เมื่อเวบไซต์เล็กๆ Wetlab จากขอนแก่น ถูกคัดเลือกลงแนะนำในนิตยสาร Cyber Guide magazine เมื่อ มิ.ย.2542


 

            ในแวดวงวิชาการ งานศึกษาวิจัย การมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ ในรูปของบทความ  บทคัดย่อ ข่าวสาร ถือเป็นอีกหนึ่งหลักฐานความสำเร็จของงานวิจัยชิ้นนั้น ในช่วง ปี 2541 นายบอนได้จัดทำเวบไซต์เล็กๆ Wetlab : Freshwater Biomonitoring Studies ชีววิทยาน้ำจืด ขึ้นมา เพื่อเป็นช่องทางเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เนตให้ผู้สนใจเข้ามาเปิดดูข้อมูล ได้สะดวกขึ้น

            ข้อมูลงานวิจัย มีหลายชิ้น ถูกนำมาพิมพ์และทำออกมาในรูปของเวบไซต์ ค่อยๆทำสะสมข้อมูลแล้ว แจ้งข้อมูลแนะนำเวบไซต์เกือบทุกวัน แจ้งไปตามกระดานข่าว และเวบต่างๆ จนเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น



         แม้จะเรียนจบมาทางด้านชีววิทยา ไม่ได้เรียนมาทางคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เนตโดยตรง  จึงจำเป็นต้องหาความรู้เพิ่มเติม หาหนังสือจัดทำเวบไซต์ + หาความรู้จากอินเทอร์เนต จนทำเวบไซต์ออกมาอย่างที่เห็นในรูปภาพ ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นแรกๆของ Wetlab  โดยเขียนด้วยภาษา HTML เองทั้งหมด สมัครใช้พื้นที่ฟรีของ geocities  และ thai.net ซึ่งในเวลานั้น 2541 เวบไซต์ดังกล่าวให้บริการพื้นที่สร้างโฮมเพจฟรี เมื่อมีข้อมูลใหม่เพิ่มเข้าไป จึงทำการประชาสัมพันธ์ตามแนวทาง ขั้นตอนการทำเวบไซต์ เมื่อค้นพบว่า ที่ไหน เวบไหนให้ประชาสัมพันธ์แจ้งข่าว เวบไซต์ใหม่ได้  จะแจ้งข้อมูลไปก่อน หากมีคนสนใจ คงจะคลิกเข้ามาชมเอง






            ในตอนนั้น การทำประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนรู้จักข้อมูลของ เวบ Wetlab  มข. ไม่ได้คาดหวังว่า เวบไซต์จะมีคนเข้าชมมากมาย เหมือนเวบไซต์ในแนวบันเทิง ดนตรี ดารา  แต่เป็นเวบทางเลือกสำหรับคนที่สนใจหาความรู้เฉพาะด้าน

            กลางเดือน มิถุนายน 2542 ในช่วงที่ไปเปิดดูวารสารในห้องสมุดกลาง ม.ขอนแก่น เพื่อติดตามข่าวสาร เทคโนโลยีใหม่ๆ เปิดไปเจอหน้าแนะนำเวบไซต์ที่น่าสนใจในนิตยสาร Cyber Guide magazine - Life on Internet ฉบับที่ 23 เดือนมิถุนายน 2542  ซึ่งได้แนะนำเวบไซต์ Wetlab ชีววิทยาน้ำจืด พร้อมภาพหน้าแรกของเวบไซต์ในเวลานั้น
      





            ถือได้ว่า เวบไซต์เล็กๆ อย่าง Wetlab ได้รับการยอมรับจากทีมงานผู้จัดทำหนังสือ Cyber Guide magazine ที่ได้ทำการแนะนำเวบ Wetlab ดังที่เห็นในภาพ ถือว่า ข้อมูลทางด้านชีววิทยาน้ำจืด ได้เปิดตัวสู่วงกว้างทางอินเทอร์เนต มีผู้คนที่สนใจ ได้รู้จักมากขึ้น  คลิกเข้ามาดูข้อมูลต่างๆได้สะดวกขึ้น ถึงแม้ว่า การนำเสนอข้อมูลในเวบไซต์ Wetlab ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง แต่ได้รับความสนใจ ในจำนวนคลิกที่เข้าชมที่เกินคาดหมาย  แม้จำนวนผู้เข้าชม อาจเทียบไม่ได้กับเวบไซต์แนวบันเทิง วาไรตี้ แต่ก็แสดงให้เห็นว่า มีผู้สนใจข้อมูลด้านนี้เช่นกัน







            เวบ Wetlab มีการพัฒนา เปลี่ยนหน้าตาไปตามกาลเวลา มีการนำไฟล์ข้อมูลย้ายไปเก็บที่เวบไซต์ที่สะดวกในการใช้งาน + สะดวกในการเก็บข้อมูลในเวลานั้น เมื่อนายบอนไม่ได้ทำงานอยู่ที่ขอนแก่น เวบไซต์จึงไม่มีผู้ดูแล พัฒนาต่อ  ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ในเวบไซต์สูญหายไป เพราะไม่มีความเคลื่อนไหวในการเข้าไปแก้ไข ปรับปรุงข้อมูล บางเวบไซต์ถูกลบไป  แต่ข้อมูลบางแห่งยังสามารถเข้าชมได้อยู่ หลังจากนั้น สัก 4-5 ปี ได้นำไฟล์ข้อมูลเวบไซต์ที่เคยทำ นำไปใส่ในเวบไซต์บางแห่ง เผื่อว่า ข้อมูลเก่าๆเหล่านั้น อาจเป็นประโยชน์กับผู้สนใจ  คลิกเข้ามาดูข้อมูล  ซึ่งปัจจุบัน ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ในเวบ Wetlab  ที่สามารถคลิกเข้าไปดูได้ อาทิ

http://sites.google.com/site/wetlabkku/

http://www.geociti.es/Paris/Rue/9943/incat.html
http://geociti.es/CapeCanaveral/launchpad/3239/biotic01.html

http://www.reocities.com/Paris/Rue/9943/catlead.html

ลักษณะของปลอกและแหล่งที่อยู่ อาศัยย่อยของตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำวงศ์ Leptoceridae ในลำธารอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
http://members.fortunecity.com/bionet/microhabitat_case.html

 

รวม link

http://wetlab.tripod.com/supalak/weblink.htm

หมายเลขบันทึก: 358507เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2010 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท