แผนยุทธการเผชิญเหตุสาธารณภัย


แผนยุทธการเผชิญเหตุสาธารณภัย

แนวทางการปฏิบัติ

   กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัด/อำเภอปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุฯ ดังนี้

  1)  ขั้นที่ 1 การเตรียมการและป้องกัน

              ก)  การบูรณาการตามแผนเผชิญเหตุฯ กับหน่วยข้างเคียง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ เหล่ากาชาด  กำลังอาสาสมัคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชนและอื่น ๆ ในการปฏิบัติเมื่อเกิดภัยพิบัติในด้านกำลังพล เครื่องมืออุปกรณ์ ยานพาหนะทางบก ทางน้ำ  ทางอากาศ น้ำมันเชื้อเพลิง  เครื่องมือสื่อสาร เครื่องจักรกล รวมทั้งเวชภัณฑ์  อาหาร  น้ำดื่มเครื่องนุ่งห่ม  สถานที่พักพิงชั่วคราว และอื่น ๆ  เป็นต้น

                  ข)   การติดตามสถานการณ์ด้านการข่าวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง จากสื่อทุกประเภท หรือจาก เว็บไซด์การเตือนภัยจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ   หรือกรมอุตุนิยมวิทยา  

หรือสำนักงานเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน รวมทั้งการสังเกตและตรวจสอบปริมาณน้ำฝน ระดับน้ำ และการรายงานจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   เป็นต้น

              ค)  ประสานกับหน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อร่วมกันตรวจสอบระบบแจ้งเตือนภัยทุกประเภทที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบว่ามีความพร้อมใช้งานหรือไม่ เช่นหอเตือนภัยสึนามิ

 มีการทดสอบหรือซ้อมเตือนภัยโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบบ้างหรือไม่  เป็นต้น         

              ง)  ประสานหน่วยงานรับผิดชอบ   เพื่อร่วมกันสำรวจและกำหนดเส้นทาง สถานที่หรือพื้นที่ปลอดภัย ในการเข้าไปให้ความช่วยเหลือหรือจำเป็นต้องอพยพผู้ประสบภัยออกจากพื้นที่ภัยพิบัติ

   จ ) ประสานแผนการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

 และส่วนราชการ โดยใช้อาวุธตามความจำเป็นและเหมาะสมร่วมกับฝ่ายปกครอง

 ฝ่ายตำรวจ  หรือฝ่ายทหาร                                                                  

  ฉ)  การฝึกซ้อมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแผนเผชิญเหตุฯ และแผนของศูนย์เฉพาะกิจฯ ด้านกำลังพล และการเตรียมพร้อมเครื่องมือ หรือสิ่งอุปกรณ์ ยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องมือสื่อสาร และอื่น ๆ เพื่อให้พร้อมปฏิบัติได้ทันทีเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น

    ช)  ฯลฯ  (ข้อ ก) - ฉ) เป็นตัวอย่างสามารถเพิ่มเติมได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์

ในพื้นที่รับผิดชอบ)

2) ขั้นที่ 2  เผชิญเหตุภัยพิบัติ

      ก)  การแจ้งเตือนภัยพิบัติผู้บังคับบัญชา ผู้ปฏิบัติแผนเผชิญเหตุฯ ผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้ง

ประชาชนโดยทันที

  ข)  การดำเนินการตามขั้นตอนตามแผนเผชิญเหตุฯ

              1)  เมื่อมีข้อมูลข่าวสารหรือการแจ้งเตือนให้เตรียมพร้อมกำลังพลสมาชิก อส.

รวมทั้งเครื่องมือ สิ่งอุปกรณ์และอื่น ๆ ณ ที่ตั้งเต็มอัตราตลอด 24 ชั่วโมง                                                                                                                                                                    

              2)    เมื่อเกิดภัยพิบัติซึ่งอยู่ในขีดความสามารถที่จะปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุฯได้เอง ให้ดำเนินการช่วยเหลือเหตุเฉพาะหน้าก่อน โดยจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วน ในการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยเป็นลำดับแรก  สัตว์เลี้ยง และทรัพย์สินเป็นลำดับรอง ลงไป

      3)  การเข้าถึงและการออกจากสถานที่หรือพื้นที่เกิดภัยพิบัติ โดยเส้นทาง

ปลอดภัยตามที่สำรวจ และกำหนดไว้ในแผนเผชิญเหตุฯ

             4)  การดำรงการติดต่อสื่อสารอย่างต่อเนื่อง โดยเครื่องมือสื่อสารทุกประเภทที่สามารถติดต่อได้  รวมทั้งการใช้พลนำสาร

      5)  การช่วยเหลือผู้ประสบภัย  เพื่อไปยังพื้นที่ปลอดภัย หรือพื้นที่พักพิงชั่วคราวและ

ให้การช่วยเหลือขั้นต้น เช่น การปฐมพยาบาล อาหาร น้ำดื่ม เครื่องนุ่งห่ม  เป็นต้น

      6)  สนับสนุนช่วยเหลือศูนย์เฉาะกิจฯในการสำรวจความเสียหายขั้นต้น  เพื่อให้

ทราบจำนวนผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ  ผู้สูญหาย และพื้นที่เกิดภัยพิบัติ  รายงานผู้บังคับกองร้อยฯ  

(นายอำเภอ/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ) ทราบโดยด่วน                                                                                                                                                                                                                                   

      7)  ประเมินและรายงานสถานการณ์  สามารถควบคุมหรืออยู่ในขีดความสามารถที่จะ

ดำเนินการเองได้หรือไม่ หากเกินขีดความสามารถที่ปฏิบัติได้ ให้ร้องขอความช่วยเหลือเพิ่มเติม

จากกองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัด หรือจากหน่วยข้างเคียง  ส่วนราชการ

รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน หรือหน่วยงานอื่น ๆ  ตามที่

ได้มีการประสานหรือบูรณาการตามแผนเผชิญเหตุฯ                                                                                                                                   

                  8)   การส่งกำลังบำรุงขั้นต้นตามขีดความสามารถ  เช่น อาหาร น้ำดื่ม  เวชภัณฑ์  เครื่องนุ่งห่ม  แก่ผู้ประสบภัยและกำลังพลที่เข้าช่วยเหลือ

             9)   การปฏิบัติการร่วมกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง ในการส่งกลับผู้ได้รับบาดเจ็บไปยังโรงพยาบาล  สถานีอนามัย หรือสถานพยาบาลชั่วคราวโดยด่วน ด้วยพาหนะทางบก ทางน้ำ หรือขอรับการสนับสนุนทางอากาศ รวมทั้งการกำหนดพื้นที่ที่พาหนะสามารถเข้าถึงหรือลงจอดได้                                                                                     

           10)   การปฏิบัติการร่วมกับหน่วยเกี่ยวข้องเคลื่อนย้ายผู้เสียชีวิตไปยังพื้นที่ที่กำหนดไว้ เพื่อรอการตรวจพิสูจน์จากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ

     11)   จัดชุดปฏิบัติการสมาชิก  อส. อยู่ประจำ  เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจฯ   ส่วนหน้า

เพื่อประสานงานการช่วยเหลือในพื้นที่พักพิงชั่วคราว ที่กำหนดไว้  ซึ่งยานพาหนะสามารถ เข้าถึงได้ในระดับตำบลหรือหมู่บ้าน                                                                                      

          12)  จัดชุดปฏิบัติการลำเลียง อาหารและน้ำดื่ม  ด้วยยานพาหนะหรือเดินเท้า เพื่อเข้าถึงผู้ประสบภัยที่อยู่ห่างไกลไม่สามารถอพยพออกไปพื้นที่ปลอดภัยได้

          13)  จัดชุดปฏิบัติการร่วมกับฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ หรือฝ่ายทหาร รักษาความสงบ เรียบร้อย เพื่อ ป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินผู้ประสบภัย  และการจัดระบบการจราจร

ตั้งจุดตรวจ เส้นทาง เข้า-ออก เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องและหน่วยช่วยเหลือปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสะดวก                                                                                                                               

          14)  หากเกินขีดความสามารถให้กองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดสั่งใช้สมาชิก อส.   จากกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัด หรือกองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอ/กิ่งอำเภอ  ภายในพื้นที่จังหวัด ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ช่วยเหลือเพิ่มเติมก่อน และหากยังเกินขีดความสามารถให้ร้องขอกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน   เพื่อให้ผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดนสั่งใช้กำลังสมาชิก อส. ข้ามเขตจังหวัด  จากกองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ   หรือจากกองร้อยบังคับการและบริการ  กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน (ส่วนแยกชะอำ) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

           15)  ฯลฯ (ข้อ  1) - 14)  เป็นตัวอย่างเพิ่มเติมได้เพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ )                                                                                           

3) ขั้นที่ 3 หลังเกิดภัยพิบัติ (การฟื้นฟู)

       ก)  จัดชุดปฏิบัติการเพื่อค้นหาผู้สูญหาย และกำจัดเก็บกวาดสิ่งปฏิกูลในที่อยู่อาศัยของผู้ประสบภัย  รวมทั้งการทำความสะอาดสถานที่ราชการ

           ข) จัดชุดปฏิบัติการร่วมกับองค์กรภาคประชาชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยข้างเคียง บรรจุและขนย้ายสิ่งของที่ได้รับบริจาคจากภาครัฐและภาคเอกชน                                                                                                                             

              ค)    จัดชุดปฏิบัติการช่วยเหลือพร้อมเครื่องมือช่างไม้ หรือช่างก่อสร้าง    เ พื่อซ่อมแซมบ้านเรือน อาคาร ฝาย ทำนบ หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ตามขีดความสามารถ

           ง)  จัดชุดปฏิบัติการร่วมกับสาธารณสุข ในการเฝ้าระวังและสนับสนุนช่วยเหลือ

เพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาดภายหลังเกิดภัยพิบัติ

 

         จ) จัดชุดปฏิบัติการร่วมกับฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ในการอำนวยความสะดวก

และการนำทางเข้าพื้นที่ภัยพิบัติ แก่คณะที่จะเข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัย

         ฉ) จัดชุดปฏิบัติการร่วมกับหน่วยราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้

เครื่องมือจักรกลเปิดเส้นทางหรือซ่อมแซมทางคมนาคมในขั้นต้น

          ช)  การจัดทำบรรยายสรุปการปฏิบัติหน้าที่ของกำลังพลสมาชิก อส.ในการช่วยเหลือ

                  ผู้ประสบภัยแก่คณะตรวจเยี่ยม หรือคณะที่มาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย                                                                            

          ซ)  การรายงานผลการปฏิบัติงานของสมาชิก   อส.  พร้อมภาพถ่ายหรือแผ่นซีดี (ถ้ามี)              

   ให้กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดนทราบ

          ฌ)  พิจารณาสับเปลี่ยนกำลังพลเพื่อหมุนเวียนกันพัก เมื่อมีการปฏิบัติงานติดต่อกัน

เป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นและมีกำลังพลเพิ่มเติมจากกองร้อยอาสารักษาดินแดนใกล้เคียง  หรือจากกองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดหรือหน่วยกำลังอื่น   

หมายเลขบันทึก: 358217เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 09:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท