การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

     “การสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ (ลักษณะนิสัย) และทั้งด้าน IQ (Intelligence Quotient) และด้าน EQ (Emotional Quotient) ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข”

ความสำคัญด้วยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งขาติ พ.ศ. 2542 โดยเฉพาะในหมวดที่ 4 แนวทางการจัดการศึกษา มาตรา 22 ได้กล่าวไว้ว่า

     “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถ พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ”

     ดังนั้นผู้สอนทุกคนจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากการเป็นผู้บอกความรู้ให้จบไปในแต่ละครั้งที่เข้าสอนมาเป็นผู้เอื้อ อำนวยความสะดวก(Facilitator)ในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนกล่าวคือเป็นผู้กระตุ้นส่งเสริมสนับสนุนจัดสิ่งเร้าและจัดกิจกกรมให้ผู้เรียน เกิดการพัฒนาให้เต็มตามศักยาภาพ ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล การจัดกิจกรรมจึงต้องเป็นกิจกรรมที่ ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ สร้างสรรค์ศึกษาและค้นคว้าได้ลงมือปฏิบัติจนเกิดการเรียนรู้และค้นพบความรู้ด้วยตนเองเป็นสาระ ความรู้ ด้วยตนเอง รักการอ่าน รักการเรียนรู้อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต(Long-life Education) และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Man ) ผู้สอนจึงต้องสอนวิธีการแสวงหาความรู้ (Learn how to learn ) มากกว่าสอนตัวความรู้ สอนการคิดมากกว่าสอนให้ท่องจำสอนโดยเน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ มากกว่าเน้นที่เนื้อหาวิชาดังที่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี (2541:72) ได้กล่าวไว้ว่า

     “…ต้องปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ใหม่จากการเอาวิชาเป็นตัวตั้งไปสู่การเอาคนและสถานการณ์จริงเป็นตัวตั้ง เรียนจาก ประสบการณ์และกิจกรรม จากการฝึกหัดจากการตั้งคำถามและจากการแสวงหาคำตอบซึ่งจะทำให้สนุก ฝึกปัญญาให้กล้าแข็ง ทำงานเป็น ฝึกคุณลักษณะอื่น ๆ เช่น ความอดทน ความรับผิดชอบ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การรวมกลุ่ม การจัดการ การรู้จักตน…”

     จึงเห็นได้ว่า “การสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ทั้งด้านความรู้ทักษะ และเจตคติ (ลักษณะนิสัย) และทั้งด้าน IQ (Intelligence Quotient) และด้าน EQ (Emotional Quotient) ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็น คนเก่ง คนดีและความสุข”ตามเป้าหมายการจัดการศึกษาในปัจจุบัน

    ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา  ได้จัดโครงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (Science Lab) : ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ สำหรับนักศึกษา กศน.  ในภาคเรียนที่ 2/2552  มีนักศึกษา กศน. สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในเขตพื้นที่บริการ เข้ามาเรียนที่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์  จำนวน 144  คน    โดยมีนางชยาภรณ์   อรุณรัตน์ และคณะ  เป็นครูผู้สอน

     แนวการจัดการเรียนการสอน

          1.ใช้หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์  เรื่อง การปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (เคมี  ฟิสิกส์ ชีววิทยา) ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา 

          2.ครูแจกคู่มือปฏิบัติการให้ผู้เรียน

          3.ครูอธิบายหลักในการทำปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์

          4.แบ่งผู้เรียนกลุ่มละ 6-8 คน ให้ทำปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์โดยปฏิบัติทดลองจริง

          5.ให้ผู้เรียนศึกษาใบความรู้และใบงาน  ฝึกปฏิบัติทำการทดลองด้วยตนเอง โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำ 

          6. ผู้เรียนสรุปผลการทดลองในใบงานและนำเสนอผลการเรียนรู้

          7. ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปบทเรียน

     การวัดผลและประเมินผล

          1. ทดสอบความรู้ก่อน-หลัง

          2. สังเกตพฤติกรรมการเรียนและการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

          3. ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ

          4. การสรุปผลการเรียนรู้จากใบงาน

http://gotoknow.org/blog/suaroon/357916

หมายเลขบันทึก: 357916เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2010 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท