แผ่นกระดาษติดหน้าห้องกับ ภาพรวม สมาชิกห้องปฏิบัติการชีววิทยาน้ำจืด Wetlab เมื่อ พ.ศ.2541-2542





            กระดาษ 1 แผ่น ที่พิมพ์ออกมาเพื่อปิดตรงช่องกระจกหน้าประตูห้อง เมื่อไม่ให้คนภายนอก แอบดูคนที่กำลังทำงานภายในห้อง ซึ่งทำให้เสียสมาธิได้ กระดาษแผ่นเดียวนี้ ก็มีความหมายเช่นกัน



            นี่คือ กระดาษ A4 ที่ออกแบบ เพื่อนำไปปิดที่ช่องกระจกหน้าประตูห้อง Wetlab   ที่ตึก Biokku  หลังจากที่เคยมีรูปภาพ โบชัวร์ รูปโปสการ์ด มาปิดที่ช่องกระจก  เมื่อได้เปิดประตูเดินเข้าเดินออกทุกวันแล้ว ชักเบื่อๆ เลยนำรูปสมาชิกแต่ละท่าน มีทั้งอาจารย์ที่มาทำงานวิจัยร่วมกัน , เจ้าหน้าที่จากศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมที่ 6 ขอนแก่น และนักศึกษาปริญญาโท-ตรี  นำภาพแต่ละบุคคลมาใส่ในกระดาษแผ่นเดียว แล้วเอาไปติดไว้ที่ช่องกระจกหน้ากระตูห้อง


            พอติดเข้าไปแล้ว ก็ดึงดูดสายตาของหลายคน เป็นแผ่นประชาสัมพันธ์ไปในตัว ซึ่งในเวลานั้นได้จัดทำเวบไซต์ของห้อง Wetlab  เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูล และบทคัดย่อผลงานวิจัยส่วนหนึ่ง โดยใช้ที่อยู่เวบที่เห็นในภาพ ซึ่งสมัครใช้ของฟรี ออกแบบโลโก้ของ Wetlab  แล้วเอาไปแปะในเวบไซต์หลายที่ จนคุ้นตากันทั่วไป และภาพถ่ายของสมาชิแต่ละคน เป็นภาพที่ถ่ายในพื้นที่ภาคสนามในช่วงเวลาที่เดินทางไปเก็บตัวอย่าง ตัวอ่อนกลุ่มแมลงน้ำ ซึ่งภาพที่เห็น ก็เป็นภาพที่ใช้ในเวบไซต์

            วันเวลาผ่านไปเกิน 10 ปีแล้ว เมื่อเจอไฟล์รูปภาพนี้อีกครั้ง จ้องมองดูภาพของแต่ละคน ทำให้นึกถึงวันเวลาที่ผ่านมา เมื่อ 10 ปีที่แล้วได้เป็นอย่างดี



            สำหรับแผ่นกระดาษที่ Print ออกมาติดที่ช่องกระจกหน้าประตูห้อง Wetlab  ได้มีการทำออกมาอีกหลายแบบ เมื่อมีสมาชิกใหม่ นักศึกษาที่มาทำ Senior Project  ในปีต่อมา ก็จะเพิ่มรูปภาพเข้าไปใหม่ เปลี่ยนสีกระดาษบ้าง ปรับข้อความ เปลี่ยน font  บ้างอีกหลายเวอร์ชั่น แต่ไม่ได้ทำเป็นไฟล์รูปภาพเก็บไว้เหมือนไฟล์รูปภาพที่เห็นนี้



            นี่อาจจะเป็นเพียง  ความคิดสร้างสรรค์กับสีสันเล็กๆ น่ารักๆ ที่ประตูห้องในช่วงเวลานั้น แต่ก็เป็นสิ่งที่สะดวก เมื่อรุ่นน้องบางคน นัดเพื่อนให้มาหาที่ Wetlab  แค่บอกว่า "เดินขึ้นบันได ตึกไบโอ จะเห็นรูปของชั้นติดที่หน้าประตู นั้นแหละ ชั้นอยู่ในห้องนั้น....."


                นี่คือ กระดาษธรรมดาๆ แผ่นหนึ่ง ที่คุ้นตาของหลายคน ที่ตึก Bio มข. ในช่วงปี 2541-2542



คำสำคัญ (Tags): #wetlab#ความทรงจำ
หมายเลขบันทึก: 358492เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2010 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท