บันทึกที่7 7.1 โครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา (ฉบับแก้ไข)


ชุดการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “อาหารกับการดำรงชีวิต”

 

 

ชื่อโครงการ: ชุด การสอน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “อาหารกับการดำรงชีวิต” 

 

ชื่อผู้จัดทำโครงการ: นางสาววิมุทิตา ปัญโญใหญ่  รหัส 52741145 ป.52.01

 

หลักการและเหตุผล:

การเรียนรู้อาหารและสารอาหาร เป็นขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้รู้จักคุณค่าทางโภชนาการ การกินอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ได้สัดส่วนเหมาะสมกับ เพศ วัย และสภาพร่างกาย  ส่งผลให้ผู้เรียนมีความพร้องทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  นักเรียนส่วนใหญ่  รู้จักสารอาหารไม่กี่ชนิด ไม่สามารถจำแนกประเภทได้อย่างแม่นยำ  อีกทั้งยังไม่ค่อยรู้จักประโยชน์และโทษจากการขาดสารอาหาร ดังนั้นผู้จัดทำจึงจัดทำชุดการสอนขึ้นเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนได้รู้จักสาร อาหาร ประโยชน์และโทษได้อย่างถูกต้อง

 

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักสารอาหารที่สำคัญต่อมนุษย์ได้อย่างครบถ้วน

2.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแยกสารอาหารแต่ละชนิดได้อย่างแม่นยำ

3.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบอกแหล่งอาหาร ความสำคัญและผลของการขาดวิตามินชนิดต่างๆได้

4. เพื่อให้ผู้เรียน สามารถบอกแหล่งอาหาร ความสำคัญและผลของการขาดแร่ธาตุต่างๆได้

5. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบอกความต้องการพลังงานของแต่ละช่วงอายุได้

 

 

ขอบเขตของสื่อนวัตกรรม ที่นำไปใช้

- ขอบเขต เนื้อหาที่จะใช้: อาหารและสารอาหารที่สำคัญ คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ และความต้องการพลังงานของร่างกาย

- ขอบเขตระดับชั้นที่จะนำไปใช้: ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้เรียนสามารถแยกสารอาหารแต่ละชนิดได้อย่างแม่นยำ

2. ผู้เรียนสามารถสามารถบอกแหล่งอาหาร ความสำคัญและผลของการขาดวิตามินชนิดต่างๆได้

3. ผู้เรียนสามารถบอกแหล่งอาหาร ความสำคัญและผลของการขาดแร่ธาตุต่างๆได้

4. ผู้เรียนสามารถบอกความต้องการพลังงานของแต่ละช่วงอายุได้

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. ผู้จัดทำโครงการได้ศึกษาหลักสูตรสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “อาหารกับการดำรงชีวิต” ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อหาขอบเขตของเนื้อหา และนำมาทำชุดการสอน โดยเขียนโครงการเสนออาจารย์ เพื่อรออนุมัติและปฏิบัติขั้นตอนต่อไป
  2. ผู้จัดทำโครงการเลือกทำชุดการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “อาหารกับการดำรงชีวิต” ในชุดการสอน 1 กล่อง จะประกอบไปด้วย คู่มือครู 1 เล่ม, ซองแบบฝึกปฏิบัติ, ซองข้อทดสอบก่อนและหลังเรียน พร้อมกระดาษคำตอบ และ ซองศูนย์ที่ 1 2 และ 3
  3. ซองศูนย์ที่ 1 จะประกอบไปด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรคำถาม บัตรเฉลย และ เกม “หมวดหมู่อาหารหรรษา”

อุปกรณ์ที่เตรียม 1. กระดาษแข็งสีต่างๆ 2. สีไม้ 3. สีน้ำ

-          จัดเตรียม บัตรคำสั่งเพื่อให้ผู้เรียน อ่านและได้รู้ขั้นตอนของการปฏิบัติ หลังจากนั้น จัดเตรียมบัตรเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียนได้อ่านเนื้อหาโดนรวมของเรื่องที่ศึกษา จัดทำเกม“หมวดหมู่อาหารหรรษา”  โดยเกมจะมีเนื้อหาของสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ซึ่งจะมีหมู่อาหารทั้ง 3 เป็นหลัก จากนั้นผู้เรียนนำเนื้อหา และประโยคที่ถูกต้องมาใส่ในช่องสารอาหารแต่ละหมุ่ให้ถูกต้อง

  4. ซองศูนย์ที่ 2 จะประกอบไปด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรคำถาม บัตรเฉลย และ เกม “จิ๊กซอวิตามิน”

-          จัดเตรียม บัตรคำสั่งเพื่อให้ผู้เรียน อ่านและได้รู้ขั้นตอนของการปฏิบัติ หลังจากนั้น จัดเตรียมบัตรเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียนได้อ่านเนื้อหาโดนรวมของเรื่องที่ศึกษา จัดทำเกม “จิ๊กซอวิตามิน”โดยเกมจะมีเนื้อหา เกี่ยวกับ แหล่งอาหาร ความสำคัญ และผลของการขาดวิตามินชนิดนั้นๆ

  5. ให้ผู้เรียนนำข้อมูลมาต่อกับ หัวข้อหลัก คือ วิตามินละลายในไขมัน ได้แก่ A D E K และวิตามินละลายในน้ำ ได้แก่ B1 B2 B3 B6 B12 และ C จนเป็นรูปจิ๊กซอรูปต่างๆ ซองศูนย์ที่ 3 จะประกอบไปด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรคำถาม บัตรเฉลย และ เกม “ดอกไม้แร่ธาตุ”

-          จัดเตรียม บัตรคำสั่งเพื่อให้ผู้เรียน อ่านและได้รู้ขั้นตอนของการปฏิบัติ หลังจากนั้น จัดเตรียมบัตรเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียนได้อ่านเนื้อหาโดนรวมของเรื่องที่ศึกษา จัดทำเกม “ดอกไม้แร่ธาตุ”โดยเกมจะมีเนื้อหา เกี่ยวกับ แหล่งอาหาร ความสำคัญ และผลของการขาดแร่ธาตุชนิดนั้นๆ

ซึ่งเนื้อหาจะอยู่บนกลีบดอกไม้ ให้ผู้เรียนนำข้อมูลมาเรียงกันจนเป็นดอกไม้ชนิดต่างๆอย่างถูกต้อง

 6. นำสื่อไปทดลองใช้และประเมินผลเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ระยะเวลาในการจัดทำ

-   15 -27 พฤษภาคม 2553

งบประมาณที่ใช้จริง

-  -500 บาท

บรรณานุกรม

            ชีวิตกับสิ่งแสดล้อม สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต. (2544). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน .กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

            สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระ การเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้: กรุงเทพมหานคร.

หมายเลขบันทึก: 358363เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2010 02:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2012 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอคำแนะนำโครงการฉบับปรับปรุงนี้ด้วยนะค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์

^^

อ๋อครับ ...

อยากเห็นแผนการสอนที่เป็นตารางในตัวอย่างคู่มือครูครับ

จะทำให้งานชัดเจนขึ้นอย่างแน่นอนครับ ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท