Be green
กลุ่มงานส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14

การจัดนิทรรศการ"คนสุราษฎร์...ร่วมใจอนุรักษ์อ่าวบ้านดอน"


        กลุ่มงานส่งเสริมและเผยแพร่ได้ร่วมจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการจัดการขยะ และภาวะโลกร้อน ในงานรณรงค์ คนสุราษฎร์…..ร่วมใจอนุรักษ์อ่าวบ้านดอนเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2553 ณ ริมเขื่อนแม่น้ำตาปี (ท่าเรือสะพานนริศ) อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งจัดโดยกลุ่มอนุรักษ์อ่าวบ้านดอน

       ช่วงการเตรียมงาน ทีมงานได้ร่วมกันวางแผนและเตรียมกิจกรรมสำหรับผู้ร่วมงาน โดยนำกระดาษ A4 มาใช้ซ้ำ โดย 1 แผ่น แบ่งเป็น 4 ส่วน แต่ละส่วน ใส่คำถามจำนวน  4 ข้อ สำหรับผู้ร่วมกิจกรรม 1 คน  หลังจากเจ้าหน้าที่ตรวจคำตอบแล้วก็มอบกระเป๋าผ้า ซึ่งจัดทำโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดร่วมกับ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14  ภายใต้โครงการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายเฝ้าระวังและการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำตาปี   นอกจากนี้ได้ทำกระดาษบัตรคำรูปหัวใจเพื่อให้ผู้ร่วมงานได้แสดงความคิดเห็นข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับปรุงต่อไป

 

 

 

ผลการประชุมหารือหลังสิ้นสุดกิจกรรม มีประเด็น ดังนี้

1. การได้รับความรู้ จากนิทรรศการ

ทีมงานใช้การตั้งคำถามแจกให้หาคำตอบภายในซุ้มนิทรรศการ ตอบครบทุกข้อส่งคำตอบกลับมาแล้วมอบรางวัลให้   เนื่องจากผู้ร่วมงานมีทั้งที่เป็นประชาชน  และ นักเรียน พบว่า คำถามที่ออกแบบไว้สื่อสารกับประชาชนจะไม่ค่อยเข้าใจ เจ้าหน้าที่ต้องประกบอธิบาย แต่ถ้าเป็นนักเรียนจะสามารถตอบคำถามได้เอง จึงมีข้อเสนอแนะกับการจัดครั้งต่อไป ดังนี้

                         1.1  ควรจะแยกคำถามระหว่างผู้ใหญ่ เด็กนักเรียน

                         1.2 ภาษาที่ใช้ เช่น ใช้คำพูดที่ชาวบ้านเข้าใจง่าย

                         1.3  คำถามไม่เน้นวิชาการมาก แต่เน้นความเข้าใจและการลงมือทำ

                         1.4 คำถามสำหรับผู้ใหญ่ควรมีคำตอบให้เลือกตอบ ไม่ควรเขียน  สำหรับนักเรียนเป็นการเขียนตอบได้ เพราะนักเรียนสามารถเขียนได้มากกว่า

2.  เนื้อหาการจัดนิทรรศการ

- นิทรรศการของหน่วยงานที่มาร่วมจัดนั้น พบว่า มีเนื้อหาบางส่วนที่เหมือนกัน  จึงควรมีการหารือร่วมกันระหว่างผู้จัดงานและกับหน่วยงานที่เข้าร่วม ควรจัดรูปแบบไหนและมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้างเพื่อไม่ซ้ำซ้อน

- ควรนำเสนอผลงานวิชาการ รวมถึงข้อมูลสถานการณ์สิ่งแวดล้อม ที่สำนักงานฯดำเนินการเอง เช่น ข้อมูลคุณภาพน้ำ  เพื่อประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ผลงานของสำนักงานฯ

  

 

3. การมอบรางวัล

การใช้รูปแบบให้มีการตอบคำถาม เกี่ยวกับจากนิทรรศการที่จัด ถ้าตอบถูกต้องแล้วจึงมอบรางวัล  มีข้อดีทำให้ผู้จัดและผู้ร่วมกิจกรรมได้มีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น  ผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ด้วยตนเอง แต่เนื่องจากของรางวัลค่อนข้างน้อย ไม่สามารถมอบให้กับทุกคน จึงได้มีข้อเสนอว่าถ้าของรางวัลมีน้อย อาจใช้รูปแบบการจับรางวัล โดยให้ส่งคำตอบ มีหางบัตรให้จับฉลากและจับรางวัลบนเวที ซึ่งมีข้อดีคือ ดึงคนอยู่ร่วมงานได้บ้าง(ถ้ารางวัลชิ้นใหญ่) เพราะการเสี่ยงโชคอยู่ในสายเลือดไทย (มากน้อยแล้วแต่บุคคล) นอกจากนี้กรณีที่มีเวทีกลางช่วยเพิ่มกิจกรรมและเป็นการบูรณาการร่วมกันของแต่ละหน่วยงาน

สำหรับของรางวัลควรเป็นของใช้ที่มีโลโก้สำนักงานฯ เช่น ปากกา  กระเป๋าผ้า สำหรับเอกสารประชาชนทั่วไปไม่ค่อยสนใจมากนัก แต่นักเรียนสนใจมากกว่า

4.  การประเมินผลการจัดนิทรรศการ

ได้ใช้บัตรคำรูปหัวใจและขอความร่วมมือผู้ร่วมกิจกรรมให้ข้อเสนอแนะ พบว่าได้ข้อเสนอแนะกลับมาค่อนข้างน้อย  พบว่า เนื่องจากกระดาษคำถามและบัตรคำข้อเสนอแนะไม่ได้อยู่ในชุดเดียวอีกทั้งผู้ร่วมกิจกรรมบางส่วนไม่ได้ให้ข้อเสนอแนะแต่ประการใด และบางส่วนเกิดจากเจ้าหน้าที่ไม่ได้แจกบ้าง  

ข้อเสนอแนะที่คิด คือ ควรจัดกระดาษคำถามและบัตรคำข้อคิดเห็นเป็นชุดเดียวกัน ได้รับครบแล้วจึงมอบของรางวัล และควรทำใบลงทะเบียนผู้เข้าซุ้มนิทรรศการเพื่อประเมินความสนใจ

 

ความประทับใจในวันนั้น การทำงานร่วมกันของเจ้าหน้าที่ สำนักงานฯเอง ขอบคุณพี่บัญชา น้องวิทย์ น้องฝน ช่วยกันจัดนิทรรศการ และเก็บภาพได้อย่างใจ   บรรยากาศการทำงานของสำนักงานฯ  สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุราษฎร์ธานี และหน่วยงานอื่นๆ ที่ได้แลกเปลี่ยน ทำกิจกรรมร่วมกัน

 

 

หมายเลขบันทึก: 358418เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2010 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาชม มาเชียร์ กิจกรรมชาวเมืองร้อยเกาะ หอยใหญ่ ไข่แดง

ร่วมรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อชุมชนยั่งยืน ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท