พลาย
พลายพิชัย พลาย ิศิริอรรถ

คุณธรรมนำความรู้


ปลายทางของการศึกษาคืออุปนิสัยที่ดี

คุณธรรมนำความรู้ (ฉบับปรับปรุงใหม่)

 

"ปลายทางของการศึกษา คือ อุปนิสัยที่ดีงาม
ปลายทางของชีวิต คือ ความสุขที่แท้จริง"
ข้อความสั้น ๆ บนปกหนังสือกระตุ้มให้อยากอ่านหนังสือเล่มนี้อีกครั้ง แม้จะเป็นชื่อเดิมแต่เล่มนี้มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งมากขึ้นสำหรับผู้อ่าน ภายในเล่มประกอบไปด้วย อะไรบ้างนะรึ ลองมาติดตามดูกันเลย...


๑. ปลายทางของการศึกษา มีคำถาม ๒ ข้อ ที่ต้องถาม คือ
๑.๑ เราอยากให้เด็กของเราเป็นคนแบบไหน
คำตอบก็คือ "มีคุณลักษณะความเป็นเลิศของมนุษย์" หมายถึง คนที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ ของตน โดยปราศจากความเห็นแก่ตัว คนที่มีแต่ความรักความเมตตา คอยรับใช้ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยมิได้หวังสิ่งตอบแทน คนที่รักความสามัคคี คนที่มีความสุขในชีวิต
คนที่ค้นพบความสงบสุขในตัวเอง


๑.๒ เราได้สอนอะไรให้แก่เด็ก ๆ บ้าง
คำตอบคือ ครูต้องมอบความรัก ความเอาใจใส่ พัฒนาการเรียนกาสอนให้เกิดการสร้างคนดีเหนือสิ่งอื่นใด ในขณะเดียวกันก็ต้องมอบความรู้ทางด้านวิชาการให้แก่ผู้เรียนควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เขาสามารถผสานทั้งสองอย่างเข้ากับการดำเนินชีวิตในอนาคตได้อย่าง สมบูรณ์


๒. อุปนิสัยที่ดีงาม คือคุณค่าของความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตของคนเรา ๕ ประการ ได้แก่ ความระพฤติชอบ ความสงบ ความจริง ความรักความเมตตา การไม่เบียดเบียน การจัดการเรียนการสอนของครูควรนำอุปนิสัยทั้ง ๕ ประการไปบูรณาการเข้ากับการสอนที่จะมอบให้แก่เด็ก ๆ อย่างเอาใจใส่ ก็เป็นโอกาสอันดีที่ครูและนักเรียนจะเป็นผู้มีนิสัยที่ดีงามไปพร้อม ๆ กัน


๓. ส่งเสริมให้เด็ก ๆ มีความสุขด้วยการรู้จักตนเอง การศึกษาที่สมบูรณ์ต้องสอนให้เด็กรู้จักตนเองว่าเขาคือใคร มาอยู่โลกนี้ทำไม เพื่ออะไร และจะไปไหน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะสุดท้ายแล้วมันจะเป็นคำตอบของทุกคำถามในชีวิตเรา


การสอนให้เริ่มรู้จักตนเอง ด้วยการรู้ทันประสาทสัมผัสทั้งห้า สิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เราได้ยิน จริงแล้วเป็นเพียงคลื่นในอากาศ แต่ความเลวที่เราเห็นและได้ยินนั้น แท้จริงแล้วมันมีอยู่ในใจของเรานั่นเอง
สัมผัสที่หก ครูทีมีความรักความเมตตา จะเป็นครูที่ช่วยให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด เพราะครูสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ ผ่านใจครูสู่ใจเด็กได้ผ่านสัมผัสที่หก


การรักษาสุขภาพจิตและสุขภาพจิตของเด็กให้แจ่มใสอยู่เสมอ โดยการมีความคิดที่ดีและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
จิตใตสำนึก เราบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบันลงในจิตใต้สำนึก


จิตสำนึกหรือการรับรู้ วิธีฝึกให้จิตสำนึกทำงานได้ดีก็คือการฝึกให้จิตสำนึกมีสมาธิ


จิตเหนือสำนึก เราสามารถยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ด้วยการสวดมนต์ การฝึกสมาธิ การแผ่เมตตา เมื่อระดับจิตใจยกสูงขึ้นเราก็เริ่มจะสัมผัสกับจิตเหนือสำนึกหรือ จิตบริสุทธิ์ที่อยู่ในตัวเรา และปัญญาระดับสูงก็จะเกิดขึ้น ความรู้ปัญญาสูงสุดก็จะเกิดขึ้น การหยั่งรู้ด้วยตนเองก็จะเกิดขึ้น


๔. หัดให้เด็ก ๆ คิดอย่างมีวิจารณญาณ ปัญหาคือเด็กไทยคิดวิคราะห์์ไม่เป็น แต่เราต้องสอนให้เด็กเก่งคิดวิเคราะห์ในทางที่ดีไม่หันเหไปจากความดีงาม ไม่เก่งแล้วเห็นแก่ ตัว วิธีการใช้วิจารณญาณคือ สอนให้ผู้เรียนรู้จักคิดก่อนที่จะลงมือกระทำ โดยให้ตั้งคำถามกับตัวเอง ๒ คำถาม คือ


๔.๑ สิ่งที่รับรู้เข้ามา ดีกับเราไหม (กุศล) ถ้าคำตอบคือ ดี ก็ให้ตั้งคำถามต่อไปว่า


๔.๒ สิ่งที่รับรู้เข้ามา ดีกับทุกคนไหม ถ้าคำตอบคือ ดี สำหรับทุกคนก็ให้ทำ แต่ถ้าคำตอบคือ ไม่ดี ข้อใดข้อหนึ่ง หรือไม่ดีทั้งสองข้อ ก็ไม่ต้องทำ เราควรฝึกเด็ก ๆ ของเราให้รู้จักคิดก่อนลงมือทำแต่ในสิ่งที่ดี ๆ


๕. ปฏิบัติการเปลี่ยนนิสัยผู้เรียน


๕.๑ เปลี่ยนตัวเรา (ครู) เป็นอันดับแรก ไม่มีอาชีพไหน ที่จะวิเศษยิ่งใหญ่เท่ากับอาชีพครู และไม่มีอาชีพไหนที่จะกำหนดชะตากรรมของประเทศชาติิเหมือนครู ไม่มีอาชีพไหนที่จะช่วยให้อนาคตของโลกเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีนอกจากอาชีพ ครู ในฐานะที่เราเป็นแม่พิมพ์ต้องคิดเสมอว่า เด็กจะทำตามสิ่งที่ครูทำแต่ไม่ทำตามสิ่งที่ครูบอก


๕.๒ นิสัยเด็กเปลี่ยนได้ ครูและพ่อแม่ผู้ปกครองควรจะเฝ้าระวังการกระทำผิดของเด็ก และช่วยแก้ไขให้ถูกต้องอย่างเร็วที่สุด ก่อนที่มันจะบ่มเพาะเป็นนิสัย ซึ่งจะแก้ได้ยากมาก อะไรก็ตามที่เราปล่อยให้มันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็เท่ากับเรากำลังตั้งโปรอแกรมในจิตใต้สำนึกของเรา และก็ไม่ง่ายที่จะลบมันออกไป


๕.๓ วิธีเปลี่ยนนิสัยเด็กจากลบให้เป็นบวก ครูต้องเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนนิสัยเด็กเป็นเร่ื่องที่ทำได้ และทำไดไม่ยาก เพียงแต่ครูในโรงเรียนต้องร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างใส่ใจ และต้องดำเนินการเปลี่ยนนิสัยเด็กพร้อมกันทั้งโรงเรียน ซึ่งมีกระบวนการตัวอย่างดังนี้ เริ่มต้นด้วยนิทานที่สอดคล้อง ตามด้วยท่องบทหรือคำกล่าวสำคัญที่จะให้เกิดกับผู้เรียน ร้องเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องเพิ่มเติมลงไป บูรณาการคุณลักษณะนิสัยที่ต้องการในทุกกลุ่มสาระ และทบทวนอีกครั้ง ร้องเพลงอีกครั้ง ท่องคำสำคัญอีกสามครั้งก่อนจบ ในหนึ่งกิจกรรมการเรียนรู้


๖. นำเด็ก ๆ สู่อัจฉริยภาพด้วยสมาธิ ผลจากงานวิจัยพบว่าประโยชน์ที่เห็นได้เร็วจากการฝึกสมาธิก็คือ การที่ความจำจะดีขึ้นมาก
การควบคุมจิตใจให้หยุดนิ่ง (สมาธิ) ด้วยลมหายใจเข้าออก เราควรเรียนรู้ที่จะควบคุมการหายใจของเรา ถ้าหายใจลึก ๆ ชช้า ๆ ตลอดวัน เราจะรู้สึกสงบ ใจเย็น และแข็งแรง ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้อายุยืนขึ้น


๗. รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่จะนำเด็ก ๆ สู่ คุณธรรมนำความรู้


ครูต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครอง โรงเรียน ชุมชน โลกภายนอก ทุกอย่างต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงาน เขตพื้นที่ ต้องเป็นตัวอย่างของความดี สื่อต่าง ๆ ซึ่งมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต้องนำเสนอสาระที่ดีมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของ เด็ก ศูนย์การเรียนรู้ต้องมีหลากหลาย มหาวิทยาลัยควรร่วมมือกับโรงเรียน และสนับสนุนให้ครูทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องที่มีคุณธรรม ผู้ปกครอง ชุมชนและโรงเรียนก็ควรร่วมมือกัน


โรงเรียนควรจัดบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรัก ความเมตตา ผู้บริหารโรงเรียน ต้องช่วยให้ครู พนักงาน และนักเรียนมีความสุข เพราะจะส่งผลให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้ดี ผู้เรียนก็จะมีความสุข และประสบความสำเร็จในการเรียน


ห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และมีประสบการณ์ตรงให้มากที่สุด ดังนั้นการเรียนรู้ที่ดีจึงไม่ใช่เรียนอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยม แต่อาจจะเรียนอยู่ในทุ่งนา ใต้ต้นไม้ ริมแม่น้ำ บนเขา การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ครูจึงมีบทบาทสำคัญในการวางแผนการเรียนการสอน ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด


๘. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นคุณธรรมนำวิชาการ
วัตถุประสงค์คือ มุ่งจะสร้างคนดีเหนือสิ่งอื่นใด
เข้าใจผู้เรียน ว่าเด็ก ๆ ไม่ใช่หุ่นยนต์หรือคอมพิวเตอร์ที่คอยแต่จะรับไข้อมูลจากครูผู้สอนมาบันทึก ไว้ แต่เด็ก ๆ เป็นมนุษย์ที่มีกระบวนการเรียนรู้เหมือนผู้ใหญ่ทุกประการ


ครู ต้องเปลี่ยนตัวเองจากผู้สอนมาเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียน รู้ เมื่อผู้เรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร ครูไม่ควรบอกคำตอบทั้งหมด แต่ควรจะหาทางแนะนำให้ผู้เรียนได้ความรู้และคำตอบด้วยตนเอง


๙. หลักการของรูปแบบการสอนที่เน้น คุณธรรมนำวิชาการ
แบบอย่าง ครู ผู้ปกครอง ภารโรง คนสวน แม่ครัว รปภ. พ่อค้าแม่ค้า ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี


เอ็ดดูแคร์ (Educare) เป็นการดึงเอาสิ่งที่ดีงาม รวมถึงคุณธรรมออกมมาจากจิตใจของผู้เรียน ในการเปลี่ยนแปลงผู้เรียนให้เป็นคนดี ครูต้องสร้างแรงบันดาลใจ เข้าถึงใจของผู้เรียน สามารถพูดภาษาใจ เชื่อมั่นในสิ่งที่ตนพูด และปฏิบัติตามสิ่งที่ตนสอน
การเรียนรู้แบบร่วมมือ ช่วยให้เกิดคุณค่าความเป็นมนุษย์เพราะทุกคนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


๑๐. กระบวนการเรียนการสอน
ผู้เรียน ร่วมวางแผน แสดงความคิดเห็น ในการจัดการเรียนการสอน
ฝึกสมาธิ เริ่มต้นก่อนเรียนทุกชั่วโมง


แรงบันดาลใจ ครูมีอิทธิพลสูงสุดในการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงไปในททางที่ ดี โดยการเสียสละและอุทิศตนเพื่อศิษย์ ใช้เทคนิค 3H คือ Head (ความคิด) Heart (หัวใใจ) Hand (การกระทำ)


สร้างบรรยากาศ ครูต้องสร้างบรรยากาศความสงบ ความรัก ความเมตตา ความปลอดภัยสำหรับผู้้เรียน สนับสนุนให้ถาม แสดงความคิดเห็น ครูต้องไม่ชี้นิ้วและพูดเสียงดังว่า "เงียบ" เพราะจะทำให้เด็ก ๆ ไม่เกิดความคิด เพราะรู้สึกกลัว


นำคุณค่าความเป็นมนุษย์ออกมาจากภายใน ใช้หลักเอ็ดดูแคร์ ครูจะไม่สอนแบบบรรยาย แต่จะสอนให้เด็กคิดเอง ครูใช้วิธีตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดเองและตอบคำถาม


บูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์เข้าไปทุกรายวิชาและทุกกิจกรรม ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น
-สร้างแรงบันดาลใจ
-ดึงคุณค่าที่มีอยู่ในตัวเองซึ่่งให้ผู้เรียนได้คิดและพูดออกมา
-บูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์เข้าไปในกลุ่มสาระโดยตรง
-เปลี่ยนสิ่งที่ไม่ดีมาเป็นบทเรียนที่ดีสำหรับผู้เรียน
-ใช้การเปรียบเทียบ
-ดึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ออกจากผู้เรียน ด้วยวิธีการพูดคุยและระดมความคิด
-ใช้การเล่านิทาน
-เล่นเกมที่มีคุณค่าความเป็นมนุษย์
-เล่าเรื่องราวของบุคคลสำคัญของดลก
-ใช้เพลงและดนตรีในการบูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษยื
-ใช้บทบาทสมมติและการแสดงละคร
-ใช้กิจกรรมต่าง ๆ เช่น การบำเพ็ญประโยชน์ การไปทัศนศึกษา และการจัดกิจกรรมชมรมต่าง ๆ


๑๑. ส่งท้ายด้วยใจ
นี่คือสิ่งที่ผู้เขียนได้บอกไว้ในหน้าท้าย ๆ ของหนังสือเล่มนี้ "ผมอยากสื่อถึงนักศึกษา นักวิชาการ คุณครู อาจารย์ที่มีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็ก ๆ ขอให้พวกเรามาช่วยกัน อย่าคิดแต่จะตามหลังชาวต่างชาติ อย่าคิดแต่จะใช้ Brain-Based Learning ทั้ง ๆ ที่เรามีสิ่งที่วิเศษมากกว่าเขาเสียอีก เรามีไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งเป็นแนวทางที่จะส่งเสริมการศึกษา ในประเทศไทยของเราให้ค้นพบกับอะไรใหม่ ๆ โดยไม่ต้องไปเลียนแบบจากชาติอื่น ซึ่งว่ากันตามจริงแล้วก็มีเรื่องรอให้คิดมากเลยทีเดียว"


ท้ายที่สุดหนังสือเล่มนี้ ถือเป็นอีกเล่มที่มีคุณค่าด้วยเนื้อหาภายในเล่ม อ่านแล้วได้แนวทางที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของตนเอง ด้วยจุดมุ่งหมายว่า ที่สุดแล้ว เด็ก ๆ ของเราจะมีอุปนิสัยที่ดีงาม...

คำสำคัญ (Tags): #อุปนิสัยที่ดี
หมายเลขบันทึก: 358161เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 07:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีค่ะ คุณพลายP
  • มาอ่านเรื่องราวดี ๆ ยามเช้า
  • "คุณธรรมนำความรู้"  อ่านแล้วได้ประโยชน์และคุณค่ามากมายค่ะ
    คุณครูและผู้ปกครองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีดังว่า 
    "เด็กทุกคนเปลี่ยนแปลงได้"  หากเรามีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงเขา
    ด้วยความคิด  หัวใจ  การกระทำ 
    ยอดเยี่ยมมากค่ะจะนำไปใช้นะคะ
  • ขอบพระคุณเรื่องราวดี ๆ ที่แบ่งปันค่ะ

เยี่ยมยุทธ์ สำหรับอนาคตของชาติ จริงๆค่ะคุณพลาย

อนาคตของชาติ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (ขอยืมคำอนาคตของชาติจากครูพี่คห.๑ ชอบจัง ;))

ปลายทางของการศึกษา คือ อุปนิสัยที่ดีงาม
ปลายทางของชีวิต คือ ความสุขที่แท้จริง"

เป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดที่ดี และยั่งยืนมากๆ ขอบคุณค่ะ

ปัจจุบันนี้หลายองค์กรเวลาคัดเลือกพนักงานที่จะมาร่วมงาน จะดูจาก Attitude เป็นหลักค่ะ

ส่วนเรื่องความเก่ง จะเป็นรองแล้ว เพราะเราถือว่าสอนกันได้ค่ะ^^

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายในวันหยุดนักขัตฤกษ์  สบายดีนะค่ะ
  • วันนี้บุษราได้นำภาพสายน้ำเย็น ๆ มาฝากกันค่ะ         

                                                                              

ยินดีและขอบคุณทุกท่านที่เเวะมาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท