                เหตุผลอีกข้อหนึ่งของการนำเสนอ journal  ก็ถือว่าเป็นการประเมินตามสภาพจริงของการฝึกพูดภาษาอังกฤษ ซึ่งมีความหลากหลายวิธีการ อันดับแรกผู้เรียนจะต้องเข้าใจและจำสิ่งที่มีใน Journal ได้และสามารถบอกน้ำเสียงของผู้เขียนได้  ใช้วิธีการเขียนอย่างไร  ข้อมูลได้นั้นครูก็จะนำมาเป็นข้อมูลในการศึกษา  
คำสำคัญ (Tags): #e-learning
หมายเลขบันทึก: 35862เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2006 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท