เทคนิคการสร้างทีมงาน


เทคนิคการสร้างทีมงาน เป็นเทคนิคการทำงานโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย

 เทคนิคการสร้างทีมงาน

 จากหนังสือ      เทคนิคการสร้างทีมงาน  ผู้แต่ง   อาจารย์ชาญชัย  อาจินสมาจาร       

 เทคนิคการสร้างทีมงาน เป็นเทคนิคการทำงานโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและตัดสินใจร่วมกัน ประเทศทางตะวันตก และประเทศญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จ

เป็นอย่างยิ่งในวงการธุรกิจเพราะใช้การทำงานเป็นทีมสร้างความสำคัญความสามัคคีในหมู่คณะเพื่อจุดมุ่ง

หมายเดียวกัน  ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

          ลักษณะทีมงานที่มีประสิทธิผล  ประการแรก เริ่มจาก บรรยากาศ  ดูเหมือนจะเป็นแบบไม่เป็นทางการ  มีความรู้สึกสบาย ไม่เครียด  เป็นบรรยากาศการทำงานที่มีคนเข้าร่วมและให้ความสนใจ  ไม่มีสัญญาณบ่งบอกถึงความเบื่อหน่าย ประการต่อมามีการอภิปรายมากมายที่ทุกคนมีส่วนร่วมแต่ก็ยังตรงกับงานของกลุ่ม

ถ้าหากมีการอภิปรายออกนอกเรื่องสมาชิกคนใดคนหนึ่งก็จะนำให้กลับมายังเรื่องงานของกลุ่ม  เมื่อสมาชิกเข้าใจและยอมรับงานมีจุดมุ่งหมายเดียวกันจนกว่าจะมีการรวบรวมขึ้นโดยสมาชิกทุกคนจะปฏิบัติตาม

สมาชิกจะฟังซึ่งกันและกัน การอภิปรายจะไม่มีการข้ามจากเรื่องหนึ่งไปยังอีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กันแนวคิดทุกแนวคิดจะรับฟังความคิดเห็นของทุกคน ทุกคนอยากจะแสดงออกในความคิดสร้างสรรค์ โดยไม่กลัวว่าจะถูกกล่าวหาว่าไม่ฉลาด  การตัดสินใจแต่ละครั้งจะมีความชัดเจนและทุกคนก็เห็นด้วยและพร้อมที่จะปฏิบัติตามแนวทางการตัดสินใจนั้น ๆ ถึงแม้ว่าการวิพากษ์วิจารณ์จะมีอยู่เป็นประจำ แต่เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา และทุกคนก็รู้สึกสบายใจ ไม่มีการกล่าวโจมตีเป็นส่วนบุคคล การวิพากษ์วิจารณ์จะเป็นไปในทางสร้างสรรค์เพื่อกำจัดอุปสรรค์ที่เผชิญหน้ากลุ่มและที่ขัดขวางการทำงานให้สำเร็จ สมาชิกมีอิสระในการแสดงออกในแนวทางความคิดต่อปัญหาและการทำงานของกลุ่ม ทุกคนรู้สึกของแต่ละคนในการอภิปรายเกี่ยวกับการทำงาน เมื่อมีการปฏิบัติ การมอบหมายหน้าที่จะต้องชัดเจนและเป็นที่ยอมรับ สมาชิกมีทักษะในทุกภาวะความเป็นผู้นำและบทบาทของการเป็นสมาชิกกับสมาชิกด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ

             การสร้างทีมงานเกิดขึ้นจากขอบข่ายความสามารถของสมาชิกแต่ละคนในการมีอิทธิเหนือสมาชิกคนอื่นจะก่อให้เกิดกลุ่มที่มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ง่าย  เนื่องจากทีมงานมีความแตกต่างกันไป  ดังนั้น

ลักษณะของการสร้างทีมงานจึงต้องแตกต่างกันไปด้วย สิ่งสำคัญก็คือการรู้จักพยากรณ์สภาวะที่มีผลกระทบต่อทีมงานและชนิดของปัญหาที่ทีมงานเผชิญหน้าก่อนที่จะดำเนินโครงการสร้างทีมงาน นอกจากประเด็นของความเป็นทีมงานแล้ว  จะต้องพิจารณาถึงความแตกต่างกันไปตามลักษณะของมิติทีมงานที่ดีจะต้องมีลำดับการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพต่อองค์กรดังนี้

                          -  ตั้งเป้าหมายหรือลำดับขั้น

                          -  วิเคราะห์หรือจัดหาแนวทางในการทำงาน

                          -  ตรวจสอบทางการทำงานของกลุ่ม  เช่น การตัดสินใจ การสื่อความหมาย 

นางอุไรวรรณ   รอดทองแก้ว                        

   

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน >
คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 356909เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2010 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท