หลักสูตรฝึกอบรม


การมีส่วนร่วมของชุมชนจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการจัดการศึกษา

รายงานการวิจัย

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา

A development of training curriculum on the topic of the community participation on educational management

รองศาสตราจารย์ ดร.วารีรัตน์  แก้วอุไร              หัวหน้าโครงการวิจัย

รองศาสตราจารย์ เทียมจันทร์  พานิชย์ผลินไชย  ผู้วิจัยร่วม

นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ผู้ช่วยวิจัย

 คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร

สนับสนุนทุนวิจัยโดย  คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยนเรศวร

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการด้านความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา   2) สร้างหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา  3) ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา  4) ประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา

     วิธีดำเนินการวิจัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนในการดำเนินการทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้  ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องหลักสูตรการฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 2 การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรม

            ผลการวิจัย พบว่า

               1.  ชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์มีปัญหาด้านการดำเนินการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความต้องการที่จะได้รับการอบรม เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจให้กับคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน นักวิชาการศึกษา หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ดูแลเด็กขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ทั้ง 5 แห่ง ให้มีศักยภาพในการดำเนินงาน เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โดยผู้เข้ารับการอบรมควรได้รับความรู้ และทักษะในด้านความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย การนำเสนอแนวปฏิบัติการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย และการนำเสนอแนวทางการให้บริการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยของเด็กปฐมวัย

                2.  หลักสูตรมีองค์ประกอบของ หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตรครอบคลุมพฤติกรรมด้านความรู้ความคิด และทักษะปฏิบัติที่รวมเจตคติที่ดีเข้าไว้ด้วยกัน โครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตรมี 3 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย และการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยของเด็กปฐมวัย  กิจกรรมการฝึกอบรมใช้การบรรยายและการอภิปราย เน้นการปฏิบัติโดยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม เช่น กิจกรรมระดมสมอง โดยการจัดกิจกรรมยึดหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ และหลักการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ สื่อ และอุปกรณ์การฝึกอบรม การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม ผลการประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องในองค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมและสอดคล้องในองค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรมในระดับ ดี แต่มีประเด็นต้องปรับปรุงในด้านการใช้ภาษาให้ง่ายต่อความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรม ผลความเป็นไปได้ในการนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ พบว่า หลักสูตรมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้โดยให้จัดเนื้อหาที่มีทั้งการให้ความรู้และการปฏิบัติแบบทำงานกลุ่มร่วมกันเป็นทีม

                3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของผู้เข้ารับการอบรม หลังเข้ารับการอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา ของคณะผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ดูแลเด็กระดับอนุบาลและปฐมวัย ที่เข้ารับการฝึกอบรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินการมีส่วนร่วมของชุมชนตามบันไดแห่งการมีส่วนร่วมของพลเมือง พบว่า มีพัฒนาการจากระดับการมีส่วนร่วมแบบเทียม เป็น มีระดับการมีส่วนร่วม แต่ยังไม่เกิดระดับการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

            4. ผลการประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า หลังการฝึกอบรมชุมชน ผู้เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจที่มีต่อการอบรมตามหลักสูตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ประเมินพบว่า ชุมชนมีความพึงพอใจต่อการอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น (เกณฑ์ค่าเฉลี่ยระดับคะแนน ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไม่เกิน 1.00) มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เข้ารับการฝึกอบรมว่า ควรเพิ่มระยะเวลาในการฝึกอบรม เพราะหากมีระยะเวลามากกว่านี้ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้ และทักษะในการฝึกอบรมในครั้งนี้มากยิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้ และทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมในครั้งนี้ไปแก้ไข ปรับปรุง และประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ABSTRACT

                The purposes of this research were to 1) study of problems and needs in aspect of knowledge about community role to participate in educational management  2) construct training curriculum on the topic the community participation on educational management 3) implement training curriculum on the topic the community participation on educational management 4) evaluate training curriculum on the topic the community participation on educational management

                The research methodology research and development and has 4 stage so forth; stage I : Studying problem and Needs of training curriculum; stage II : Constructing training curriculum; stage III : Implementation training curriculum; and stage IV : Evaluation training curriculum

                The research result found that:

                1.  The community of Tapoo Tambon administrative organization has a problem in  aspects of operation in educational management of early childhood and has a needed to get training for develop knowledge of Tambon administrative organizations, community leaders,  academic educators, head of early childhood, and  early childhood teachers of 5 offices of  Tapoo Tambon administrative organization to meet operational competency for entrance to quality assurance in early childhood educational management by trainees should gained knowledge and skills about experiential management for early childhood, presentation lines of early childhood evaluation and line of service health promoting and save live of early childhood.

                2.  Curriculum has component of principle and reason, curriculum objective whole cognitive domain and psychomotor domain that included good attitude, structure of content has 3 learning units about experiential management for early childhood, presentation lines of early childhood evaluation and line of service health promoting and save live of early childhood, training activities use lecture and discussion focused on participatory practicum in group activity such as brain storming activity, activities management fixed on learning psychology principle and learning principle of adult learning, training materials, training measurement and assessment, curriculum has appropriate and consequence of components in good level, but has a little to adapt to use language easy to understand, and stakeholders reflect to the aspect of curriculum in feasibility to use by organized theory and practice to work with a group of teamwork between its stakeholders.

                3.  Training curriculum implementation found that community knowledge concerning with community role to participate in educational management in post -training higher than pre-training at statistical significance 0.01, and competencies in practicing activities about community role to participate in educational management are the whole in high level. The effect of participatory evaluation on a ladder of citizen participation revealed that its has advance from pseudo participation level to reach participation level but not to genuine participation.

                4.   Evaluate training curriculum on the topic the community participation on educational management in post –training found that  the whole aspects of communities have satisfy in high level, and have any suggestion to increase more time training for efficiency revise, develop, and apply to encourage prosperity health.

หมายเลขบันทึก: 358266เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จะเข้ามารับความรู้ของอาจารย์บ่อย ๆ นะครับ

มีความรู้มากเลยครับ.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท