Super 6 ความคาดหวังของการแข่งขันรักบี้ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง


แต่ในระดับมหาวิทยาลัย จริง ๆ แล้วมีมากทีมกว่านี้ แต่ความล้าหลังของการบริหารงานของ องค์กรกีฬาระดับมหาวิทยาลัยไทย ผมว่าไม่ค่อยเวิกส์เท่าไร มีลักษณะองค์กรบริหารแบบอำมาตยา และหอคอยงาช้าง ไม่ค่อยลงไปสัมผัสรากหญ้าจริง ๆ จริง ๆ แล้วกีฬาต่าง ๆ ที่มันสำคัญต้องเกิดที่มหาวิทยาลัย มันจะเข้มแข็งและยั่งยืนมากที่สุด เพราะครบกระบวนการการจัดการบริหารกีฬาครบวงจร แต่ความเป็นจริงก็ไม่ต่างจากองค์กรอื่นนะ

 Super 6 ความคาดหวังของการแข่งขันรักบี้ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ตอนที่1)

อิศรา ประชาไท

         ผมมีภารกิจในวันที่15พฤษภาคมนี้ ที่ สปป.ลาว นครหลวงเวียงจัน พร้อมกับผู้คนในวงการรักบี้ภาคอีสาน เกือบ25คน เพื่อไปสร้างประวัติศาสตร์สำคัญให้แก่ ชุมชน หรือ ประชาคมกีฬารักบี้ภาคอีสาน ภารกิจที่ว่านั้นก็คือ

         ประการแรก ผมพานักรักบี้หญิงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 17ชีวิต มานครเวียงจัน เนื่องจากได้รับเชิญให้มาแข่งขันกับทีมชาติหญิงของ สปป.ลาว หรือ ทีมเวียงจัน สิงห์ หรือ เวียงจัน ไลออน ในรายการของทีมชาติลาวทีมชายชุดใหญ่ พบ ทีมชาติ กัมพูชา ณ สนามมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ดงโดก  เล่าให้ฟังนิดหนึ่งว่า ความสัมพันธ์ของชมรมรักบี้มหาวิทยาลัยมหาสารคามกับสมาพันธ์รักบี้ลาวนั้น มีความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์และพิเศษ แบบพรรคพี่พรรคน้อง ดังนั้น เราจึงถูกเชิญมาร่วมแข่งขัน แบบทั้งมาเองและถูกเชิญมา ครั้งนี้ถูกเชิญแบบทางการ ลาวดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง สาเหตุที่เราถูกเชิญมาบ่อย ๆ เพราะในภาคอีสาน มีทีมรักบี้หญิงระดับมหาวิทยาลัยตอนนี้ ทีมเดียวเท่านั้น ระดับวิทยาลัยมีในระดับของกรมอาชีวศึกษาเดิม มีทีมหญิงมากที่สุดในประเทศ เช่น ทีมเกษตรและเทคโนโลยี ศรีสะเกษ อุดรธานี เทคนิคมหาสารคาม ชัยภูมิ สารพันช่าง ยโสธร การอาชีพ ปราสาท สุรินทร์ เป็นต้น สาเหตุที่มีมากทีมในระดับอาชีวศึกษา เพราะมีการสนับสนุนต่อเนื่อง มีการจัดการแข่งขัน จนถึงปัจจุบัน จากการสนับสนุนของผู้บังคับบัญชาระดับสูงและนายกสมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทยนั้นขณะนั้นคือ ดร.มารุต เมืองแก้ว และพึ่ท้าว คุณสุธรรม บุณยะผลึก ผู้บ้ารักบี้ฟุตบอล ต้องยกเครดิตให้จริง ๆ แต่ในระดับมหาวิทยาลัย จริง ๆ แล้วมีมากทีมกว่านี้ แต่ความล้าหลังของการบริหารงานของ องค์กรกีฬาระดับมหาวิทยาลัยไทย ผมว่าไม่ค่อยเวิกส์เท่าไร มีลักษณะองค์กรบริหารแบบอำมาตยา และหอคอยงาช้าง ไม่ค่อยลงไปสัมผัสรากหญ้าจริง ๆ  จริง ๆ แล้วกีฬาต่าง ๆ ที่มันสำคัญต้องเกิดที่มหาวิทยาลัย มันจะเข้มแข็งและยั่งยืนมากที่สุด เพราะครบกระบวนการการจัดการบริหารกีฬาครบวงจร แต่ความเป็นจริงก็ไม่ต่างจากองค์กรอื่นนะ

ผมเคยขอให้จัดรักบี้เจ็ดคนในการแข่งขันระดับกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย หลายครั้งตั้งแต่ที่ ราชพฤกษ์เกมส์ จนถึงปัจจุบันผ่านคนของสมาคมรักบี้และคนของ กกมท แต่ไม่สำเร็จ กกมท อ้างต้องหาทีมได้แปดถึงสิบหกทีม ผมว่าบ้าแล้ว ผมบอกว่าสี่ถึงหกทีมนี้ก็น่าจะให้จัดได้แล้ว เพื่อการพัฒนากีฬาชนิดนี้ และเป็นการต่อยอดให้ทีมชาติหญิงไทยที่กำลังดีวันดีคืน จนเข้าระดับโลกได้ เพราะมันมีการสร้างทีมระดับรากหญ้าจนถึงระดับชาติ มากกว่าทีมรักบี้ชายเสียอีก ที่มาจากแค่สองโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่มองทีมระดับภูมิภาคหรือมองแบบเสียไม่ได้ ปีนี้กีฬาเยาวชนแห่งชาติ มะขามหวานเกมส์ ทีมต่างจังหวัดแสดงให้เห็นว่า การพัฒนากีฬาอย่างต่อเนื่อง ผู้ใหญ่ในท้องถิ่นมองเห็นศักยภาพ สมาคมรักบี้มองไม่เห็นไม่เป็นไร ทีมก็ประสพความสำเร็จได้ เจ็ดคน ทีมชาย ทีมลพบุรี ชนะเลิศ เด็กมาจากจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ลพบุรี สิบห้าคน ชนะเลิศ สุรินทร์ จากสุรวิทยาคาร สองปีซ้อนแล้ว ซึ่งทีมใหญ่ ๆ จาก กรุงเทพฯและนครปฐม ปราบมาสองปีแล้ว แต่ไม่สำเร็จ แต่เชื่อมั้ย เด็กสองทีมนี้ติดทีมชาติและเยาวชนทีมชาติน้อยมาก และโค้ชสองทีมไม่ใช่โค้ชเทวดา แต่สามารถทำทีมจนสำเร็จ ไม่เคยได้ถูกเชิญเป็นโค้ชทีมชาติเลย นี้คือการจัดการบริหารแบบอำมาตยา สองมาตรฐาน ในสังคมรักบี้ไทย

ทีมหญิงในระดับมหาวิทยาลัยในปัจจุบันที่เห็นและเป็นอยู่ก็มี หลายทีม เช่น ทีมสถาบันการพลศึกษา ทีมมหาวิทยาลัยรามคำแหง ทีมมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ทีมมหาวิทยาลัยบูรพาทีมมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทีมมหาวิทยาลัยราชภัฎ นครปฐม และทีมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีหกทีมน่าจะจัดการแข่งขันในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยได้ นอกจากนั้นยังมีทีม ที่มีทุนทางสังคมที่จะพัฒนาทีมได้ เนื่องจากมีคณะที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การกีฬ่า มีแหล่งทรัพยากรการกีฬา เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีโรงเรียนธรรมศาสตร์ คลองหลวง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีทีมรักบี้ที่อยู่ในระดับแนวหน้า สร้างทีมชาติหญิงให้สมาคมมหาหลายรุ่น ถ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล และมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ก็มี โรงเรียนพิมายวิทยา เป็นโรงเรียนที่พัฒนารักบี้หญิงที่ดีที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันก็ได้เหรียญทองกีฬาแห่งชาติและเยาวชนแห่งชาติ ครั้งล่าสุด มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม ก็มีโรงเรียนห้วยจระเข้ เพชรบุรี ก็มีโรงเรียนหนองหญ้าปล้อง มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎรืธานี ก็มีโรงเรียนกาญจนดิษฐ์ ที่มีรักบี้หญิงโด่งดังที่สุดในภาคใต้ ถ้าเราให้เด็กเหล่านี้มีที่ยืนในมหาวิทยาลัยต่างๆ  เราก็จะมีทีมรักบี้ระดับอุดมศึกษาอย่างมากพอควร และได้พัฒนาได้อย่างรวดเร็ว นี่ยังไม่รวมกับทีมระดับอาชีวศึกษานะ ซึ่งมีอย่างมากมายทั่วประเทศอยู่แล้ว

 

 

หมายเลขบันทึก: 358150เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2010 05:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พี่อี๊ดครับ

จะเป็นไปได้ไหมที่จะจัดให้มี รักบี้ประเพณี ระหว่าง

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ชัยภูมิ และ

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด

ไม่ได้เข้ามาเยี่ยมชมนานแล้ว คิดถึงเหล่าสาวกผู้ยึดถือกีฬารักบี้ในหัวใจ ขอแสดงความยินดีกับพี่อี๊ดที่ยังดำเนินสาต่อเรื่องรักบี้ ตอนนี้ผมออกมาอยู่อีกส่วนหนึ่งของการศึกษาแต่ก็ยังไม่ทิ้ง เพราะกำลังออกมาสู่รากหญ้าที่แท้จริงในระดับประถมศึกษา คิดว่าพี่อี๊ดคงจำผมได้ เมื่อคราวที่ผมยังอยู่โคราช ทำต่อไปนะพี่นี่คืออนาคตของเด็กไทยเรา และนี่คือความสุขที่เราได้ร่วมสร้าง http://nakkaew.wordpress.com และ http://norasiha.wordpress.com

มีโอกาสผมคงได้พบกับพี่อีก ดูแล้วน่าจะเป็นที่สนามรักบี้ เพราะใจเราอยู่ที่เดียวกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท