สตรีนิยม (Feminism)


สตรีนิยม (Feminism)

สตรีนิยม (Feminism)

เย็นจิตร  ถิ่นขาม[1]
Yenjit Thinkham

1.   แนวคิดสตรีนิยม มีที่มา หรือความเป็นมาอย่างไร
ในช่วงประมาณสองร้อยปีที่ผ่านมา สังคมของมนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ การก่อเกิดและการยอมรับในเรื่องสิทธิมนุษยชน การให้ความสำคัญกับความเป็นประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงการผลิตแบบเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ได้ทำให้ผู้หญิงส่วนหนึ่งได้รับโอกาสการศึกษาเช่นเดียวกับผู้ชาย ผู้หญิงได้ทำงานนอกบ้านมากขึ้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดการตั้งคำถามต่อความเชื่อเดิมๆ ที่เสนอว่าผู้หญิงมีสถานะที่ด้อยกว่าชาย และความแตกต่างของผู้หญิงและผู้ชายเป็นเรื่องตามธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ รวมทั้งการพยายามหาคำตอบว่าทำไมความเชื่อเช่นว่านี้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้มาเป็นเวลานาน การเกิดการตั้งคำถาม การหาคำอธิบาย และการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อเปลี่ยนแปลงความเชื่อตลอดจนสภาพแห่งความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศนี้ ได้มีการเรียกรวม ๆ ว่าสตรีนิยม (Feminism)
สตรีนิยมได้เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 40 ปีหลังของศตวรรษที่ 20 นำไปสู่การศึกษาเกี่ยวกับผู้หญิงในมิติต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ และได้ใช้ความคิดรวบยอดในเรื่องความเป็นเพศ (Gender) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่สำคัญ
ความเหลื่อมล้ำทางเพศได้ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องความเท่าเทียมกันระหว่างเพศมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ในช่วงเวลาดังกล่าวยังได้เกิดการศึกษาและคำอธิบายหรือแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นรองของผู้หญิงในด้านต่าง ๆ อย่างมากมายอีกด้วย
คำอธิบายหรือแนวคิดทางสตรีนิยมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นจากแนวคิดกระแสหลัก ๆ ที่มีอยู่ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเสรีนิยม (Liberalism) ลัทธิมาร์กซ์ (Marxism) จิตวิเคราะห์(Psychoanalysis) หรือแนวคิดหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) นักสตรีนิยมได้นำแนวคิดเหล่านั้นมาขยายความ ปรับแต่งให้กลายเป็นกรอบทฤษฎีที่กว้างขึ้นและใช้อ้างอิงได้ (Arneil 1999) ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นหลายสำนักคิดด้วยกัน  และในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ยอมรับประเด็นที่นักสิทธิสตรีนำเสนอ  โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเพศ  เรื่องความเสมอภาค  ประเด็นเหล่านี้ได้มีสื่อออกไปไม่เฉพาะแต่ประเทศในตะวันตกเท่านั้น  แต่ยังมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิสตรีในประเทศอื่นๆ  ด้วยเช่นกัน  และเป็นประเด็นปัญหาที่ควรจะหยิบยกมาพิจารณาในการแก้ไขปัญหาครอบครัว  และปัญหาสังคมของผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว   ทั้งนี้สตรีนิยมมีประวัติความเป็นมาในประเทศต่างๆ  ดังนี้
สตรีนิยมในประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการสิทธิสตรีทั้งประเทศตะวันตกและตะวันออก   
สตรีนิยมในประเทศสหรัฐอเมริกา  เป็นความพยายามที่จะกำจัดการใช้อำนาจระหว่างเพศ  และเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม  สิทธิสตรีเกี่ยวข้องทั้งทางวัฒนธรรม  กฎหมาย  สังคม   และเศรษฐกิจ  หนังสือเกี่ยวกับผู้หญิงที่ไม่ได้รับความเสมอภาคถูกค้นพบเมื่อคริสต์วรรษที่ 18  โดยแมรี่  แอสเทลล์ (Mary Astell)  เรื่อง Some Refletion upon Marriage  เป็นการเปิดประเด็นของดสิทธิความเสมอภาคของทั้งหญิงชาย  ทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ  และได้นำไปสู่การจัดเป็นองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับผู้หญิง  ในช่วงประมาณปี  ค.ศ.  1840  สิทธิสตรีมีเรื่องที่สำคัญคือ  การกดขี่  (oppression)  และได้มีการเคลื่อนไหวเรื่องการข่มขืน   การทำร้ายเด็ก การทำแท้ง   ในปี  ค.ศ.  1991  และในคริสต์วรรศที่  19  และ  20   มีขบวนการสิทธิสตรีที่มีการเคลื่อนไหวมากในเรื่องความเสมอภาคและโอกาสของผู้หญิง
สตรีนิยมในประเทศอังกฤษ   เริ่มเป็นที่รู้จักโดย  โจเซฟีน  บัตเลอร์ (Josephine Butler)  ได้มีขบวนการรณรงค์ในปี ค.ศ.  1864   เรื่องการติดโรคของผู้หญิง  ซึ่งเป็นผู้ทำการรักษาพยาบาลให้กับผู้หญิงโดยรักษาโรคติดต่อทางเพศ  โดยเฉพาะผู้หญิงโสเภณี  และยังได้เป็นสาระสำคัญในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงที่ทำให้ผู้หญิงตกต่ำกว่าผู้ชาย   และจากนั้นภาคประชาชนหรือองค์กรต่างๆ   ก็ได้หันมาให้ความสนใจกับสิทธิสตรีและได้ตั้งองค์กรต่างๆ  เกี่ยวกับสิทธินิยมขึ้นมาก  และที่สำคัญคือในปี ค.ศ.  1913  ได้มีการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับผู้หญิงในแถบเอเชีย    เพื่อปลดปล่อยให้ผู้หญิงเป็นอิสระและเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง  ได้มีการจัดตั้งสมาคมระดับชาติเกี่ยวกับผู้หญิงขึ้น   สภาวสตรีใน  16  ประเทศ  ในกลุ่มโลกที่สาม   ซึ่งในระยะแรกของศตวรรษที่  20  ได้มีการเยี่ยมผู้หญิงในโลกที่สามจากกลุ่มสิทธิสตรียุโรปผู้มีบทบาทสำคัญ  ได้แก่ เอลลีย์  คีย์  (Elley Key)  แอนนี  บีแซนต์ (Annie Besant)   และมาร์กาเรต  แซนเกอร์  (Margaret Sanger)   ซึ่งก่อให้เกิดกิจกรรมหลายลักษณะและขบวนการเคลื่อนไหวของผู้หญิงในเรื่องต่างๆ  แต่แนวคิดของตะวันตกอาจนำมาใช้ไม่ได้ทั้งหมดกับผู้หญิงในโลกที่สาม  เช่น  ชนชั้นทางสังคมระหว่างเพศและเรื่องผู้หญิงอยู่ในขบวนการพรรคการเมืองของแต่ละประเทศ
ในส่วนของสิทธิสตรีในประเทศไทยนั้น  จะเห็นได้ว่าขบวนการเคลื่อนไหวของสตรีไทยได้มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงบทบาทและสถานภาพตั้งแต่ระบบการเมืองการปกครอง   ในการเปลี่ยนแปลงนั้นเริ่มจากระบบการปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  ซึ่งเริ่มปรากฎเด่นชัดในสมัยรัชกาลที่  4  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่ากฎหมายเก่าไม่ยุติธรรม  เช่น  การขายเมีย  หรือการบังคับให้ลูกสามแต่งงานโดยไม่เต็มใจ  จึงโปรดเกล้าให้เลิกเสีย  และต่อจากนั้นก็ได้มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเสมอภาคระหว่างหญิงและชายมาโดยตลอด  โดยเฉพาะกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว  นับได้ว่าสตรีไทยไม่ได้มีความยากลำบากในการต่อสู้เพื่อความเสมอภาค  แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าสตรีไทยส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนา ได้รับโอกาสทางกฎหมายหลายๆ  ด้าน   แต่ในทางปฏิบัติก็ยังมีการกีดกันและการปิดกั้นโอกาสผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย   ซึ่งสมควรที่จะได้รับการพัฒนาเรื่องนี้ให้ดียิ่งขึ้น  เพื่อเป็นการให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน  ซึ่งผู้หญิงก็เป็นกลุ่มหนึ่งในเรื่องสิทธิมนุษยชน  เช่นกัน
แม้ว่าการเรียกร้องสิทธิสตรีจะมีพัฒนาการมายาวนานและนานาประเทศให้ความสนใจในประเด็นสิทธิสตรีมากขึ้น  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการเรียกร้องนี้ควรจะยุติ  และในบางสังคมความเสมอภาคที่แท้จริงยังไม่ได้เกิดขึ้นและยังต้องมีการค้นหาต่อไปว่า  ความเสมอภาคระหว่างผู้ชายและผู้หญิงที่แท้จริงคือจุดใด   และจะทำอย่างไรเพื่อที่จะขจัดความเป็นเพศออกไปได้

2.   แนวคิดนี้ ถูกจำแนกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง แต่ละประเภท มีหลักการคิดอย่างไร
จากที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าคำอธิบายหรือแนวคิดทางสตรีนิยมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นจากแนวคิดกระแสหลัก ๆ ที่มีอยู่ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเสรีนิยม (Liberalism) ลัทธิมาร์กซ์ (Marxism) จิตวิเคราะห์(Psychoanalysis) หรือแนวคิดหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) นักสตรีนิยมได้นำแนวคิดเหล่านั้นมาขยายความ ปรับแต่งให้กลายเป็นกรอบทฤษฎีที่กว้างขึ้นและใช้อ้างอิงได้ (Arneil 1999) สามารถแบ่งออกเป็นหลายสำนักคิดด้วยกัน  ได้แก่
2.1.   สตรีนิยมสายเสรีนิยม   การพัฒนาแนวคิดเสรีนิยมในคริสต์วรรษที่  18  เกิดขึ้นจากกลุ่มที่ต่อต้านกลุ่มกระฎุมพี  และพวกศักดินา  ภายใต้ระบบศักดินา  ฐานะสังคมถูกกำหนดมาแต่กำเนิด  แนวคิดเสรีนิยมยืนยันว่าฐานะทางสังคมควรจะถูกกำหนดโดยความสามารถและทักษะของปัจเจกบุคคล  และวัดโดยความสำเร็จของบุคคลในการแข่งขันกับบุคคลอื่น   ซึ่งสตรีนิยมสายเสรีนิยมถือว่าเป็นสำนักคิดแรกและถูกมองว่าเป็นแนวคิดกระแสหลักของสตรีนิยม เพราะคนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับแนวคิดนี้ สตรีนิยมสายเสรีนิยมได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากแนวคิดเสรีนิยมที่ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกันของมนุษย์โดยเฉพาะในทางกฏหมาย ให้ความสำคัญต่อปัจเจกนิยมที่มีเหตุผล ทำให้นักสตรีนิยมในแนวนี้มักเรียกร้องให้ผู้หญิงเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนมีเหตุผล ปรับปรุงตัวเองให้เหมือนกับผู้ชาย เช่นต้องไม่ใช้อารมณ์ ไม่แสดงความอ่อนแอ และเชื่อว่าผู้หญิงและผู้ชายไม่มีความแตกต่างกัน เป็นมนุษย์เหมือนกัน   
ดังนั้นผู้หญิงควรมีโอกาสที่จะทำทุกอย่างให้ได้เหมือนผู้ชาย เรียกร้องให้ผู้หญิงมีโอกาสที่เท่าเทียมในการแข่งขันภายในระบบสังคมที่เป็นอยู่โดยเฉพาะในปริมณฑลสาธารณะ ให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย ทางการเมือง เพื่อสิทธิของปัจเจกบุคคลในการแข่งขันในตลาดสาธารณะ เพราะเชื่อว่าถ้าผู้หญิงมีโอกาสที่เท่าเทียมแล้ว ผู้หญิงจะเป็นเหมือนผู้ชายได้ทุกอย่าง 
การต่อสู้หลักของสตรีนิยมสายนี้คือ การต่อสู้ผ่านทางการแก้ไขกฎหมาย หรือการแก้ไขในแนวสังคมสงเคราะห์ ไม่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างสังคม นักสตรีนิยมสายเสรีนิยมถูกวิจารณ์ค่อนข้างมากโดยเฉพาะการให้ความสำคัญเฉพาะประเด็นของกฏหมาย เพราะความด้อยโอกาสของผู้หญิงหลายประการไม่สามารถแก้ไขผ่านทางการแก้ไขกฏหมาย เช่น ไม่มีกฎหมายใดระบุว่าผู้หญิงต้องเป็นหลักในการดูแลลูก แต่ผู้หญิงก็ต้องทำแม้ว่าอาจจะไม่ต้องการทำ (Eisenstein 1981)
นอกจากนี้การเรียกร้องให้ผู้หญิงต้องปรับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายหรือแสดงท่าทางตลอดจนการคิด อารมณ์ให้เหมือนผู้ชาย ก็ถูกวิจารณ์เช่นกันว่าเป็นการแสดงถึงการยอมรับให้ "ความเป็นผู้ชาย" เป็นตัวแบบของมนุษย์ที่พึงประสงค์ ซึ่งไม่น่าถูกต้อง เพราะคุณลักษณะหลาย ๆ ประการของผู้ชาย เช่น การชอบแข่งขัน ไม่มีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น ไม่มีความอ่อนโยน ความก้าวร้าว การเก็บกดทางอารมณ์ ล้วนไม่ใช่คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของมนุษย์อีกต่อไป
2.2.   สตรีนิยมสายมาร์กซิสต์  เป็นอีกแนวคิดหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 ได้รับอิทธิพลทางความคิดของคาร์ล มาร์กซ์ และเฟรดเดอริกค์ เองเกลส์ (Frederick Engels) โดยเชื่อว่าการกดขี่ที่ผู้หญิงได้รับเป็นผลจากระบบเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะในระบบการผลิตแบบทุนนิยม
สตรีนิยมสายนี้เชื่อว่าระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมทำให้เกิดการแบ่งการทำงานออกเป็น งานบ้านที่ถือว่าเป็นงานที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต ไม่มีคุณค่าและไม่มีค่าตอบแทน และงานนอกบ้านซึ่งเป็นงานที่ก่อให้เกิดผลผลิตมีค่าตอบแทน ระบบทุนนิยมพยายามที่จะให้เก็บผู้หญิงไว้ทำงานบ้าน การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อทุนนิยมเพราะผู้ชายสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่โดยไม่เสียเวลาในการทำงานบ้านหรือทำอาหาร และนายทุนไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าแรงงานสูงขึ้นเพื่อนำมาจ่ายให้กับคนทำงานบ้านเพราะมีผู้หญิงหรือภรรยาทำให้ฟรีอยู่แล้ว   
ในกรณีที่ผู้หญิงได้มีโอกาสทำงานนอกบ้าน ภายใต้ระบบทุนนิยมที่เป็นอยู่ งานที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ทำถูกถือว่าเป็น "งานของผู้หญิง" เช่น งานพยาบาล งานเย็บผ้า งานเลขานุการ ซึ่งเชื่อว่าเป็นงานที่คล้ายคลึงกับงานที่ผู้หญิงทำที่บ้าน จึงทำให้งานเหล่านั้นได้รับค่าตอบแทนต่ำเมื่อเทียบกับงานที่ผู้ชายส่วนใหญ่ทำ เพราะงานบ้านถูกตัดสินว่าเป็นค่าที่ไม่มีคุณค่าในระบบทุนนิยม ระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจึงถือว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของความเป็นรองของผู้หญิง   
ดังนั้นการต่อสู้ของผู้หญิงสำหรับสตรีนิยมสายนี้ คือต้องเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมที่เป็นอยู่ การเสนอดังกล่าวทำให้สตรีนิยมสายมาร์กซิสต์ถูกวิจารณ์ว่ามองไม่เห็นการกดขี่ผู้หญิงในรูปแบบอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่นการกดขี่ที่ผู้หญิงได้รับในโลกส่วนตัว หรือภายในครอบครัว มองไม่เห็นว่าการกดขี่ผู้หญิงมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากการกดขี่ทางชนชั้น ข้อวิจารณ์นี้นำไปสู่การเกิดขึ้นของสำนักคิดสตรีนิยมสายถอนรากถอนโคน (Radical Feminism)
2.3.   แนวคิดสตรีนิยมสายถอนรากถอนโคน   อธิบายว่า การกดขี่ผู้หญิงเกิดขึ้นเพราะเธอเป็นผู้หญิง หรือผู้หญิงถูกกดขี่เพราะเพศของเธอ ความไม่เทียมกันทางเพศที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจาก อุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ (Patriarchy) ระบบชายเป็นใหญ่ หมายถึง ระบบของโครงสร้างสังคมและแนวการปฏิบัติที่ผู้ชายมีความเหนือกว่า กดขี่และเอารัดเอาเปรียบผู้หญิง   
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นระบบที่ผู้ชายมีความเหนือกว่าผู้หญิงในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ การเมือง หรือวัฒนธรรม กลุ่มแนวคิดนี้ให้ความสนใจต่อสถานะที่เป็นรองของผู้หญิงและมองว่าความเป็นรองที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากความต้องการเหนือกว่าของผู้ชาย และอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ได้พยายามสร้างความชอบธรรมต่อความเหนือกว่าของผู้ชาย (ผู้ชายเข้มแข็งกว่า ฉลาดกว่า มีเหตุผลมากกว่า คิดอะไรที่ลึกซึ้งได้มากกว่า ฯลฯ) และทำให้ความเหนือกว่านี้ดำรงอยู่ในความเชื่อของคนในสังคมผ่านทางกระบวนการขัดเกลาทางสังคมในรูปแบบต่าง ๆ สตรีนิยมสายนี้ได้มีการแตกย่อยเป็นสตรีนิยมสายวัฒนธรรม (cultural feminism) และสตรีนิยมสายนิเวศ(ecofeminism)
2.4.   สตรีนิยมสายวัฒนธรรม จะยอมรับว่าผู้หญิงและผู้ชายมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน เหมือนที่เคยเชื่อกันในอดีต แต่นักสตรีนิยมสายนี้เสนอว่าคุณลักษณะที่เป็นหญิงนั้นดีกว่าหรือเหนือกว่าของผู้ชาย (ไม่ใช่ด้อยกว่าดังที่เชื่อกันในอดีต) ไม่ว่าจะเป็นความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น การเอาใจใส่ดูแล ความอ่อนโยน ความสันติไม่ก้าวร้าว ล้วนเป็นคุณลักษณะที่ผู้หญิงควรชื่นชม และรักษาความเป็นหญิงเหล่านั้นไว้
2.5.   สตรีนิยมสายนิเวศ มีความเชื่อคล้ายคลึงกับสายวัฒนธรรมว่าผู้หญิงมีความแตกต่างจากผู้ชายและดีกว่าผู้ชายตามธรรมชาติ แต่เสนอเพิ่มเติมว่าผู้หญิงมีความใกล้ชิดหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับธรรมชาติ เช่นการที่ผู้หญิงเป็นผู้ให้กำเนิดบุตร ทำให้ผู้หญิงเชื่อมโยงกับธรรมชาติ เชื่อมโยงกับโลก ส่วนผู้ชายนั้นใกล้ชิดกับวัฒนธรรม และในนามของวัฒนธรรมผู้ชายได้พยายามและประสบความสำเร็จในการข่มเหงรังแกทั้งผู้หญิงและธรรมชาติ การเชื่อมโยงผู้หญิงเข้ากับธรรมชาตินี้ได้นำไปสู่การฟื้นฟูพิธีกรรมโบราณที่ให้ความสำคัญกับการบูชาพระแม่เจ้า รวมทั้งระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง โดยมองว่าธรรมชาติเปรียบเสมือนแม่และพระแม่เจ้าซึ่งเป็นที่มาของพลังอำนาจและแรงบันดาลใจ และเรียกร้องให้มีการปฏิเสธวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Merchant 1995) ทั้งสตรีนิยมสายวัฒนธรรมและสายนิเวศถูกวิจารณ์ว่าเป็นพวกสารัตถะนิยม คือเชื่อว่ามีธาตุแท้ของความเป็นหญิง
2.6.   สตรีนิยมสายสังคมนิยม (Socialist Feminism) ถือว่ามีความคล้ายคลึงกับสตรีนิยมสายมาร์กซิสต์อยู่หลายประการ ไม่ว่าการเชื่อว่าผู้หญิงกับผู้ชายมีความเหมือนกันหรือการวิเคราะห์สังคมโดยแบ่งเป็นโลกส่วนตัวและโลกสาธารณะ รวมทั้งการเสนอให้ผลักดันโลกส่วนตัวเข้าไปอยู่ในโลกสาธารณะ แต่ที่แตกต่างกันคือ สตรีนิยมสายสังคมนิยมมองว่าการอธิบายถึงการกดขี่ผู้หญิงจำเป็นต้องทำความเข้าใจต่อโลกหรือพื้นที่ส่วนตัวด้วย เช่นความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเพศหญิงกับเพศชายและหน้าที่การให้กำเนิดเด็กของผู้หญิง
ดังนั้นสตรีนิยมสายนี้จึงเสนอว่า ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ เป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์กันของระบบชายเป็นใหญ่และระบบทุนนิยมในสังคม หรือกล่าวได้ว่า เมื่อทั้งระบบความเป็นเพศและระบบเศรษฐกิจมาสัมพันธ์กันในยุคสมัยหนึ่งๆ ได้ทำให้เกิดโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่ผู้ชายอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบ ส่วนผู้หญิงอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบ    ตัวอย่างเช่น ระบบชายเป็นใหญ่ได้สร้างความเชื่อที่ว่า คุณค่าของผู้หญิงอยู่ที่ความสวยและความสาว (คุณค่าของผู้ชายอยู่ที่ความสามารถ การประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน) ความเชื่อนี้เมื่อปฏิสัมพันธ์กับเศรษฐกิจแบบตลาดที่ต้องการขายสินค้าให้ได้มาก ดังนั้น ผ่านทางการโฆษณา ผู้หญิงจึงตกเป็นเหยื่อทางการค้าของธุรกิจเครื่องสำอางค์หลากหลายชนิดอย่างเต็มใจ เพื่อต้องการสวยและรักษาความสาวไว้
2.7.   สตรีนิยมสายจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Feminism) เป็นแนวคิดสตรีนิยมอีกสำนักหนึ่ง ได้ใช้แนวคิดของจิตวิเคราะห์อธิบายถึงการเกิดขึ้นของความเป็นชายความเป็นหญิงซึ่งนำไปสู่ความเป็นรองของผู้หญิง โดยเชื่อว่าการทำความเข้าใจต่อพัฒนาการความเป็นชายเป็นหญิงจำเป็นต้องทำความเข้าใจในระดับจิตใจ   
นักสตรีนิยมสายนี้เชื่อว่าความเป็นเพศ หรือความเป็นชายเป็นหญิงไม่ใช่เรื่องทางชีวะที่มีมา แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นในระดับจิตไร้สำนึก(unconciousness)ในพัฒนาการชีวิตช่วงต้นๆ ของเด็ก ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญในการก่อรูปอัตลักษณ์ของความเป็นเพศ เช่นงานของแนนซี่ โชโดรอฟ (Nancy Chodorow) (1978) ที่อธิบายว่าการเลี้ยงดูเด็กอ่อนที่ไม่สมดุลย์ คือ...
การที่แม่เลี้ยงดูเด็กใกล้ชิดแต่เพียงผู้เดียวโดยมีพ่อคอยดูอยู่ห่าง ๆ ก่อให้เกิดการก่อรูปอัตลักษณ์ความเป็นเพศที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ชายมักเป็นคนที่ปิดกั้นตัวเอง ไม่มีทักษะในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ส่วนผู้หญิงจะมีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่มีความเป็นตัวของตัวเองน้อย ซึ่งเธอเสนอว่าความเป็นหญิงเป็นชายแบบนี้ไม่เหมาะสมทั้งคู่ มนุษย์ที่พึงประสงค์ควรเป็นการผสมผสานคุณลักษณะของทั้งสองเพศ ซึ่งจะได้มาโดยเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดูเด็กให้พ่อมีส่วนในการเลี้ยงดูลูกในระดับเดียวกับแม่ (equal parenting)
2.8.   สตรีนิยมสายหลังสมัยใหม่ สตรีนิยมแนวคิดต่าง ๆ ข้างต้นถูกมองว่าเป็นผลผลิตของแนวคิดในยุคสมัยใหม่ (ยกเว้นนักสตรีนิยมสายจิตวิเคราะห์บางคน) และถูกวิจารณ์จากสตรีนิยมสายแนวคิดหลังสมัยใหม่ว่ามีข้อบกพร่องโดยเฉพาะประเด็นการเสนอภาพผู้หญิงที่เป็นหนึ่งเดียว คือเชื่อว่าผู้หญิงทั้งโลกมีความเหมือนกัน ไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทางชาติพันธุ์ ทางชนชั้น สตรีนิยมสายหลังสมัยใหม่ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างสูงตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ได้ให้ความสำคัญต่อความแตกต่างของกลุ่มผู้หญิง รวมทั้งความหลากหลายที่มีอยู่ของผู้หญิงแต่ละคน   
นอกจากนี้ยังปฏิเสธความคิดสารัตถะนิยม โดยเสนอว่าไม่มีผู้หญิง ไม่มีความเป็นผู้หญิง ทุกอย่างล้วนสร้างผ่านปฏิบัติการทางวาทกรรม จึงไม่มีความเป็นผู้หญิงที่แท้ คงที่ตายตัวและไม่เปลี่ยนแปลง การเสนอว่าไม่มี "ผู้หญิง" ของสตรีนิยมหลังสมัยใหม่ได้นำไปสู่การถูกวิจารณ์อย่างรุนแรงจากนักสตรีนิยมสายอื่น ๆ ว่าทำให้การต่อสู้เพื่อสถานะที่ดีขึ้นของผู้หญิงเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้เพราะไม่มีสิ่งที่เรียกว่าผู้หญิงเสียแล้ว ถือเป็นการทำลายความชอบธรรมของขบวนการเคลื่อนไหวของผู้หญิง
นอกจากแนวคิดดังกล่าวที่กล่าวมาแล้วนั้น  ยังมีแนวคิดสตรีนิยมแนวรัฐสวัสดิการ  และแนวคิดสตรีนิยมผิวดำและสตรีนิยมในโลกที่สาม  ซึ่งมีหลักการคิด  คือ
2.9.   สตรีนิยมแนวคิดรัฐสวัสดิการ   เป็นแนวคิดที่เน้นในเรื่องสวัสดิการของผู้หญิงเป็นหลัก  ผู้หญิงจำเป็นต้องได้รับสวัสดิการที่ดี  ที่เหมาะสมในฐานะมารดาและภรรยา  ขณะเดียวกันผู้ชายก็ต้องเข้ามามีบทบาทและรับผิดชอบต่อผู้หญิงในฐานะมารดาและภรรยาเช่นเดียวกัน  แนวคิดนี้เน้นให้เห็นคุณค่าของผู้หญิงในบทบาททั้งสองที่สังคมคาดหวัง  แนวคิดนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสวัสดิการ  ครอบครัว  ผู้หญิง  และต่อผู้หญิงในบริการสัวสดิการในฐานะมารดา อ คนงาน  สิทธิส่วนบุคคลของผู้หญิง
2.10.   แนวคิดสตรีนิยมผิวดำและสตรีนิยมในโลกที่สาม    แนวคิดนี้สนับสนุนแนวคิดสตรีนิยมแนงสังคมนิยม  โดยแสดงให้เห็นถึงการที่ผู้หญิงผิวดำถูกกดขี่ซ้ำซ้อนจากการกดขี่ต่างๆ  ทางสังคม  เช่น  จากคนผิวขาว  หรือเริ่มมาจากผู้ชายผิวดำ และระบบเศรษฐกิจ  สังคม  รวมทั้งสตรีนิยมในโลกที่สามที่ถูกกดขี่ในลักษณะเดียวกันด้วย
จากแนวคิดสตรีนิยมในแนวคิดต่างๆ  จะเห็นได้ว่าโครงสร้างเศรษฐกิจ  สังคม  ค่านิยม  ความเชื่อ  แบบแผนต่างๆ ในทางสังคมเป็นผู้กำหนดในเรื่องแนวคิดของสังคมต่อผู้หญิง  ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดใดก็ตาม  จุดประสงค์หลักคือ  เน่นการแก้ไขความไม่เสมอภาคทางสังคม  ถ้าเราสามารถนำแนวคิดต่างๆ มาร่วมกันและพิจารณาสิ่งที่ดีที่สุดที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม  ก็จะเป็นทางแก้ปัญหาความไม่เสมอภาคที่ดีที่สุด


3.   วิเคราะห์ และเสนอแนะความเห็นว่า จะนำแนวคิดเหล่านี้ ไปศึกษาสังคมในประเด็นใดได้บ้าง การศึกษาสังคมในประเด็นแนวคิดสตรีนิยมนั้นเป็นการศึกษาที่คำถามว่าทำอย่างไรผู้หญิงจึงจะได้รับการพัฒนา  และมีความเสมอภาคเท่าเทียมกับผู้ชายอย่างแท้จริง  เพราะผู้หญิงในหลายสังคมมักถูกกีดกัน  ถูกแบ่งแยก  ในประเด็นนี้ถ้ามีคำถามว่าทำไมไม่พัฒนาผู้ชาย  ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วควรที่จะพัฒนาทั้งผู้หญิงและผู้ชาย  เพราะเป็นการพัฒนาคนไปสู่การพัฒนาสังคม  แต่ผู้หญิงจะมีปัญหาเชื่อมโยงมาจากแนวคิดวัฒนธรรมที่ตกทอดกันมานาน  ทำให้ผู้หญิงเป็นบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบจากบุคคลอื่นในสังคมทั้งจากผู้ชายและผู้หญิงด้วยกันเอง  นอกจากนั้นการสร้างแนวความคิดของผู้หญิงให้กับตนเองแล้วการพัฒนาสตรียังจะรวมถึงการพัฒนาบุรุษด้วย  หรือการพัฒนาผู้ชายให้ยอมรับผู้หญิงในเรื่องความเสมอภาค  ความเท่าเทียมในฐานะมนุษย์คนหนึ่งในสังคมและความแตกต่างระหว่างเพศไม่ได้หมายถึง  ความไม่เสมอภาคหรือความไม่เท่าเทียม  นอกจากนั้นแนวความคิดของผู้หญิงต่อผู้หญิงด้วยกันเองก็เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง  บางครั้งผู้หญิงก็ประสบปัญหาเพราะผู้หญิงด้วยกัน  ในเรื่องของการแบ่งชั้นหรือการแบ่งแยกภูมิหลัง  เช่น  การเลี้ยงดู  การสืบสกุล  การศึกษา  อาชีพ และการแต่งงาน   ซึ่งการศึกษาผู้หญิงตามแนวคิดที่กล่าวมาสามารถศึกษาได้ในหลายประเด็น   เช่น  สตรีกับสิ่งแวดล้อม   การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี  บทบาทของสตรีด้านเศรษฐกิจในสังคมเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การร่วมรับภาระในครอบครัว  สตรีกับความยากจน   สตรีกับสื่อมวลชน   สถานภาพของสตรีบนค่านิยมเชิงซ้อน   และความรุนแรงต่อสตรี  เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าปัญหาในเรื่องความไม่เสมอภาคระหว่างเพศชายและหญิงนั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา  โดยในที่นี้ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างการศึกษาในประเด็นปัญหาความรุนแรงต่อสตรี   ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่มีความสำคัญมากสำหรับสตรีไทย  ความรุนแรงของสตรีนั้นแบ่งเป็น  3  ลักษณะคือ  ความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัว  ในชุมชน  ในที่ทำงาน  ซึ่งหากวิเคราะห์ในทฤษฎีและแนวคิดสตรีนิยมแนวก้าวหน้าหรือแนวคิดสตรีนิยมสายถอนรากถอนโคน  จะพบว่า   ผู้ชายมีอำนาจและครอบงำในทุกด้านของรัฐ  (เช่นเดียวกับในสถาบันต่างๆ  ของทุนนิยม)  เช่น  การบริการประชาชน  สถาบันทางสุขภาพ  ประกันสังคม  บริการสังคม  ที่อยู่อาสัย  และด้านศาล  ซึ่งเรียกได้ว่า  การปกครองชายเป็นใหญ่  (Patriarchy)   ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการมีอิทธิพลและการอยู่ใต้อิทธิพล  ซึ่งภาวะผู้ชายเป็นใหญ่มีอยู่  2  ประเภท  คือ  อำนาจของผู้ชายในการควบคุมของผู้หญิงในเรื่องเพศ  และศักยภาพในการสืบพันธุ์ของผู้หญิง   ซึ่งในประเด็นนี้จะศึกษาในด้านความรุนแรงของสตรีในครอบครัว   ที่สังคมต้องยอมรับว่าผู้หญิงถูกทำร้ายจากคนที่อยู่ใกล้ชิดเธอมากที่สุด   ไม่ว่าจะเป็นสามีหรือพ่อ   พี่ชาย  ซึ่งในจุดนี้หากมีการศึกษาสาเหตุ  วิเคราะห์ความเป็นมาของความรุนแรงเหล่านี้   จะทำให้สังคมสามารถขจัดปัญหาความรุนแรงที่มีอยู่ในสตรีทุกสังคม   หรือการลดอัตราการเกิดให้น้อยลงได้   และในอีกด้านหนึ่งคือ   สาเหตุของความก้าวร้าวของผู้ชาย  คือ   การมีพละกำลังเหนือผู้หญิง  โดยเฉพาะเรื่องเพศ   เช่น  ผู้ชายสามารถบังคับผู้หญิงร่วมเพศได้โดยที่ผู้หญิงไม่ต้องการ   ซึ่งเป็รสาเหตุของการทารุณทางเพศ  การข่มขืนในทุกรูปแบบ   ซึ่งการวิเคราะห์ในแนวคิดนี้จะทำให้ทราบว่าแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนจากสังคมทุนนิยมมาเป็นสังคมนิยมก็ไม่ใช่ว่าผู้หญิงจะไม่ถูกกดขี่   เพราะจุดเน้นที่ทำให้เกิดความรุนแรงต่อสตรีคือ  การปกครองแบบชายเป็นใหญ่   ซึ่งการศึกษาความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อผู้หญิงในสังคมที่ต่างกันออกไปจะทำให้หาแนวทางในการลดช่องว่างของการปกครองแบบชายเป็นใหญ่  จนทำให้ผู้หญิงต้องตกเป็นเครื่องมือทางอารมณ์ของผู้ชาย   โดยจะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์โดยแนวคิดนี้นั้นมองปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากโครงสร้าง   หากจะมีการขจัดปัญหาความรุนแรงในสตรีอย่างเป็นรูปธรรมก็น่าจะมีรื้อโครงสร้างของสังคมที่จะยังเน้นบทบาทของผู้ชายหรือเอื้อต่อการกระทำบทบาทชายมากกว่าหญิง   อาจจะเป็นการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อดำเนินการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของสตรี   และผู้รับเรื่องราวเหล่านั้นก็น่าจะเป็นสตรีด้วยกัน เช่น  การให้มีตำรวจที่เป็นสตรีในกรณีการสืบสวนหรือสอบสวนคดีของผู้หญิงกับผู้ชาย   ไม่ใช่มีแต่ตำรวจชายฝ่ายเดียว เป็นต้น
 
อ้างอิง

วันทนีย์  วาสิกะสิน. 2543. สังคมสงเคราะห์แนวสตรีนิยม : ทฤษฎีและการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วารุณี ภูริสินสิทธิ์ .แนวคิดสตรีนิยมในสกุลความคิดต่างๆ .บทความบน http://www.midnightuniv.org/datamid2001/newpage17.html    ค้นเมื่อ  18  มกราคม 2550 ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วารุณี ภูริสินสิทธิ์ . ความเป็นเพศ (GENDER).  บนความบนhttp://www.midnightuniv.org/midnightuniv/newpage91.html  ค้นเมื่อ  18  มกราคม 2550
สมเกียรติ ตั้งนโม (แปล) .อีริค ฟรอม์ม, เฟมินิสม, และแฟรงค์เฟริทสคูล.  บทความบน  http://www.midnightuniv.org/miduniv2546/newpage4.html ค้นเมื่อ 18  มกราคม 2550 คณะวิจิตรศิลป์   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สมเกียรติ ตั้งนโม (แปล) . Erich Fromm : แนวคิดสตรีนิยม มาตาธิปไตย และสันติภาพ . บทความบน http://www.midnightuniv.org/miduniv2546/newpage5.html  ค้นเมื่อ  18  มกราคม  2550  คณะวิจิตรศิลป์   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 


[1] สาขาวิชาสังคมวิทยาการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ (Tags): #feminism#สตรีนิยม
หมายเลขบันทึก: 357827เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2010 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2012 02:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

1. กรอบในการศึกษาสตรี ?

2. กฏวิวัฒนาการการศึกษาสตรี ?

3. กระบวนทัศน์โครงสร้างนิยม

4. กระบวนทัศน์การประกอบการสร้างทางวัฒธรรม

5. กระบวนทัศน์หลังสมัยใหม่

ปัญญาอ่อน คุณคิดจะฝืนกฎธรรมชาติขอบอกได้เลยว่า

ผู้ชายไม่มีวันที่จะยอมแพ้และเขาก็เอาผู้หญิงตายห่าโหงด้วย

ถ้าไปกระทบสิทธิประโยชน์เขาแม้เพียงสตางค์เดียว

ตัวอย่างเห็นอยู่ง่ายๆ

ความเท่าเทียมกันทางด้านสิทธิและแนวคิดของนักเคลือนไหวสิทธิสตรีคงต้องแก้ไปตามยุคตามสมัยที่เปลี่ยนไปไม่ได้เฉพาะเจาะจงมุ่งประเด็นด้านสตรีเพียงด้านเดียวในขณะเดียวกันบทบาท patriarchy ปัจจุบันก็ยังปรากฎขึ้นมาให้เห็นเรื่อยๆ และในนิยามของสตรีนั้้นคงไม่ได้หมายความว่าเป็นเครื่องจรรโลงใจให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างเดียว ไม่พอใจหรือไม่ชนะในที่สุดต้องใช้อารมณ์ตัดสิน คนประเภทนี้เขาจะมองเศษสตางค์เเพียงเพื่อได้ประโยชน์เข้ากับตัวเองเพียงด้านเดียว

ขอบคุณมากสำหรับเนื้อหาที่ดีแบบนี้

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

แล้วก็สำหรับคุณ นางฟ้าฮองเฮา [IP: 182.53.43.205]

มันคือเรื่องปัญญาอ่อนหรอคะ? แล้วก็ไม่ใช่การฝืนธรรมชาติด้วย อะไรคือสิ่งที่คุณมายึดว่านั่นคือธรรมชาติ? บ้ารึเปล่าคะ? แล้วที่ว่าผู้ชายไม่มีวันยอม เดี๋ยวนี้ก็มีเยอะแยะผู่ชายที่มองเห็นถึงความสำคัญของสิทธิหน้าที่ เสรีภาพของผู้หญิง

คุณไปเก็บกฏที่ไหนมารึเปล่าคะ? อ่านที่คุณพิมพ์แล้วทนไม่ได้จริงๆ

พวกเฟมินิสต์จะคิดว่าผญคือจุดศูนย์กลางของทุกๆเรื่องนะคะ

คำอ้างแถที่ว่า ความเท่าเทียมแต่ลึกๆอยากมีมากกว่า

ไม่อย่างนั้น ทำไมสตรีถึวอยุ่เปนโสดมากขึ้น

อันนี้ใครว่าไม่สำคัญ สำคัญตรงที่ว่า สตรีที่ด้อยศักยภาพด้านสังคมการเข้าหาระหว่างเพศเพื่อสร้างครอบครัวกำลังเลวร้ายมากขึ้น

ที่เขาคาดการณ์คงเป็นจริงๆสตรีไทยจะเป็นโสด1ของโลก ที่ว่าไม่ได้มีแค่เพราะบทบาทที่พัฒนานะเท่านั้น แต่มีจำนวนมากที่ผชเขาไม่มองเหนถึงความสำคัญของการมีเมียที่ไม่เข้าใจในสภาพของผู้ชาย และมีส่วนหนึ่งที่สำคัญกว่าคือ เดี่ยวนี้ผชมีการเอียนเอียงคบหาผชด้วยกัน นันเปนเพราะว้าเขาไม่ได้ให้ความสำคัญว่าสตรีมีคสามสำคัญในชีวิตของเขาและครอบครัวเลย

หรือคุณจะบอกว่าพวกเฟเปนเลสเบี้ยน กล้ายอมรับปะละคะ ถ้าใชก็ไม่แปลกไรที่เฟจะมีตรรกะแบบนี้ อิอิ

 

 

ชื่นชมกับการเผยแพร่ความรู้…โดยมิได้ย่อท้อต่อปัญหาที่ตามมา…ชื่นชมค่ะ

แต่เท่าที่เคยอ่านๆผ่านมา ผู้หญิงทำเพื่อผู้หญิง ผู้ชายก็จะมองเป็นปัญหาของผู้หญิงและถ้ามีผู้ชายมาเกี่ยวข้องด้วย ผู้ชายก็จะไม่ยอมรับและไม่ฟัง เพราะเขาคิดว่า ผู้หญิงมันก็ต้องเห๋็นแก่ผู้หญิงอยู่ดี ผู้ชายก็เลยทำตามใจและสัญขาติญาณ คือ จากเบาไปหาหนัก และหนักคือ การเอาถึงตาย เคยได้ยินมา ดังนั้น การกระทบสิทธิอะไรก็ตามถ้าผู้ชายเสียประโยชน์ สตรีน่าจะเป็นฝ่ายเดือดร้อนไม่รู้จบ

เขาให้ความรู้เรื่องสตรีนิยมค่ะคุณนางฟ้าฮองเฮา

มันปัญญาอ่อนยังไงคะ แล้วผู้ชายไม่ยอมอะไรของคุณ

แม่คุณไม่ใช่ผู้หญิงเหรอคะ หรือว่าถูกพ่อคุณรังแกข่มเหงเป็นประจำเลยทำให้ความคิดแบบที่คุณพิมพ์

มันไม่เกี่ยวกับเพศหรอกค่ะเรื่องที่ ถ้าไปกระทบสิทธิประโยชน์ใคร ทุกเพศไม่เพียงแต่ชายหญิง

ก็ต้องปกป้องสิทธิตัวเองอยู่แล้ว พิมพ์อะไรออกมามันส่อถึงระดับการศึกษานะคะ

ว่างๆลองไปอ่านเกี่ยวกับนักโทษหญิงดูนะคะ หลายๆคนไม่ควรจะมาเป็นนักโทษด้วยซ้ำ

เหตุเกิดเพียงความเห็นแก่ตัวของผู้ชาย

"นางฟ้าฮองเฮา" จริงๆแล้วเป็นผู้ชาย

คือ ใจคุณจริงๆเป็นทาสผู้ชาย หรือ คุณเป็นผู้ชายแล้วแอบมาพูดเป็นผู้หญิงเหมือนความขี้โกงทั้งหลายที่ผู้ชายมักจะใช้กดขี่เพศหญิงให้อยู่ในการควบคุมไง

ผู้หญิงยุคนี้เป็นโสดมาแล้วไง หลายโสดและมีลูกก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร

อีกอย่างผู้ชายไทยไม่มีความรับผิดชอบเท่าที่ควร หันหลังเป็นอันเจ้าชู้ซึ่งมันผิดศีลธรรมในทุกศาสนา แล้วถ้าผู้ชายมันจะเอากันเองก็ห้ามไม่ได้หรอก เพราะมันเรื่องของเค้า อีกอย่างยุคนี้ผู้หญิงไทยนิยมแต่งงานกับคนต่างชาติด้วยซํ้า

ส่วนใหญ่พวกสตรีนิยมคือพวกไม่รู้จักธรรมขาตินิยม Naturalism ซึ่งทุกเรื่อง ธรรมชาติไม่ได้กำหนดให้ชายหญิงเท่าเทียมหรือเหมือนกันทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นด้านพละกำลัง ความเป็นอยู่ อัตลักษณ์ทางเพศ รวมถึงวืถีชีวิตที่แตกต่างกัน แต่พวกสตรีนิยมหลายๆตัวมักจะเอาข้อเปรียบเทียบของผู้ชายบางประการเพื่อให้ตัวเองทำได้ โดยต้องมีตัวช่วย

สมมุติ เช่น บุรุษวิ่งได้ถึง10กม.ในเวลา5นาที ได้รับค่าแรง100 ส่วนสตรีวิ่งได้6กม.ในเวลา5นาที แต่อยากได้เงินเท่ากับบุรุษ ดังนั้นหลายๆเรื่องที่สตรีเอาบุรุษมาเป็นที่ตั้งจึงผิดธรรมชาติ

เพราะธรรมชาติไม่เคยสอนว่าชายหญิงนั้นเท่าเทียมกัน มีแต่มนุษย์ปัญญาอ่อนเท่านั้นที่ฝืนคิดฝืนทำ


เมื่อฝืนธรรมชาติจึงเกิดความไม่ชอบ จึงต้องมีการทำลายเพื่อความอยู่รอดโดยธรรรมชาติ

เพราะฉะนั้น ถ้าฝ่ายชายกระทำรุนแรงต่อสตรีทุกรูปแบบเหตุเพราะสตรีนั้นโง่ไม่รู้จักธรรมชาติของผู้ชาย

มันก็สมควรแล้ว และถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะทุกวันนี้ความรุนแรงทางเพศมีมากๆขึ้น นี่คือธรรมชาติลงโทษพวกวัวลืมตินไม่รู้จักเพศของตัวเองดีพอ

ปล.แนวคิดธรรมชาตินิยมผู้ใช้หลักการข้อเท็จจริง

น่าสนใจ!!!!

เบื้องต้นเราพบว่าเมื่อสังคมมีความเจริญก้าวหน้า ก็ค้นพบการเปลี่ยนผ่านที่ยิ่งใหญ่ คือ การออกจากยุคสมัยใหม่ ที่เชื่อว่าทุกอย่างมีคำตอบตายตัว ไม่หยุดนิ่ง มีความจริงสูงสุด .... ยุคนี้ เราเริ่มตั้งคำถามมากขึ้นกับสิ่งที่อยู่ภายใต้ปรากฎการณ์ ไม่ใช่ตัวปรากฎการณ์ แม้กระทั่งความเป็นเพศเองก็ไม่มีคำตอบตายตัว

สตรีนิยมมีหลายสาย อย่าง Pist modern คือ เชื่อว่าไม่มีความเป็นเพศ มีแต่ปฏิบัติการและอำนาจของวาทกรรม ที่ผลิตผ่านสถาบันทางสังคม แปลว่า เราทุกคนล้วนแต่อยู่ภายใต้อำนาจและทำได้เพียงการต่อสู้ ต่อรอง .... สภาวะของความเป็นหญิง ถูกตอบคำถามไปนานแล้วว่า เป็นสิ่งประกอบสร้างทางสังคม ทีต้องถามต่อ เราจะทำอย่างไรให้เกิดการต่อสู้ต่อรองเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางเพศ (ก้าวข้ามข้อเรียกร้องเรื่องความเท่าเทียมางเพศไปแล้ว)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท